ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ระบบและกลไกการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พรเทพ เจิมขุนทด , ศิริวุฒิ วรรณทอง , เสถียร สีชื่น , ทินกร กมล , รุ่งทิวา เนื้อนา , ปวริศา แดงงาม , นิลวรรณ จันทา , นงนุช แสงพฤกษ์ , ทิวาพร ใจก้อน
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น ชุมชน และสังคมเป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของมหาวิทยาลัย ซึ่งพึงมีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมที่เป็นรูปธรรม กำหนดเป้าหมายในการให้บริการวิชาการที่ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนดำเนินงานในการให้บริการวิชาการแก่สังคม มีคณะกรรมการติดตาม กำกับ สนับสนุน การปฏิบัติงานตามภารกิจด้านบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันให้สอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ
2 จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
3 ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ
4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ

          การกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการบริการวิชาการของงานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีการกำหนดเป้าหมายการบริการวิชาการแก่ชุมชนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยดำเนินการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น ที่สะท้อนสอดคล้องกับพันธกิจของคณะ ฯ โดยเฉพาะพันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่ชุมน โดยงานบริการวิชาการลงพื้นที่สำรวจและจัดประชุมตัวแทนชุมชนเพื่อสะท้อนปัญหาและความต้องการในการรับบริการวิชาการ โดยมีจุดเน้นที่พื้นที่ที่เคยได้รับการบริการวิชาการของงานบริการวิชาการแก่ชุมชนตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 และปีงบประมาณ 2563 และดำเนินงานต่อในปีงบประมาณ 2564 เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อชุมชนที่ได้รับการบริการวิชาการ และในปีงบประมาณ 2564 งานบริการวิชาการแก่ชุมชน ได้กำหนดพื้นที่ในการบริการวิชาการเพิ่มขึ้นเพื่อขยายโอกาสให้กับพื้นที่อื่น ๆ ได้รับการบริการทางวิชาการอย่างทั่วถึง

ดังนั้นในปีงบประมาณ 2564 งานบริการวิชาการแก่ชุมชน          คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานบริการวิชาการแก่สังคมของคณะฯ ปีงบประมาณ 2564 เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำแผนบริการวิชาการที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง (อ้างอิง 3.1-1(1) แผนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ 3.1-1(2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมกรรมงานบริการวิชาการแก่ชุมชน)

2 จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

         ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้กำหนดระบบและกลไกการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานบริการวิชาการแก่ชุมชนในตำแหน่ง “ผู้ช่วยคณบดีงานบริการวิชาการแก่ชุมชน” คือ อาจารย์ศิริวุฒิ  วรรณทอง ทำหน้าที่ในการกำกับและติดตามงานด้านการบริการวิชาการแก่ชุมมชนและแต่งตั้งหัวหน้างานบริการวิชาการแก่ชุมชน คือ อาจารย์เสถียร สีชื่น ตลอดจนคณะกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชนของคณะ ฯ เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนการบริการวิชาการแก่สังคมที่มีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน และจัดทำแผนการนำไปใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา ชุมชนหรือสังคม ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผน  ซึ่งในแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ  2564 มีจำนวน 3 โครงการ โดยทั้ง 3 โครงการ  และเสนอที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ พิจารณาให้เห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการจัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนดไว้ในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ ครั้งที่ 4/2563 มีการพิจารณาแผนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ประจำปีการศึกษา 2563 วันที่ 29 ตุลาคม  2563 ณ ห้องประชุมคณะฯ เพื่อความเรียบร้อยและการดำเนินอย่างมีประสิทธิภาพ (อ้างอิง 3.1-2(4) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ หน้าที่ 12-13) และเสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 30  ตุลาคม  2563  เพื่อเห็นชอบแผน(อ้างอิง 3.1-2(5)  รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 3/2563 หน้าที่ 13-14)

3 ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ

ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดทำโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนดไว้ โดยร่วมกับหน่วยงานภายนอกอาทิ ชุมชน พัฒนาชุมชนอำเภอ ที่ทำการปกครอง ตลอดจน กองอำนวยการรักษาความั่นคงภายในส่วนหน้าจังหวัดศรีสะเกษ เป็นต้น การดำเนินงาน งานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ดำเนินการทั้งสิ้น 4 โครงการ ดังนี้

     1. โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงหอยขม บ้านปรือคันตะวันออก ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 3.1-3(1) โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน ส่งเสริมอาชีพเลี้ยงหอยขม บ้านปรือคันตะวันออก ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ)

     2. โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน ส่งเสริมและยกระดับรายได้อาชีพเพาะเห็ดบ้านคูสี่แจ ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 3.1-3(2) โครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน ส่งเสริมและยกระดับรายได้อาชีพเพาะเห็ดบ้านคูสี่แจ ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ)

    3. โครงการบริการวิชาการแก่สังคม การอบรมเชิงปฏิบัติการวาดเขียน ศิลปะ ลวดลายวิถีชีวิตชุมชนบึงบูรพ์เพื่อเตรียมความพร้อมการเป็นพื้นที่ชุมชนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ณ วัดศรีบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 3.1-3(3) โครงการบริการวิชาการแก่สังคม การอบรมเชิงปฏิบัติการวาดเขียน ศิลปะ ลวดลายวิถีชีวิตชุมชนบึงบูรพ์เพื่อเตรียมความพร้อมการเป็นพื้นที่ชุมชนการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ณ วัดศรีบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ)

     4. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: ศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการนำไปใช้การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน ณ บ้านคูสี่แจ ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัด   ศรีสะเกษ (อ้างอิง 3.1-3(4) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: ศาสตร์พระราชาและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการนำไปใช้การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน ณ บ้านคูสี่แจ ตำบลดงรัก อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ)

อย่างไรก็ตาม ปีงบประมาณ 2564 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นจำนวน 10 โครงการ ดังนี้

      1. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายหัตถกรรมหวายเทียม ตำบลหัวเสือและตำบลดองกาเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ  (อ้างอิง 3.1-3(5) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และการส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายหัตถกรรมหวายเทียม ตำบลหัวเสือและตำบลดองกาเม็ด อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ)

      2. โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหวายกลุ่มทับทิมสยาม 07 จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 3.1-3(6) โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหวายกลุ่มทับทิมสยาม 07 จังหวัดศรีสะเกษ)

     3. โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกและยกระดับอาชีพบ้านปรือคันตะวันออก ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 3.1-3(7) โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้ผลิตมะม่วงเพื่อการส่งออกและยกระดับอาชีพบ้านปรือคันตะวันออก ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ)

     4. โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงปลาในกระชังริมฝั่งห้วยทับทัน บ้านจอมพระ ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 3.1-3(8) โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงปลาในกระชังริมฝั่งห้วยทับทัน บ้านจอมพระ ตำบลบึงบูรพ์ อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ -โครงการบริหารจัดการน้ำพื้นที่อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ)

       5. โครงการบริหารจัดการน้ำพื้นที่อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 3.1-3(9) โครงการบริหารจัดการน้ำพื้นที่อำเภอเมืองจันทร์ อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ)

     6. โครงการส่งเสริมอาชีพแบบผสมผสานการเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ บ้านส่วนป่า ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง3.1-3(10) โครงการส่งเสริมอาชีพแบบผสมผสานการเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ บ้านส่วนป่า ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ)

     7. โครงการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาท้องถิ่นสู่สังคมสีเขียวอย่างยั่งยืน บ้านกันทรอมใต้ ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 3.1-3(11) โครงการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการพัฒนาท้องถิ่นสู่สังคมสีเขียวอย่างยั่งยืน บ้านกันทรอมใต้ ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ)

     8. โครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพการผลิตและการแปรรูปการณ์ผลิต และการตลาดออนไลน์ทุเรียนภูเขาไฟ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 3.1-3(12) โครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพการผลิตและการแปรรูปการณ์ผลิต และการตลาดออนไลน์ทุเรียนภูเขาไฟ อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอศรีรัตนะ)

     9. โครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพการผลิตและการแปรรูปการณ์ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 3.1-3(13) โครงการส่งเสริมพัฒนาอาชีพการผลิตและการแปรรูปการณ์ผลิตภัณฑ์ข้าวโพดหวาน อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ)

     10. โครงการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาสู่ความยั่งยืน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร และอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ (อ้างอิง 3.1-3(14) โครงการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาสู่ความยั่งยืน อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร และอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ)

นอกจากนี้งานบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดทำโครงการบูรณาการร่วมมือดำเนินงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 4 โครงการ (อ้างอิง 3.1-3(15) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 28 และ3.1-3(16) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 28) ดังนี้

     1. โครงการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ชุมชนบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ 

     2. โครงการสนับสนุนการวิจัยชุมชนรูปแบบใหม่เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของจังหวัดศรีสะเกษ บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

     3. โครงการบูรณาการร่วมมือฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ  

     4. โครงการประชุมทางวิชาการระดับชาติ

4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

คณะกรรมการการบริการวิชาการแก่ชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินงานตามแผนบริการวิชาการแก่สังคม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เมื่อการดำเนินโครงการสิ้นสุดลง คณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมได้ประชุม เพื่อประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการ ผลการดำเนินงานของโครงการในแผนบริการวิชาการแก่สังคม พบว่า มีโครงการที่ดำเนินงานทั้งหมด 4 โครงการ (อ้างอิง 3.1-4(1) รายงานผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จ แผนบริการวิชาการแก่สังคม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564) คณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมนำผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ  เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 (อ้างอิง 3.1-4(2)  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 28) และรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 (อ้างอิง 3.1-4(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 28)

5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป

คณะกรรมการการบริการวิชาการแก่สังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้นำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 (อ้างอิง 3.1-5(1)  รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะฯฯ ครั้งที่ 2/2564 หน้าที่ 28) และรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 (อ้างอิง 3.1-5(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 1/2564 หน้าที่ 28) เพื่อพิจารณาและที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  ซึ่งทางคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมจะได้นำข้อเสนอแนะมาแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาแผนการให้บริการวิชาการแก่สังคม ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (อ้างอิง 3.1-5(3) แผนงานบริการวิชาการแก่ชุมชน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5