ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 ระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พรเทพ เจิมขุนทด , ศิริวุฒิ วรรณทอง , วุฒิชัย นาคเขียว , รุ่งทิวา เนื้อนา , ทินกร กมล , นิลวรรณ จันทา , ปวริศา แดงงาม , นงนุช แสงพฤกษ์ , ทิวาพร ใจก้อน
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

สถาบันอุดมศึกษามีนโยบาย แผนงาน โครงสร้าง และการบริหารจัดการด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ทั้งการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ ถ่ายทอดวัฒนธรรมไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่นตามจุดเน้นของมหาวิทยาลัย เพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือ การสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน
2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
3 มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม
4 มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ
5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน

          ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทยโดยมีระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ซึ่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2564  ศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทยโดยมีระบบและกลไกด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ตามเกณฑ์ดังนี้

          คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของคณะ ฯ ไว้ดังนี้

          ยุทธศาสตร์ ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย "การอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ”

          เป้าประสงค์ คือ เป้าประสงค์“เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เผยแพร่และการอนุรักษ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น” (อ้างอิง 4.1-1(1) แผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564)

          อย่างไรก็ตามเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ คณะ ฯ จึงแต่งตั้งคณะกรรมการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อกำกับดูแลงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (อ้างอิง 4.1-1(2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีงบประมาณ 2564)

2 จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน

         ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการจัดทำแผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยคณะกรรมการดำเนินงาน ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ได้มีการประชุม เพื่อพิจารณากิจกรรมโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของแผนฯ ตลอดจนการกำหนดงบประมาณที่ต้องใช้ในแต่ละโครงการเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯให้เห็นชอบและอนุมัติแผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีงบประมาณ 2564 และให้ดำเนินงานจัดโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ตามแผนที่กำหนดไว้ (อ้างอิง 4.1-2(1) แผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 และ 4.1-2(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ครั้งที่ 1/2563)

        งานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ได้นำเสนอแผนในที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ พิจารณาให้เห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการจัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนดไว้ในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ ครั้งที่ 4/2563 มีการพิจารณาแผนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ประจำปีการศึกษา 2563 วันที่ 29 ตุลาคม  2563 ณ ห้องประชุมคณะฯ เพื่อความเรียบร้อยและการดำเนินอย่างมีประสิทธิภาพ (อ้างอิง 4.1-2(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ หน้าที่ 12-13) และเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30  ตุลาคม  2563  เพื่อเห็นชอบแผน(อ้างอิง 4.1-2(4)  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 3/2563 หน้าที่ 13-14)

3 มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งานศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ให้ความสำคัญกับการบูรณาการงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กับพันธกิจด้านอื่น ๆ อาทิ

         ด้านการจัดการเรียนการสอน ซึ่งสาขาวิชาต่าง ๆ ได้ดำเนินการจัด ได้แก่ โครงการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย สอดคล้องกับสาขาวิชา ดังนี้

         ด้านการการบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน เช่น โครงการบริการวิชาการอบรมเชิงปฏิบัติการวาดเขียนลวดลายวิถีชีวิตชุมชนบึงบูรพ์ สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ (อ้างอิง 4.1-3(1) โครงการบริการวิชาการอบรมเชิงปฏิบัติการวาดเขียนลวดลายวิถีชีวิตชุมชนบึงบูรพ์) โครงการสืบสานประวัติศาสตร์ ดำรงราชนุภาพรำลึก สาขาวิชาประวัติศาสตร์ (อ้างอิง 4.1-3(2) โครงการสืบสานประวัติศาสตร์ ดำรงราชนุภาพรำลึก) โครงการสุขสันต์วันคริสต์มาส (อ้างอิง 4.1-3(3) โครงการสุขสันต์วันคริสต์มาส)

       ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม งานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ดำเนินการจัดโครงการจัดทำหนังสือ “ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชน ปราสาทขอมเมืองดอกลำดวน” (อ้างอิง 4.1-3(4) โครงการจัดทำหนังสือ “ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมชุมชน ปราสาทขอมเมืองดอกลำดวน”) 

          ด้านการวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ส่งเสริมให้บุคคลากรให้ความสำคัญกับการวิจัยที่บูรณาการกับงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยจัดสรรทุน (อ้างอิง 4.1-3(5) บัญชีแนบท้ายประกาศ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่ 014 /2563 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563) ดังนี้

  1. นายสิทธิชัย บวชไธสง  เรื่อง แนวทางการจัดการโฮมสเตย์เผ่ากูย บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
  2. นางสาวพัณณิตา นันทะกาล เรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ
  3. นายวุฒิชัย นาคเขียว เรื่องประวัติศาสตร์วัฒนธรรมอำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ จากอดีตจนถึงปัจุบัน
  4. ผศ.บุรณ์เชน สุขคุ้ม เรื่องภูมินามสถานที่ที่มาจากภาษากูยในจังหวัดศรีสะเกษ     
  5. ดร.สีหนาท ลอบมณี เรื่อง การศึกษาความหมาย สุนทรียภาพ แลนด์มาร์ค การท่องเที่ยวท่าน้ำวัดศรีบึงบูรพ์     
4 มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ

         ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้กำกับและติดตามงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เมื่อการดำเนินโครงการสิ้นสุดลง คณะกรรมการงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยได้ประชุม (อ้างอิง 4.1 - 4(1) รายงานการประชุมคณะกรรมการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ครั้งที่ 3/2564) เพื่อประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการ ผลการดำเนินงานของโครงการในแผนบริการวิชาการแก่สังคม พบว่า มีโครงการที่ดำเนินงานทั้งหมด 4 โครงการ คณะกรรมการงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย นำผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการ (อ้างอิง 4.1-4(2) รายงานผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จ แผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย งบประมาณ พ.ศ. 2564) เข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ  เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 (อ้างอิง 4.1-4(3)  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 30) และรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 (อ้างอิง 4.1-4(4) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 30)

5 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย

          ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งานศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ นำผลการประเมินการดำเนินงานปีงบประมาณ พ.ศ.2563 มาปรับใช้ในการงานปีงบประมาณ 2564 โดยเพิ่มจุดเน้นย้ำในประเด็นของความเป็นไทย แต่ก็ไม่ละเลยซึ่งศิลปะและวัฒนธรรมของชาติอื่น ๆ ตลอดจนปรับแผนการดำเนินงานใหม่ โดยให้มีโครงการกิจกรรมที่บูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากนี้การดำเนินงานวางอยู่บนพื้นฐานของการร่วมมือของสาขาวิชาต่าง ๆ ภายใต้สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อ้างอิง 4.1-5(1) รายงานผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จ แผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย งบประมาณ พ.ศ. 2564) โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 (อ้างอิง 4.1-5(2)  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 30) และรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 (อ้างอิง 3.1-5(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 30) เพื่อพิจารณาและที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดังนี้ 1) ควรมีพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวัฒนธรรมระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ในจังหวัดศรีสะเกษ 2) ควรเพิ่มบทบาทของอาจารย์และนักศึกษาในการเผยแพร่ความรู้อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งทางคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมจะได้นำข้อเสนอแนะมาแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาแผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (อ้างอิง 4.1-5(4) แผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย งบประมาณ พ.ศ. 2565)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5