✓ | 1 | มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อให้บริการงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (2.1-1(1)) โดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัย ซึ่งมีความสามารถในการบริหารจัดการงานวิจัยภายในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ดังต่อไปนี้
1. บันทึกข้อมูลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ ลงในฐานข้อมูล
2. บันทึกข้อมูลการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เผยแพร่ผ่านการประชุมทางวิชาการ
3.บันทึกข้อมูลการเผยแพร่ผ่านวารสารวิชาการ
4.สืบค้นข้อมูลการวิจัยจากฐานข้อมูลงานวิจัยย้อนหลัง
5.สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการทำวิจัยของบุคลากรเข้ากับฐานข้อมูลประวัติส่วนตัวของบุคลากรเพื่อประโยชน์ในกระบวนการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของบุคลากรรายบุคคล
6.ประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลการวิจัยเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการวิจัย ได้แก่
6.1 จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยทีได้รับในระดับสถาบันจำแนกตามปีงบประมาณ
6.2 จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยทีได้รับในระดับคณะ จำแนกตามปีงบประมาณ
6.3 จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยทีได้รับ จำแนกตามแหล่งทุน
นอกจากนี้ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ยังได้มีการนำระบบสารสนเทศการบริหารงานวิจัยจากภายนอก คือ ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ National Research and Innovation Information System (NRIIS) เข้ามาใช้สำหรับระบบการจัดการการวิจัยในด้านต่าง ๆ เช่น (2.1-1(2))
- การยื่นข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
- การสรุปสถิติการยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย ในหมวดงบประมาณแผ่นดินปกติ ประจำปีงบประมาณ
- การจัดลำดับความสำคัญของโครงการวิจัยเพื่อยื่นเสนอต่อแหล่งทุนเพื่อพิจารณา
- การรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานวิจัยผ่านระบบออนไลน์เพื่อให้แหล่งทุนได้รับทราบ
- การติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัยของนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนรายบุคคล
- ตรวจสอบประวัตินักวิจัย
(2.1-1(3))
| |
✓ | 2 | สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor) | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัย ในประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
1) มีการจัดเตรียมศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดดสรรพื้นที่และอุปกรณ์เพื่อเป็นห้องปฏิบัติการ หรือห้องปฏิบัติงานสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของอาจารย์ และนักศึกษา ดังนี้
- ห้องศูนย์วิจัยและบริการวิชาการด้านเด็กและเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ (2.1-2(1))
- ห้องสมุดนิติศาสตร์ เป็นแหล่งจัดเก็บเอกสารงานวิจัยของบุคลากรวิทยาลัยฯ และเปิดให้บริการทั้งบุคลากรและนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ (2.1-2(2))
- มีหน่วยวิจัยที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย คือ มีการจัดตั้งกลุ่มงานวิจัยศูนย์วิจัยและบริการวิชาการด้านเด็กและเยาวชนจังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้การเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่ทำหน้าที่ในการจัดสรรทุนวิจัย จัดหาแหล่งทุนที่มีความเหมาะสม ส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ภายนอกตลอดจนการกำกับติดตามการดำเนินงานวิจัย (2.1-2(3))
2) มีห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีห้องสมุดนิติศาสตร์ที่มีศักยภาพและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพัฒนางานวิจัยแก่บุคลากรภายในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (2.1-2(4))
3) มีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการจัดเตรียมระบบสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการพัฒนางานวิจัย ได้แก่
- ระบบงานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ (2.1-2(5))
- ระบบการสืบค้นข้อมูลห้องสมุดออนไลน์ (2.1-2(6))
ตลอดจนมีการจัดการเรื่องการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย เพื่อให้นักวิจัยเกิดความสะดวกในการทำงานและเกิดความปลอดภัยในการใช้ห้องศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนงานวิจัย โดยได้มีการวางแนวปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน และจัดทำเป็นคู่มือเพื่อเผยแพร่ให้แก่บุคลากรภายในได้รับทราบอย่างทั่วถึง ได้แก่
- ระเบียบและแนวปฏิบัติการขอใช้บริการห้องสมุดนิติศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (2.1-2(7))
4) มีการจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ได้แก่
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัย ดังนี้
1. มีการจัดสัมมนาระดับจังหวัดเพื่อสร้างฐานข้อมูล มีวัตถุประสงค์คือ
1.1 เพื่อทำความเข้าใจ ในการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์ฯ กับภาคีเครือข่าย
1.2 เพื่อสำรวจสถานภาพการทำงานด้านเด็ก ประกอบด้วยด้านหน่วยงาน, ภารกิจ, โครงการด้านข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับ เด็กที่จะเป็นฐานข้อมูลใช้ในการวิจัยและ
1.3 เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ และข้อมูลสถานการณ์ด้านเด็กและเยาวชนในพื้นที่อีสานใต้
2. โครงการพัฒนาโจทย์วิจัยร่วมกับพื้นที่และสร้างทีมวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นมีวัตถุประสงค์คือ
2.1 เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัยให้เข้าใจกระบวนการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (การเก็บข้อมูล ,การพัฒนาโจทย์วิจัย, การเขียนโครงการ, การทำวิจัย, การเขียนรายงาน)
2.2 เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับทีมวิจัยและ
2.3 เพื่อพัฒนาศักยภาพนักวิจัย
| |
✓ | 3 | จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงาน วิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการดำเนินการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการวิจัยสำหรับคณาจารย์และบุคลากรในปีงบประมาณ 2564 (2.1-3(1)) ดังนี้
แหล่งงบประมาณ
|
จำนวนงบประมาณ (บาท)
|
ประเภทงบประมาณ
|
ทุนสนับสนุนวิจัยภายใน งบประมาณบำรุงการศึกษา วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
|
140,000
|
งบประมาณภายใน
|
ทุนสนับสนุนวิจัยภายใน งบประมาณบำรุงการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
|
50,000
|
งบประมาณภายใน
|
เงินทุนสนับสนุนวิจัยภายนอก
|
7,391,930
|
งบประมาณภายนอก
|
รวมงบประมาณทั้งสิ้น
|
7,581,930
|
- เงินทุนสนับสนุนวิจัยภายใน (งบประมาณเงินบำรุงการศึกษา วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง) จำนวน 140,000 บาท (2.1-3(2))
- เงินทุนสนับสนุนวิจัยภายใน (งบประมาณเงินบำรุงการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ) จำนวน 50,000 บาท (2.1-3(3))
- เงินทุนสนับสนุนวิจัยสนับสนุนวิจัยภายนอก (แหล่งทุน บพข., งบประมาณแผ่นดิน ววน. Basic Research ,กองทุนกองบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อมฯ) จำนวน 7,391,930บาท (2.1-3(4))
| |
✓ | 4 | มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการส่งเสริมการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ให้มีศักยภาพในด้านการวิจัยให้สูงขึ้น โดยได้ส่งอาจารย์เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยดังนี้
ชื่อ -สกุล
|
ประเด็นการพัฒนาสมรรถะอาจารย์และนักวิจัย
|
1. รศ.ดร.ภัควัฒน์ จรรยาสุทธิวงษ์
2. ผศ.ปรารถนา มะลิไทย
|
1. โครงการพัฒนากรอบการวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในวันที่ 19 - 20 พฤษภาคม 2565 ณ อำเภอราษีไศล และอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อกำหนดกรอบการวิจัยเชิงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษที่นำไปสู่การขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยงบบำรุงการศึกษา ประจำงบประมาณ พ.ศ. 2566 และทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.) ประเภท Basic Research ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (2.1-4(1))
|
บุคลากรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการเผยแพร่บทความวิจัย/บทความวิชาการ
|
3. โครงการพัฒนาศักยภาพการตีพิมพ์ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการระดับชาติ จัดขึ้นในวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ณ ห้องประชุมวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สัญญา เคณาภูมิ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม เป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการเขียนผลงาน เพื่อให้ได้รับการตอบรับตีพิมพ์ระดับชาติ และเทคนิคการเขียนทบทวนบทความ (Review Article) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเขียนงานวิจัยและผลงานวิชาการเพื่อตีพิมพ์ระดับชาติ และพัฒนาผลงานวิชาการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น (2.1-4(2))
|
โดยวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยดีเด่นระดับคณะ โดยการมอบเกียรติบัตรเพื่อประกาศเป็นคณูปการ และแสดงความยินดีผู้ที่ได้รับการยกย่องเป็นนักวิจัยดีเด่นด้านการเผยแพร่บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับชาติ คือ ผศ.ดร.ธัญวรัตน์ แจ่มใส (2.1-4(3))
| |
✓ | 5 | มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ระหว่างสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ งานประชุมวิชาการทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ “พลวัตรรัฐประศาสนศาสตร์ : ปัญหา โอกาส และความท้าทาย วันที่ 23 – 24 พฤศจิกายน 2564 โดยเป็นความร่วมมือในลักษณะของการการส่งบทความวิชาการเพื่อนำเสนอในการประชุมวิชาการครั้งนี้ เอกสารหลักฐาน หน้าที่ 44, 899-908 ( 2.1-5(1))
| |
✓ | 6 | มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน โดยมีรายละเอียดดังนี้
ชื่อผลงานวิจัย
|
การนำไปใช้ประโยชน์
|
กลุ่มผู้รับผลประโยชน์
|
1. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาชุมชนการปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ: กรณีศึกษาหมู่บ้านคำเมย ตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ (2.1-6(1))
|
การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย: ประชาชนในหมู่บ้านคำเมยได้มีส่วนร่วมในการแลกมีประสบการณ์ทางการเกษตรสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างสมาชิกกลุ่มได้ ทําให้ประชาชนปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษสามารถดําเนินการจนประสบความสําเร็จได้
|
บ้านคำเมย ตำบลดูน อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
|
2. รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนขององค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ (2.1-6(2))
|
การนำไปใช้ประโยชน์ด้านวิชาการ: องค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ได้มีการนำองค์ความรู้ จากกงานวิจัยที่เกี่ยวกับแนวคิด “รูปแบบการบริหารจัดการ” ไปใช้ในการบริหารจัดการโครงการธนาคารขยะ ซึ่งประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ การร่วมกิจกรรม รวมทั้งมีการบูรณาการกับกรอบความคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประชาชนในตำบลปะอาว เพื่อนำไปปรับใช้ในกิจกรรมหรือโครงการของ อบต.ปะอาว ที่กำลังจะดำเนินหรือได้ดำเนินอยู่ คือ โครงการธนาคารขยะ ซึ่งจะเป็นการดำเนินโครงการที่ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน รวมทั้งประสบความสำเร็จการพัฒนาที่ยั่งยืนแก่องค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว
|
องค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
|
3. ผลงานวิจัยเรื่อง “การมีส่วนร่วมของสภาองค์กรชุมชนตำบลเมืองคงในการดำเนินโครงการ ราษีไศล ตลาดวิถีชุมชนถนนสายวัฒนธรรม” (2.1-6(3))
|
การนำไปใช้ประโยชน์ด้านวิชาการ: สภาองค์กรชุมชนตำบลเมืองเกิดการเรียนรู้กระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ใช้เวทีจากการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนเรียนรู้ประชาธิปไตยจากฐานรากที่มีตัวแทนของกลุ่มต่างๆ ในชุมชนท้องถิ่นเข้ามาร่วมกันทำงาน โดยอาสาสมัครและไม่มีผลตอบแทน เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนงานสู่การจัดการที่เกิดขึ้นในพื้นที่ตนเองในลักษณะสาธารณะล่างขึ้นบน (Button-Up) จึงเป็นเจตนารมณ์ที่สำคัญในการจัดตั้งตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551
|
สภาองค์กรชุมชนเทศบางตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
|
| |
✓ | 7 | มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ภายใต้การกำกับของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ โดยมีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2553 (2.1-7(1)) เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนงานวิจัยต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (2.1-7(2))
มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-7(3)) เพื่อทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นกำกับติดตาม และดำเนินงานให้เป็นไประเบียบที่กำหนดไว้ โดยอาจารย์หรือนักวิจัยที่ต้องการร้องขอการคุ้มครองสิทธิ์ในการวิจัย สามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอนการดำเนินงานตามระบบทีกำหนดในกรณีที่ต้องการร้องขอความคุ้มครอง (2.1-7(4)) โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ ดังต่อไปนี้
1.เจ้าของผลงานวิจัยชิ้นที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ดำเนินการยื่นคำร้องไปที่งานวิจัยและพัฒนาพร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าตนเองเป็นเจ้าของผลงานที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ ตลอดจนหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานวิจัยของตนเอง หรือเอกสารอื่นๆ ประกอบเพื่อความชัดเจน
2.งานวิจัยและพัฒนา เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของผลงาน ดำเนินการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง (2.1-6(4))
3.ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ของงานวิจันที่ได้มีการร้องเรียน
4.นำเสนอแนวทาในการจัดการปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์และมติของที่ประชุมต่ออธิการบดีเพื่อสั่งการ
5.ในกรณีที่ต้องการฟ้องร้องหรือดำเนินการเอาผิดทางคดีความ ให้นิติกรของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เป็นผู้ดำเนินการ
| |