ตัวบ่งชี้ที่ 1.8 ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปรารถนา มะลิไทย , เอกลักษณ์ สุรวิทย์ , สุเทวี คงคูณ , สันติภาพ รัตนวรรณ
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาชาติที่กำหนดให้นักศึกษาเป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม หลักสูตรจึงควรผลักดันให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรมโครงงานหรืองานวิจัยหรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม ที่กำหนดให้คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

จำนวนหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนหลักสูตรทั้งหมดในคณะ

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
หมายเหตุ

1. นวัตกรรมที่ชุมชนยอมรับโดยมีหลักฐานการใช้ประโยชน์จากชุมชน
2. ความหมายของการมีส่วนร่วม หมายถึง นักศึกษามีการวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผล
3. นวัตกรรมดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในชุมชน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

ผลการดำเนินงาน

ข้อค้นพบ/ผลการดำเนินงาน

     ในปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เปิดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีจำนวน 3 หลักสูตร ประกอบด้วย 1. หลักสูตรรัฐประศาสนศารบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ 2. หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ และ 3. หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ โดยทุกหลักสูตรมีจุดประสงค์ในการมุ่งให้ผู้เรียนเกิดมีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรม  โครงงาน หรืองานวิจัย หรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น  ในปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยฯ มีหลักสูตรที่นักศีึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม โครงงาน หรืองานวิจัย ดังนี้

 

นวัตกรรมที่นักศึกษามีส่วนร่วม

รายวิชา/การบูรณาการองค์ความรู้กับรายวิชาในหลักสูตร

  1. โครงการเพิ่มศักยภาพท่องเที่ยวชุมชนตามศาสตร์พระราชา

 

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

     รายวิชา 2554104 องค์การและการจัดการภาครัฐ

     ผู้สอน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรารถนา มะลิไทย

     เพื่อให้นักศึกษาที่เรียนหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์ เข้าใจการการบริหารจัดการองค์กรชุมชนซึ่งถือว่าเป็นความสามารถในการลงมือปฏิบัติจากทฤษฎีที่ได้ศึกษา ซึ่งจากกรณีศึกษาโครงการบริการวิชาการโครงการเพิ่มศักยภาพท่องเที่ยวชุมชนตามศาสตร์พระราชานั้น นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมด้านการจัดการกลุ่มสตรีเพื่อการพัฒนาอาชีพบ้านหนองม่วง ซึ่งประกอบด้วย การจัดทำโครงสร้างการบริหารจัดการของกลุ่ม และการจัดทำบัญชีรายรับ- รายจ่าย ของกลุ่ม ซึ่งถือได้ว่าเป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหลักสูตรและชุมชนในการพัฒนาองค์กรร่วมกันจนนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมด้านการจัดการโครงสร้างของกลุ่มได้อย่างเป็นรูปธรรม

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต

     รายวิชา 2552207 รัฐและประชาสังคม

     ผู้สอน: อาจารย์สุรศักดิ์ จันทา

     เพื่อให้นักศึกษาที่เรียนรัฐศาสตร์ ได้เข้าใจแนวคิดที่มีเป้าหมายเพื่อการมีสังคมและชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งเป็นแนวคิดที่เข้าใจพื้นที่หรือส่วนของสังคมที่มีประชาชนเป็นผู้แสดงบทบาทหลัก พื้นที่ดังกล่าวจึงไม่ใช่ภาครัฐ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมีกฎหมายรองรับ และภาคธุรกิจเอกชนที่เน้นดำเนินงานโดยมุ่งแสวงหาผลกำไรในพื้นที่ประชาสังคม ประชาชนทั่วไปเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดำเนินการที่เป็นอิสระจากภาครัฐหรือเป็นผู้กำหนดนโยบายสาธารณะจากภาคประชาสังคม หรืออาจกล่าวได้ว่าโครงการบริการวิชาการฯ ในพื้นที่ดังกล่าวนี้ผ่านการประชาพิจารณ์และออกแบบนโยบายสาธารณะจากล่างสู่บน อันนำไปสู่การปฏิบัตินั่นเอง

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต

     รายวิชา 2562203 กฎหมายลักษณะทรัพย์สิน     

     ผู้สอน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทรณ์ สิทธิศักดิ์   

     นักศึกษาเข้าใจนิยามทรัพย์และทรัพย์สิน รวมทั้งราคาซื้อขายตามท้องตลาดทั่วไป โดยเฉพาะประเด็นการเปิดตลาดชุมชนซึ่งผู้ประกอบการที่แสดงความจำนงต่อองค์การบริหารส่วนตำบลหนองครก จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นดังกล่าว

 

     ทั้งนี้วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการบูรณาการสร้างความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองครก สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  ในการให้ความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าในการจำหน่ายในตลาดชุมชน การระดมความคิดของประชาชนในชุมชนในการออกแบบตราสัญลักษณ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน การแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารในชุมชน และกระบวนการบริหารจัดการโครงสร้างองค์กรของกลุ่มชุมชนบ้านหนองม่วง และบ้านหนองสรวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

     โดยสามารถสร้างพื้นที่นวัตกรรมจากโครงการบริการวิชาการการเพิ่มศักยภาพท่องเที่ยวชุมชนตามศาสตร์พระราชา และโครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นที่นักศึกษาจะได้รับ ดังนี้

  1. นักศึกษาเข้าใจหลักการของการออกแบบโครงสร้างองค์กรรูปแบบต่างๆ จนนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมด้านการบูรณาการองค์ความรู้เกิดขึ้นเป็น “การจัดโครงสร้างการบริหารจัดการของกลุ่ม” กลุ่มสตรีเพื่อการพัฒนาอาชีพบ้านหนองม่วง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
  2. นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ การบริหารจัดการกลุ่มของชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามศาสตร์พระราชา เพื่อใช้อุบโภคบริโภคหลังจากพัฒนาเป็นตลาดชุมชน

นักศึกษามีส่วนร่วมจากกระบวนการ และถือมีมีว่าในการพัฒนาพื้นที่นวัตกรรมการโครงการบริการวิชาการที่เป็นรูปธรรมจากวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง โดยการบูรณาการกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองครก สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ   

สูตรการคำนวณ

 

                                 3                         x 100
------------------------------
3

1. คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

 

                           100             x 5
       ---------------------------
         100

คะแนนที่ได้       =        5

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5