ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การบริหารความเสี่ยง

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สะอาด ศิริโชติ , บุณฑริการ์ บุญกันหา
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

หน่วยงานสนับสนุนจะต้องดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดําเนินงานตามพันธกิจของ หน่วยงานและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับสามารถควบคุมได้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทา ความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสํารองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่างๆ มีความพร้อมใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบรรลุเป้าหมายของสถาบัน/หน่วยงาน ตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสําคัญ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีผู้บริหารสูงสุด หรือตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเป็นประธานในคําสั่ง และมีบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน โดยมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ และระบบกลไกหรือกระบวนการทํางานของคณะกรรมการอย่างชัดเจน
2 มีจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จากภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ครอบคลุมตามพันธกิจหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของหน่วยงานอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน
3 มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และแผนบริหารความเสี่ยงจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน
4 มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยง ที่หน่วยต้องเร่งดําเนินการด่วน และบอกได้ถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ทําให้ความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย 1 เรื่อง
5 มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลตามระยะเวลา ที่กําหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาร่วมกัน
6 มีการนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานตนเองและหน่วยตรวจสอบภายในไปใช้ในการ ปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป และให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงาน ตามปกติอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีผู้บริหารสูงสุด หรือตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเป็นประธานในคําสั่ง และมีบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน โดยมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ และระบบกลไกหรือกระบวนการทํางานของคณะกรรมการอย่างชัดเจน

 

                

๑. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานด้านบริหารความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี ดังนี้

           สำนักงานอธิการบดี มีเกณฑ์ ดังนี้

           มีการแต่งตั้งคณะกรรมการด้านบริหารความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี (๑.๔-๑(๑)) โดยการมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ประกอบด้วย รองอธิการบดี และ ผู้ช่วยอธิการบดี กำกับดูแลหน่วยงานภายใต้สำนักงานอธิการบดีเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำแผน ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดีเป็นประธานกรรมการ รองผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน และหัวหน้างานภายใต้สำนักงานอธิการบดีเป็นคณะกรรมการ ผู้อำนวยการกองกลางเป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้างานบริหารทั่วไปและเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปเป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง

2มีจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จากภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ครอบคลุมตามพันธกิจหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของหน่วยงานอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน

๒. มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากปัจจัยภายในและภายนอกหน่วยงานสำนักงานอธิการบดี

           สำนักงานอธิการบดี มีเกณฑ์ ดังนี้

            มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๔/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๕.๕ (๑.๔–๒(๑)) เพื่อ (ยกร่าง) แผนบริหารความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี (๑.๔–๒(๒)) โดยร่วมกันวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากภายในและภายนอกที่ครอบคลุมพันธกิจของหน่วยงาน โดยมีประเด็นความเสี่ยงตามแผน จำนวน ๒ ประเด็น แบ่งเป็น ด้านกลยุทธ์ จำนวน - ประเด็น ด้านดําเนินงาน จำนวน ๒ ประเด็น ด้าน การเงินและงบประมาณ จำนวน - ประเด็น ด้านกฎหมายและกฎระเบียบ จำนวน - ประเด็น ดังนี้ 

 

 

 

 

 

ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

R๑ โครงการบริหารจัดการงานพัฒนานักศึกษา

ปัจจัยภายใน

- ขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

- บุคลากรไม่ยอมรับข้อตกลงการปฏิบัติตนตามวิชาชีพ

- มอบหมายหน้าที่ผู้รับผิดชอบไม่ชัดเจน

 

ปัจจัยภายนอก

- สถานการณ์โควิด ๑๙

R๒ โครงการประชุมสภามหาวิทยาลัย

ปัจจัยภายใน

-งบประมาณไม่เพียงพอ

 

ปัจจัยภายนอก

-เอกสารประกอบการเบิกจ่ายได้รับไม่ทันตามกำหนดเวลา

3มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และแผนบริหารความเสี่ยงจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน

๓. การประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี

           สำนักงานอธิการบดี มีหลักเกณฑ์ดังนี้

               ๓.๑ มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๔/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ วระที่ ๕.๖ (๑.๔–๓(๑)) เพื่อร่วมกันประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยง โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี พบว่า มีประเด็นความเสี่ยง จำนวน ๒ ประเด็น โดยเรียงระดับความเสี่ยงจากมากไปหาน้อยที่เกิดจากผลการประเมินโอกาส และ ผลกระทบ ได้ดังนี้

 

ความเสี่ยง

โอกาส

ผลกระทบ

ระดับความเสี่ยง

R๑ โครงการบริหารจัดการงานพัฒนานักศึกษา

๑๒

R๑ โครงการประชุมสภามหาวิทยาลัย

4มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยง ที่หน่วยต้องเร่งดําเนินการด่วน และบอกได้ถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ทําให้ความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย 1 เรื่อง

๔. มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี, มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย ๑ เรื่อง

           สำนักงานอธิการบดี มีเกณฑ์ ดังนี้

               ๔.๑ มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๕/๒๕๖๓ ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๕.๖ (๑.๔–๔ (๑)) เพื่อร่วมกันกำหนดกิจกรรมโครงการในการบริหารความเสี่ยง โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี (๑.๔–๔(๒))

               ๔.๒ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี (๑.๔–๔(๓)) เพื่อกำกับติดตามผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง พบว่า มีประเด็นความเสี่ยงตามแผน จำนวน ๑ ประเด็น ระดับความเสี่ยงลดลง จำนวน ๑ เรื่อง ความเสี่ยงเท่าเดิม จำนวน - เรื่อง ระดับความ เสี่ยงสูงขึ้น จำนวน - เรื่อง ส่งผลให้ บรรลุเป้าหมาย (๑.๔–๔(๔)) ดังนี้

 

ความเสี่ยง

โอกาส

ผลกระทบ

ระดับความเสี่ยง

R๑ โครงการบริหารจัดการงานพัฒนานักศึกษา

R๒ โครงการประชุมสภามหาวิทยาลัย

5มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลตามระยะเวลา ที่กําหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาร่วมกัน

๕. มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย ๑ เรื่อง

           สำนักงานอธิการบดี มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

               ๕.๑ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามและประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี (๑.๔–๕(๑)) เพื่อทำหน้าที่บริหารความเสี่ยง พบว่า หน่วยงานมีระดับความเสี่ยงทั้งสิ้น จำนวน ๒ เรื่อง มีระดับความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จำนวน - เรื่อง ระดับความเสี่ยงเท่าเดิม จำนวน - เรื่อง ระดับความเสี่ยงลดลง จำนวน ๒ เรื่อง ส่งผลให้บรรลุเป้าหมาย              

               ๕.๒ มีการจัดทำรายงานผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี (๑.๔–๕(๒)) เสนอต่อคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ (๑.๔–๕(๓)) และ คณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๗/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ (๑.๔–๕(๔)) รับทราบและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนา โดยมีข้อเสนอแนะ ดังนี้

                   ควรมีการจัดสรรทรัพยากร และกำหนดมาตรการ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความเสี่ยง

6มีการนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานตนเองและหน่วยตรวจสอบภายในไปใช้ในการ ปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป และให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงาน ตามปกติอย่างต่อเนื่อง

๖. มีการนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานตนเองหรือหน่วยงานตรวจสอบภายในไปใช้ในการปรับแผนบริหารความเสี่ยง 

           สำนักงานอธิการบดี มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

           มีการจัดทำรายงานผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี (๑.๔–๖(๑))  เสนอต่อคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ (๑.๔–๖(๒)) และคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๗/๒๕๖๔ ลงวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๖๔ (๑.๔–๖(๓)) รับทราบและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนา โดยมีข้อเสนอแนะ จำนวน ๑ เรื่อง หลังจากนั้นหน่วยงานได้นําข้อเสนอแนะดังกล่าว มาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพ กำหนดแนวทางการปรับปรุงพัฒนา ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย ระยะเวลาดําเนินงาน และผู้รับผิดชอบ อย่างชัดเจน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข้อเสนอแนะ

แนวทางการปรับปรุง

ระยะเวลาดำเนินงาน

ผู้รับผิดชอบ

- ควรมีการจัดสรรทรัพยากร และกำหนดมาตรการ เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการความเสี่ยง

1. การปรับปรุง :

( / ) ปรับปรุงกระบวนการ

( ) ปรับปรุงโครงการ

( / ) ปรับปรุงแผน

2. การดําเนินงาน :

( ) ดำเนินการแล้ว

( / ) อยู่ระหว่างดำเนินการ : การจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอต่อการบริหารความเสี่ยง โดยการจัดสรรงบประมาณ กําหนดให้ทุกหน่วยงานและบุคลากรทุกระดับมามีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรฐาน และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการประชุมจัดทำแผน และกำหนดแนวทางการบริหารจัดการไว้ในแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปี ๒๕๖๔

( ) ยังไม่ดำเนินการ

ปีงบประมาณ ๒๕๖๔

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5