ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 ผลลัพธ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อาสนะ เชิดชู , สรวีย์ คำนวล , วันวิสา นัยเนตร , มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลลัพธ์ของการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน สังคม และประเทศชาติ

 

เกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม หรือนำไปใช้ประโยชน์ให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีการจัดทำฐานข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับ 6 เรื่อง

เกณฑ์การประเมิน

มีการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
จำนวนองค์ความรู้ 2 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 3 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 4 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 5 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 6 เรื่อง
หมายเหตุ

ต้องมีเอกสารทางวิชาการที่แสดงถึงการได้มา การค้นคว้าประวัติของภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นอย่างเป็นระบบ
- เอกสารด้านศิลปะและวัฒนธรรม
- งานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

ผลการดำเนินงาน

มหาวิทยาลัย มีการส่งเสริมและพัฒนาระบบและกลไกด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยอย่างชัดเจน มีหน่วยงานรับผิดชอบ และสนับสนุนทรัพยากรที่เพียงพอต่อการดำเนินงานตามระบบ ทั้งด้านงบประมาณ บุคลากร และวัสดุอุปกรณ์ จนส่งผลให้สถาบันภาษาและศิลปวัฒธรรมมีผลลัพธ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย ที่เป็นองค์ความรู้ จำนวน 6 เรื่อง ดังนี้

1. องค์ความรู้ เรื่อง ประวัติและลักษณะรูปแบบพุทธปฏิมา “หลวงพ่อโต” วัดมหาพุทธารามพระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ
The history and characteristics of “Luang Pho To” Great Man Buddha Image model, Wat Ma Buddharam, Royal Temple, in Mueang district SiSaKet province    
โดย อ.ธันยพงศ์ สารรัตน์ (หน้า 115)

    บทความนี้ศึกษาประวัติและลักษณะรูปแบบพุทธปฏิมาของหลวงพ่อโตวัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ในฐานะพระพุทธรูปศิลปะพื้นบ้านในภาคอีสาน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 24 - 25 ด้วยวิธีการจำแนกรูปแบบและศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลด้านรูปแบบศิลปะและข้อสันนิษฐานในการกำหนดอายุสมัยของพระพุทธรูป ซึ่งมีความสัมพันธ์กับหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ของเมืองศรีสะเกษ ผลการศึกษาพบว่า หลวงพ่อโตวัดมหาพุทธาราม พระอารามหลวง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ มีรูปแบบศิลปะที่สอดคล้องกับประวัติศาสตร์ของเมืองศรีสะเกษ โดยแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเมืองศรีสะเกษกับเมืองนครจำปาศักดิ์ในช่วงปลายสมัยอยุธยาถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร์ราวพุทธศตวรรษที่ 24 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 25 และมีลักษณะเด่นคือเป็นพระพุทธรูปประธานขนาดใหญ่ของวัดประจำชุมชนชาวลาว สร้างด้วยวิธีก่ออิฐถือปูนและลงรักปิดทอง มีศิลปะแบบลาวผสมผสานกับงานช่างพื้นบ้าน และพัฒนารูปแบบมาจากศิลปะในหลายยุคหลายสมัยจนมีลักษณะเฉพาะ และแสดงปางมารวิชัยอันเป็นปางที่นิยมสร้างเป็นพระประธานตามวัดต่างๆ ทั่วไป ซึ่งการศึกษาครั้งนี้จะช่วยสะท้อนให้เห็นถึงมุมมองด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา ของจังหวัดศรีสะเกษได้ดียิ่งขึ้น

2. องค์ความรู้ เรื่อง ประวัติรูปแบบศิลปกรรม และความสัมพันธ์กับหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ของพุทธปฏิมา “หลวงพ่อโต” วัดเขียนบูรพาราม อําเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ
History, art form, and their relationship with historical evidence of Buddha image “Luang Phor To” in Khian Burapharam Temple, Khukhan District, SiSaKet
    โดย อ.ธันยพงศ์ สารรัตน์

    บทความนี้ศึกษาประวัติ รูปแบบศิลปกรรม และความสัมพันธ์กับหลักฐานด้านประวัติศาสตร์ของพุทธปฏิมา “หลวงพ่อโต” วัดเขียนบูรพาราม อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ผลการศึกษาพบว่า พุทธปฏิมา “หลวงพ่อโต” วัดเขียนบูรพาราม อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีรูปแบบทางศิลปกรรมที่สัมพันธ์กับพระพุทธรูปในศิลปะล้านช้าง ศิลปะอยุธยาตอนปลาย และศิลปะของท้องถิ่น กระทั่งได้พัฒนาจนเกิดเป็นรูปแบบเฉพาะของตนเองที่เด่นชัด เช่น เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพักตร์เหลี่ยม เห็นชัดถึงการทำชายสังฆาฏิเป็นริ้วทับกัน 2 ชั้นปลายตัดตรงตามแบบศิลปะอยุธยา พระโอษฐ์ยิ้มแบบล้านช้าง ขมวดพระเกศาเป็นตุ่มแหลมเล็กแบบหนามขนุนในศิลปะล้านช้าง มีการประดับรัศมีรูปใบโพธิ์ที่ด้านหน้าพระอุษณีษะ พระเศียรและพระกรรณมีขนาดใหญ่มาก ปลายพระกรรณโค้งงอนขนานไปกับพระอังสะ พระขนงห่าง พระนาสิกใหญ่ เห็นรูพระนาสิกชัดเจน พระเนตรเหลือบมองต่ำ พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ตามคติแบบพื้นถิ่น เป็นต้น ทั้งนี้จากการศึกษารูปแบบศิลปกรรมสามารถสะท้อนเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของอำเภอขุขันธ์และจังหวัดศรีสะเกษให้ชัดเจนมากขึ้น

3. องค์ความรู้ เรื่อง วัฒนธรรมการแห่พระอุปคุต : ความหมาย บทบาท และความเป็นมาในชุมชนบ้านปะโด๊ะ ตําบลปราสาท อําเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
Phra Upakhut Procession Culture : Meaning, Role and Background in Ban Pa Do Community, Prasat, Huay Tabtan, SiSaKet Province
    โดย อ.ธันยพงศ์ สารรัตน์

    นำเสนอความเชื่อความศรัทธาที่มีต่อพญานาคในอาณาบริเวณวัดป่าศรีมงคลรัตนาราม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนความเชื่อเรื่องพญานาคใน อาณาบริเวณวัด ผ่านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ตลอดจนความเชื่อความศรัทธาที่แสดงออกผ่านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมวัด โดยใช้วิธีศึกษาโดยการลงภาคสนาม น าข้อมูลมาศึกษาและวิเคราะห์เรียบเรียง และนำเสนอตามวัตถุประสงค์ ซึ่งมีขอบเขตการศึกษาในพื้นที่วัดป่าศรีมงคลรัตนารามอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษเท่านั้น ผลการศึกษาพบว่า พญานาค คือ สัตว์ในอุดมคติของผู้คนในลุ่มน้ำโขงรวมถึงภาคอีสานของประเทศไทย ซึ่งความเชื่อความศรัทธาอย่างแรงกล้าในอิทธิฤทธิ์ที่จะอำนวยความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งพญานาคเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้คนมาอย่างยาวนานดังปรากฏในนิทาน ตำนาน ถูกถ่ายทอดผ่านนาฏกรรม จิตรกรรม พิธีกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะจิตรกรรมประติมากรรมและสถาปัตยกรรมภายในถ้ำพญานาคของวัดฯ ที่เกิดจากความศรัทธาในเรื่องของพญานาคสมัยก่อนและร่วมสมัยพุทธกาล การจินตนาการลักษณะการเคลื่อนไหวของพญานาคที่แหวกว่ายแม่น้ำโขงและคอยพิทักษ์ศาสนา โดยเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่อารยธรรมขอมในจังหวัดศรีสะเกษที่สัมพันธ์กับตำนานพญานาคสู่พระพุทธรูปปางนาคปรก เรื่องเล่าพญานาคประจำวัด และประวัติเจ้าอาวาสที่เกี่ยวข้องกับพญานาค ดังกล่าวได้รับแนวคิดและแรงบันดาลใจมาจากตำนานและพุทธประวัติที่เกี่ยวข้องกับพญานาค ภาพสะท้อนความเชื่อในเรื่องของพญานาคที่ใช้จิตรกรรม สถาปัตยกรรมและประติมากรรมเป็นเครื่องมือสำคัญ จึงเป็นงานศิลปะพื้นถิ่นที่ใช้เป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวโดยพญานาคได้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์ในงานศิลปวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นศรีสะเกษที่ยังคงอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน

4. องค์ความรู้ เรื่อง ภาพสะท้อนความเชื่อเรื่องพญานาคในอาณาบริเวณวัดป่าศรีมงคลรัตนาราม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
The Reflection of Naga Belief in Wat Pa Si Mongkol Rattanaram, Uthumphon Phisai District, Sisaket Province

    โดย อ.ธันยพงศ์ สารรัตน์ (หน้า 128)
    บทความนี้นำเสนอความเชื่อความศรัทธาที่มีต่อพญานาคในอาณาบริเวณวัดป่าศรีมงคลรัตนาราม อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ภาพสะท้อนความเชื่อเรื่องพญานาคในอาณาบริเวณวัด ผ่านจิตรกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม ตลอดจนความเชื่อความศรัทธาที่แสดงออกผ่านพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมวัด โดยใช้วิธีศึกษาโดยการลงภาคสนาม นำข้อมูลมาศึกษาและวิเคราะห์เรียบเรียง และนำเสนอตามวัตถุประสงค์ ซึ่งมีขอบเขตการศึกษาในพื้นที่วัดป่าศรีมงคลรัตนารามอ าเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษเท่านั้น ผลการศึกษาพบว่า พญานาค คือ สัตว์ในอุดมคติของผู้คนในลุ่มน้ำโขงรวมถึงภาคอีสานของประเทศไทย ซึ่งความเชื่อความศรัทธาอย่างแรงกล้าในอิทธิฤทธิ์ที่จะอำนวยความอุดมสมบูรณ์ อีกทั้งพญานาคเป็นสัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับผู้คนมาอย่างยาวนานดังปรากฏในนิทาน ตำนาน ถูก
ถ่ายทอดผ่านนาฏกรรม จิตรกรรม พิธีกรรม ประติมากรรม และสถาปัตยกรรม โดยเฉพาะจิตรกรรมประติมากรรมและสถาปัตยกรรมภายในถ้ำพญานาคของวัดฯ ที่เกิดจากความศรัทธาในเรื่องของพญานาคสมัยก่อนและร่วมสมัยพุทธกาล การจินตนาการลักษณะการเคลื่อนไหวของพญานาคที่แหวกว่ายแม่น้ำโขงและคอยพิทักษ์ศาสนา โดยเกี่ยวเนื่องกับพื้นที่อารยธรรมขอมในจังหวัดศรีสะเกษที่สัมพันธ์กับตำนานพญานาคสู่พระพุทธรูปปางนาคปรก เรื่องเล่าพญานาคประจำวัด และประวัติเจ้าอาวาสที่เกี่ยวข้องกับพญานาค ดังกล่าวได้รับแนวคิดและแรงบันดาลใจมาจากตำนานและพุทธประวัติที่เกี่ยวข้องกับพญานาค ภาพสะท้อนความเชื่อในเรื่องของพญานาคที่ใช้จิตรกรรม สถาปัตยกรรมและประติมากรรมเป็นเครื่องมือสำคัญ จึงเป็นงานศิลปะพื้นถิ่นที่ใช้เป็นจุดขายทางการท่องเที่ยวโดยพญานาคได้กลายเป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงอัตลักษณ์ในงานศิลปวัฒนธรรมของคนท้องถิ่นศรีสะเกษที่ยังคงอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน

5. องค์ความรู้ เรื่อง ประวัตศาสตร์และอัตลักษณ์ ชาติพันธ์ 4 เผ่า (เขมร สวย ลาว เยอ) จังหวัดศรีสะเกษ
    โดย ผศ.ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล

    หากเราตระหนักรู้ถึงคุณค่าของการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมอย่างถ่องแท้ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” ศาสตร์แห่งการพัฒนาชาติอันลึกซึ้งที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ได้มองเห็นถึงความแตกต่างของประชาชนชาวไทยทั้งระดับสังคม (พหุลักษณ์ทางสังคม) และความหลากหลายทางวัฒนธรรม การพัฒนาชาติโดยใช้หลักการทางวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาจึงเป็นเรื่องสำคัญที่นักพัฒนาและผู้บริหารของชาติควรทำความเข้าใจ เพราะสิ่งที่บ่งบอกตัวตนของคนได้ก็คือ “วัฒนธรรม”  ดังพระราชดำรัชของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้กล่าวว่า “การรักษาวัฒนธรรม คือ การรักษาชาติ”  เพราะศาสตร์ความรู้ทางวัฒนธรรมเป็นศาสตร์ความรู้ที่ไม่หยุดนิ่งมีความเป็นพลวัตร (Dynamic) และมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อความสมดุลทางสังคม (Social balance) อยู่ตลอด  การทำความเข้าความหมายศาสตร์ความรู้ทางวัฒนธรรมจึงเป็นการทำความเข้าใจทุกมิติของความเป็นมนุษย์ในแต่ละสังคม เช่น ด้านประวัติศาสตร์ (รู้ที่มาแห่งรากเหง้าเผ่าพันธุ์และจุดยืนในปัจจุบันของสังคม)  ด้านสังคม (เข้าใจระบบความสัมพันธ์ การปกครอง และสายสัมพันธ์ทางเครือญาติ) ด้านค่านิยม ขนบธรรมเนียม จารีต ประเพณี (เข้าใจระบบกฎเกณฑ์ทางสังคมที่มีความเอกลักษณ์เฉพาะกลุ่ม) ด้านภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อม กฎเกณฑ์ทางธรรมชาติและฤดูกาล (เข้าใจในมิติด้านภูมิลักษณะของพื้นที่อาศัยอยู่ที่มีความเชื่อมโยงกับมิติด้านอื่น ๆ เช่น ความแห้งแล้งเชื่อมโยงกับบุญบั้งไฟ แหล่งน้ำเชื่อมโยงกับประเพณีลอยกระทง  ฤดูฝนเชื่อมโยงกับประเพณีเข้าพรรษา กฎเกณฑ์ทางธรรมสร้างความเชื่อท้องถิ่นเกี่ยวผี สิ่งศักดิ์ และพลังเหนือธรรมชาติ เป็นต้น)  

6. องค์ความรู้ เรื่อง การสร้างชุมชนต้นแบบบนพื้นฐานวิถีปอป
    โดย ผศ.ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล

    ในพื้นที่ชนบทภาคอีสานโดยเฉพาะพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี  จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดยโสธร ยังคงมีปรากฏการณ์ความเชื่อเกี่ยวผี ที่ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและเป็นภาพสะท้อนทางสังคม ที่มีผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชนบทภาคอีสาน ทั้งที่เป็นผลกระทบด้านเศรษฐกิจชุมชน ผลกระทบต่อโครงสร้างทางสังคมและรากฐานทางวัฒนธรรม อันเกี่ยวข้องกับระบบเครือญาติในชุมชนนั่นก็คือความเชื่อเกี่ยวกับผีปอบ ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นปรากฏการณ์ทางความเชื่อที่ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับครอบครัว ระดับเครือญาติ และระดับชุมชน ความเชื่อเกี่ยวกับ “ผีปอบ” ถือว่าเป็นความเชื่อดั้งเดิมในชนบทภาคอีสานที่ได้รับการปลูกฝังและขัดเกลาทางสังคม (Socialization) มาจากบรรพบุรุษ และมีการสืบสานเป็นวัฒนธรรมความเชื่อสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน ปรากฏการณ์ความเชื่อเกี่ยวกับผีปอบที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อเสถียรภาพของชุมชน (Stability of Community) เนื่องจากเป็นความเชื่อที่ส่งผลกระทบต่อสังคม ในชนบทอีสานอย่างรุนแรงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะทางจิตใจ สภาวะความมั่นคงทางเศรษฐกิจชุมชนและสังคมชุมชน ตลอดจนความมั่นคงทางวัฒนธรรมอันเป็นรากเหง้าที่สำคัญของสังคมชนบทอีสาน ตลอดจนความปลอดภัยต่อชีวิต ซึ่งถ้าเป็นการมองทางด้านจิตวิทยาตามหลักการแพทย์สมัยใหม่ถือว่าเป็นปรากฏการณ์ความเชื่อที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตภายในชุมชนอย่างมาก โดยหลักการแพทย์สมัยใหม่จะมองปรากฏการณ์เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องผีปอบเป็นปรากฏการณ์อุปทานหมู่ (Mass Hysteria) ที่เป็นผลกระทบจากปัจจัยทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่มีวิกฤตตามความผันผวนของกระแสเศรษฐกิจโลก  ความเชื่อเกี่ยวกับผีปอบในมิติของวัฒนธรรมชุมชนในท้องถิ่นอีสานถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง เพราะถือว่าเป็นภัยอันตรายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายและความมั่นคงของคนในชุมชน เนื่องจากในสังคมชนบทอีสาน มีความเชื่อที่สืบทอดกันมาแต่โบราณว่า ผีปอบ คือผีร้ายที่สามารถถอดวิญญาณไปเข้าสิงร่างผู้อื่นเพื่อกินอวัยวะภายในของผู้ที่ถูกเข้าสิงร่างกาย จนถึงแก่ความตายโดยที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยวิทยาการทางการแพทย์สมัยใหม่ และในบางพื้นที่จะมีปรากฏการณ์คนตายโดยไม่ทราบสาเหตุติดต่อกันหลายคนในช่วงระยะเวลาที่มีความต่อเนื่องกัน ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าวชาวบ้านในชนบทอีสานเชื่อว่าเป็นผลที่เกิดจากการกระทำของผีปอบ 

7. องค์ความรู้ เรื่อง การธำรงรักษาวิถีสุขภาวะสังคมในพิธีกรรมบำบัดโรค 
    โดย ผศ.ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล

    พิธีกรรมการรักษาโรคโดยการนับถือผีในภาคอีสานโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษที่มีความแตกต่างกันทางวัฒนธรรมและชาติพันธุ์ถึง  4 ชาติพันธุ์หลักๆ  คือ  เขมร (เขมรถิ่นไทย) ส่วย (กวย กูย  โกย)  ลาว (ลาวอีสาน)  และเยอ   วัฒนธรรมการนับถือผียังมีความเข้มแข็งและมีการสืบทอดติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องและยังมีผลต่อระบบความสัมพันธ์ทางเครือญาติ     และชุมชนตลอดจนระบบการรักษาดูแลสุขภาพตามความเชื่อของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ความเชื่อในเรื่องของการรักษาโรคโดยพิธีกรรมการนับถือผีในแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษมีความเหมือนกันในเรื่องของวัตถุประสงค์ความต้องการของผู้รับการรักษาหรือกลุ่มคนในชาติพันธุ์เดียวกันนั่นก็คือ  การหายจากการเจ็บป่วยและมีชีวิตที่สงบสุข  แต่มีความแตกต่างกันเรื่องของพิธีกรรมและตระกูลผีที่ตัวเองนับถือ กลุ่มชาติพันธุ์เขมร นับถือผีมะม๊วตหรือแม่มด กลุ่มชาติพันธุ์ส่วยหรือกูย นับถือผีนางออหรือแม่สะเอ็ง กลุ่มชาติลาวนับถือผีฟ้าหรือผีแถน      กลุ่มชาติพันธุ์เยอนับผีแม่สะเอ็ง (วีระ   สุดสังข์ ,2545  :  39 – 40)  กิจกรรมการรักษาโรคโดยพิธีกรรมการนับถือผีของทั้งสี่กลุ่มชาติพันธุ์จะมีโครงสร้างความสัมพันธ์กันแบบกลุ่มเครือข่ายหรือเรียกว่า “สาย” ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันอาจจะมีหลายกลุ่มเครือข่าย หรือหลายสายก็ได้  วิธีการรักษาโรคโดยพิธีกรรมความเชื่อเกี่ยวกับผี เป็นวิธีการรักษาโรค ที่ไม่ได้ใช้ ยา หรือสมุนไพร หรือวัตถุใดเป็นเครื่องมือในการรักษาแต่เป็นวิธีการรักษาโดยใช้รูปแบบการรวมกลุ่มเครือญาติซึ่งถือได้ว่าเป็นระบบการดูแลสุขภาพแบบเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกันของชุมชน  ระบบนี้เรียกว่าการแพทย์แบบวัฒนธรรม  คือการใช้กระบวนการทางสังคมวัฒนธรรมมาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางสุขภาพ  (โกมาตร  จึงเสถียรทรัพย์ และคณะ ,2545 :   91 )   ส่วนเครื่องมือหรือกิจกรรมที่ใช้เป็นสื่อในการทำการรักษาก็คือ ดนตรีและฟ้อนรำ   หรือเรียกว่า  สังคีตบำบัด (ดนตรีบำบัด)  

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
4.2 - (1)
4.2 - (2)
4.2 - (3)
4.2 - (4)
4.2 - (5)
4.2 - (6)
4.2 - (7)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 เรื่อง 5 คะแนน