ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วิภาวดี ทวี , พัณณิตา นันทะกาล , พรเทพ เจิมขุนทด , รุ่งทิวา เนื้อนา , ปัญญณัฐ ศักดิ์สิทธานุภาพ , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , ปิ่นอนงค์ จำปาเงิน , จุฑาสินี ชนะศึก
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลงานทางวิชาการเป็นข้อมูลที่สำคัญในการแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ประจำและนักวิจัยได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นผลงานที่มีคุณค่า สมควรส่งเสริมให้มีการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงวิชาการและการแข่งขันของประเทศ ผลงานทางวิชาการ อยู่ในรูปของบทความวิจัยหรือบทความทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI หรือ Scopus หรือตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วย หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2562 ผลงานได้รับการจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร หรือเป็นผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ ตำราหรือหนังสือที่ใช้ในการขอผลงานทางวิชาการและผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว โดยมีวิธีการคิด ดังนี้

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 เกณฑ์แบ่งกลุ่มตามสาขาวิชาดังนี้
     กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็น คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
     กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
      ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็น คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
     กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็น คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยทั้งหมด

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
สรุปคะแนนที่ได้ในระดับคณะ

     คะแนนที่ได้ในระดับคณะ    =    ค่าเฉลี่ยคะแนนที่ได้ของทุกกลุ่มสาขาวิชาในคณะ

กำหนดระดับคุณภาพผลงานทางวิชาการดังนี้
ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพ
0.20

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
- มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตร

0.40 - บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
- มีการยื่นจดสิทธิบัตร
0.60 - บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจาก การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ตามประกาศ ก.พ.อ.
- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2
- มีการจดแจ้งลิขสิทธิ์
0.80 - ผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร
- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. หรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1
1.00

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามประกาศ ก.พ.อ.
- ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ
- ผลงานค้นพบพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่ค้นพบใหม่และได้รับการจดทะเบียน
- ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งทางวิชาการแต่ไม่ได้นำมาขอรับการประเมินตำแหน่งทางวิชาการ
- ผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตร
- ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ได้แก่
    ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม

    ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการเรียนรู้

    ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ

    ผลงานวิชาการรับใช้สังคม

    กรณีศึกษา

    ตำราหรือหนังสือหรืองานแปล

    ซอฟต์แวร์

    พจนานุกรม สารานุกรม นามานุกรม และงานวิชาการในลักษณะเดียวกัน

หมายเหตุ
1. การส่งบทความเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้นำเสนอในการประชุมวิชาการต้องส่งเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) และ เมื่อได้รับการตอบรับและตีพิมพ์แล้ว การตีพิมพ์ต้องตีพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
2. ผลงานทางวิชาการทั้งหมดจะต้องได้รับการเผยแพร่ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

กำหนดระดับคุณภาพผลงานสร้างสรรค์ด้านสุนทรียะ ศิลปะ หรือ ผลงานสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้
ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพ
0.20 ผลงานสร้างสรรค์ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ online
0.40 ผลงานสร้างสรรค์ได้รับการเผยแพร่ในระดับสถาบัน
0.60 ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ
0.80 ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ
1.00 ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน/นานาชาติ

ผลงานสร้างสรรค์ทุกชิ้นต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบ ไม่น้อยกว่า 3 คน โดยมีบุคคลภายนอกสถาบันร่วมพิจารณาด้วย

ผลการดำเนินงาน

ข้อมูลพื้นฐาน

น้ำหนัก

กลุ่มสาขาวิชา

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง

(ไม่นับลาศึกษาต่อ)

 

48

จำนวนอาจารย์ประจำที่ลาศึกษาต่อ

 

1

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มีจำนวน 6 เรื่อง ดังนี้

     1. แนวทางพัฒนาการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มหัตถกรรมจากเถาวัลย์ บ้านอีเซ อำเภอโพธิศรีสุวรรณ เนื่องในงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ เศรษฐกิจสีเขียวกับพลังการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคมในจังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 20 สิงหาคม 2564 โดยอาจารย์ศศิธร สมอินทร์

       2. สีดำ ความมืด ความเชื่อ ความกลัว ความหวัง ความศรัทธา ตามกาลเวลา ไทยจีน เนื่องในงาน การประชุมวิชาการระดับชาติ เศรษฐกิจสีเขียวกับพลังการมีส่วนร่วมภาคประชาสังคมในจังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 20 สิงหาคม 2564 โดยอาจารย์อภิสิทธิ์ ไชยยงค์

       3. พรชนก แสนทวีสุข สีดาบุตร (2565) Getting acquainted with a stranger in Covid-19 conversations in Thai งานประชุมวิชาการระดับชาติ The 31st Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society วันที่ 18-20 พฤษภาคม 2565

       4. โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์. (2564). การศึกษาและพัฒนานวัตกรรมเครื่องจักสานจากเครือย่านางสำหรับกลุ่มจักสานหวายบ้านทับทิมสยาม07 จังหวัดศรีสะเกษ. การประชุมวิชาการ วิจัยและงานสร้างสรรค์ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม ครั้งที่ 6 วันที่ 17 ธันวาคม 2564 (น 327-337). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศว (Proceedings)

     5. ธันยพงศ์ สารรัตน์, ทิวาพร ใจก้อน และโพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์. (2564). ตำนานการตามช้างเผือกกับการรับรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสู่แนวทางการพัฒนาในจังหวัดศรีสะเกษ. ใน อดิศร ศักดิ์สูง (บ.ก.), การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 (น 153-168). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  มหาวิทยาลัยทักษิณ.(รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ) (Proceedings)

       6. ธันยพงศ์ สารรัตน์. โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์ วุฒิชัย นาคเขียว แนวรบ ยวงปรางค์ และอภิสิทธิ์ ศรีวะรมย์ (2565). คติความเชื่อเรื่องการสร้างพระพุทธรูปไม้โบราณในวัดบ้านเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 4 และระดับนานาชาติครั้งที่ 1 : พระพุทธศาสนาเพื่อการเยียวยาโลกแห่งอนาคต จัดโดย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วันที่ 30 เมษายน 2565. (Proceedings)

0.20

1.2

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1  มีจำนวน - บทความ

1.00

-

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 มีจำนวน 9 บทความดังนี้

       1. ประสิทธิ์ผลการจัดโครงการพัฒนาทักษะยุวมัคคุเทศก์ภาษาจีนเพื่อการท่องเที่ยวจังหวัดศรีสะเกษ วารสารจีนศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2564) หน้า 43-65 โดย ผศ.พรเทพ เจิมขุนทด และอาจารย์วิภาวดี ทวี

       2. การขึ้นทะเบียนมรดกโลกประเทศญี่ปุ่น บทเรียนเรื่องปัจจัยส่งเสริมและนโยบายอดีตจนถึงปัจจุบันที่เป็นรูปธรรม วารสารญี่ปุ่นศึกษาธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 39(1) (มกราคม-มิถุนายน 2565) โดยอาจารย์กมลาสน์ กีรตินันท์วัฒนา

       3. การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ภาษาอังกฤษแบบเรียนรู้ด้วยตนเอง ผ่านทางเว็บบล็อก สำหรับยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ TCI 2

ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม - เมษายน 2565  โดย ผศ.อินทิรา ศักดิ์เมียนแก้ว

       4. จันทกานต์ พันเลียว. (2564). การพัฒนาเว็บไซต์เรื่องประเพณีตรุษสงกรานต์ บ้านปรือ ตำบลปรือ อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 5(2), 59-73.

    5. สิทธิชัย บวชไธสง. (2565). การพัฒนาศักยภาพและการสร้างโอกาสให้กับผู้สูงอายุโดยผ่านกระบวนการทุนวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธ์ 4 กลุ่มในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 6(1), 248-268

   6. รศ.ดร.เอมอร แสนภูวา เรื่อง การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในชุมชนของกลุ่มผู้ร่วมพัฒนาความมั่นคงชุมชนตามแนวชายแดนจังหวัดศรีสะเกษเพื่อลดความเหลื่อมล้ำโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน วารสารพัฒนาสังคม ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 (2021): ตุลาคม 2564

   7.  ผศ.ธนพล วิยาสิงห์ การรับรู้และทัศนคติของชาวกูยต่อคำว่า กูย กวย หรือส่วย : กรณีศึกษา ชาวกูย ในจังหวัดศรีสะเกษ วารสาร มจร การพัฒนาสังคม ปีที่ 6 ฉบับที่ 3 (2564): กันยายน - ธันวาคม 2564

   8. ผศ.บูรณ์เชน สุขคุ้ม บทบาทของผู้หญิงในวัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์กูยจังหวัดศรีสะเกษ วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม–มีนาคม 2565

  9. พรชนก แสนทวีสุข สีดาบุตร. (2564).การศึกษากลยุทธ์ความสุภาพของแอดมินเพจ Facebook ธนาคารไทยพาณิชย์ตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 5(2), 59-73.

0.60

5.4

- ผลงานวิชาการรับใช้สังคมที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว มีจำนวน 1 งาน ดังนี้

1. ตำรา เรื่อง การจัดเก็บและค้นคืนทรัพยากรสารสนเทศ โดย อาจารย์ภิรัญญา จันทร์เปล่ง

1.00

1.00

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฎในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. (Scopus) จำนวน 1 งาน

Kittipong Prachachit. (2021). The Design and Development of the Digital Backdrop of the Light and Sound Performance on “Civilization of Faith, Magic of Sriprutthesuan, Path of the King, Srichayaracha, Jayavarman VII”. Journal of Archaeology of Egypt/Egyptology, ISSN 1567-214X (Scopus Indexed, Scimago Q3).

1.00

1.00

-งานสร้างสรรค์ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ online  มีจำนวน 15 งาน  ดังนี้

  1. นักข่าวพลเมือง : พื้นที่เล่นและเรียนรู้  

จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ 21 ส.ค.2564

https://www.youtube.com/watch?v=mEFRAP5xfEc

   2. นักข่าวพลเมือง : วัคซีนให้นักเรียนเตรียมเปิดเทอม ออกอากาศ 26 ตุลาคม 2564

https://www.youtube.com/watch?v=OnRepohcbIk

   3. นักข่าวพลเมือง : กิจกรรม ผู้อำนวยการเล่น เสริมทักษะครู จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ 4 ธันวาคม 2564  https://www.youtube.com/watch?v=aJcIk3ESxdY

   4. นักข่าวพลเมือง : ผลกระทบเรียนออนไลน์วิทยาลัยเทคนิคศรีสะเกษ ออกอากาศ 25 กันยายน 2564

https://www.youtube.com/watch?v=WSjkC5a1IGg

   5. นักข่าวพลเมือง : เตรียมความพร้อมก่อนเปิดเรียน จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ 30 ตุลาคม 2564

https://www.youtube.com/watch?v=TgDQKtS3Nq4

   6. นักข่าวพลเมือง : เร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนทั่วไปในจังหวัดศรีสะเกษ ออกอากาศ 5 พฤศจิกายน 2564

https://www.youtube.com/watch?v=G4itcF3gFvY

   7. นักข่าวพลเมือง : การดูแลเด็กในช่วงโควิด 19

จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ 12 ตุลาคม 2564

https://www.youtube.com/watch?v=XFG8NCw-V5w

   8. นักข่าวพลเมือง : การเรียนออนไลน์ระดับมัธยมศึกษาในช่วงโควิด 19 จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ 9 ตุลาคม 2564

https://www.youtube.com/watch?v=MaF1WhSdaHE

      9. นักข่าวพลเมือง : การเรียนออนไลน์

ออกอากาศ 19 กันยายน 2564

https://www.youtube.com/watch?v=wAZyC8FlUkk

      10. นักข่าวพลเมือง : การบริหารจัดการน้ำ

ออกอากาศ 23 ตุลาคม 2564

https://www.youtube.com/watch?v=uVpSCbx1pX0

      11. นักข่าวพลเมือง : แปรรูปเพิ่มมูลค่าข้าวพื้นบ้าน จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ 15 มกราคม 2565

https://www.youtube.com/watch?v=uH0PA8MLgow

      12. นักข่าวพลเมือง : โควิด 19 กระทบอาชีพรับจ้าง จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ 8 กันยายน 2564

https://www.youtube.com/watch?v=riOmCI6dbXA

      13. นักข่าวพลเมือง : ปลากระชังสร้างรายได้ จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ 4 สิงหาคม 2564

https://www.youtube.com/watch?v=cAToTMmIvNw

      14. นักข่าวพลเมือง : แปรรูปกบสร้างรายได้ จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ 3 สิงหาคม 2564

https://www.youtube.com/watch?v=WB2c_QUojrg

      15. นักข่าวพลเมือง : อาหารกลางวันโรงเรียบ้านโนนสาด จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ 3 สิงคมคม 2564

https://www.youtube.com/watch?v=0mBkH8Dnqdg

0.20

3

 

 

 

ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการที่ได้รับรองคุณภาพ

 

11.6

จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด

 

49

ผลการดำเนินงาน (ร้อยละ)

 

23.67

คะแนน

 

5

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
2.3 - (1)
2.3 - (2)
2.3 - (3)
2.3 - (4)
2.3 - (5)
2.3 - (6)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5