ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วิภาวดี ทวี , กมลาสน์ กีรตินันท์วัฒนา , พรเทพ เจิมขุนทด , นงนุช แสงพฤกษ์ , ปัญญณัฐ ศักดิ์สิทธานุภาพ , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , ปิ่นอนงค์ จำปาเงิน , จุฑาสินี ชนะศึก
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ความสามารถด้านดิจิทัลเป็นสิ่งที่สามารถสะท้อนถึงความสามารถของบัณฑิตในการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ การเรียนรู้เพื่อการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ สามารถรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคดิจิทัล ตัวบ่งชี้นี้ประเด็นการพิจารณาประกอบด้วย
- ระดับความสามารถด้านดิจิทัลของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรีที่สอบผ่านตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

ข้อ 5 นักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถ ด้านดิจิทัล
2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ
3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถ ด้านดิจิทัล

       คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล ดังต่อไปนี้

        1. คณะกรรมการได้นำประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย มากำหนดแนวทางการพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (1.7-1(1) ประกาศนโยบายการพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล)

        2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการ แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2562 (1.7-1(2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2564)

       3. คณะกรรมการฯ จัดทำระบบระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล (1.7-1(3) ระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล)

       4. คณะกรรมการฯ ดำเนินการตามระบบและกลไกที่กำหนด

2มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

      คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการจัดทำแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตรทั้ง 9 หลักสูตร ที่เปิดสอนภายในคณะฯ จากนั้นคณะกรรมการได้รวบรวบข้อมูลเพื่อจัดทำแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ปีการศึกษา 2564 (1.7-2(1) แผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ปีการศึกษา 2564)

        ผู้รับผิดชอบแผนงานฯ นำแผนฯเสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 4/2564 มีการพิจารณาแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2564 วันที่ 20 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุมคณะฯ เพื่อพิจารณาลงมติในที่ประชุม ให้เกิดความเรียบร้อยและการดำเนินอย่างมีประสิทธิภาพ (1.7-2(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ วาระที่ 5.1)

     ผู้รับผิดชอบแผนงานฯ นำแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2564 เสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะ ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 วันที่ 28 ตุลาคม 2564  เพื่อเห็นชอบแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล  ประจำปีการศึกษา 2564  (1.7-2(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 4/2564 วาระที่ 4.11)

3มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

       คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการจัดสรรงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล รวมทั้งสิ้น 4,800 บาท (1.7-3(1) แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564) โดยจัดสรรงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการดำเนินการ 1 โครงการ คือ

      โครงการอบรมความรู้สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2-3 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 455 คน โดยแบ่งการอบรมเป็น 3 วัน คือ วันอาทิตย์ ที่ 1 สิงหาคม 2564 วันเสาร์
ที่ 7 สิงหาคม 2564 และวันอาทิตย์ ที่ 8 สิงหาคม 2564
(1.7-3(2) รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมและสอบวัดความรู้สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 2-3)

4มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

     คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการและมีการกำกับติดตาม และการกระบวนการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน ดังนี้

          1. คณะกรรมการพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล มีการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน ประจำปีการศึกษา 2564 และสรุปผลการดำเนินงานด้านโครงการ/กิจกรรม  ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ (1.7-4(1) รายงานผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล) โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 วันที่ 15 มิถุนายน 2565 (1.7-4(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 1/2565 วาระที่ 5.1) และนำเสนอผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน และโครงการ/กิจกรรมประจำปีการศึกษา  2564 ในการประชุมครั้งที่ 2 /2565 วันที่ 17 มิถุนายน 2565 (1.7-4(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 2/2565 วาระที่ 5.3)  

          2. คณะกรรมการฯ ได้นำข้อเสนอแนะจากประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ และผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล   มาปรับปรุงแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ปีการศึกษา 2565 (1.7-4(4) แผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ปีการศึกษา 2564) และ (1.7-4(5) แผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ปีการศึกษา 2565)

5มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

     คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายจาก 8 สาขา ได้แก่ 1. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน 2. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ 3. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ 4. สาขาวิชาภาษาจีน 5. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น 6. สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 7. สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ 8. สาขาวิชาประวัติศาสตร์ จำนวนทั้งสิ้น 275 คน มีผู้เข้าสอบความรู้ด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล จำนวน 228 คน (คิดเป็นร้อยละ 82.90) มีผู้สอบผ่านเกณฑ์ จำนวน 215 คน (คิดเป็นร้อยละ 78.18) จากจำนวนนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด (1.7-5(1) รายงานผลการสอบ สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2564)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5