ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ

ปีที่ประเมิน 2564
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วรรณิดา ดวงมณี , ศรันญาวีย์ จันทร์หอม
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

หน่วยงานสนับสนุนจะต้องดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วย
การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย โดยมีการจัดสรรงบประมาณและการจัดทํารายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ ครบทุกพันธกิจ มีระบบการตรวจสอบ การใช้เงิน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์สถานะทางการเงิน
ความมั่นคง และวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารจัดการ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
ในการดําเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงาน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานที่มีการวิเคราะห์แนวทางจัดหาหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ และมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มีการกําหนดตัวชี้วัด ความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ ทางการเงิน และจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน
2 มีระบบและกลไกหรือมาตรการ แนวทาง วิธีการกํากับด้านการเงินและการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน
3 มีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ระบบ และกลไก หรือมาตรการ แนวทาง และวิธีการกํากับด้านการเงิน การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดและเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบหรือนําไป ใช้ประโยชน์ต่อการทํางานต่างๆ ของหน่วยงานได้
4 มีการนําข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายหรือสถานะทางการเงิน และติดตาม การเบิกจ่ายทางการเงินในการดําเนินงานต่าง ๆ ตามพันธกิจของหน่วยงานของแต่ละไตรมาสให้แก่คณะผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการประจําหน่วยงานได้รับทราบหรือพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
5 มีการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือหน่วยงาน และมีการเผยแพร่รายงานทางการเงินหรือช่องทางการตรวจสอบความโปร่งใสทางการเงินของหน่วยงานให้แก่คณะผู้บริหาร และบุคลากรทั้งภายในและภายนอก
6 มีการรายงานผลความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน และมีการนําผลการพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงหรือพัฒนา
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานที่มีการวิเคราะห์แนวทางจัดหาหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ และมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มีการกําหนดตัวชี้วัด ความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ ทางการเงิน และจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธทางการเงิน และจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ดังนี้

1. มีการจัดทำแผนกลยุทธทางการเงิน ระยะ 5 ปี (1.2-1(1)) โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ  รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบิการฯ  หัวหน้าสำนักงานอำนวยการฯ หัวหน้างานทุกฝ่าย พร้อมด้วยบุคลากรในแต่ละงาน เพื่อทำหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจของหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย เพื่อวิเคราะห์ SWOT กับวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน พร้อมทั้งกำหนดกลยุทธ์ มาตรการแนวทางการดําเนินงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จและค่าเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ทางการเงิน ในแต่ละปีที่สามารถดำเนินการและวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม

2. มีการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 1-2 กันยายน 2564 ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษมีจำนวนบุคลากรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 24 คน (1.2-1(1)) ผลจาการทบทวนทำให้ได้แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ระยะ 5 ปี (1.2 – 1 (2)) ที่มีความสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย  

3. หลักจากนั้นได้นำแผนกลยุทธ์ทางการเงินเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564 (1.2-1(3)) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

 

2มีระบบและกลไกหรือมาตรการ แนวทาง วิธีการกํากับด้านการเงินและการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีระบบและกลไกหรือมาตรการ แนวทาง วิธีการกำกับด้านการเงินและการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน ดังนี้

1. ประกาศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง  นโยบายการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 29  มีนาคม  พ.ศ. 2565 (1.2-2(1))

2. มีการคำสั่ง แต่งตั้งให้บุคลากรเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (1.2-2(2)) โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ  รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบิการฯ  หัวหน้าสำนักงานอำนวยการฯ หัวหน้างานทุกฝ่าย พร้อมด้วยบุคลากรใน แต่ละงาน  เพื่อทำหน้าที่ กำหนดนโยบาย สร้างระบบและกลไกการ และจัดทำแผนของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

3. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีการศึกษา 2564 ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (2.1-2(3)) เพื่อทำหน้าที่ กำหนดนโยบายและสร้างระบบและกลไกการ จัดทำแผนกลยุทธ์พร้อมด้วย กำกับ รวบรวม ติดตาม ตามแผนกลยุทธ์ทางการเงินให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. มีการจัดทำคำของบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1.2-2(4)) และนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 5/2564 ในวันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2564  (1.2-2(5))

5. มีแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1.2-2(6)) เพื่อกำหนดทิศทาง เป้าหมายกิจกรรมโครงการ ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ทางการเงินของหน่วยงาน และเพื่อเป็นกรอบในการกำกับ ติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

6. มีทะเบียนคุมการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ด้วยระบบ google sheet (1.2-2(7)) เพื่อให้บุคลากรเข้าถึงข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณที่ชัดเจน เพื่อการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน

7. มีคู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ (1.2-2(8))

 

3มีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ระบบ และกลไก หรือมาตรการ แนวทาง และวิธีการกํากับด้านการเงิน การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดและเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบหรือนําไป ใช้ประโยชน์ต่อการทํางานต่างๆ ของหน่วยงานได้

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการถ่ายทอดแผนกลยุทธทางการเงิน ของหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดทราบ จำนวน 4 ช่องทาง ดังนี้

1. จัดทําบันทึกข้อความ (1.2-3 (1)) จัดส่งแผนกลยุทธ์ทางการเงินของหน่วยงาน ส่งไปยังหน่วยงานต่างๆภายในสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน 5 หน่วยงาน คือ 1) งานบริหารทั่วไป 2) งานวิทยบริการ 3) งานพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา 4) งานเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) งานเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร เพื่อรับทราบและนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป

2. เผยแพร่แผนกลยุทธ์ทางการเงินระยะ 5 ปี (1.2-3(2)) และแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2565 (1.2-3(3)) ของหน่วยงานให้บุคลากรในหน่วยงาน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ผ่านทางเว็บไซต์สำนักวิทยบริการฯ (1.2-3(4))

3. เผยแพร่ประกาศสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง  นโยบายการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (1.2-3(5))

4มีการนําข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายหรือสถานะทางการเงิน และติดตาม การเบิกจ่ายทางการเงินในการดําเนินงานต่าง ๆ ตามพันธกิจของหน่วยงานของแต่ละไตรมาสให้แก่คณะผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการประจําหน่วยงานได้รับทราบหรือพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการนําข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และสถานะทางการเงินเพื่อติดตามการเบิกจ่ายทางการเงินในการดําเนินงานต่างๆ ตามพันธกิจของหน่วยงาน ดังนี้

1. มีการติดตามและรายงานการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2565 ของหน่วยงานรายไตรมาส ดังนี้

     1.1) รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2564 รอบ 12 เดือน ตั้งแต่ (1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564) (1.2-4 (1))  เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 6/2564  เมื่อวันพุธที่ 29 กันยายน 2564 (1.2-4(2)) และเสนอต่อที่การประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 2/2564 (1.2-4(3)) วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564 ได้รับทราบหรือพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ

     1.2) รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปี พ.ศ. 2565 รอบ 8 เดือน ตั้งแต่ (1 ตุลาคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2565) (1.2 – 4 (4)) จากนั้นนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศรายไตรมาส จำนวน 3 ไตรมาส ดังนี้

     1) ไตรมาสที่ 1 นำเข้ารายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 8/2564 ในวันพุธที่ 29 ธันวาคม 2564 (1.2 – 4 (5)) เพื่อรับทราบ

     2) ไตรมาสที่ 2 นำเข้ารายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 4/2565 ในวันพุธที่ 28 มีนาคม 2565 (1.2 – 4 (6)) เพื่อรับทราบ

     3) ไตรมาสที่ 3 เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 1/2565  เมื่อวันจันทร์ที่  27 มิถุนายน  2565 (4.1-4(7)) เพื่อรับทราบและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ

ปีงบ

ประมาณ

งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

งบแผ่นดิน

บกศ.

ผลการ

เบิกจ่าย

คิดเป็นร้อยละ

2564

1,490,000

190,000

1,300,000

1,484,537.86

99.70

2565

1,667,500

95,000

1,572,500

714,527.08

42.85

     จากมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันจันทร์ที่  27 มิถุนายน 2565 ให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้

     1) ร้อยละการเบิกจ่ายงบประมาณ บำรุงการศึกษาไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแต่ละไตรมาส ถึงร้อยละการเบิกจ่ายจะบรรลุก็จริง แต่การเบิกจ่ายจะไปหนักในไตรมาสสุดท้าย ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเบิกจ่ายไม่ทัน เห็นควรดำเนินการเบิกจ่ายในช่วงไตรมาสที่ 1-2 ให้ได้มากที่สุด

     2) ควรมีการปรับยอดงบประมาณ หรือ ปรับโครงการเดิมที่มีการเบิกจ่ายอยาก ให้เป็นโครงการใหม่เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันถ่วงที ตามสถานการณ์ปัจจุบัน

     3) ควรมีการรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายไตรมาส และรายปีพร้อมด้วยรายงานงบประมาณคงเหลือตามแผนงาน ขึ้นเว็บไซต์หน่วยงาน เพื่อให้ผู้บริหารหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถและใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจได้

5มีการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือหน่วยงาน และมีการเผยแพร่รายงานทางการเงินหรือช่องทางการตรวจสอบความโปร่งใสทางการเงินของหน่วยงานให้แก่คณะผู้บริหาร และบุคลากรทั้งภายในและภายนอก

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการตรวจสอบ ติดตาม การใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือหน่วยงาน และมีการเผยแพร่รายงานทางการเงินหรือช่องทางการตรวจสอบความโปร่งใสทางการเงินของหน่วยงาน ดังนี้

1. มีการตรวจสอบ ติดตาม การใช้จ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบราชการ ดังนี้

     1.1 ผู้บริหารมีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณอย่างใกล้ชิด โดยกำหนดนโยบายให้ทุกงานรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณต่อผู้บริหาร
ทุกไตรมาส ดังนี้

     1) ไตรมาสที่ 1 นำเข้ารายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 8/2564 ในวันพุธที่ 29 ธันวาคม 2564 (1.2 – 5 (1)) เพื่อรับทราบ

     2) ไตรมาสที่ 2 นำเข้ารายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 4/2565 ในวันพุธที่ 28 มีนาคม 2565 (1.2 – 5 (2)) เพื่อรับทราบ

     3) ไตรมาสที่ 3 เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 1/2565  เมื่อวันจันทร์ที่  27 มิถุนายน  2565
(1.2-5(3)) เพื่อรับทราบและพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ

   1.2 มีหน่วยงานกลางกํากับ ดูแล ติดตามและตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบราชการ จำนวน 2 หน่วยงาน คือ

           - ฝ่ายแผนของหน่วยงานกลาง มีหน้าที่ เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีบันทึกข้อความเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ (1.2 – 5 (4))

           - หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ ตรวจสอบผลการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันกำหนด (1.2 – 5 (5))

2. มีการเผยแพร่รายงานทางการเงินของหน่วยงานให้แก่ผู้บริหาร บุคลากรทั้งภายใน และภายนอกทราบ ผ่านช่องทางต่างๆ จำนวน 4 ช่องทาง ดังนี้

        2.1 มีการเผยแพร่ให้ผู้บริหารระดับสูง และหัวหน้างาน ได้รับทราบผ่านการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้ง

ที่ 1/2565  เมื่อวันจันทร์ที่  27 มิถุนายน  2565 (4.1-4(6)) เพื่อรับทราบ

         2.2 มีการเผยแพร่ให้บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยทราบและนําไปใช้ประโยชน์ โดยการจัดทําหนังสือบันทึกข้อความขอส่งรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564-2565  (1.2 – 5 (7-8)) จำนวน 1 หน่วยงาน คือ กองนโยบายและแผน เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป

       2.3 จัดทำทะเบียนควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ด้วยระบบ Google Sheet เพื่อให้บุคลากรเข้าถึงข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณที่ชัดเจน เพื่อการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน (1.2-5(8))

       2.4 มีการเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกรับทราบเพื่อความโปร่งใส่ในการใช้จ่ายงบประมาณโดยประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์สำนักวิทยบริการฯ(1.2 – 5 (9))

6มีการรายงานผลความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน และมีการนําผลการพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงหรือพัฒนา

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการรายงานผลความสำเร็จของแผนกลยุทธ์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ดังนี้

1. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจัดทำรายงานผลความสำเร็จของแผนกลยุทธ์ทางการเงิน หรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน (1.2 – 6 (1)) โดยมีการกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของแผนไว้ จํานวน 4 ตัวชี้วัด บรรลุเป้าหมาย 4  ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100

2. มีการจัดทํารายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในรอบ 12 เดือน (ตุลาคม 2563-กันยายน 2564) (1.2 – 6 (2)) โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณโดยภาพรวม ทั้งสิ้นจํานวน 1,490,000 บาท เบิกจ่ายได้แล้วเสร็จ จํานวน 1,484,537.86 บาท คิดเป็นร้อยละ 99.70  โดยแยกเป็นงบประมาณรายจ่าย  หลังจากนั้นเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 2/2564 (1.2 – 6 (3))  วันอังคารที่ 14 ธันวาคม 2564 เพื่อทราบและพิจารณาให้ความเห็นชอบ

3. มีการจัดทํารายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในรอบ 8 เดือน (เดือนตุลาคม 2564-พฤษภาคม 2565) (1.2 – 6 (3)) โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณโดยภาพรวม ทั้งสิ้นจํานวน 1,667,500 บาท เบิกจ่ายได้แล้วเสร็จ จํานวน 714,527.08 บาท คิดเป็นร้อยละ 42.85 โดยแยกเป็นงบประมาณรายจ่าย  และหลังจากนั้นเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันจันทร์ที่  27 มิถุนายน  2565 (1.2 – 6 (5)) เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ พบว่า มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนาจำนวน 3 ประเด็น หน่วยงานจึงได้จัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพโดยกำหนดแนวทางการปรับปรุงพัฒนา ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบ อย่างชัดเจน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ข้อเสนอ

แนวทางปรับปรุง

ระยะเวลาดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

1. ร้อยละการเบิกจ่ายงบประมาณ บำรุงการศึกษาไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแต่ละ ไตรมาส ถึงร้อยละการเบิกจ่ายจะบรรลุก็จริง จะเห็นได้ว่าการเบิกจ่ายจะไปหนักในไตรมาสสุดท้าย ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเบิกจ่ายไม่ทัน เห็นควรดำเนินการเบิกจ่ายในช่วงไตรมาสที่ 1-2 ให้ได้มากที่สุด

มีการกำหนดโครงการ/กิจกรรมไว้ในช่วงไตรมาสที่ 1-2 และมีการกำกับ ติดตาม ผลการดำเนินการอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การเบิกจ่ายเป็นไปตามที่กำหนด


 

 

ตุลาคม 2565-มีนาคม 2566

งานบริหารฯ

2. ควรมีการปรับยอดงบประมาณ หรือ ปรับโครงการเดิมที่มีการเบิกจ่ายอยาก ให้เป็นโครงการใหม่เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันถ่วงที ตามสถานะการณ์ปัจจุบัน

มีการประชุมเพื่อทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดโครงการ/กิจกรรม ในปีถัดไป

กรกฎาคม-สิงหาคม 2565

งานบริหารฯ

3. ควรมีการรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายไตรมาส และรายปี พร้อมด้วยรายงานงบประมาณคงเหลือตามแผนงาน ขึ้นเว็บไซต์หน่วยงาน เพื่อให้ผู้บริหารหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถและใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจได้

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศควรมีการพัฒนาเว็บไซต์ และนำข้อมูลรายงานทางการเงินขึ้นเว็บไซต์เพื่อให้ผู้บริหารหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจได้

ตุลาคม 2565-กันยายน 2566

งานบริหารฯ

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 ข้อ 5 คะแนน