ตัวบ่งชี้ที่ 1.6 แนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลขององค์กร

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ธีรพงศ์ สงผัด , จันจิรา ชาติมนตรี
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

แนวปฏิบัติที่ดี คือ วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทําให้หน่วยงานประสบความสําเร็จ หรือสู่ ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ มีหลักฐานของความสําเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้ และมีการวิเคราะห์ และทบทวนผลการดําเนินการ เพื่อประเมินผลสําเร็จ ความก้าวหน้าในการบรรลุวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี และนําไปสู่ การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 พันธกิจ
2 มีกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ที่กําหนด ในข้อ 1
3 มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด
4 มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ใตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)
5 มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการกําหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน อย่างน้อย 1 พันธกิจ

1. สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน ดังนี้

          1.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสถาบันวิจัยและพัฒนา ปีการศึกษา 2564 (1.6-1(1)) โดยมีส่วนร่วมของบุคลากร ตั้งแต่ รองอธิการบดี เป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ ผู้อำนวยการสถาบันฯ รองผู้อำนวยการสถาบันฯ และหัวหน้าสำนักงานสถาบันฯ เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และตัวแทนจากทุกกลุ่มงานเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อทำหน้าที่กำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูลปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2564

          1.2 มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน จำนวน 1 เรื่อง คือ แนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยมีเป้าหมายการจัดการความรู้คือ 1. อาจารย์และนักวิจัยสามารถพัฒนางานวิจัยให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ประโยชน์ 2. แหล่งทุน หรือหน่วยบริหารจัดการทุนสามารถบริหารจัดการทุนวิจัยที่ตอบโจทย์ความต้องการของพื้นที่ 3. ผู้ใช้ประโยชน์ได้องค์ความรู้เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาของชุมชนท้องถิ่น ตามมติการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 9/2564 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 (1.6-1(2))

          1.3 มีการจัดทำแผนการจัดการความรู้ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2565 (1.6-1(3)) และผ่านความเห็นชอบจากการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 9/2564 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 วาระที่ 5.3 (1.6-1(2))

2มีกําหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ที่กําหนด ในข้อ 1

2. สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะให้สอดคล้องกับประเด็นความรู้ ไว้ในแผนการจัดการความรู้สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2565 (1.6-2(1)) โดยผ่านความเห็นชอบจากการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 9/2564 วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 วาระที่ 5.3 (1.6-2(2))

3มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จาก ความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กําหนด 3. สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในข้อที่ 2 ในวันที่ 22 เมษายน 2565 (1.6-2(1))
4มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กําหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ใตัวบุคคล และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge)

4. สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดฯ ดังนี้

         4.1 มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง แนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ ในวันที่ 22 เมษายน 2565 ณ ห้องประชุมชั้น 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการแปลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วยอาจารย์ นักวิจัย จำนวน 18 คน

         4.2 มีการรวบรวมความรู้จากแหล่งเรียนรู้อื่นๆ เพิ่มเติมเพื่อจัดให้เป็นระบบและหมวดหมู่ พร้อมทั้งประมวลและกลั่นกรองความรู้ โดยผ่านความเห็นชอบจากการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 5/2565 วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 วาระที่ 5.5 (1.6-2(1))

         4.3 มีการจัดเก็บองค์ความรู้อย่างเป็นระบบไว้เป็นลายลักษณ์อักษร (1.6-4(2)) และเผยแพร่ไปยังบุคลากร หน่วยงานต่าง ๆ (1.6-4(3)) ตลอดจนเว็บไซต์ (http://www.research.sskru.ac.th/) (1.6-4(4)) เพื่อจัดเก็บไว้อย่างเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ เพื่อให้อาจารย์ บุคลากร และผู้ที่สนใจนำไปใช้ประโยชน์

5มีการนําความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันหรือปีที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

5. สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีงบประมาณปัจจุบันจัดทำเป็นหนังสืออิเล็คทรอนิคส์ (E-book) (1.6-5(1)) และเผยแพร่ไปยังบุคลากรหน่วยงานต่าง ๆ (1.6-5(2)) ตลอดจนเว็บไซต์ (http://www.research.sskru.ac.th/) (1.6-5(3)) โดยสถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม ได้นำไปปรับใช้ในการวางระบบและกลไกการบริหารจัดการการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยได้กำหนดในแผนการพัฒนาการปฏิบัติงาน มีการพัฒนาข้อเสนอโครงการ รวมถึงการออกแบบกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนรวมกับผู้ใช้ประโยชน์และตรงตามความต้องการของชุมชน (1.6-5(4)) 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5