ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ 
กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พรเทพ เจิมขุนทด , อนันศักดิ์ พวงอก , นิลวรรณ จันทา , รุ่งทิวา เนื้อนา , ภิรัญญา จันทร์เปล่ง , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , ทินกร กมล , นงนุช แสงพฤกษ์ , ปวริศา แดงงาม , ทิวาพร ใจก้อน
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะมีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธงานตามกิจหลัก แต่ละคณะจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยงและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใสและตรวจสอบได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ
2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง
4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน
5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ สถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงินและแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ

     ในปีการศึกษา  2563 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีแผนกลยุทธ์ คณะฯ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561 – 2565) (อ้างอิง 5.2-1 (1)แผนกลยุทธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ที่สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) (อ้างอิง 5.2-1(2) แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) ซึ่งมีการทบทวนแผน อาทิเช่น ปรัชญา วิสัยทัศน์ ค่านิยมหลัก และทิศทางยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ตามกรอบร่างยุทธศาสตร์การพัฒนา และในกระแสยุค 4.0 และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น

     โดยในปีการศึกษา  2563 คณะฯ มีขั้นตอนการปฏิบัติงานตามแผนกลยุทธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.  2561-2565) และแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณปี พ.ศ. 2564 และแผนกลยุทธ์ทางการเงิน (งบประมาณปี พ.ศ. 2564) ดังนี้

     1. คณะฯ มีการจัดทำแผนปฏิบัตการ แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และแผนงานต่าง ๆ ประจำปีการศึกษา 2563 โดยนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ SWOT (สภาพแวดล้อมภายใน สภาพแวดล้อมภายนอก) ที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะฯ และสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยผ่านโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การทบทวนแผน ประจำปี พ.ศ.2563 ในวันที่ 23 กันยายน 2563 (5.2 - 1(3) รายงานการทบทวนแผนกลยุทธ์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565) และแผนงาน ประจำปีการศึกษา 2563) ซึ่งได้รับความร่วมมือจากผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร เข้าร่วมกิจกรรมและให้ข้อเสนอแนะ โดยมีการปรับปรุงกลยุทธ์ ตัวบ่งชี้ โครงการ/กิจกรรม และผู้รับผิดชอบในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อผลักดันให้การดำเนินงานของคณะฯ บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ที่วางไว้ โดยนำผลการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของคณะฯ ประจำปีการศึกษา 2562 (อ้างอิง 5.2-1(4) แผนพัฒนาคุณภาพระดับคณะ (Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา  2563) ในองค์ประกอบที่มีการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายใน, สรุปผลการดำเนินงานในรอบปีการศึกษา 2562 (อ้างอิง 5.2-1(5) รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563) ผลการดำเนินงานที่ยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ และด้านการเงิน ที่สอดคล้องกับนโยบายผู้บริหารของคณะฯ และมหาวิทยาลัย ข้อมูลรายรับ และรายจ่ายแต่ละประเภทของปีที่ผ่านมา มาประกอบการจัดทำแผนปฏิบัติการต่าง ๆ ดังกล่าว และได้จัดประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 4/ 2563 มีการพิจารณาแผนงานต่าง ๆ  ประจำปีการศึกษา 2563 วันที่ 29  ตุลาคม 2563  ณ ห้องประชุมคณะฯ เพื่อความเรียบร้อยและการดำเนินอย่างมีประสิทธิภาพ (อ้างอิง 5.2-1(6) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ครั้งที่ 4/2563 หน้าที่ 12-13)

     2. คณะฯ มีการนำแผนต่าง ๆ  ประจำปีการศึกษา  2563 เช่น แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 (อ้างอิง 5.2-1(7) แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 หน้าที่ 38-43) แผนกลยุทธ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระยะ 5 ปี (พ.ศ.  2561-2565) แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564  (อ้างอิง 5.2-1(8) แผนกลยุทธ์ทางการเงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564) แผนบริหารความเสี่ยง แผนบริหารและพัฒนาบุคลากร และแผนงานต่าง ๆ ประจำปีการศึกษา 2563 เสนอคณะกรรมการประจำคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30  ตุลาคม  2563  เห็นชอบแผนต่าง ๆ ประจำปีการศึกษา 2563  (อ้างอิง 5.2- 1(9) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 3/2563 หน้าที่ 13-14) 

     3. นอกจากนี้ยังมีการกำกับติดตาม การดำเนินงานของแผนทุกแผน และรายงานแสดงฐานะทางการเงินทุกเดือน เสนอต่อผู้บริหารและคณะกรรมการประจำคณะฯ เพื่อนำเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯทุกรอบการประชุม พร้อมทั้งมีการวิเคราะห์สถานะทางการเงินทุกไตรมาสในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ และนำเข้าพิจารณาในคณะกรรมการประจำคณะฯทุกไตรมาสเพื่อเป็นการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้

          3.1 คณะฯ มีการกับกำติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของโครงการ และมีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน (รอบ 6 เดือน) ซึ่งมีการดำเนินงานบางตัวชี้วัดยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ส่วนมากเป็นตัวชี้วัดที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ และจากการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ เห็นควรแจ้งให้ผู้รับผิดชอบเพิ่มการติดตามการดำเนินงานของโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ในแผนฯ ซึ่งผลการดำเนินงานด้านโครงการ/กิจกรรม เมื่อใกล้สิ้นปี ให้รวบรวมผลการดำเนินงานตามชี้วัดที่ยังไม่บรรลุและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ไปพิจารณาและวางแผนการดำเนินงานต่อไป พร้อมกันนั้นยังรายงานต่อมหาวิทยาลัยต่อไป ซึ่งในปีการศึกษา 2563 ได้ผลรับกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 เป็นอย่างมาก ต้องมีการปรับโครงการหลายโครงการเลื่อนออกไป หรือยกเลิก

          3.2 รายงานแสดงฐานะทางการเงิน ติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของโครงการ รอบ 6 เดือน และเมื่อสิ่นปีงบประมาณ  ในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ครั้งที่ 2/2564 ในวันที่ 10 มิถุนายน 2564  (อ้างอิง 5.2-1(10) รายงานประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 46-51) และเสนอต่อ ในการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 ในวันที่ 7 กรกฑาคม 2564 (อ้างอิง 5.2-1(11) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 45-50)

               3.2.1 งบประมาณ พ.ศ.2564 คณะฯ มีการติดตามผลการดำเนินงานและรายงานผลสถานะทางการเงินของแผน และโครงการ/กิจกรรม  ต่าง ๆ ประจำปีการศึกษา  2563 ทุกไตรมาส มีรายละเอียดดังนี้ 

               ไตรมาสที่ 1 การประขุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ครั้งที่ 4/2563 วันที่ 29 ตุลาคม 2563 หน้าที่ 5 

                ไตรมาสที่ 2 การประขุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 หน้าที่ 6  

                 และไตรมาสที่ 3 การประขุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 หน้าที่ 5

          3.3 เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา คณะได้มีการประเมินความสำเร็จของแผนและ กิจกรรม/โครงการที่ได้ดำเนินการไป โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 (อ้างอิง 5.2-1(12) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 13-17))  เพื่อให้ทราบถึงร้อยละความสำเร็จของตัวชี้วัดตามแผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการ และแผนงานต่าง ๆ  สรุปปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินงานเพื่อรายงานในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ เพื่อประเมิน ผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามแผนและโครงการ และรับฟังข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 (อ้างอิง 5.2-1(13) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 13-17)  และเสนอต่อมหาวิทยาลัยต่อไป เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาพ.ศ.2564 แต่เนื่องด้วยช่วงรับการประเมินยังไม่สิ้นงบประมาณ พ.ศ.2564

2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

     คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน โดยในปีการศึกษา 2563 ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตรที่พิจารณาจากจำนวนนักศึกษา ณ  จุดคุ้มทุน พบว่า
     มีหลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จํานวน 9 หลักสูตร มีความคุ้มค่าในการผลิตบัณฑิต แต่คณะยังมีกระบวนการผลิตบัณฑิตอย่างต่อเนื่องเนื่องจากมีจํานวนนักศึกษาน้อย ทําให้หลักสูตร  ต้องออกแนะแนวการศึกษาต่อให้กับนักเรียน นักศึกษาเพื่อกระตุ้นการเลือกเรียนในหลักสูตร และเพิ่มยอดนักศึกษาให้กับหลักสูตร มีการจัดทำวีดีทัศน์แนะนำสาขาวิชา และให้สาขาวิชาเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์มากขึ้นให้ทันกับนักเรียน ยุค 4.0 โดยไม่รอการแนะแนวจากมหาวิทยาลัยเท่านั้น 5.2 - 2(1) รายงานสรุปผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยและความคุ้มค่าของหลักสูตร-ปีการศึกษา 2563

3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง

         คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ มีรายละเอียดดังนี้

            1. แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564  (อ้างอิง 5.2-3(1) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564)

           2. คณะกรรมการ ได้เสนอแผนบริหารความเสี่ยง  (อ้างอิง 5.2-3(2) แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564) และได้แสดงลำดับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง และสูงมาก ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2563 วันที่ 22 กรกฎาคม 2563 (อ้างอิง 5.2-3(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 1/2563 วันที่ 22 กรกฎาคม 2563 หน้าที่ 10-11) เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยให้หลักสูตรจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง และส่งข้อมูลมายังคณะฯ และสรุป   เพื่อหาความเสี่ยงในระดับคณะ ผลการวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยงโดยพิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง (Likelihood) และความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยง (Impact) โดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ทำให้การตัดสินใจจัดการกับความเสี่ยงเป็นไปอย่างเหมาะสม
           ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีปัจจัยเสี่ยงภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ สูง และสูงมาก ได้จัดลำดับความเสี่ยง 2 โครงการ  ได้แก่

                       2.1 โครงการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2563

ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การประเมินความเสี่ยง

ลำดับความเสี่ยง

กลยุทธ์ที่ใช้จัดการความเสี่ยง (4T)

โอกาส (L)

ผลกระทบ (I)

ระดับความเสี่ยง (LxI)

R1 การจัดเก็บหลักฐานด้านประกันคุณภาพการศึกษา

R 1.1 เอกสารหรือหลักฐานไม่สอดคล้องหรือไม่สามารถนำมาพิจารณาให้คะแนนได้

4

(L3)

3

(I7)

12

ความเสี่ยงระดับสูง

Treat

ควบคุม

R2 การตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา

R 1.2 การวินิจฉัยหรือดุลยพินิจของคณะกรรมการตรวจประเมิน

4

(L2)

3

(I7)

12

ความเสี่ยงระดับสูง

Treat

ควบคุม


                      2.2 โครงการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน CEFR ชั้น ปีที่ 2-4

ความเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยง

การประเมินความเสี่ยง

ลำดับความเสี่ยง

กลยุทธ์ที่ใช้จัดการความเสี่ยง (4T)

โอกาส (L)

ผลกระทบ (I)

ระดับความเสี่ยง (LxI)

R1 ความรู้ด้านภาษาอังกฤษตาม

มาตรฐาน CEFR

R 1.1 พื้นฐานความรู้ด้านภาษาอังกฤษของนักศึกษา

4

(L3)

4

(I7)

16

ความเสี่ยงระดับสูงมาก

Treat

ควบคุม

 

            3. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้นำแผนบริหารความเสี่ยงเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเพื่อรับทราบ ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30  ตุลาคม  2563 (อ้างอิง 5.2-3(4) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30  ตุลาคม  2563 หน้าที่ 13-14)

           4. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยง โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ 2 ปัจจัย 2 ประเด็นดังนี้

                       4.1 งานประกันคุณภาพการศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการดังนี้

                                  4.1.1 คณะมีการจัดทำเว็บไซต์ฐานข้อมูลในการอัพหลักฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

                                  4.1.2 คณะมีการจัดเก็บฐานข้อมูลที่เป็นหลักฐานด้านประกันคุณภาพการศึกษาของทุกสาขาวิชา

                                  4.1.3 คณะมีการประชุมชี้แจง กำกับติดตามการเก็บหลักฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

                                  4.1.4 คณะมีการตรวจสอบหลักฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตร

                                  4.1.5 หลักสูตรมีส่วนร่วมในการคัดเลือกคณะกรรมการที่ผ่านการอบรมและขึ้นทะเบียนคณะกรรมการของคปภ. มหาวิทยาลัยในกลุ่มราชภัฏ

                       4.2 ศูนย์ภาษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดโครงการฯส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

                                  4.2.1 คณะส่งเสริมนโยบายยกระดับมาตรฐานภาษาอังกฤษสำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย

                                  4.2.2 คณะมีการอบรมพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน CEFR เป็นแกน

                                  4.2.3 คณะดำเนินการจัดโครงการฯส่งเสริมพัฒนาความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

                             1) จัดอบรมโครงการพัฒนาความรู้ทักษะด้านภาษาอังกฤษ ในศตวรรษที่ 21 ให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อเตรียมทดสอบความรู้ตามมาตรฐาน CEFR ในระหว่างวันที่ 6-9 มีนาคม 2564

                              2) โครงการทดสอบความรู้ด้านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ CEFR ชั้นปีที่ 2 - ชั้นปีที่ 4 ในวันที่ 17 ตุลาคม 2563

                      4.2.4 คณะมีการดำเนินการสอบวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษให้กับนักศึกษาอย่างต่อเนื่องตามกำหนดการของศูนย์ภาษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์         

            5. เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะมีการประเมินความสำเร็จของแผน และรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำคณะ พบการดำเนินงานพบว่า

                       5.1 หลักสูตรทั้ง 9 หลักสูตรได้มีการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรเป็นที่เรียบร้อย  ระหว่างวันนที่ 21 มิถุนายน-1 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา หลักสูตรส่วนใหญ่มีคะแนนสูงขึ้นจากปีที่แล้ว และมีการจัดเก็บหลักฐานเป็นระบบากขึ้น ข้อเสนอแนะคือ สถานการณ์โควิด-19 การดำเนินงานแต่ละหลักสูตรบางหลักสูตรยังไม่เสร็จสิ้น ยังไม่สามารถอัพหลักฐานได้ แต่ยังต้องควบคุมต่อไป เนื่องด้วยมีผลกระทบต่อนักศึกษา และมหาวิทยาลัย

                       5.2 จำนวนนักศึกษาที่สอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ไม่เป็นไปตามที่กำหนด นักศึกษาสอบผ่านวัดความรู้ด้านภาษาอังกฤษ CEFR ผ่านตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะ คะแนน B1 ร้อยละ 15.25 ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เมื่อสรุปผลการประเมินความเสี่ยงภายหลังการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงแล้ว มีนักศึกษาสอบผ่านเกณณ์มากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว ที่สอบผ่าน เพียง 0.3 เท่านั้น แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูง  ควรมีการจัดโครงการออนไลน์ ในสถานกาณ์โรคคิวด-19 เพื่อให้สามารถเรียนรู้ และดูแลได้อย่างทั่วถึง ซึ่งคณะฯ ต้องยอมรับในความเสี่ยงข้อนี้ และมีมาตรการในควบคุมต่อไป ในปีงบประมาณต่อไป  (5.2-3(5)) รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564)

           มติที่ประชุม  เห็นชอบผลการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงของคณะฯและได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงต่อไป (อ้างอิง 5.2 - 3(6) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 20-23 และ 5.2-3(7) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564) หน้าที่ 20-23)    

4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน

           ผู้บริหารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  บริหารงานด้วยหลัก   ธรรมาภิบาล  โดยยึดหลักประโยชน์ของคณะฯ  มหาวิทยาลัย และมีส่วนได้ส่วนเสีย ในการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล  ดังนี้

  1. หลักประสิทธิผล

          ผู้บริหารคณะฯ  มีการบริหารงบประมาณและบริหารทรัพยากรที่มีประสิทธิผล  เน้นที่ผลลัพธ์เพื่อใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุด  โดยจัดให้มีคณะกรรมการบริหารด้านการเงินของคณะฯ (อ้างอิง 5.1-4(1) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานด้านการเงิน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564) และคณะฯ ได้มีคณะกรรมการกำกับติดตามแผนการดำเนินงานด้านต่างๆ ภายในคณะฯ เพื่อให้แผนการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมาย เกิดประสิทธิผล (อ้างอิง 5.1-4(2) คณะกรรมการกำกับติดตามแผนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564)

  1. หลักประสิทธิภาพ

ผู้บริหารคณะฯ  มีการบริหารจัดการภายในคณะฯ ให้มี ประสิทธิภาพ  มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (อ้างอิง 5.1-4(3) แผนบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564) มีแผนการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะฯ (อ้างอิง 5.1-4(4) คำสั่งคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจ) และมีระบบการและกลไลการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ (อ้างอิง 5.1-4(5)ระบบการและกลไลการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ)

  1. หลักการตอบสนอง

ผู้บริหารคณะฯ  มีการบริหารตามพันธกิจที่ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างครอบคลุม ได้แก่  มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต (อ้างอิง 5.1-4(6) รายงานการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต) มีการดำเนินการจัดการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ตามมาตรฐานการเรียนรู้ใน 9 สาขาวิชา ที่อยู่ภายใต้สังกัดคณะฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายนอกและภายใน (อ้างอิง 5.1-4(7) การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาตามมาตรฐานการเรียนรู้ใน 9 สาขาวิชา ประจำปีการศึกษา 2563) และมีการจัดโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนสังคม โดยดำเนินงานร่วมกันระหว่างสาขาวิชา  คณะ  มหาวิทยาลัย และหน่วยงานภายนอก  ได้แก่

      1) โครงการจัดทำหนังสือ “ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชน ปราสาทขอมเมืองดอกลำดวน” (5.1-4(8) โครงการจัดทำหนังสือ “ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชน ปราสาทขอมเมืองดอกลำดวน”) 

      2) โครงการบริการวิชาการ:ส่งเสริมอาชีพเพาะเห็ดบ้านปรือคันตะวันออก ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  (อ้างอิง 5.1-4(9) โครงการบริการวิชาการ:ส่งเสริมอาชีพเพาะเห็ดบ้านปรือคันตะวันออก ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ)

      3) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง:ศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการนำไปใช้การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน  (อ้างอิง 5.1-4(10) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง:ศาสตร์พระราชาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการนำไปใช้การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน  )

      4) โครงการยุวบรรณารักษ์  (อ้างอิง 5.1-4(11) รายงานผลโครงการพัฒนาห้องสมุดตามแนวพระราชดําริ โรงเรียนปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่)

      5) โครงการบริการวิชาการ อบรมเชิงปฏิบัติการ การวาดเขียนศิลปะลวดลายวิถีชีวิตชุมชนบึงบูรพ์ (อ้างอิง 5.1-4(12) โครงการบริการวิชาการ อบรมเชิงปฏิบัติการ การวาดเขียนศิลปะลวดลายวิถีชีวิตชุมชนบึงบูรพ์)

     6) โครงการสืบสานประวัติศาสตร์ ดำรงราชานุภาพ ครั้งที่ 2 (อ้างอิง 5.1-4(13) โครงการสืบสานประวัติศาสตร์ ดำรงราชานุภาพ ครั้งที่ 1)

      7) โครงการบริการวิชาการส่งเสริมและยกระดับรายได้อาชีพเพาะเห็ดบ้านคูสี่แจ  (อ้างอิง 5.1-4(14)โครงการบริการวิชาการส่งเสริมและยกระดับรายได้อาชีพเพาะเห็ดบ้านคูสี่แจ)

      8) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักเศรษฐกิจพอเพียง:ศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการนำไปใช้การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน (อ้างอิง 5.1-4(15)โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักเศรษฐกิจพอเพียง:ศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการนำไปใช้การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน)

     9) โครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงหอยขม (อ้างอิง 5.1-4(16) โครงการส่งเสริมอาชีพเลี้ยงหอยขม)

     และโครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้แก่

     1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายงานหัตถกรรมหวายเทียม ตำบลหัวเสือและตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 5.1-4(17) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายงานหัตถกรรมหวายเทียม ตำบลหัวเสือและตำบลดองกำเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ)

     2) โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหวายกลุ่มทับทิมสยาม 07 จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 5.1-4(18)โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหวายกลุ่มทับทิมสยาม 07 จังหวัด  ศรีสะเกษ)

     3) โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกยกระดับกลุ่มอาชีพ บ้านปรือคันตะวันออก ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 5.1-4(19)โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกยกระดับกลุ่มอาชีพ บ้านปรือคันตะวันออก ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัด   ศรีสะเกษ)

     4) โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงปลาการเลี้ยงปลาในกระชังริมฝั่งห้วยทับทัน บ้านจอมพระ ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 5.1-4(20)โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงปลาการเลี้ยงปลาในกระชังริมฝั่งห้วยทับทัน บ้านจอมพระ ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ)

     5) โครงการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 5.1-4(21)โครงการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ)

     6) โครงการส่งเสริมอาชีพแบบผสมผสาน การเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ บ้านสวนป่า ตำบลบักดอง อำเภอขันหาญ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 5.1-4(22)โครงการส่งเสริมอาชีพแบบผสมผสาน การเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ บ้านสวนป่า ตำบลบักดอง อำเภอขันหาญ จังหวัดศรีสะเกษ)

     7) โครงการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการท้องถิ่นสู่สังคมสีเขียวอย่างยั่งยืน บ้านกันทรอมใต้ ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 5.1-4(23) โครงการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการท้องถิ่นสู่สังคมสีเขียวอย่างยั่งยืน บ้านกันทรอมใต้ ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ)

     8) โครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพการผลิต และการแปรรูปการผลิต และการตลาดออนไลน์ทุเรียนภูเขาไฟ (อ้างอิง 5.1-4(24)โครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพการผลิต และการแปรรูปการผลิต และการตลาดออนไลน์ทุเรียนภูเขาไฟ)

     9) โครงการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดหวานในอำเภอศรีรัตนะ จังวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 5.1-4(25) โครงการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์จากข้าวโพดหวานในอำเภอศรีรัตนะ จังวัดศรีสะเกษ)

    10) โครงการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาอาชีพสู่ความยั่งยืน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร และอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 5.1-4(26) โครงการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาอาชีพสู่ความยั่งยืน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร และอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ)

   11) โครงการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ และการทดสอบ SSKRU TEP สำหรับนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2563 (5.1-4(27)โครงการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมด้านภาษาอังกฤษ และการทดสอบ SSKRU TEP สำหรับนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2563)

   และโครงการบูรณาการความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  ได้แก่

   1) โครงการบูรณาการร่วมมือสนับสนุนกิจการนักศึกษา/ออกค่าย “ฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ”กลุ่มอาชีพเพาะเห็ด (อ้างอิง 5.1-4(28) โครงการบูรณาการร่วมมือสนับสนุนกิจการนักศึกษา/ออกค่าย “ฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ”กลุ่มอาชีพเพาะเห็ด)

   2) โครงการบูรณาการร่วมมือสนับสนุนกิจการนักศึกษา/ออกค่าย “ฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ”กลุ่มเลี้ยงกบในกระซัง (อ้างอิง 5.1-4(29) โครงการบูรณาการร่วมมือสนับสนุนกิจการนักศึกษา/ออกค่าย “ฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ”กลุ่มเลี้ยงกบในกระซัง)

   3) โครงการบูรณาการร่วมมือสนับสนุนกิจการนักศึกษา/ออกค่าย “ฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ” กลุ่มอาชีพนวดแผนไทย (อ้างอิง 5.1-4(30) โครงการบูรณาการร่วมมือสนับสนุนกิจการนักศึกษา/ออกค่าย “ฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ” กลุ่มอาชีพนวดแผนไทย)

   4) โครงการบูรณาการร่วมมือสนับสนุนกิจการนักศึกษา/ออกค่าย “ฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ” กลุ่มอาชีพช่างยนต์เล็ก (อ้างอิง 5.1-4(31) โครงการบูรณาการร่วมมือสนับสนุนกิจการนักศึกษา/ออกค่าย “ฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ” กลุ่มอาชีพช่างยนต์เล็ก)

  1. หลักความรับผิดชอบ

          ผู้บริหารคณะฯ  ได้มีการตระหนักถึง ภาระความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยที่ได้กำหนดไว้ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านต่างๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามพันธกิจ ครอบคลุม 14 ด้าน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจ  ได้แก่

       1) ด้านการผลิตบัณฑิต (อ้างอิง 5.1-4(32) คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ผู้สอน/คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา/คำสั่งแต่งตั้งการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การศึกษา/คำสั่งแต่งตั้งกรรมการวิชาการ/คำสั่งแต่งตั้งกรรมการแก้ไขผลการเรียน)

      2) ด้านการบริการวิชาการ (อ้างอิง 5.1-4(33)คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานบริการวิชาการ)

      3) ด้านการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (อ้างอิง 5.1-4(34) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย)

      4) ด้านการวิจัย (5.1-4(35) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานวิจัย)

      5) ด้านงานประชาสัมพันธ์(5.1-4(36)คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประชาสัมพันธ์)

      6) ด้านงานจุลสารประชาสัมพันธ์ (5.1-4(37) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานจุลสารประชาสัมพันธ์)

      7) ด้านงานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา (อ้างอิง 5.1-4(38)คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและสหกิจศึกษา)

      8) ด้านการจัดการความรู้ (อ้างอิง 5.1-4(39)คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการจัดการความรู้)

      9) ด้านงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อ้างอิง 5.1-4(40)คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ)

  1. ด้านงานส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา (อ้างอิง 5.1-4(41) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา)

     11) ด้านงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (อ้างอิง 5.1-4(42)คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน)

     12) ด้านงานวารสารวิชาการ “มนุษย์และสังคม” มหาวิทยาลัยราชภัฏ        ศรีสะเกษ (อ้างอิง 5.1-4(43) งานวารสารวิชาการ “มนุษย์และสังคม”มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ)

  1. ด้านงานศูนย์ภาษา (อ้างอิง 5.1-4(44) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ภาษา)

     14) ด้านที่เกี่ยวข้องถึงความเป็นอัตลักษณ์ของคณะฯ  โครงการวันมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สืบสานวันมรดกไทย ครั้งที่ 7 ประจำปี 2563 (อ้างอิง 5.1-4(45)คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานโครงการวันมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สืบสานวันมรดกไทย ครั้งที่ 7 ประจำปี 2563)

  1. หลักความโปร่งใส

     ผู้บริหารคณะฯ  ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารคณะฯ (5.1-4(46)) และแต่งตั้งคณะกรรมการประจำคณะฯ (อ้างอิง 5.1-4(47) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประจำคณะฯ) เพื่อกำกับติดตามตรวจสอบดูแลการบริหารจัดการภายในคณะฯ พร้อมทั้งให้คำปรึกษาเสนอแนะแนวทางการพัฒนาแก่ผู้บริหารคณะฯ เพื่อให้เกิดการทำงานที่โปร่งใส  งานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล บรรลุเป้าหมาย

       มีระบบการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารด้านการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์และนักศึกษา (อ้างอิง 5.1-4(48)ระบบการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารด้านการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์และนักศึกษา)  

      มีระบบสารสนเทศที่ช่วยอำนวยความสะดวกและส่งเสริมงานวิจัย (อ้างอิง 5.1-4(49) ระบบสารสนเทศงานวิจัย)  

      มีระบบสารสนเทศฐานข้อมูลบุคลากร (อ้างอิง 5.1-4(50) ระบบสารสนเทศฐานข้อมูลบุคลากร) 

      ในการทำงานตามพันธกิจ  คณะฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน) เพื่อกำกับ ติดตาม ให้งานบรรลุวัตถุประสงค์เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งทำให้เกิดความโปร่งใสในการทำงานร่วมกันภายในคณะฯ

         คณะฯได้มีการทบทวนแผนกลยุทธ์โดยใช้การมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกฝ่าย (อ้างอิง 5.1-4(51) บันทึกข้อความเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การทบทวนแผนกลยุทธ์ ประจำปี พ.ศ.2563) และก่อนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2564 คณบดีผู้บริหารสูงสุดของคณะฯ ได้นำแผนงานในปีงบประมาณ 2564 กำหนดเป็นวาระเพื่อทราบในการประชุมเพื่อให้บุคลากรในคณะฯ รับทราบถึงนโยบาย  แผน  และงบประมาณ ในการทำงานเพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วม และดำเนินงานตามแผน เพื่อให้เกิดการรับทราบ ถือปฏิบัติดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนให้เกิดความโปร่งใส (อ้างอิง 5.1-4(52) รายงานการประชุมสามัญคณะฯ/รายงานการประชุมประจำเดือนคณะฯ (ที่พูดถึงการมอบนโยบายการทำงาน))

         มีการประชุมสามัญภายในคณะฯ (อ้างอิง 5.1-4(53)การประชุมสามัญภายในคณะฯ)  โดยมีการประชุม 3  ช่วง ได้แก่  ช่วงก่อนเปิดภาคเรียน ช่วงระหว่างดำเนินงาน  และช่วงหลังปิดภาคเรียน   และมีการประชุมประจำเดือน (อ้างอิง 5.1-4(54) การประชุมประจำเดือน)  ซึ่งมีการประชุมในทุกเดือน  เพื่อเป็นมอบนโยบาย  การปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ติดตามการทำงาน ร่วมทั้งหาแนวทางการแก้ปัญหาร่วมกัน  เปิดโอกาสให้ทุกคนได้เสนอความคิดเห็นในการช่วยพัฒนาการบริหารงานให้เกิดการขับเคลื่อนคณะฯร่วมกัน

  1. หลักการมีส่วนร่วม

        ผู้บริหารคณะฯ ได้มีการแต่งตั้งหัวหน้างาน  คณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจคณะฯที่ครอบคลุมงานต่างๆภายในคณะฯ  เพื่อให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้  รวมทั้งเมื่อมีดำเนินโครงการตามแผนงานของคณะฯ บุคลากรเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน โดยมอบหมายตามภารกิจความรับผิดชอบให้กับบุคลากร  รวมทั้งนักศึกษาของคณะฯ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกัน  เช่น  โครงการภายใต้แผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น งานวันมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  สืบสานวันมรดกไทย  ครั้งที่ 7  ประจำปี  2563  และโครงการบูรณาการความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ   เป็นต้น

  1. หลักการกระจายอำนาจ

      ผู้บริหารคณะฯ ได้กระจายอำนาจในการบริหารงาน โดยได้มีการจัดทำคำสั่งมอบอำนาจให้รองคณบดี ปฏิบัติราชการแทนคณบดี  (อ้างอิง 5.1-4 (55) คำสั่งมอบอำนาจ รองคณบดี ปฏิบัติราชการแทนคณบดี)  มีคำสั่งแต่งตั้งผู้ช่วยคณบดี (อ้างอิง 5.1-4(56คำสั่งแต่งตั้งผู้ช่วยคณบดี) มีคำสั่งแต่งตั้งประธานสาขาวิชา (อ้างอิง 5.1-4(57) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารหลักสูตร) คำสั่งหัวหน้างานตามพันธกิจ รวมทั้งมีการกระจายอำนาจไปยังบุคลากรภายในคณะฯ  ให้ได้มีการส่วนร่วมในการตัดสิน  การวางแผน  การดำเนินงาน  การประเมินผล  การแก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดยผ่านคณะกรรมการดำเนินงานฝ่ายต่างๆ  มีการกระจายอำนาจให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมขับเคลื่อนงานภายในสโมสรนักศึกษา คำสั่งแต่งตั้งนายกสโมสรนักศึกษา  และ คณะกรรมการสโมสรนักศึกษาคณะฯ (อ้างอิง 5.1-4(58) คำสั่งแต่งตั้งนายกสโมสรนักศึกษา และ คณะกรรมการสโมสรนักศึกษาคณะฯ)

  1. หลักนิติธรรม

      ผู้บริหารคณะฯ ยึดแนวปฏิบัติ กฎ ระเบียบ ประกาศ ข้อบังคับ ต่างๆ ของทางมหาวิทยาลัย (อ้างอิง 5.1-4(59) ระเบียบ ข้อบังคับ บุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ) และได้มีการออกแนวปฏิบัติระเบียบ  ประกาศ และข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ขึ้นตามบริบทของคณะฯ เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติร่วมกัน และบริหารงานด้วยความเป็นธรรมโดยคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของคณาจารย์บุคลากร และนักศึกษาภายในคณะฯ เป็นหลัก (อ้างอิง 5.1-4(60)ระเบียบข้อบังคับบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)

  1. หลักความเสมอภาค

      ผู้บริหารคณะฯ มีการจัดสรรงบประมาณ สำหรับการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนโดยยึดหลักความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน โดยจัดสรรงบประมาณการพัฒนาตนเองคนละ 5,000 บาท/คน/ปี ตามแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร ปีงบประมาณ 2564 (อ้างอิง 5.1-4(61)แผนบริหารและพัฒนาบุคลากร ปีการศึกษา 2563) นอกจากนี้ คณะฯ ใช้ระเบียบและข้อบังคับบุคลากร ตามที่ฝ่ายบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้จัดทำเป็นรูปเล่มและมอบให้แก่บุคลากร เพื่อยึดถือเป็นแนวปฏิบัติเหมือนกันทั้งคณะและมหาวิทยาลัย

  1. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ

      ผู้บริหารคณะฯ มีการประชุมสามัญ ก่อนเปิดเรียนในปีการศึกษา และมีการประชุมประจำเดือนในทุกเดือน เพื่อให้คณาจารย์และบุคลากรได้รับทราบนโยบาย  ข้อมูลข่าวสาร แลกเปลี่ยนความคิดเห็น จากทางผู้ริหารคณะฯ มหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องรวมถึงเป็นที่แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยน  ข้อเสนอแนะ เพื่อหาแนวทางและมติในการดำเนินงานต่างๆ ตามพันธกิจ รวมถึง คณะฯ มีการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ เพื่อแลกเปลี่ยนขับเคลื่อนการพัฒนาคณะฯ และมีการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ จำนวน 3 ครั้ง/ภาคเรียน โดยดำเนินการประชุมก่อนเปิดภาคเรียน ระหว่างภาคเรียน และหลังการปิดภาคเรียน เพื่อมอบนโยบาย รายงานสรุปผลการดำเนินงาน กำกับ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงาน รวมถึงการหาแนวทางแก้ปัญหาต่าง ๆ เพื่อให้การขับเคลื่อนภายในคณะฯ บรรลุเป้าหมายตามพันธกิจ

5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

      1. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2563 เพื่อบริหารจัดการความรู้และที่มีอยู่ภายในตัวบุคคล รวบรวม จัดระบบความรู้เพื่อจัดทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับประชาสัมพันธ์ให้แก่บุคลากรภายในคณะ (อ้างอิง 5.2-5(1) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ ปีการศึกษา 2563)

     2. คณะกรรมการจัดการความรู้จัดการประชุมเพื่อวางแผน และกำหนดแนวทางในการจัดการความรู้ ในปีการศึกษา 2563 (อ้างอิง 5.2-5(2) คำสั่งเข้าร่วมโครงการกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้ (KM) ปีการศึกษา 2563) โดยกำหนดประเด็นที่จะดำเนินการจัดการความรู้จำนวน 2 ประเด็น (อ้างอิง 5.2-5(3) แบบฟอร์มการจัดการความรู้ (Tacit Knowledge) ด้านการวิจัย และ5.2-5(4) แบบฟอร์มการจัดการความรู้ (Tacit Knowledge) ด้านการเรียนการสอน) คือ

        1) การสืบค้นสารสนเทศเพื่อการวิจัย

        2) การพัฒนาทักษะการเรียนการสอนออนไลน์

     3. ตลอดปีการศึกษา 2563 คณะกรรมการจัดการความรู้ได้ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านละ 5 ครั้ง (อ้างอิง 5.2-5(5) โครงการกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดการความรู้ (KM) ปีการศึกษา 2563) จำแนกเป็น

  1) ประเด็นการสืบค้นสารสนเทศเพื่อการวิจัย จำนวน 5 ครั้ง ในแต่ละครั้งมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมดังนี้

      ครั้งที่ 1 วันที่ 27 มกราคม 2564 คณาจารย์ร่วมกันเสนอและคัดเลือกหัวข้อหลักในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อที่กำหนดคือ การสืบค้นสารสนเทศเพื่อการวิจัย

      ครั้งที่ 2 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1

      ครั้งที่ 3 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2

      ครั้งที่ 4 วันที่ 10 มีนาคม 2564 ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1

      ครั้งที่ 5 วันที่ 17 มีนาคม 2564 สรุปองค์ความรู้การสืบค้นสารสนเทศเพื่อการวิจัย

   2) ประเด็นการพัฒนาทักษะการเรียนการสอนออนไลน์ จำนวน 5 ครั้ง ในแต่ละครั้งมีรายละเอียดการจัดกิจกรรมดังนี้

       ครั้งที่ 1 วันที่ 27 มกราคม 2564 คณาจารย์ร่วมกันเสนอและคัดเลือกหัวข้อหลักในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หัวข้อที่กำหนดคือ การพัฒนาทักษะการเรียนการสอนออนไลน์

       ครั้งที่ 2 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้ง ที่ 1

       ครั้งที่ 3 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564  ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2

       ครั้งที่ 4 วันที่ 10 มีนาคม 2564 ดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 1

       ครั้งที่ 5 วันที่ 17 มีนาคม 2564 สรุปองค์ความรู้การพัฒนาทักษะการเรียนการสอน

     4. คณะกรรมการจัดการความรู้ได้รวบรวม จัดเก็บความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในแต่ละครั้ง

     5. คณะกรรมการจัดการความรู้ได้จัดโครงการบริหารจัดการความรู้ขึ้นในวันที่ 27 มีนาคม 2564 เพื่อนำเสนอความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้แก่อาจารย์ภายในคณะ และร่วมกับคณาจารย์จัดระบบความรู้เพื่อจัดทำเป็นแนวปฏิบัติที่ดี

     6. คณะกรรมการจัดการความรู้ดำเนินการเผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีให้แก่อาจารย์และบุคลากรในคณะผ่านช่องทาง (อ้างอิง 5.2-5(6) แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ และ 5.2-5(7) แนวปฏิบัติที่ดีในการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพ) ดังนี้

        1) เผยแพร่ทางออนไลน์ คือ Facebook คณาจารย์คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

        2) เผยแพร่ในรูปแบบเอกสารโดยตีพิมพ์ในรูปแบบโปสเตอร์ขนาด A4 และแผ่นพับ

     7. การบริหารจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่ไม่ได้แสดงให้เห็นผลลัพธ์ทั้งหมดของการดำเนินการเมื่อสิ้นปีการศึกษา แต่ผลของการจัดการความรู้จะแสดงให้เห็นชัดเจนในปีการศึกษาถัดไป เนื่องจากการจัดการความรู้เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนปัญหาที่เกิดขึ้นในปีการศึกษาที่จัดกิจกรรม และแสวงหาแนวทางการแก้ไข แนวทางการพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในปีการศึกษาต่อไป ดังนั้นเป้าหมายของการดำเนินงานในปีการศึกษา 2563 ด้านจำนวนอาจารย์ที่นำแนวปฏิบัติไปใช้จะสามารถตรวจสอบการบรรลุเป้าหมายได้ในปีการศึกษา 2564 (อ้างอิง 5.2-5(6) รายงานผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จ แผนงานการจัดการความรู้ (KM) ปีการศึกษา 2563)

     8. จากการดำเนินงานการจัดการความรู้ในปีการศึกษา 2563 มีอาจารย์และบุคลากรภายในคณะได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจำนวนทั้งสิ้น 31 หัวข้อ ผู้ได้รับจัดสรรทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จำนวน 6 คนผู้ได้รับจัดสรรทุนสนับสนุนทุนวิจัยจากเงิน/บกศ./แผ่นดินของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 11 คน และผู้ได้รับจัดสรรทุนสนับสนุนจากงบคณะมนุษย ศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 14 คน ซึ่งจำนวนผู้ที่ได้รับทุนในปีการศึกษา 2563 แสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานในปีการศึกษา 2562 ประสบความสำเร็จ  

6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

         คณะฯ มีการจัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุน โดยการสำรวจของหลักสูตร และสำนักงานคณบดี และจัดทำแผนบริหารและพัฒนาบุคลากรได้ประชุมร่วมกันเพื่อจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปีการศึกษา 2563 (เอกสารอ้างอิง 5.2-6(1) แผนบริหารและพัฒนาบุคลากร ปีการศึกษา 2563) เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ ซึ่งครอบคลุมภารกิจ 4 ด้านของมหาวิทยาลัย และของคณะฯ รวมถึงการเพิ่มศักยภาพของสายวิชาการและสายสนับสนุนตามภาระงาน ด้านประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล และประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคลในการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร คณะฯ มีการสำรวจข้อมูลซึ่งประกอบไปด้วย ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะ ตามกลุ่มงาน และสมรรถนะการบริหาร ของบุคลากรทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุนวิชาการ  ซึ่งคณะฯ ก็เช่นกันได้ใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล โดยนำผลจากการวิเคราะห์สมรรถนะและความต้องการในการพัฒนาตนเอง ของแต่ละบุคคลมาเป็นแนวทางในการกำหนดโครงการและกิจกรรมในการแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร

          คณะฯ มีการบริหาร ส่งเสริม การพัฒนาและติดตามผลตามแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ในแผนความต้องการในการพัฒนาตนเองทั้งการเพิ่มพูนความรู้ การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และมีการกำกับติดตามการศึกษาต่อ โดยรายงานสถานะทางการศึกษาทุกปี ในปีการศึกษา 2563 มีอาจารย์ที่กำลังศึกษาต่อ 5 ท่าน และส่งเสริมบุคลากรทั้งสายสนับสนุน และสายวิชาการเข้าสู่การกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น ในปีการศึกษา 2563 มีผู้ที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 2 ท่าน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอมอร แสนภูวา คณบดี ได้รับตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และอาจารย์อินทิรา ศักดิ์เมียนแก้ว ได้รับตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ได้มีการกำกับติดตามรายงานสถานภาพทางการเรียนทุกภาคเรียน และฝ่ายสนับสนุน มีกระบวนการเข้าสู่ลู่การยื่นขอตำแหน่งที่สูงขึ้น ได้แก่ นางนิลวรรณ จันทา ทั้งนี้คณะฯ มีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาตนเองตามตำแหน่งหน้าที่ ความต้องการ และความชำนาญ ในอัตรา 5,000 บาท ต่อคน (อ้างอิง 5.2-6(2) แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณพ.ศ. 2564 หน้าที่ 38) ตามนโยบายการบริหารงบประมาณในแผนกลยุทธ์ทางการเงินของคณะฯ และยังสนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรแต่ละสายงาน ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ และมีการจัดโครงการเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ เช่น

        1. โครงการอบรมการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์  (อ้างอิง 5.2-6(3) โครงการอบรมการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์)

        2. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ (อ้างอิง 5.2-6(4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ)

        3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ" (อ้างอิง 5.2-6(5) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ "เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ")

        4. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการระยะที่ 2 (อ้างอิง 5.2-6(6) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ (ระยะที่ 2)

        5. โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมการขอตำแหน่งทางวิชาการ (ระยะที่ 3) จะมีการดำเนินการช่วงเดือนสิงหาคม 2564        
         คณะฯ มีการจัดสวัสดิการ เสริมสร้างสุขภาพที่ดี และสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรทั้งสายวิชาการ และบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ เช่น การมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีในการรับตำแหน่งทางวิชาการ นอกจากนี้ยังได้อำนวยความสะดวกด้านสถานที่ออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่มีการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในอาคารเรียนและสำนักงาน เพื่อให้มีสภาพแวดล้อมและสุขภาวะที่ดีในการทำงานของบุคคลากร เช่น การตกแต่งโต๊ะทำงานในสำนักงาน, การปรับแสงไฟในห้องทำงาน, การจัดมุมพื้นที่สีเขียวสร้างความสดชื่น และจัดมุมเพื่ออ่านหนังสือและพักผ่อน เพื่อการผ่อนคลายจากการทำงาน เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีบริการกล่องรับความคิดเห็นและสายตรงคณบดี เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร และคณาจารย์ ได้แจ้งข้อร้องเรียน แสดงความคิดเห็น และแจ้งความจำนงในสิ่งที่ต้องการหรือควรจะปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกด้วย

       คณะฯ ยังส่งเสริมให้บุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนให้มีการพัฒนา และเพิ่มพูนความรู้ทั้งภายในและภายนอกคณะ และมีการติดตามให้มีการนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยแต่ละสาขาวิชาจัดทำเป็นรายงานผลการพัฒนาศักยภาพตนเอง รายบุคคล รายงานผลส่งมายังคณะฯ ซึ่งในรอบปีที่ผ่านมามีบุคลากรเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงาน โครงการอบรมและสัมมนาเชิงปฏิบัติการต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกคณะฯ (อ้างอิง 5.2-6(7) สรุปรายงานการไปพัฒนาตนเอง ความรู้ ทักษะวิชาชีพบุคลากรคณะมนุษย์ 2563)         

        คณะฯ มีประเมินผลความสำเร็จของแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร ประจำปี  2563 โดยได้จัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร ประจำปี  2563 ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดในแผนพัฒนาคณะฯ คิดเป็นร้อยละความสำเร็จ 100.00 (อ้างอิง 5.2-6(8) รายงานผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร ปีการศึกษา 2563) เสนอในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ครั้งที่ 2/2564 ในวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 (อ้างอิง 5.2-6(9) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 18)  และนำผลการประเมินตัวชี้วัดตามวัตถุประสงค์ของแผนรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 ในวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 และข้อเสนอแนะจากท่านผู้ทรงประจำคณะฯ เพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานในปีถัดไป (อ้างอิง 5.2-6(10) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 18)

7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

        คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ  และการประเมินคุณภาพ โดยดำเนินการ ดังนี้

        การควบคุมคุณภาพและตรวจสอบคุณภาพ คณะฯดำเนินการภายใต้การควบคุมคุณภาพและตรวจสอบคุณภาพ ตามพันธกิจจากมหาวิทยาลัย และแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมคุณภาพ และการตรวจสอบคุณภาพระดับคณะ (อ้างอิง 5.2-7(1) นโยบายด้านประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563 5.2-7(2) ประกาศ แนวทางปฎิบัติที่ดีการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563 5.2-7(3) ประกาศ แนวทางปฎิบัติด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2563 และ 5.2-7(4) ระบบและกลไกการประกันคุณภาพหลักสูตร คณะมนุษย์)  และจัดทำแผนเพื่อวางเป็นกรอบทิศทางการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของพันธกิจ (อ้างอิง5.2-7(5) แผนงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563 และ5.2-7(6) ปฏิทินดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563) และมีผู้รับผิดชอบงานอย่างชัดเจน รวมทั้งมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจภายใต้สังกัดคณะฯ (อ้างอิง 5.2-7(7) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร จัดเก็บตัวบ่งชี้ ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2563)   ในส่วนการจัดการศึกษาทุกภาคเรียนได้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของทุกสาขาวิชา โดยได้ทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา พร้อมทั้งสรุปผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ (อ้างอิง 5.2-7(8) สรุปผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์) และนำรายงานผลการควบคุมคุณภาพ รวมถึงการตรวจสอบต่อคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ  และคณะกรรมการประจำคณะฯ  ตามลำดับ (อ้างอิง 5.2-7(9) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 3-4)

        การประเมินคุณภาพ คณะฯ ดำเนินการคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานตามพันธกิจคณะฯ  โดยมีหน้าที่ในการประเมินคุณภาพงานที่ดำเนินการ (อ้างอิง 5.2-7(10) คำสั่งคณะกรรมการดำเนินการ) และได้ดำเนินการตรวจประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร และระดับคณะฯ (อ้างอิง 5.2-7(11) กำหนดการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน-ระดับหลักสูตรปีการศึกษา 2563 5.2-7(12) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2563 และ5.2-7(13) สรุปผลการประเมินการประกันคุณภาพภายใน-ระดับหลักสูตร 9 หลักสูตร-ปีการศึกษา 2563)

       คณะฯ ได้นำหลักในการประกันคุณภาพมาเป็นทิศทางในการทำงาน ส่งเสริมพัฒนางานตามพันธกิจของคณะ รวมทั้งได้มอบนโยบายให้กับบุคลากรทั้งสายวิชาการ และสายสนับสนุนภายในคณะฯโดยปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานตามปกติ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับคุณภาพของนักศึกษา  คุณภาพงานตามพันธกิจ คุณภาพของบุคลากร  คุณภาพขององค์กร  เพื่อเป็นคณะและมหาวิทยาลัยที่พัฒนาเพื่อท้องถิ่น

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 5