วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการดำเนินงานตามแผนแผนบริหารความเสี่ยง ดังนี้
1. แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล และปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (5.2-3(1))
2. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 14 กันยายน 2564 (5.2-3(2)) เพื่อเลือกประเด็นความเสี่ยง และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (5.2-3(3)) และแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านความเสี่ยง (5.2-3(4)) และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครั้งที่ 10/2564 วาระที่ 4.3 วันที่ 6 ตุลาคม 2564 (5.2-3(5)) ซึ่งแผนบริหารความเสี่ยงได้มีวิเคราะห์ และแสดงลำดับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง และสูงมากเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยได้มีการรวบรวมข้อมูลปัจจัยด้านความเสี่ยงจากหลักสูตร เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์หาความเสี่ยงในระดับคณะ ผลการวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยงโดยพิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยง โดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ทำให้การตัดสินใจจัดการกับความเสี่ยงเป็นไปอย่างเหมาะสม
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการวิเคราะห์มีปัจจัยเสี่ยงภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ สูง และสูงมาก ได้จัดลำดับความเสี่ยง ดังนี้
- ขาดการยอมรับจากหน่วยงานภายนอกในการนำผลวิจัยของมหาวิทยาลัยไปใช้ เนื่องจาก นักวิจัยไม่เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
ปัจจัยภายนอก
ผลงานวิจัยไม่เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ ต่อชุมชน
- ชุมชนขาดความเชื่อมั่นในการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย เนื่องจาก ไม่มีพื้นที่ชุมชนต้นแบบที่เป็นรูปธรรม และไม่สามารถแก้ไขปัญหาของชุมชนที่ตอบโจทย์ปัญหาและความต้องการของชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
ปัจจัยภายนอก
ชุมชนขาดความเชื่อมั่นในการบริการวิชาการ
- การเบิกจ่ายงบประมาณขาดประสิทธิภาพ ไม่สามารถวัดผลสำเร็จของการดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย ตามตัวชี้วัด
ปัจจัยภายใน
การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีไม่ตรงตามแผนปฏิบัติการ
3. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการนำแผนบริหารความเสี่ยงเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเพื่อรับทราบ ในคราวประชุมครั้งที่ ครั้งที่ 4/2564 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2564 วาระที่ 4.1 (5.2-3(6))
4. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยง โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ 3 ปัจจัย 3 ประเด็นดังนี้
4.1 ผลงานวิจัยไม่เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ ต่อชุมชน (ปัจจัยภายนอก) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการดังนี้
1) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้แสดงศักยภาพด้านการวิจัย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์แก่นักศึกษา ชุมชน ท้องถิ่นได้จริง
2) ผู้ที่ผ่านการพิจารณาทุนสนับสนุนการวิจัยงบประมาณบำรุงการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 มีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ในการวิจัย โดยกำหนดการเกิดประโยชน์การพัฒนานักศึกษา และการพัฒนาชุมชนสังคม ระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของงานวิจัย และผลการดำเนินงานวิจัยตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยอย่างชัดเจน
3) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการระดับชาติ ในวันที่ 27 มิถุนายน 256 วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของคณาจารย์
เพื่อสนับสนุนคณาจารย์ให้สามารถผลิตผลงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพและนำไปใช้ประโยชน์ได้ และเพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์สามารถเตรียมต้นฉบับที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับชาติ วิทยากร คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา เคณาภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม บรรยายหัวข้อเรื่อง การเขียนผลงานเพื่อให้ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ระดับชาติ และเทคนิคการเขียนทบทวนบทความ (Review Article) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเรียนงานวิจัยและผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ระดับชาติ และพัฒนาผลงานวิชาการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
4.2 ชุมชนขาดความเชื่อมั่นในการบริการวิชาการ (ปัจจัยภายนอก) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการ ดังนี้
1) จัดทำแผนการใช้ประโยชน์การบริการวิชาการ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2564
โดยกำหนดการเกิดประโยชน์การพัฒนานักศึกษา และการพัฒนาชุมชนสังคม ระบุตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน และผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนอย่างชัดเจน
2) มีการกำหนดพื้นที่ชุมชนต้นแบบที่เป็นรูปธรรม คือบ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
3) มีการสำรวจความต้องการชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงการบริการวิชาการการเพิ่มศักยภาพชุมชนตามศาสตร์พระราชา ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อสำรวจความต้องการของชาวบ้านในชุมชนด้านการบริหารจัดการตลาดชุมชนตามศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4) สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และเยี่ยมชม โครงการบริการวิชาการที่วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการในพื้นที่ชุมชนต้นแบบที่เป็นรูปธรรม ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ณ บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
4.3 การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีไม่ตรงตามแผนปฏิบัติการ (ปัจจัยภายใน) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการ ดังนี้
1) มีการรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีในการประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองในทุกเดือน เพื่อกำกับติดตาม และทวงถามโครงการประจำไตรมาสทั้ง 4 ไตรมาส
2) กองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี แจ้งการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อกำกับติดตาม และทวงถามงบประมาณประจำคณะ
5. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการประเมินความสำเร็จของแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำคณะ (5.2-3(7)), (5.2-3(8)) พบการดำเนินงานพบว่า
1) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 นักวิจัยมีการจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ในการวิจัย โดยกำหนดการเกิดประโยชน์การพัฒนานักศึกษา และการพัฒนาชุมชนสังคม ระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของงานวิจัย และผลการดำเนินงานวิจัยตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัยอย่างชัดเจน และได้ดำเนินงานโครงการพัฒนาศักยภาพการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการระดับชาติ ในวันที่ 27 มิถุนายน 256 วัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มจำนวนผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานของคณาจารย์ เพื่อสนับสนุนคณาจารย์ให้สามารถผลิตผลงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพและนำไปใช้ประโยชน์ได้ และเพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์สามารถเตรียมต้นฉบับที่มีศักยภาพในการตีพิมพ์ในฐานข้อมูลระดับชาติ วิทยากร คือ รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา เคณาภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม บรรยายหัวข้อเรื่อง การเขียนผลงานเพื่อให้ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ระดับชาติ และเทคนิคการเขียนทบทวนบทความ (Review Article) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเรียนงานวิจัยและผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ระดับชาติ และพัฒนาผลงานวิชาการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
2) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จัดทำแผนการใช้ประโยชน์การบริการวิชาการ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2564 โดยกำหนดการเกิดประโยชน์การพัฒนานักศึกษา และการพัฒนาชุมชนสังคม ระบุตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน และผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนอย่างชัดเจน มีการกำหนดพื้นที่ชุมชนต้นแบบที่เป็นรูปธรรม คือ บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ และสำรวจความต้องการชุมชนเพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดทำโครงการบริการวิชาการการเพิ่มศักยภาพชุมชนตามศาสตร์พระราชา ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อสำรวจความต้องการของชาวบ้านในชุมชนด้านการบริหารจัดการตลาดชุมชนตามศาสตร์พระราชาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และเยี่ยมชม โครงการบริการวิชาการที่วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้ดำเนินการในพื้นที่ชุมชนต้นแบบที่เป็นรูปธรรม ในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
3) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีการรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีในการประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองในทุกเดือน เพื่อกำกับติดตาม และทวงถามโครงการประจำไตรมาสทั้ง 4 ไตรมาส และกองนโยบายและแผน สำนักงานอธิการบดี มีการแจ้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 เพื่อกำกับติดตาม และทวงถามงบประมาณประจำคณะ
รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มติที่ประชุมเห็นชอบผลการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงของวิทยาลัยฯ และได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงต่อไป (5.2-3(9)), (5.2-3(10))
|