ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ชูวิทย์ นาเพีย , เจษฎา โพนแก้ว , ลำพึง บัวจันอัฐ , วรรณิดา ดวงมณี , สุชาติ ศรีชื่น , มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ความสามารถด้านดิจิทัลเป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถของบัณฑิตที่มีความรู้ และทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีในปัจจุบันมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหา การสื่อสาร ตลอดจนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อรู้เท่าทันการใช้งานและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ การสร้างนวัตกรรม และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตัวบ่งชี้นี้ประเด็นการพิจารณาประกอบด้วยระดับความสามารถด้านดิจิทัลของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรีที่สอบผ่านตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

ข้อ 5 นักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งสถาบัน ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการกำหนดนโยบาย และสร้างระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล
2 จัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3 จัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีการกำหนดนโยบาย และสร้างระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล

มหาวิทยาลัยมีการกำหนดนโยบายและสร้างระบบและกลไกการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล ดังนี้

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2562 (1.7-1(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีทำหน้าที่ กำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล ปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2562 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน สำหรับองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

2. มีการจัดทำแผนพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ระดับสถาบัน (1.7-1(2)) เพื่อเป็นแนวทางให้ทุกคณะใช้ในการขับเคลื่อนและดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย โดยผ่านความเห็นชอบตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้ง 5/2563 เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2563  หน้า 9-12 (1.7-1(3))

3. มีการจัดทำนโยบายและประกาศ เพื่อเป็นทิศทางการดำเนินงานให้กับทุกคณะใช้ขับเคลื่อนพันธกิจด้านการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้บรรลุเป้าหมาย จำนวน 3 เรื่อง ดังนี้
    3.1 ประกาศ เรื่อง นโยบายยกระดับมาตรฐานสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย (1.7-1(4))
    3.2 ประกาศ เรื่อง การทดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2563 (1.7-1(5)) 
    3.3 ประกาศ เรื่อง การรับ - จ่ายค่าธรรมเนียมการทดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล พ.ศ. 2563 (1.7-1(6))

    โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ระดับสถาบัน ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2562 หน้า 4-6 (1.7-1(7)) , ผ่านคณะกรรมการกลั่นกรองระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ ของมหาวิทยาลัย , ผ่านความเห็นชอบตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 หน้า 20-24
(1.7-1(8)), ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสภาวิชาการในคราวประชุมครั้งที่ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2563 หน้า 12 (1.7-1(9)) และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2563 หน้า 29 (1.7-1(10))

4. มีการเผยแพร่นโยบายและประกาศให้กับคณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย ในเว็บไซต์สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (1.7-1(11)) และในการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานฯ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2563 หน้า 3-5 (1.7-1(12))

5. มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2562 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความชัดเจนเป็นระบบ (1.7-1(13))

6. มีการจัดฝึกอบรมและประเมินสมรรถนะด้านดิจิทัล สำหรับบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ให้มีความรู้ความสามารถในทักษะด้านดิจิทัล เพื่อนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาการเรียนการสอน และต่อยอดให้กับนักศึกษา (1.7-1(14))

7. มีการปรับปรุงหลักสูตรหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป (GE) จำนวน 2 วิชา คือ วิชาเทคโนโลยีดิจิทัลและการสื่อสาร (Digital Technology and Communication) และวิชาการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำนักงานในยุคดิจิทัล (Office Program Application in Digital World) เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลมากยิ่งขึ้น (1.7-1(15)), (1.7-1(16))

2 จัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2562 (1.7-2(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่กำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล ปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2562 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน สำหรับองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

2. มีการจัดการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2562 ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563 หน้า 3-5 (1.7-2(2)) เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2562 – 2566 (1.7-2(3)) และแผนปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2562 จากการมีส่วนร่วมของคณะและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (1.7-2(4))

3. คณะกรรมการดำเนินงานได้นำ (ร่าง) แผนพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2562–2566) และ (ร่าง) แผนปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2562 เสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2563 เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 หน้า 9-12 (1.7-2(5)) เสนอต่อคณะกรรมการสภาวิชาการ ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2563 วันที่ 24 มิถุนายน 2563 หน้า11-13 (1.7-2 (6)) และเสนอต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2563 วันที่ 28 มิถุนายน 2563 หน้า 12-14 (1.7-2(7)) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

4. มีการเผยแพร่แผนพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2562 – 2566) และแผนปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2562 ให้กับคณะ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ขับเคลื่อนภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย ในเว็บสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (1.7-2(8))

3 จัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล

มหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล ดังนี้

1. ด้านงบประมาณ มหาวิทยาลัยมีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล จำนวน 32,180 บาท และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก จำนวน 122,400 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 154,580 บาท โดยแยกเป็น
    1.1 จัดสรรให้สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ตามแผนปฏิบัติการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2562  จำนวน 10,000 บาท (1.7-3(1))
    1.2 จัดสรรให้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2563 จำนวน 22,180 บาท (1.7-3(2))
    1.3 มหาวิทยาลัยร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก เพื่อพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษา ดังนี้ 1) ร่วมจัดโครงการประเมินสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล  และ 2) สนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อชุดข้อสอบให้กับมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการสอบวัดสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษาได้แก่ สถาบันคุณาวุฒิ จำนวนเงิน 22,400 บาท (1.7-3(3)) และจากบริษัท เออาร์ไอที จำกัด จำนวน 100,000 บาท (1.7-3(4))

2. ด้านสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล
    2.1 ห้องอบรมและสืบค้น (1.7-3(5))
    2.2 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (1.7-3(6))
    2.3 ห้อง SMART CLASSROOM (1.7-3(7))
    2.4 จุดบริการสัญญาณอินเตอร์ไร้สาย (Wi fi) จำนวนกว่า 500 จุด (1.7-3(8))
    2.5 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book) (1.7-3(9))
    2.6 ฐานข้อมูลออนไลน์ (1.7-3(10))
    2.7 ชุดข้อสอบในการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษา ซึ่งได้รับการสนับสนุนหน่วยงานภายนอก ได้แก่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (1.7-3(11) บริษัท เออาร์ไอทีจำกัด (1.7-3(12)) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์กรมมหาชน) และสำนักงาน ก.พ. (1.7-3(13))

3. มหาวิทยาลัยมีการประเมินความพึงพอใจในการให้บริการด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ด้านต่างๆ 3 ด้าน เพื่อรับข้อคิดเห็นจากนักศึกษาสำหรับการนำไปพัฒนาและปรับปรุงในปีการศึกษาต่อไป (1.7-3(14)) พบว่า
    3.1 ด้านห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มีความพึงพอใจในระดับ น้อย   คะแนนเฉลี่ย 2.48
    3.2 ด้านฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีความพึงพอใจในระดับ ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 2.52
    3.2 ด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (wifi) มีความพึงพอใจในระดับ น้อย คะแนนเฉลี่ย 2.37
    ผลการประเมินยังอยู่ในระดับน้อย  มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษจะดำเนินการนำผลการประเมินไปพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานในปีถัดไป

4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

มหาวิทยาลัยมีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป ดังนี้

1. มีการจัดการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2562 ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2563 หน้า (1.7-4(1)) เพื่อกำกับติดตามผลการดำเนินงาน และพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนและโครงการ/กิจกรรม (1.7-4(2)) พบว่า

วัตถุประสงค์

ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุ

1. เพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ให้กับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 

1.1 ร้อยละของโครงการ/กิจกรรมในการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลของนักศึกษาที่ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผน ไม่น้อยกว่า 80

ปีการศึกษา 2562 มหาวิทยาลัยกำหนดโครงการตามแผน จำนวน 3 โครงการ และดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 3 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100

บรรลุ

1.2 จำนวนหน่วยงานที่สนับสนุนระบบข้อสอบในการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษาไม่น้อยกว่า 3 หน่วยงาน

ปีการศึกษา 2562 มหาวิทยาลัยได้รับสนับสนุนข้อสอบ จาก 3 หน่วยงาน คือ 1. บริษัท เออาร์ไอที จำกัด
2. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

3. สถานบันคุณวุฒิวิชาชีพ(องค์กรมหาชน) และสำนักงาน ก.พ.

บรรลุ

1.3 จำนวนสื่อ/นวัตกรรม/แหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ไม่น้อยกว่า 3 สื่อ/แหล่ง

มหาวิทยาลัย มีสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ให้แก่นักศึกษา จำนวน 7 สื่อ/แหล่ง ดังนี้
1) ห้องอบรมและสืบค้น
2) ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
3) ห้อง SMART CLASSROOM
4) จุดบริการสัญญาณอินเตอร์ไร้สาย (Wi fi)
5) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์(E-book)
6) ฐานข้อมูลออนไลน์
7) ชุดข้อสอบในการพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษา

บรรลุ

2. เพื่อยกระดับสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ให้กับนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

2.1 ร้อยละของนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายทั้งมหาวิทยาลัยที่เข้าสอบวัดระดับสมรรถนะและทักษะความสามารถทางด้านดิจิทัลไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

ปีการศึกษา 2562 มีจำนวน นักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้าย จำนวนทั้งหมด 2,718 คน  มีจำนวนนักศึกษาที่เข้าสอบ 414 คน คิดเป็นร้อยละ 15.23 (1.7-4(3)

ไม่บรรลุ

2.2 ร้อยละของนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่เข้ารับการสอบ ผ่านเกณฑ์วัดระดับทักษะด้านดิจิทัล (IC3) หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ม่น้อยกว่าร้อยละ 50

ปีการศึกษา 2562 มีจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้าย จำนวน 2,718 คน มีจำนวนนักศึกษาที่เข้าสอบ 414 คน และสอบผ่านเกณฑ์วัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า) หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด จำนวน 298 คน คิดเป็นร้อยละ 21.93

ไม่บรรลุ

2.3 จำนวนกิจกรรม/โครงการที่พัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลของบุคลากร ไม่น้อยกว่า 1 กิจกรรม/โครงการ

มหาวิทยาลัยได้จัดกิจกรรม/โครงการฝึกอบรมและประเมินสมรรถนะด้านดิจิทัลสำหรับบุคลากร เมื่อวันที่ 27 พ.ย., 11 ธ.ค. และ 17 ธ.ค. 2562 เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้าน IT ซึ่งมีบุคลากรเข้าสอบ จำนวน 34 คน  มีผู้สอบผ่านตามเกณฑ์ จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 88

บรรลุ

2. มหาวิทยาลัยมีการนำข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วมโครงการ และคณะกรรมการดำเนินงาน มาปรับปรุงแผนและกิจกรรม ดังนี้

ข้อเสนอแนะ

แนวทางการปรับปรุง

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

1. ทุกคณะควรมีการจัดโครงการ/กิจกรรมพัฒนาสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลอย่างน้อยคณะละ 1 โครงการ/กิจกรรม

- มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล และมอบนโยบายให้ทุกคณะมีการกำหนดกิจกรรมไว้ในผนปฏิบัติการ ประจำปี 2564 เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

ตุลาคม 2563

คณะทุกคณะ

2. ควรกำหนดระยะเวลาการสอบวัดผลด้านดิจิทัลให้มีความชัดเจน

- มีการจัดทำปฎิทินการสอบสำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ให้ชัดเจน และแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานรับทราบ

ตุลาคม 2563

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

3. ควรมีการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

- มีการจัดทำบันทึกข้อความเสนอของบประมาณในการดำเนินงานด้านดิจิทัลประจำการศึกษา 2563 (1.7-4(4))

กันยายน 2563

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

4. ควรแจ้งประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาทุกชั้นปีรับทราบข้อมูลด้านการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล

- จัดทำบันทึกข้อความประชาสัมพันธ์ ประกาศ และนโยบายต่างๆไปยังทุกคณะ และประชาสัมพันธ์ตามช่องทางสื่อต่างๆ ให้รับทราบโดยทั่วกัน
- มีการกำหนดให้ทุกคณะแจ้งประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษารับทราบในกิจกรรมวันปฐมนิเทศ

ตุลาคม 2563

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

5. ควรพัฒนาเพรตฟอร์มกลางในการจัดเก็บข้อมูลการสอบของนักศึกษาให้เป็นระบบมากขึ้น ครอบคลุมทั้งข้อมูลจำนวนนักศึกษาที่จบแต่ละคณะ นักศึกษาที่เข้าสอบ  นักศึกษาที่สอบผ่าน และสามารถคำนวณสัดส่วนตามเกณฑ์การประกันคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- จัดทำระบบการจัดเก็บข้อมูลผลการสอบให้เป็นมาตรฐานเพื่อจัดเก็บข้อมูล และทุกหน่วยงานสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตุลาคม 2563

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้ดำเนินการจัดสอบวัดสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า) มีผลการสอบ ดังนี้ 

ตัวชี้วัด

ผลการดำเนินงาน

การบรรลุเป้าหมาย

บรรลุ

ไม่บรรลุ

นักศึกษาที่เข้าสอบไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนักศึกษาปีสุดท้าย

ปีการศึกษา 2562 มีนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย จำนวน 2,718  คน มีผู้เข้าสอบ จำนวน 414 คน  คิดเป็นร้อยละ 15.23

 

มีนักศึกษาปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์การวัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า) ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 50 ขอผู้เข้าสอบ

ปีการศึกษา 2562 มีผู้เข้าสอบ จำนวน 414 คน สอบผ่านเกณฑ์วัดผล (IC3 หรือเทียบเท่า) จำนวน 298 คน คิดเป็นร้อยละ 21.93

 

และรายงานผลการสอบวัดผลด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2562 (1.7-5(1)) เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2562 ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 14 ส.ค. 2562 หน้า 4-10 (1.7-5(2)) และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 19 ส.ค. 2563 หน้า 2-5 (1.7-5(3))  เพื่อพิจารณาผลการสอบด้านดิจิทัลและให้ข้อเสนอแนะ

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
4 ข้อ 4.00 คะแนน