ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

ปีที่ประเมิน 2561
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สุชาติ ศรีชื่น
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษาต้องมีการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพโดยมีแนวทางการดำเนินงานที่เป็นระบบและมีกลไกส่งเสริมสนับสนุนครบถ้วนเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้ทั้งการสนับสนุนด้านการจัดหาแหล่งทุนวิจัยและการจัดสรรทุนวิจัยจากงบประมาณของสถาบันให้กับบุคลากรส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะแก่อาจารย์และนักวิจัย การสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นซึ่งรวมถึงทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน เครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ตลอดจนจัดระบบสร้างขวัญและกำลังใจแก่นักวิจัยอย่างเหมาะสมตลอดจนมีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์

 

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการการจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)
3 จัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
4 จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ใน การประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
5 มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
6 มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการนำระบ\บสารสนเทศมาใช้ประโยชน์เพื่อการบริหารงานวิจัย ดังนี้

 

1. ระบบ DRMS ในการติดตามงานวิจัย (2.1 - 1(1)) เมื่อนักวิจัยรายงานผลรายงานความก้าวหน้ารอบ
2 เดือน และ 6 เดือน ลงระบบแล้ว แก้ไขตามผู้ทรงให้ข้อเสนอแนะ กลุ่มงานวิจัยจะดำเนินจะดำเนินการตรวจสอบในระบบ DRMS พร้อมเสนอผู้บริหารอนุมัติเบิกจ่าย แต่ในกรณี ที่นักวิจัยยังไม่ได้ดำเนินการ ผู้บริหารจะมีการทำบันทึกติดตามงานวิจัยต่อไป เช่น บันทึก แนวปฏิบัติ การเบิกจ่าย และ การขยายเวลาทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1 - 1(2))

 

2. ระบบสารสนเทศที่มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้น เป็นระบบบริหารจัดการงานวิจัยที่ใช้ร่วมกันระหว่าง
ระดับคณะ กับมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้รับผิดชอบทั้ง นักวิจัย เจ้าหน้าที่ ผู้บริหาร จะมี USER และ PASSWORD
ในการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานของตนเองได้  (2.1 - 1(3)) ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้ ดังนี้

2.1 บันทึกข้อมูลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย ลงในฐานข้อมูล

2.2 สืบค้นข้อมูลการวิจัยจากฐานข้อมูลงานวิจัยย้อนหลัง

2.3 สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการทำวิจัยของบุคลากรเข้ากับฐานข้อมูล

2.4 ประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลการวิจัยเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการวิจัย ได้แก่

- จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยที่ได้รับในระดับสถาบัน จำแนกตามปีงบประมาณ

- ติดตามความก้าวหน้างานวิจัยของนักวิจัย

- ผู้บริหารสามารถเข้าไปดูข้อมูลการดำเนินงานของนักวิจัย ความก้าวหน้างานวิจัยของนักวิจัย เพื่อดำเนินการติดตามได้ต่อไป

 

3. ระบบสารสนเทศการบริหารงานวิจัยจากภายนอก คือ ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System : NRMS)
(2.1 - 1(4)) เข้ามาใช้สำหรับการจัดการการวิจัยในด้านต่าง ๆ อาทิ

3.1 การยื่นข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ

3.2 การสรุปสถิติการยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย ในหมวดงบประมาณแผ่นดินปกติ ประจำปีงบประมาณ

3.3 การจัดการลำดับความสำคัญของโครงการวิจัยเพื่อยื่นเสนอต่อแหล่งทุนเพื่อพิจารณา

3.4 การรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานวิจัยผ่านระบบออนไลน์เพื่อให้แหล่งทุนได้รับทราบ

3.5 การติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัยของนักวิจัยได้ที่รับทุนสนับสนุนรายบุคคล

3.6 ตรวจสอบประวัติของนักวิจัยย้อนหลัง

 

2สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการการจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์อาคันตุกะหรือศาสตราจารย์รับเชิญ (visiting professor)

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัย ในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

 

1. มีการจัดเตรียมห้องปฏิบัติการวิจัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้มีการจัดสรรพื้นที่และอุปกรณ์เพื่อให้เป็นห้องปฏิบัติการ หรือห้องปฏิบัติงานสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของอาจารย์ และนักศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

1.1 ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ (2.1-2(1)) ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ (2.1-2(2)) และห้องปฏิบัติการงานด้านอุตสาหกรรม (2.1-2(3))

1.2 ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการสาธารณสุขชุมชน (2.1-2(4)) และห้องอาคารห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การกีฬา (2.1-2(5))

 

2. มีหน่วยวิจัยที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษา และสนับสนุนการวิจัย

มีการจัดตั้งกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา ภายใต้สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ที่ทำหน้าที่ในจัดสรรทุนวิจัย จัดหาแหล่งทุนวิจัยจากภายนอกที่มีความเหมาะสม ส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลการวิจัยสู่ภายนอก ตลอดจนการกำกับติดตามการดำเนินงานวิจัย (2.1-2(6))

 

3. มีห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีห้องสมุดที่มีศักยภาพและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพัฒนางานวิจัยแก่บุคคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
(2.1-2(7))  ซึ่งมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สำหรับนักวิจัยที่เข้ามาลงระบบข้อมูล หรือศึกษาค้นคว้าข้อมูล (2.1-2(8)) และวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีศูนย์วิจัยเด็กและเยาวชน เพื่อปรึกษาหารือด้านงานวิจัย และสำหรับค้นคว้าเอกสารต่างๆ (2.1-2(9))

 

4. มีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะกษมีการจัดเตรียมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกต่อ
การพัฒนาวิจัย ได้แก่

4.1 ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์
(2.1-2(10))

4.2 ตลอดจนมีการจัดการเรื่องการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย เพื่อให้นักวิจัยเกิดความสะดวกในการทำงาน และเกิดความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการเพื่อการวิจัยโดยได้มีการวางแนวปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน และจัดทำเป็นคู่มือเพื่อเผยแพร่ให้แก่บุคคลกรภายในได้รับทราบอย่างทั่วถึง ได้แก่

- คู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (2.1-2(11))

- แนวทางการใช้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (2.1-2(12))

- แนวทางการใช้ห้องปฏิบัติการและอาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีบัณฑิต (2.1-2(13))

- คู่มือการใช้ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ (2.1-2(14))

- ระเบียบและแนวปฏิบัติการขอใช้บริการห้องปฏิบัติการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (2.1-2(15))

- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา (2.1-2(16))

 

5. มีการจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

5.1 มีการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยแบบบูรณาการ" ในวันที่ 8 มกราคม 2562 (2.1-2(17))

5.2 มีการจัดโครงการอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) รุ่นที่ 7” ในวันที่ 25-29 มีนาคม 2562
(2.1-2(18))

5.3 มีการจัดโครงการอบรม“การตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ”  ในวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2562 (2.1-2(19))

 

3จัดสรรงบประมาณของสถาบัน เพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดสรรงบประมาณของสถาบันเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการวิจัย ในปีงบประมาณ 2562 มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยในระดับคณะ และ สถาบัน รวมเป็นเงินสนับสนุนจำนวน 2,085,000 บาท โดยมหาวิทยาลัยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (2.1-3(1))

4จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ และมีการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ใน การประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ

ในปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย ในการประชุมทางวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ โดยมีแนวทางในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนใน 2 ระดับดังต่อไปนี้

 

1. การส่งเสริมในระดับสถาบัน

1.1 มหาวิทยาลัยมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย โดยมีการสนับสนุนจัดงานโครงการประชุมวิชาการ และนำเสนอผลงานระดับชาติ และนานาชาติ "ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 5" โดยมีหนังสือสนับสนุนจัดงานโครงการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติและนานาชาติ "ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 5" (2.1-4(1)) โดยมีเงินสนับสนุน 200,000 บาท ตามหนังสือใบเสร็จรับเงินสนับสนุนจัดงานโครงการ (2.1-4(2)) ซึ่งมีนักวิจัยไปเข้าร่วมนำเสนอผลงาน จำนวน 8 คน ตามคำสั่งไปราชการของมหาวิทยาลัย (2.1-4(3))

1.2  มีการก่อตั้งกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และมีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษว่าด้วยกองทุนวิจัย พ.ศ. 2561 โดยรูปแบบของคณะกรรมการฯ (2.1-4(4)) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยให้แพร่หลายทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ความช่วยเหลือในการขอรับสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ
ที่เกิดจากงานวิจัยของบุคลากร (2.1-4(5)) โดยมีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน เพื่อสนับสนุนการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ครั้งที่ 2/2562 วันที่ 31 มกราคม 2562 (2.1-4(6))

1.3 มหาวิทยาลัยมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสำหรับงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุน โดยมีการจัดสรรเงินไว้ในหมวดการเผยแพร่ผลงานวิจัยตามงบประมาณที่จัดสรรเพื่อสนับสนุนการวิจัย
ซึ่งนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินประจำปีสามารถใช้งานที่ถูกจัดสรรนี้สำหรับการเผยแพร่ผลการวิจัย โดยมีการระบุอัตราการจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลการวิจัยไว้ใน ประกาศมหาวิทยาลัยเรื่องหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย (2.1-4(7))

 

2. การส่งเสริมในระดับคณะ

คณะแต่ละคณะ มีจัดทำแผนปฏิบัติการจากเงินรายได้วิจัย ประจำปีงบประมาณ 2562 (2.1-4(8)) โดยมาจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนบุคคลากรในการเผยแพร่ผลงานวิจัย การประชุมทางวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ  โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สำหรับการดำเนินการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสาร

 

5มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น

ในปีการศึกษา 2561 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ได้มีพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ให้มีศักยภาพในด้านการวิจัยให้สูงขึ้น โดยการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยอย่างหลากหลาย อาทิ

 

1. มีการจัดโครงการฝึกอบรม“สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) รุ่นที่ 7 ระหว่างวันที่ 25-29 มีนาคม 2562 (2.1-5(1))

 

2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “เทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยแบบบูรณาการ” ในวันที่
8 มกราคม 2562 (2.1-5(2))

3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การตีพิมพ์บทความวิจัยระดับนานาชาติ” ในวันที่ 22-23 พฤษภาคม 2562 (2.1-5(3))

 

4. มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยดีเด่น อาทิ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา ประชาสัมพันธ์ยกย่องนักวิจัยที่ได้รางวัลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติดีเด่น “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 5” โดยมี ผศ.ดร.พัชรา ปราชญ์เวทย์ ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น (2.1-5(4))

 

5. กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เข้าร่วมจัดนิทรรศการ มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาคประจำปี 2562 (Regional Research Expo 2019)“งานวิจัยสร้างสรรค์สู่เชิงพาณิชย์”ระหว่างวันที่ 26 - 28 กุมภาพันธ์ และ 1 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ครั้งนี้นำเสนอในหัวข้อ “ผ้าไหมเก็บย้อมมะเกลือ” มรดกแห่งภูมิปัญญาเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษ ถือว่าเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยจากพื้นที่เพื่อพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ผลงานวิจัยของ อ.ธีรพงษ์ สงผัด ทั้งนี้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 นิทรรศการผลงานวิจัย (2.1-5(5)) 


6. มีการจัดทำประกาศ เรื่อง เกณฑ์การยกย่อง
เชิดชูเกียรติ นักวิจัยดีเด่น (2.1-5(6))

6 มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้

 

1. ออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2553 (2.1-6(1)) เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนงานวิจัยต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 

2. ออกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง แนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย (2.1-6(2)) เพื่อผลักดันให้มีการนำผลงานที่ได้จากการวิจัยในเชิงวิชาการออกใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นสร้างสรรค์ผลงานการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อันอาจนำไปเป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้

 

3. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-6(3)) เพื่อทำหน้าที่ พิจารณา ให้ความเห็น กำกับติดตาม และดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ โดยอาจารย์หรือนักวิจัยที่ต้องการร้องขอการคุ้มครองสิทธิ์ในงานวิจัยสามารถดำเนินการตามขั้นตอนตามแผนภาพขั้นตอนการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดในกรณีที่ต้องการร้องขอความคุ้มครอง (2.1-6(4)) โดยมีขึ้นตอนในการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ ดังต่อไปนี้

3.1 เจ้าของผลงานวิจัยชิ้นที่ถูกละเมิดสิทธ์ดำเนินการยื่นคำร้องมาที่งานวิจัยและพัฒนา พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าตนเองเป็นเจ้าของผลงานที่ถูกละเมิดสิทธิ์ ตลอดจนหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการละเมิดสิทธ์ในงานวิจัยของตนเอง หรือเอกสารอื่น ๆ ประกอบเพื่อความชัดเจน

3.2 งานวิจัยและพัฒนาเป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของผลงาน ทำการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และตรวจสอบความสมบูรณ์ของเรื่องร้องเรียน  (2.1-6(5))

3.3 ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธ์ของงานวิจัยที่ได้มีการร้องเรียน

3.4 นำเสนอแนวทางในการจัดการปัญหาด้านการละเมิดสิทธ์ และมติของที่ประชุมคณะกรรมการฯ ต่ออธิการบดีเพื่อสังการตามอำนาจของอธิการบดี

3.5 ในกรณีที่ต้องการฟ้องร้องหรือดำเนินการเอาผิดทางคดีความให้นิติกรของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเป็นผู้ดำเนินการ

 

4. มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ว่าด้วย กองทุนวิจัย ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่เกิดจากการให้ทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย อาทิ ผลงาน ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากงานวิจัย ตามระเบียบนี้ ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย เว้นแต่มีข้อตกลงไว้เป็นอย่างอื่นแต่ผู้วิจัยมีสิทธิตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการได้ การตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยอันเป็นผลงานที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินกองทุนวิจัย และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ
(2.1-6(6)) โดยในปีการศึกษา 2561 ยังไม่พบว่ามีการร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิ์ต่องานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ และยังไม่มีการร้องขอการคุ้มครองสิทธิ์แต่อย่างใด

 

5. มีการแสวงหาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยสำหรับการคุ้มครองสิทธิ์ให้แก่ผลงานวิจัยที่ผลิตหรือสร้างสรรค์โดยอาจารย์หรือนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ คือ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560 ได้ทำความร่วมมือทางวิชาการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศาตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ตำแหน่งอธิการบดี กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหัสา พลนิล ตำแหน่งรักษาราชการแทนอธิการบดี ระยะเวลาของความร่วมมือมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ทำบันทึกข้อตกลงฉบับนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2565 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการลอกเลียนงานวรรณกรรมของบุคคลอื่น และอนุญาตให้มีสิทธิ์ใช้และเข้าถึงฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานวิจัย ฯลฯ เป็นต้น (2.1-6(7))