✓ | 1 | มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารจัดการงานวิจัย ซึ่งได้มีระบบบริหารจัดการงานวิจัย จำนวน 3 ระบบ ได้แก่
1. ระบบบริหารจัดการงานวิจัยจากทุนภายใน (2.1-1(1)) ได้แก่ ระบบบริหารจัดการงานวิจัยของหน่วยงาน (Department Research Management System : DRMS) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้เปิดใช้งานระบบ DRMS ในการบริหารจัดการงานวิจัยและงบประมาณวิจัย สำหรับงบบำรุงการศึกษา (บกศ.) ซึ่งเป็นงบประมาณภายในของหน่วยงาน โดยระบบ DRMS พัฒนาระตามกระบวนการทำงานของระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System : NRMS) ซึ่งจะเป็นการเตรียมความพร้อมของนักวิจัยรุ่นใหม่ในการเสนอขอทุนจากแหล่งทุน PMU ต่างๆ โดยคุณสมบัติหรือฟังก์ชั่นการใช้งานของระบบ DRMS มีดังนี้
1.1 มีฟังก์ชั่นการประกาศทุนของหน่วยงาน
1.2 การนำเข้าข้อมูลข้อเสนอการวิจัยหรือโครงการวิจัยจะเป็นไปตามรูปแบบ NRIIS
1.3 มีระบบการจัดการข้อมูลนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน
1.4 สามารถแสดงข่าวประกาศ และทุนวิจัยที่เปิดรับของระบบ NRIIS ได้
1.5 มีฟังก์ชั่นการบริหารจัดการข้อเสนอการวิจัย ดังนี้
1) การตรวจสอบข้อเสนอการวิจัย
2) ตรวจสอบความซ้ำซ้อน
3) ตรวจสอบการติดค้างโครงการของนักวิจัย
4) การประเมินข้อเสนอการวิจัยแบบออนไลน์
5) การประกาศผลการพิจารณาข้อเสนอการวิจัย
1.6 สามารถนำเข้าข้อมูลผลผลิตผลลัพธ์ ผลกระทบ การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ของโครงการที่ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วได้
1.7 มีฟังก์ชั่นการบริหารจัดการโครงการวิจัย ดังนี้
1) การตรวจสอบข้อมูลโครงการ
2) การติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินการโครงการ
3) การประเมินรายงานความก้าวหน้า หรือรายงานฉบับสมบูรณ์แบบออนไลน์
4) การเบิกจ่ายงบประมาณ และการปิดโครงการ
1.8 มีระบบรายงานข้อเสนอการวิจัยและโครงการวิจัย และสามารถเลือกคอลัมน์การนำออกข้อมูลได้ตามต้องการ
1.9 สามารถเชื่อมโยงข้อมูลงานวิจัยและข้อมูลผู้ใช้งานของหน่วยงานกับระบบ NRIIS ได้ ทั้งในส่วนของทุนงบประมาณแผ่นดินและทุนของหน่วยงานเอง
2. ระบบบริหารจัดการงานวิจัยจากทุนภายนอก (2.1-1(2)) ได้แก่ ระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (National Research and Innovation Information System : NRIIS) โดยเป็นระบบที่เกิดจากร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการงบประมาณการวิจัยของประเทศ ได้แก่ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยงานบริหารจัดการ (Program Management Unit: PMU) ดำเนินการออกแบบและพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (National Research and Innovation Information System: NRIIS) เพื่อรองรับการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการบริหารจัดการงบประมาณการวิจัยและเป็นฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ โดยคุณสมบัติหรือฟังก์ชั่นการใช้งานของระบบ NRIIS มีดังนี้
2.1 Budget Allocation
1) จัดทำคำของบประมาณ/สร้างแผนงาน
2) ปรับงบประมาณแผนงาน/ข้อเสนอโครงการขั้นกลั่นกรอง
3) ปรับงบประมาณแผนงาน/ข้อเสนอโครงการขั้น Pre-ceiling
4) ปรับงบประมาณแผนงาน/ข้อเสนอโครงการหลังขั้นกรรมาธิการ
2.2 Proposal Submission & Assessment
1) เปิดรับข้อเสนอโครงการ
2) ประเมินข้อเสนอโครงการ
3) ปรับสถานะโครงการได้รับจัดสรร
2.3 Ongoing & Monitoring
1) นำเข้าโครงการ
2) กำหนดงวดเงิน/งวดงาน
3) จัดทำสัญญา
4) รายงานผลการดำเนินงาน
5) รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ
6) ครุภัณฑ์โครงการ
7) ปิดโครงการ/ขยายโครงการ
2.4 Research Evaluation
1) รายงานผลผลิต/ผลลัพธ์/ผลกระทบ
2) การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
3. ระบบสารสนเทศงานวิจัยที่สถาบันวิจัยและพัฒนาได้พัฒนาขึ้น ได้แก่ ระบบสารสนเทศงานวิจัย เพื่อการบริหารจัดการ เป็นระบบบริหารจัดการงานวิจัยที่ใช้ร่วมกันระหว่าง ระดับคณะ กับ มหาวิทยาลัย ซึ่งผู้รับผิดชอบทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย เจ้าหน้าที่ จะมี USER และ PASSWORD ในการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานของตนเองได้ (2.1 - 1(3)) ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้ ดังนี้
3.1 งานวิจัย
1) ชื่อโครงการภาษาไทย 2) แหล่งทุน 3) ปีงบประมาณ 4) หน่วยงาน 5) หัวหน้าโครงการ
3.2 นักวิจัย
1) ชื่อ-สกุล 2) อีเมล์ 3) เบอร์ติดต่อ 4) สังกัด 5) สถานะ
3.3 ตีพิมพ์เผยแพร่
1) ชื่อบทความ (ไทย) 2) ประเภทฐาน 3) วันที่เผยแพร่ 4) หน่วยงาน 5) นักวิจัย
3.4 นำไปใช้ประโยชน์
1) โครงการวิจัย/งานสร้างสรรค์ 2) นักวิจัย 3) หน่วยงาน 4) ลักษณะของการใช้ประโยชน์
| |
✓ | 2 | สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือศูนย์เครื่องมือหรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor) | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัย ในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. มีห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
มีการจัดสรรพื้นที่และอุปกรณ์เพื่อให้เป็นห้องปฏิบัติการ หรือห้องปฏิบัติงานสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของอาจารย์ และนักศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1.1 ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ (2.1-2(1)) ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ (2.1-2(2)) และห้องปฏิบัติการงานด้านอุตสาหกรรม (2.1-2(3))
1.2 ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการสาธารณสุขชุมชน (2.1-2(4)) และห้องอาคารห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การกีฬา (2.1-2(5))
2. มีห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
มีห้องสมุดที่มีศักยภาพและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพัฒนางานวิจัยแก่บุคคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-2(6)) ซึ่งมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สำหรับนักวิจัยที่เข้ามาลงระบบข้อมูล หรือศึกษาค้นคว้าข้อมูล (2.1-2(7)) และวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีศูนย์วิจัยเด็กและเยาวชน เพื่อปรึกษาหารือด้านงานวิจัย และสำหรับค้นคว้าเอกสารต่างๆ (2.1-2(8))
3. มีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
มีการจัดเตรียมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาวิจัย ได้แก่
3.1 ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ (2.1-2(9))
3.2 ตลอดจนมีการจัดการเรื่องการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย เพื่อให้นักวิจัยเกิดความสะดวกในการทำงาน และเกิดความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการเพื่อการวิจัยโดยได้มีการวางแนวปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน และจัดทำเป็นคู่มือเพื่อเผยแพร่ให้แก่บุคคลกรภายในได้รับทราบอย่างทั่วถึง ได้แก่
- คู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (2.1-2(10))
- แนวทางการใช้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (2.1-2(11))
- แนวทางการใช้ห้องปฏิบัติการและอาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีบัณฑิต (2.1-2(12))
- คู่มือการใช้ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ (2.1-2(13))
- ระเบียบและแนวปฏิบัติการขอใช้บริการห้องปฏิบัติการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (2.1-2(14))
- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา (2.1-2(15))
4. มีการจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ
มีการจัดโครงการต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมงานวิจัย และมีการสนับสนุนการจัดประชุมวิชาการ โดยการจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ
4.1 มีการจัดโครงการอบรม การเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก โดย ผศ.ดร.ประทีป พืชทองหลาง วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ห้องประชุมถนอม อินทรกำเนิด โรงแรมศรีพฤทธาลัยราชภัฏสัมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-2(16))
4.2 มีการจัดโครงการอบรมเทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติระดับนานาชาติในวันที่ 21 มิถุนายน 2565 โดย ศ.ดร.ปรีชา ประเทพา (2.1-2(17))
4.4 มีการจัดโครงการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำหรับคณะกรรมการและนักวิจัย (2.1-2(18))
| |
✓ | 3 | จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ และการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ ดังนี้
1. จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
มีการจัดสรรงบประมาณของสถาบันเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการวิจัย ในปีงบประมาณ 2565 ดังนี้
1.1 งบบำรุงการศึกษา (บกศ.) โดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้จัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนการวิจัย จำนวน 830,000 บาท โดยได้อนุมัติจัดสรรให้กับนักวิจัยทั้งหมด 18 โครงการ (2.1 - 3(1))
1.2 งบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ประเภท Fundamental Fund (Basic Research)โดยได้จัดสรรงบประมาณในการสนับสนุนการวิจัย จำนวน 7,910,000 บาท ได้อนุมัติจัดสรรให้กับนักวิจัยทั้งหมด 22 โครงการ (2.1 - 3(2))
2. มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยในการประชุมทางวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ โดยมีแนวทางในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุน ดังนี้
2.1 มีการก่อตั้งคณะกองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย กองทุนวิจัย พ.ศ. 2561 ในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัย (2.1-3(3)) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยให้แพร่หลายทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ความช่วยเหลือในการขอรับสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ ที่เกิดจากงานวิจัยของบุคลากร (2.1-3(4)) , (2.1-3(5)) มีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัย เพื่อจัดทำการประชาสัมพันธ์ เรื่อง ขอรับค่าตอบแทนการนำเสนอผลงานวิจัย และตีพิมพ์ในวารสาร ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 5 มกราคม 2565 (2.1-3(6)) มีการประชาสัมพันธ์ เรื่อง ขอรับค่าตอบแทนการนำเสนอผลงานวิจัย และตีพิมพ์ในวารสาร และส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดนักวิจัยดีเด่น โดยจัดทำบันทึกข้อความประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย บนเว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนา (2.1-3(7)) , (2.1-3(8)) มีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัย ครั้งที่ 2/2565 วันที่ 15 มิถุนายน 2565 เพื่อพิจารณาผลนักวิจัยที่ได้รับค่าตอบแทนการนำเสนอผลงานวิจัย และตีพิมพ์ในวารสาร และส่งผลงานวิจัยเข้าประกวดนักวิจัยดีเด่น (2.1-3(9)) หลังจากคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัยได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาผลนักวิจัยที่ได้รับค่าตอบแทนการนำเสนอผลงานวิจัย และตีพิมพ์ในวารสาร ซึ่งสถาบันวิจัยและพัฒนาได้ประกาศผลการพิจารณาลงสื่อประชาสัมพันธ์ของสถาบันวิจัยและพัฒนา รายละเอียด ดังนี้
- นำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ จำนวน 16 ผลงาน ผลงานละ 1,650 บาท รวมทั้งสิ้น 26,400 บาท
- นำเสนอผลงานวิจัยระดับนานาชาติ -ไม่มีผู้ยื่นขอ-
- ตีพิมพ์เผยแพร่วารสารระดับชาติ TCI ฐาน 1 และฐาน 2
- TCI ฐาน 1 จำนวน 3 ผลงาน ผลงานละ 3,300 บาท รวมทั้งสิ้น 9,900 บาท
- TCI ฐาน 2 จำนวน 13 ผลงาน ผลงานละ 1,650 บาท รวมทั้งสิ้น 26,400 บาท
- ตีพิมพ์เผยแพร่วารสารระดับนานาชาติ ในฐาน ISI หรือ Scopus รวมทั้งสิ้น 36,300 บาท แยกรายละเอียดเบิกจ่าย ดังนี้
- Scopus (Q4) จำนวน 1 ผลงาน 5,445 บาท
- Scopus (Q3) จำนวน 1 ผลงาน 9,075 บาท
- Scopus (Q2) จำนวน 2 ผลงาน ผลงานละ 10,890 บาท รวมทั้งสิ้น 21,780 บาท (2.1-3(10))
2.2 มหาวิทยาลัย ได้จัดทำประกาศ เรื่อง รางวัลสนับสนุนตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ ปีการศึกษา 2564 เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยให้เป็นเลิศในการเผยแพร่ผลงานวิจัยระดับนานชาติ ประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนา (2.1-3(11)) มีการประชุมคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนา ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 ได้พิจารณารางวัลสนับสนุนตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิจัยระดับนานาชาติ ปีการศึกษา 2564 ดังนี้
ตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิจัยระดับนานาชาติ จำนวนทั้งสิ้น 115,000 บาท
- (Q2) จำนวน 4 ผลงาน ผลงานละ 20,000 บาท รวมทั้งสิ้น 80,000 บาท
- (Q3) จำนวน 1 ผลงาน 15,000 บาท
- (Q4) จำนวน 2 ผลงาน ผลงานละ 10,000 บาท รวมทั้งสิ้น 20,000 บาท (2.1-3(12))
2.3 สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ประกาศผลการพิจารณานักวิจัยดีเด่น ดังนี้
- นักวิจัยดีเด่นด้านการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก : อาจารย์จีระนันท์ วงศ์วทัญญู
- นักวิจัยดีเด่นด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติ : ไม่มีผู้ส่งผลงาน
- นักวิจัยดีเด่นด้านการอ้างอิงผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรวรรณ สิทธิศาสตร์
- นักวิจัยดีเด่นด้านการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร : ไม่มีผู้ส่งผลงาน (2.1-3(13))
| |
✓ | 4 | มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น ดังนี้
1. มีการจัดกิจกรรมโครงการเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1.1 มีการจัดอบรมการบริหารจัดการด้านการเงิน พัสดุและครุภัณฑ์ สำหรับโครงการวิจัย ภายใต้หลักธรรมมาภิบาล ในวันที่ 11 ตุลาคม 2564 (2.1-4(1))
1.2 มีการจัดโครงการอบรม “จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” และ “ส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสในการทำวิจัย” วันที่ 12 - 13 พฤศจิกายน 2564 (2.1-4(2))
1.3 มีการจัดโครงการเทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุน ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 (2.1-4(3))
1.4 มีการจัดโครงการอบรมการจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร สำหรับผลงานวิจัยหรือสิ่งประดิษฐ์ ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 (2.1-4(4))
1.5 มีการจัดโครงการพัฒนากรอบการวิจัยเชิงพื้นที่ ในวันที่ 19 – 20 พฤษภาคม 2565 (2.1-4(5))
2. มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
มีการจัดทำประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การยกย่องเชิดชูเกียรติ นักวิจัยดีเด่น เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้นักวิจัยที่มีผลงานดีเด่น โดยมีรับรางวัล เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท (2.1-4(6)) นอกเหนือจากนั้นยังมีการประชาสัมพันธ์การส่งผลงานเข้าประกวด ไปยังหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย โดยมีรางวัลประเภทต่างๆ ทั้งหมด 4 ประเภท ประเภทละ 1 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท ประกอบด้วย รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก 1 รางวัล , รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติ หรือนานาชาติ 1 รางวัล , รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการอ้างอิงผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ 1 รางวัล , รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร 1 รางวัล (2.1-4(7))
ส่งผลให้ในปีการศึกษา 2564 มีนักวิจัยที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 2 คน ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัย ครั้งที่ 2/2564 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2565 (2.1-4(8)) พิจารณาให้ความเห็นชอบ และมหาวิทยาลัยมีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องเชิดชูดเกียรติตามระบบกลไกที่กำหนด มีรายชื่อ ดังนี้
1) นักวิจัยดีเด่นด้านการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก : อาจารย์จีระนันท์ วงศ์วทัญญู
2) นักวิจัยดีเด่นด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติ : ไม่มีผู้ส่งผลงาน
3) นักวิจัยดีเด่นด้านการอ้างอิงผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรวรรณ สิทธิศาสตร์
4) นักวิจัยดีเด่นด้านการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร : ไม่มีผู้ส่งผลงาน (2.1-4(9))
| |
✓ | 5 | มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ดังนี้
1. เครือข่ายสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง
1.1 ความร่วมมือ
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อส่งเสริมการวิจัยตามภารกิจการจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นและชุมชนอื่น ระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งทั่วประเทศ โดยกำหนดเป้าหมาย นโยบายการพัฒนาระบบการวิจัย สนับสนุน ส่งเสริมการวิจัยสู่ความเป็นเลิศเพื่อพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (2.1- 5 (1))
1) พัฒนาระบบบริหารจัดการวิจัยระดับสถาบันและระดับเครือข่ายที่จะมีนักจัดการงานวิจัยและชุมชน ท้องถิ่น
2) พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ เพื่อยกระดับคุณภาพนักวิจัยและเครือข่ายให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น
3) เกิดการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นร่วมกัน ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาของชุมชน
4) ส่งเสริมการนำผลงานวิจัย เพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสู่การตีพิมพ์เผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ และมีส่วนร่วมในการดำเนินการระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนา (2.1 – 5 (2))
1.2 ผลการดำเนินการ
1) นักวิจัยแต่ละมหาวิทยาลัย ที่เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพ สามารถพัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่/เชิงประเด็นในระดับสถาบันและระดับเครือข่าย ร่วมถึงการเป็นนักจัดการงานวิจัยชุมชน ท้องถิ่น
2) เกิดการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น
2. เครือข่ายระบบบริหารข้อมูลนำชมพิพิธภัณฑ์แบบพกพา (Museum Pool)
2. ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนา โครงการเครือข่ายระบบริหารข้อมูลนำชมพิพิธภัณฑ์แบบพกพา (Museum Pool ) กับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการใช้โมไบล์แอฟพลิเคชั่น Museum Pool เป็นสื่อการเรียน รวมถึงเพื่อให้เกิดศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีพิพิธภัณฑ์ชุมชน (Excellent Center) ในภูมิภาค อันจะนำไปสู่การพัฒนาเป็นศูนย์กลางฐานข้อมูลในชุมชน (2.1 - 5 (3))
2.1 ความร่วมมือ
1) สร้างเครือข่ายสถาบันการศึกษา
2) ส่งเสริมการใช้โมไบล์แอพลิเคชั่น Museum Pool เป็นสื่อการเรียนการสอน
3) สร้างความร่วมมือในชุมชน พื้นที่เป้าหมายในการสร้างเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ในพื้นที่
4) สร้างแหล่งข้อมูลเชิงอัตลักษณ์ในพื้นที่
5) เกิดศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีพิพิธภัณฑ์ชุมชน (Excellent center ) ในภูมิภาค
2.2 ผลการดำเนินการ
1) นักวิจัยมีศักยภาพในการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ที่สะท้อนถึงเรื่องราวประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรมในท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ และการใช้แอพลิเคชั่น Museum Pool เพื่อสื่อการเรียนการสอน และได้เผยแพร่ให้กับผู้คนที่สนใจ
2) การขับเคลื่อนพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น
3. เครือข่ายงานวิจัยท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3.1 ความร่วมมือ
มีการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ปีที่ 2 โดยมีการขับเคลื่อนงานวิจัยท่องเที่ยวกับเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีที่ (2.1-5 (4))
3.2 การดำเนินการร่วมกัน
ได้มีการประชุมระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 เพื่อหารือแนวทางส่งเสริมการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนของเครือข่าย และได้ส่งนักวิจัยเข้าร่วมพัฒนาโครงการวิจัยร่วมกันของเครือข่ายวิจัยการท่องเที่ยว
3.3 ผลการดำเนินการ
จากความร่วมมือระหว่างเครือข่ายเครือข่ายด้านงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ผลการดำเนินการ พบว่า
ผลผลิตจากงานวิจัย คือ ผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยว ที่มาจากองค์ความรู้ทางภูมิปัญญา อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น และองค์ความรู้ทางวิชาการ ซึ่งเป็นงานวิจัยและนวัตกรรมที่จะยกระดับมูลค่าเพิ่มทางสินค้า ผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้และเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนบนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น การพัฒนาโปรแกรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยว การพัฒนาระบบการตลาดและการจัดการโลจิสติกส์สำหรับการท่องเที่ยว
ขณะที่งานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเรื่อง นวัตกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์วัฒนธรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าปักแซว บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ผลผลิตจากงานวิจัย คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทอผ้า ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า ของที่ระลึก และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าอื่นๆ ภายใต้แผนงานการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาพื้นที่บนฐานอัตลักษณ์ท้องถิ่น
| |
✓ | 6 | มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการผลักดันให้นักวิจัยนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตามระบบการและกลไกการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ ดังนี้
1. มีการจัดทำคู่มือการบริหารงานวิจัย (2.1-6(1)) และกำหนดระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ประชุมวางแผนดำเนินการ โดยมีวิธีการดังนี้
1.1 ประสานผู้ที่เกี่ยวข้องทำหนังสือเชิญผู้เข้าประชุม ได้แก่นักวิจัย นักวิชาการ คน แกนนำกลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ กรรมการดำเนิน
1.2 ประชุมวางแผนการดำเนินงานและแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์รูปแบบการใช้ประโยชน์ โดยมีวิธีการดังนี้
2.1 ประสานผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ได้แก่ ผู้ใช้ประโยชน์โดยตรงจากการวิจัย ฝ่ายที่มีส่วน ส่งเสริมสนับสนุน ฝ่ายนักวิชาการ ผู้บริหารระดับนโยบาย และผู้สนใจ
2.2 ประชุมร่วมกันวิเคราะห์รูปแบบการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ตามประเภทของงานวิจัยและ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ เช่น การใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน การตัดสินใจเชิงนโยบาย การพัฒนาธุรกิจเป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3 พิจารณารูปแบบการใช้ประโยชน์ โดยมีวิธีการดังนี้
3.1 กรณีไม่ใช่การติดต่อโดยตรงจัดแยกไปพิจารณารูปแบบการเผยแพร่ ซึ่งอาจเป็นการเผยแพร่โดย วารสารหรือจัดประชุมวิชาการ
3.2 กรณีติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ประโยชน์ จัดเข้ากลุ่มกิจกรรมเฉพาะที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 4 การจัดกิจกรรมใช้ประโยชน์โดยตรงตามกลุ่มเป้าหมาย โดยมีวิธีการดังนี้
4.1 ประชุมวางแผนปฏิบัติงานร่วมกับผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ นักวิจัย คณะกรรมการดำเนินงาน และกลุ่ม ผู้ใช้ประโยชน์งานวิจัย
4.2 ปฏิบัติการสู่การใช้ประโยชน์โดยตรงตามแผนที่กำหนดในรูปแบบต่างๆ เช่น
4.2.1 ส่งผลวิจัยตรงกับผู้ใช้และติดตามผล
4.2.2 จดสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตรก่อนการส่งผลต่อผู้ใช้
4.2.3 สังเคราะห์องค์ความรู้ก่อนการนำไปใช้
4.2.4 จัดโครงการขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 5 จัดการความรู้ บันทึกผลเพื่อนำไปใช้ โดยมีวิธีการดังนี้
5.1 ประชุมคณะผู้ดำเนินการเสนอผลการประเมินการจัดประชุมเพื่อนำผลไปใช้ปรับปรุง
5.2 จัดการความรู้โดยใช้เทคนิค After Action Review (AAR) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
2. การดำเนินการตามระบบที่กำหนด
มหาวิทยาลัยฯ มุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในด้านวิชาการ ด้านการพัฒนาชุมชน สังคม ท้องถิ่น ตลอดจนเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีการดำเนินงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในคู่มือการบริหารงานวิจัยอย่างเป็นระบบ ดังนี้
ขั้นตอนการวางแผน
1. มหาวิทยาลัยฯ ได้สัญจรไปทุกคณะ/วิทยาลัย สำนักและสถาบัน ภายในมหาวิทยาลัย เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลศักยภาพนักวิจัย สถานภาพงานวิจัย และความต้องการงานวิจัย (2.1-6(2)) (2.1-6(3))
2. มหาวิทยาลัยฯ ได้ขอข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภายในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อสอบถามความต้องการงานวิจัย เพื่อนำมาเป็นกรอบในการวิจัยของหน่วยงาน (2.1-6(4)) และได้จัดเสวนาในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom ในหัวข้อ “มุ่งเป้าสู่การวิจัยใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจกับทุน บพข.” ซึ่งได้เชิญตัวแทนจากภาคธุรกิจที่จะมาแลกเปลี่ยนถึงความต้องการงานวิจัยของภาคธุรกิจจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าธุรกิจอีกด้วย (2.1-6(5))
3. มหาวิทยาลัยฯ ได้จัดโครงการพัฒนากรอบการวิจัยเชิงพื้นที่ โดยมีตัวแทนของคณะต่างๆ เข้าร่วม ศึกษาบริบท สภาพปัญหา ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น ของพื้นที่ทุ่งกุลา และชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ และนำข้อมูลจากการลงพื้นที่มาพัฒนากรอบการวิจัยให้สอดคล้องกับความต้องการการใช้ประโยชน์จากท้องที่อย่างเป็นรูปธรรม (2.1-6(6))
4. มหาวิทยาลัยฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยมีการสร้างสรรค์ผลงานอย่างต่อเนื่องและเป็นการคุ้มครองสิทธิ์จากการสร้างสรรค์ผลงาน (2.1-6(7))
5. มหาวิทยาลัยฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัย (2.1-6(8)) เพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติ และนานาชาติ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ความช่วยเหลือในการขอรับสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ ที่เกิดจากงานวิจัยของบุคลากร ซึ่งได้จัดทำประกาศหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย (2.1-6(9)) และประกาศหลักเกณฑ์การยกย่องเชิดชูเกียรตินักวิจัยดีเด่น (2.1-6(10))
ขั้นตอนวิเคราะห์รูปแบบการใช้ประโยชน์
มีการจัดการจัดการความรู้ (KM) แนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้รูปแบบการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ 5 ด้าน (2.1-6(11)) คือ
1.1 การนำไปใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย
1.2 การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
1.3 การนำไปใช้ประโยชน์เชิงวิชาการ
1.4 การนำไปใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ
1.5 การนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่
ขั้นตอนพิจารณารูปแบบการใช้ประโยชน์ และการจัดกิจกรรมใช้ประโยชน์โดยตรงตามกลุ่มเป้าหมาย
การพิจารณารูปแบบการใช้ประโยชน์ นักวิจัยจะเป็นผู้พิจารณาการนำไปใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยด้วยตนเอง โดยพิจารณาดังนี้
1. กรณีไม่ใช่การนำไปใช้ประโยชน์โดยตรงให้นำไปเผยแพร่โดยการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารหรือในการจัดการประชุมวิชาการ ตามระบบและกลไกส่งเสริมสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย ของคู่มือการบริหารจัดการงานวิจัย (2.1-6(12))
2. กรณีการนำไปใช้ประโยชน์โดยตรงกับผู้ใช้ประโยชน์ ให้นักวิจัยส่งต่อผลงานวิจัยให้กับผู้ใช้ประโยชน์ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย และให้ผู้ใช้ประโยชน์ส่งแบบตอบรับการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (2.1-6(13))
ขั้นตอนจัดการความรู้ บันทึกผลเพื่อนำไปใช้
มหาวิทยาลัยฯ มีการนำผลการวิจัยและแบบตอบรับการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ มาสังเคราะห์องค์ความรู้ก่อนการนำไปใช้ประโยชน์ (2.1-6(14))
| |
✓ | 7 | มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้มีระบบและกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด ดังนี้
1. ระบบและกลไกเพื่อคุ้มครองสิทธิ์
1.1 มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ.2553 (2.1-7 (1)) เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนงานวิจัยต่างๆที่ถูกพัฒนาขึ้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
1.2 มีการออกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง แนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย (2.1-7 (2)) เพื่อผลักดันให้มีการนำผลงานที่ได้จากการวิจัยในเชิงวิชาการออกใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นสร้างสรรค์ผลงานการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อันอาจนำไปเป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
1.3 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อทำหน้าที่ (2.1-7 (3)) พิจารณา ให้ความเห็น กำกับติดตาม และดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ โดยอาจารย์หรือนักวิจัยที่ต้องการร้องขอการคุ้มครองสิทธิ์ในงานวิจัยสามารถดำเนินการตามขั้นตอนตามแผนภาพขั้นตอนการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดในกรณีที่ต้องการร้องขอความคุ้มครอง (2.1-7 (4)) โดยมีขึ้นตอนในการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ ดังต่อไปนี้
1) เจ้าของผลงานวิจัยชิ้นที่ถูกละเมิดสิทธิ์ดำเนินการยื่นคำร้องมาที่งานวิจัยและพัฒนา พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าตนเองเป็นเจ้าของผลงานที่ถูกละเมิดสิทธิ์ ตลอดจนหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการละเมิดสิทธิ์ในงานวิจัยของตนเอง หรือเอกสารอื่น ๆ ประกอบเพื่อความชัดเจน
2) งานวิจัยและพัฒนาเป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของผลงาน ทำการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และตรวจสอบความสมบูรณ์ของเรื่องร้องเรียน (2.1-7 (5))
3) ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิ์ของงานวิจัยที่ได้มีการร้องเรียน
4) นำเสนอแนวทางในการจัดการปัญหาด้านการละเมิดสิทธิ์ และมติของที่ประชุมคณะกรรมการฯต่ออธิการบดีเพื่อสังการตามอำนาจของอธิการบดี
5) ในกรณีที่ต้องการฟ้องร้องหรือดำเนินการเอาผิดทางคดีความให้นิติกรของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเป็นผู้ดำเนินการ
1.4 มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย กองทุนวิจัย ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่เกิดจากการให้ทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย อาทิ ผลงาน ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากงานวิจัย ตามระเบียบนี้ ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย เว้นแต่มีข้อตกลงไว้เป็นอย่างอื่นแต่ผู้วิจัยมีสิทธิตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการได้ การตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยอันเป็นผลงานที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินกองทุนวิจัย และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (2.1-7 (6)) ยังไม่พบว่ามีการร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิ์ต่องานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ และยังไม่มีการร้องขอการคุ้มครองสิทธิ์แต่อย่างใด
1.5 มีการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้นักวิจัยมาจดสิทธิบัตรในหลากหลายรูปแบบ เช่น แจ้งเป็นหนังสือบันทึกข้อความ ประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และอื่นๆ (2.1-7 (7)) ทั้งนี้ สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้มีกระบวนการดำเนินงานตั้งแต่การประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักวิจัย โดยมีการแสดงข้อมูลกระบวนการ/ขั้นตอนการยื่นและเอกสารเกี่ยวกับการยื่นจดสิทธิบัตรต่างๆขึ้นทางเว็บไซต์
2. มีการดำเนินการตามระบบที่กำหนด
มีการจัดประชุมวิเคราะห์ตัวช้วัดและค่าเป้าหมาย ปี 2566 – 2570 ร่วมกับบุคลากรจากคณะ/วิทยาลัย โดยมีตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ (2.1-7 (8)) ในตัวชี้วัดที่ 2 ซึ่งมีการกำหนดค่าเป้าหมายร่วมกัน ดังตารางนี้
ตัวชี้วัด
|
ค่าเป้าหมาย
|
2566
|
2567
|
2568
|
2569
|
2570
|
1. จำนวนนักวิจัยที่สามารถขอทุนจากแหล่งทุนภายนอก
|
18
|
20
|
22
|
24
|
26
|
2. จำนวนผลงานวิจัยที่เข้าสู่กระบวนการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
|
1
|
1
|
1
|
2
|
2
|
3. จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับชาติหรือนานาชาติ
|
18
|
20
|
22
|
24
|
26
|
4. จำนวนเครือข่ายความร่วมมือในการสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
5. ร้อยละงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม
|
30
|
35
|
40
|
45
|
50
|
6. จำนวนงานวิจัย นวัตกรรม ผลงานรับใช้ท้องถิ่นและสังคม และผลงานสร้างสรรค์ของมหาวิทยาลัยได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ ก.พ.อ. กำหนด
|
10
|
15
|
20
|
25
|
30
|
7. จำนวนผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่นำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์
|
1
|
1
|
1
|
2
|
2
|
8. จำนวนชิ้นงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมที่บูรณาการการเรียนการสอน การบริการวิชาการ หรือการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
|
6
|
8
|
10
|
12
|
14
|
9. สัดส่วนจำนวนเงินทุนสนุบสนุนงานวิจัยภายนอกและภายในต่ออาจารย์ประจำและนักวิจัย
|
|
|
|
|
|
9.1 กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
|
60,000:1
|
60,000:1
|
60,000:1
|
65,000:1
|
70,000:1
|
9.2 กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
|
50,000:1
|
50,000:1
|
50,000:1
|
50,000:1
|
60,000:1
|
9.3 กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
|
25,000:1
|
25,000:1
|
25,000:1
|
25,000:1
|
30,000:1
|
| |