แม้ทุกหลักสูตรที่สถาบันการศึกษาเปิดให้บริการต้องผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และมีการปรับปรุงทุก 5 ปี แต่ผู้บริหารต้องรับผิดชอบในการควบคุมกำกับการจัดทำรายวิชาต่างๆ ให้มีเนื้อหาที่ทันสมัย ก้าวทันความก้าวหน้าทางวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา มีการบริหารจัดการการเปิดรายวิชาต่างๆ ทั้งวิชาบังคับและวิชาเลือก ที่เน้นนักศึกษาเป็นสำคัญ โดยสนองความต้องการของนักศึกษา และตลาดแรงงาน สำหรับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ต้องเน้นการพัฒนาทักษะด้านการวิจัยและการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานอย่างน้อยให้ครอบคลุมประเด็นต่อไปนี้
- การออกแบบหลักสูตรและสาระรายวิชาในหลักสูตร
- การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้นๆ
ในการประเมินเพื่อให้ทราบว่าอยู่ในระดับคะแนนใด ให้พิจารณาในภาพรวมของผลการดำเนินงานทั้งหมดที่ทำให้หลักสูตรมีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและความต้องการของประเทศ
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
• ไม่มีระบบ • ไม่มีกลไก • ไม่มีแนวคิดในการกำกับติดตามและปรับปรุง • ไม่มีข้อมูลหลักฐาน |
• มีระบบมีกลไก • ไม่มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • ไม่มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการ |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน |
• มีระบบมีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนากระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม |
• มีระบบ มีกลไก • มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินงาน • มีการประเมินกระบวนการ • มีการปรับปรุง/พัฒนา กระบวนการจากผลการประเมิน • มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม • มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดย มีหลักฐานเชิงประจักษ์ ยืนยัน และกรรมการ ผู้ตรวจประเมิน สามารถ ให้เหตุผลอธิบายการ เป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ ชัดเจน |
1. หลักสูตรหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ พัฒนาระบบและกลไกการปรับปรุงหลักสูตรดังนี้
• อาจารย์ประจำหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอน ติดตามแนวโน้มการปฏิรูปทางการเมืองการปกครองของประเทศและนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ รวมถึงความต้องการของผู้เรียน ผู้ใช้บัณฑิต และผู้รับบริการ และกระแสการพัฒนาหลักสูตรเกี่ยวกับด้านรัฐศาสตร์
• อาจารย์ผู้สอนจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา ตามแบบ มคอ. 5 (ในปีการศึกษานี้มีรายวิชาประสบการณ์ภาคสนาม จึงมี มคอ. 6) เสนอที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร
• อาจารย์ผู้สอนจัดทำรายงานการทบทวนผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ. 3 เสนอที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร
• อาจารย์ประจำหลักสูตรจัดทำผลการดำเนินงานของหลักสูตรตามแบบ มคอ. 7 เมื่อสิ้นภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2563 (ขณะนี้ได้รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ 1/2563และภาคการศึกษาที่ 2/2563 เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ทันรอบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรของมหาวิทยาลัยฯ)
• ที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรประเมิน วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนารายวิชา หลักสูตร และการบริหารจัดการหลักสูตร ให้ทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต ปีละ 2 ครั้ง ภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง และมอบหมายผู้รับผิดชอบแก้ไข ปรับปรุง หรือรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงเล็กน้อย หรือปรับปรุงใหญ่ เมื่อหลักสูตรครบวงรอบปรับปรุง
2. ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ ได้จัดและร่วมกิจกรรม เพื่อติดตามความก้าวหน้าของการปฏิรูปการเมืองการปกครองในประเทศไทย ทั้งในส่วนของติดตามนโยบายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและกลุ่มองค์กรต่างๆ ผ่านโครงการบรรยายวิชาการจากผู้เชี่ยวชาญ และผู้ประกอบการ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก รวบรวมประเด็นความต้องการของผู้เรียน ความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต และความต้องการของผู้ใช้บริการอื่นๆ ตลอดจนผลงานวิจัย ทิศทางการพัฒนาการเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย
3. ในส่วนของกระบวนการ ที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรครั้งที่ 3/ ปีการศึกษา 2563 พบว่ายังขาดขั้นตอนการบูรณาการในการทำงานร่วมกันของหลักสูตรอื่นๆ ในวิทยาลัยฯ ส่งผลให้การพัฒนาหลักสูตรล่าช้า จึงเสนอให้เพิ่มขั้นตอนประยุกต์ใช้กระบวนการจัดการความรู้ และการประชุมร่วมในคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ ร่วมกับ 3 หลักสูตร ในคณะวิทยาลัยฯ เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในการปรับปรุงรายวิชา หลักสูตร และกระบวนการจัดการเรียนการสอน
4. จากการปรับกระบวนการดำเนินงาน หลักสูตรฯ ภายใต้ระบบการกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารคณะได้มีข้อเสนอแนะให้ เพิ่มเติมรายวิชาที่ส่งเสริมให้บัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในหลากหลายสาขา และสร้างสรรค์งานอิสระได้ด้วยตนเอง การกำหนดรายวิชาที่สามารถจัดการเรียนการสอนในลักษณะ การบูรณาการกับการปฏิบัติงาน (Work-integrated Learning) การปรับการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) เพื่อสามารถจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ใน มคอ. 2
2.การปรับปรุงหลักสูตรให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์สาขานั้น
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต เปิดหลักสูตรนี้เมื่อปี 2555 ได้ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร ประจำปี 2559 สำเร็จลุล่วงแล้ว และได้รับความเห็นชอบจาก สกอ. เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2559 และได้เปิดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 1/2559 การปรับปรุงจะให้อาจารย์ผู้สอนสามารถปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา (Course Specification) โดยผ่านคณะกรรมการประจำหลักสูตรช่วยพิจารณาปรับเนื้อหาสาระ เกณฑ์การประเมินของอาจารย์ผู้สอนให้สามารถบริหารจัดการในรายวิชาของตนเองเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนสอดคล้องและเป็นไปตามที่วางแผนไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร ซึ่งแต่ละรายวิชาจะกำหนดไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และรายละเอียดของเนื้อหาความรู้ในรายวิชา แนวทางการปลูกฝังทักษะต่างๆ ตลอดจนคุณลักษณะอื่นๆ ที่นักศึกษาจะได้รับการพัฒนาให้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายของรายวิชา มีการกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาที่ใช้ในการเรียน วิธีการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลในรายวิชา ตลอดจนหนังสือหรือสื่อทางวิชาการอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการเรียนรู้ นอกจากนี้ยังกำหนดยุทธศาสตร์ในการประเมินรายวิชาและกระบวนการปรับปรุงรายวิชานั้นๆ
มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา ตามแบบ มคอ.5 มีการจัดทำรายงานการทบทวนผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ.3เสนอที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรด้วย
ในที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร ได้นำรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา ตามแบบ มคอ.5 แต่ละท่านมาประเมิน วิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน และให้ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนารายวิชา หลักสูตร และการบริหารจัดการหลักสูตร ให้ทันสมัยตามความก้าวหน้าในรายวิชานั้นๆ โดยเปิดโอกาสให้อาจารย์ท่านอื่นๆร่วมวิพากษ์ได้ ภาคการศึกษาละ 1 ครั้งเมื่อเสร็จสิ้นภาคการศึกษา และมอบหมายผู้รับผิดชอบแก้ไข ปรับปรุง หรือรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงเล็กน้อย หรือปรับปรุงใหญ่ เมื่อหลักสูตรครบวงรอบปรับปรุง
ในการประชุมคณะกรรมการได้เน้นให้อาจารย์ทุกท่านเขียนรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา (มคอ.5) มีสาระดังนี้ 1)รายงานผลการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาเมื่อสิ้นภาคเรียนเกี่ยวกับภาพรวมของการจัดการเรียนการสอนในวิชานั้นๆ 2)รายงานการดำเนินการสอนว่าครอบคลุมและเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในรายละเอียดของรายวิชาหรือไม่ หากไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ต้องให้เหตุผล และข้อเสนอแนะ ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาดังกล่าวในครั้งต่อไป 3)รายงานผลการเรียนของนักศึกษา จำนวนนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนจนสิ้นสุด 4)ปัญหาในด้านการบริหารจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวก 5)วิเคราะห์ผลการประเมินรายวิชาของนักศึกษา/หัวหน้าสาขา 6)สรุป วางแผนและให้ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นฐานในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชาต่อไป
ในปีการศึกษา 2563 ทางคณะกรรมการประจำหลักสูตรได้เสนอแนะอาจารย์ผู้สอนให้วิเคราะห์เทียบเคียงรายวิชาที่ตนเองสอนกับรายวิชาเดียวกันหรือที่ใกล้เคียงกันจากมหาวิทยาลัยราชภัฏในกลุ่มเดียวกันในภาคอีสานหรือมหาวิทยาลัยเก่าแก่ที่ผลิตบัณฑิตในสาขารัฐศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมาแล้ว เพื่อเรียนรู้ ประยุกต์ใช้ในการจัดทำ มคอ.2 ของตนเอง
จากการปรับกระบวนการดำเนินงาน หลักสูตรฯ ภายใต้ระบบการกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารคณะได้มีข้อเสนอแนะให้ เพิ่มเติมรายวิชาที่ทันสมัยตามความก้าวหน้าในศาสตร์ด้านรัฐศาสตร์ เช่น วิชาอาเซียนในการเมืองโลก วิชาองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น เพื่อเตรียมรับการเปิดประชาคมอาเซียน นอกจากนั้นให้กำหนดรายวิชาที่สามารถจัดการเรียนการสอนในลักษณะการบูรณาการกับการปฏิบัติงาน (Work-integrated Learning) การปรับการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping) เพื่อลดความซ้ำซ้อนของรายวิชา เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ. 2559 และสามารถจัดการเรียนการสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ระบุไว้ใน มคอ.2
ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรได้มีการประชุมทบทวนความสมัยของหลักสูตร
โดยพิจารณาจากการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ความก้าวหน้าทางวิทยาการ เทคโนโลยี นวัตกรรมที่จำเป็นสำหรับหลักสูตร ซึ่งในการปรับปรุงหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตครั้งนี้ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) ได้ปรับปรุงหลักสูตรตามกรอบระยะเวลาของการปรับปรุงหลักสูตร อาทิ การเปลี่ยนรายชื่ออาจารย์ประจำหลักสูตร การปรับปรุงรายวิชาเพื่อให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและผู้ใช้บัณฑิต เป็นต้น อีกทั้งมีการปรับแผนการสอนในรายวิชาให้มีความทันสมัยในศาสตร์ด้านรัฐศาสตร์ โดยได้มีการจัดแผนการเรียนซึ่งมีความยึดหยุ่นในการจัดการเรียนการสอน
รหัสหลักฐาน | เอกสารหลักฐาน | |
---|---|---|
5.1 - (1) | รายงานผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ ปีการศึกษา 2563 |
ทำได้ (ข้อ) | ได้คะแนน | |
---|---|---|
4 | 4 |