ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย , สุชาติ ศรีชื่น , พรรทิวา อุโลก
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ระดับคณะ และหน่วยงานในสถาบัน โดยมีการดำเนินการตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินจะมุ่งไปที่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าการประเมินคุณภาพเพื่อให้สามารถส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนด สะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ
2 มีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา
3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ
4 นำผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรและคณะที่ผ่านการพิจารณาของกรรมการระดับสถาบันเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภามหาวิทยาลัยมาปรับปรุงหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีระบบและกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีระบบและกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ ตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2562 (5.4-7(1)) ดังนี้
    1.1 มีการจัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (5.4-7(2)) เพื่อให้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553
    1.2 มีการจัดทำประกาศ เรื่อง กรอบระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (5.4-7(3)) เพื่อให้การจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสอดคล้องและถูกต้องตรงกันทุกหน่วยงาน
    1.3 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อรับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ครบทุกตัวบ่งชี้ คลอบคลุมทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัย (5.4-7(4))
    1.4 มีการจัดทำปฎิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (5.4-7(5)) เพื่อให้ทุกหลักสูตร คณะ และสำนัก สามารถทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน 
    1.5 มีการจัดทำกรอบการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร คณะ สำนัก ที่มีความชัดเจน และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2565 เพื่อพิจารณา (5.4-7(6))
    1.6 มีการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2562 (5.4-7(7)) ผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2562 (5.4-7(8)) เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2562 และคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2562 (5.4-7(9)) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2562 และจัดทำรูปเล่มประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานได้รับทราบ
    1.7 มีการจัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยง และเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน (5.4-7(10))
    1.8 มีการจัดทำคู่มือการจัดการความรู้ แบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูล และเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน (5.4-7(11)) และจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อจัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้ทุกหน่วยงานในคลังข้อมูลการจัดการความรู้ (http://qa.sskru.ac.th/sys/?q=km)
    1.9 มีการจัดทำคู่มือการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย สูตรการคำนวณ และเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน (5.4-7(12))
    1.10 มีการจัดทำระบบสารสนเทศด้านการวิจัยสนับสนุนหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งระดับสถาบัน และระดับคณะ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล บริหารจัดการข้อมูล เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่างๆ เพื่อการตัดสินใจ (http://www.qa.sskru.ac.th/sys/)
    1.11 มีการจัดทำแบบฟอร์มการประเมินตนเอง และรายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (มคอ.7) ให้ทุกหน่วยงานใช้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (5.4-7(13))
    1.12 มีการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน และใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา (http://www.qa.sskru.ac.th/sys/)
    1.13 มีการจัดทำระบบสารสนเทศการจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำให้ทุกหลักสูตรใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล พร้อมสูตรการคำนวณ (5.4-7(14))

2มีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา ดังนี้

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 (5.4-2(1)) จำนวน 11 ชุด ครอบคลุมทุกพันธกิจ องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ ประกอบด้วย ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการ ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ด้านการบริหารจัดการ ด้านการพัฒนานักศึกษา ด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านการจัดการความรู้ และด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล ปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน

2. มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2564 ที่มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งขึ้นตามข้อ 1 อย่างต่อเนื่อง เพื่อกำกับติดตาม และขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย เช่น การประชุมคณะกรรมการฯ ด้านบริหารความเสี่ยง (5.4-2(2)) การประชุมคณะกรรมการฯ ด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล (5.4-2(3))

3มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตร และคณะ ให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร และคณะ ดังนี้

1. มีการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2562 (5.4-3(1)) เพื่อเป็นระบบ และกลไกในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

2. มีการจัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยง และเผยแพร่ให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน (5.4-3(2))

3. มีการจัดทำคู่มือการจัดการความรู้ (5.4-3(3)) และแบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลเพื่อรวบรวมองค์ความรู้ให้เป็นลายลักอักษร (5.4-3(4)) และจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อจัดเก็บและเผยแพร่องค์ความรู้ทุกหน่วยงานในคลังข้อมูลการจัดการความรู้ (http://qa.sskru.ac.th/sys/km-data-all)

4. มีการจัดทำคู่มือการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (5.4-3(5)) และจัดทำรายงานผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย ส่งให้ทุกคณะใช้ในการบริหารจัดการองค์กรต่อไป (5.4-3(6))

5. มีการจัดทำแบบฟอร์มการประเมินตนเอง และรายงานผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (มคอ.7) ให้ทุกหลักสูตรใช้ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (5.4-3(7))

6. มีการจัดทำระบบสารสนเทศเพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดเก็บเอกสารหลักฐาน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน และใช้ในการประกันคุณภาพการศึกษา (http://esar.sskru.ac.th/)

7. มีการจัดทำระบบสารสนเทศด้านการวิจัยสนับสนุนหน่วยงานด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งระดับสถาบัน และระดับคณะ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล บริหารจัดการข้อมูล เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพื่อการตัดสินใจ (http://qa.sskru.ac.th/research/sys/)

8. มีการจัดทำระบบการจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำให้ทุกหลักสูตรใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล (5.4-3(8))

4นำผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรและคณะที่ผ่านการพิจารณาของกรรมการระดับสถาบันเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา

มหาวิทยาลัย ได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2564 (5.4-4(1)) ที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 (5.4-4(2)) เสนอต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2565 เพื่อพิจารณา (5.4-4(3))

5นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภามหาวิทยาลัยมาปรับปรุงหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

หลังจากที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร คณะ สำนัก ประจำปีการศึกษา 2563 (5.4-5(1)) แล้วเสร็จ หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ได้นำผลการประเมินจากคณะกรรมการเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ครั้งที่ 8/2564 ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2564 (5.4-5(2)) และเสนอที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 7/2564 (5.4-5(3)) เพื่อพิจารณา และนำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Quality Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา 2564 (5.4-5(4)) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Quality Improvement Plan) (5.4-5(5)) ส่งผลให้ทุกหลักสูตร คณะ มีผลการประเมินสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รายละเอียดดังตารางนี้

หน่วยงาน

เปรียบเทียบผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 3 ปีย้อนหลัง

ปีการศึกษา 2562

ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2564

ระดับหลักสูตร

3.52

3.69 3.70

ระดับคณะ

4.23

4.45 4.57
6มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

มหาวิทยาลัย มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ดังนี้

    สภามหาวิทยาลัย ตระหนักและให้ความสำคัญในการบริหารจัดการหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ ติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพให้มหาวิทยาลัย คณะ และหลักสูตรสามารถทำงานเชื่อมกันได้อย่างเป็นระบบ 

    ผู้บริหารมหาวิทยาลัย มีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการดำเนินงานของหลักสูตร มีการกำหนดหน่วยงานและผู้รับผิดชอบระดับมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยประสานงาน มีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานของคณะและหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากร ทั้งด้านงบประมาณ สิ่งอำนวยความสะดวกให้พร้อมต่อการจัดการเรียนการสอน ระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการหลักสูตร ฯลฯ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร ในปีการศึกษา 2564 มีหลักสูตรที่เปิดทำการเรียนการสอนจำนวนทั้งสิ้น 47 หลักสูตร จากการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้มีผลการประเมินด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม มีผลการประเมินผ่าน 47 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 100 มีระดับคุณภาพ "ดี" (คะแนน 3.70) (5.4-6(1))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 ข้อ 5 คะแนน