ตัวบ่งชี้ที่ 3.3 ผลที่เกิดกับนักศึกษา

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สุเทวี คงคูณ , ลือศักดิ์ แสวงมี , วิไลรัตน์ รัตนเจริญมิตร , วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลการประกันคุณภาพควรทำให้นักศึกษามีความพร้อมทางการเรียน มีอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาในหลักสูตรสูง อัตราการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรสูง นักศึกษามีความพึงพอใจต่อหลักสูตร และผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา

ในการรายงานการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้นี้ ให้อธิบายกระบวนการหรือแสดงผลการดำเนินงานในประเด็นต่อไปนี้

- การคงอยู่

- การสำเร็จการศึกษา

- ความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา

ตัวอย่างการคำนวณหลักสูตร 4 ปี

ปีการศึกษา

จำนวนรับเข้า (1)

จำนวนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร (2) จำนวนที่ลาออกและคัดชื่อออกสะสมจนถึงสิ้นปีการศึกษา 2562 (3)
2560 2561 2562
2557   x      
2558     x    
2559       x  

 

อัตราการสำเร็จการศึกษา = (2)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     100
(1)

 

อัตราการคงอยู่ = (1)  -  (3)
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     100
(1)
เกณฑ์การประเมิน
0 1 2 3 4 5

• ไม่มีการรายงานผลการดำเนินงาน

• มีการรายงานผลการดำเนินงานในบางเรื่อง

• มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายใน
ตัวบ่งชี้

• มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายในตัวบ่งชี้

• มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในบางเรื่อง

• มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายในตัวบ่งชี้

• มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในทุกเรื่อง

• มีการรายงานผลการดำเนินงานครบทุกเรื่องตามคำอธิบายในตัวบ่งชี้

• มีแนวโน้มผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นในทุกเรื่อง

• มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น เทียบเคียงกับหลักสูตรนั้นในสถาบันกลุ่มเดียวกันโดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายว่าเป็นผลการดำเนินงานที่โดดเด่นอย่างแท้จริง

หมายเหตุ
  • การประเมินความพึงพอใจของนักศึกษา เป็นการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อกระบวนที่ดำเนินการให้กับนักศึกษาตามกิจกรรมในตัวบ่งชี้ที่ 3.1 และ 3.2
  • อัตราการคงอยู่ของนักศึกษา คิดจากนักศึกษาที่เข้าในแต่ละรุ่น ลบด้วยจำนวนนักศึกษาที่ออกทุกกรณีนับถึงสิ้นปีการศึกษาที่ประเมิน ยกเว้น การเสียชีวิต การย้ายสถานที่ทำงานของนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา คิดเป็นร้อยละของจำนวนที่รับเข้าในแต่ละรุ่นที่มีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาแล้ว
  • การคิดร้อยละของจำนวนนักศึกษาที่ยังคงอยู่ของแต่ละรุ่น
ผลการดำเนินงาน

1. ในปีการศึกษา 2563 หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต การพัฒนานักศึกษาโดยมีเป้าหมายเพื่อการเชื่อมโยงการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน ส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้รอบด้านในเชิงสหวิทยาการ เพื่อน้อมนำความรู้ที่ได้รับนั้นไปประยุกต์ให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล มั่นคง เป็นธรรม และยั่งยืน ยึดโยงคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาท้องถิ่นและกระบวนการมีส่วนร่วม สอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ และทิศทางการพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 หลักสูตรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้นักศึกษาได้ศึกษาสถานการณ์การเมืองและการพัฒนาในพื้นที่จริง โดยหลักสูตรประสานความร่วมมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ โดยเฉพาะหน่วยงานราชการการปกครองส่วนท้องที่ และหน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อให้นักศึกษาด้านเรียนรู้สถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ และนำความรู้ที่ได้รับประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและชุมชนในท้องถิ่น ทั้งนี้พัฒนานักศึกษามีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เช่น ยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารจัดการ รวมทั้งการพัฒนานักศึกษาสาขาวิชารัฐศาสตร์ให้มีจิตสาธารณะ รับใช้ท้องถิ่น การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคม อันเป็นการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อยู่บนฐานความรู้ ความเข้าใจร่วมกันที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) เพื่อดำเนินการของมหาวิทยาลัยราชภัฏตรงตามเจตนารมณ์ของแผนยุทธศาสตร์บนพื้นฐานศักยภาพและบริบทของแต่ละมหาวิทยาลัยนำไปสู่ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (1) การพัฒนาท้องถิ่น (2) การผลิตและพัฒนาครู (3) การยกระดับคุณภาพการศึกษา (4) การพัฒนาระบบบริหารจัดการ มีการรายงานผลการดำเนินการ ในประเด็นเรื่อง การคงอยู่ของนักศึกษา การสำเร็จการศึกษา และความพึงพอใจและผลการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา ผลการรายงาน มีดังนี้ การคงอยู่ของนักศึกษา ปีการศึกษา จำนวนรับเข้า จำนวนนักศึกษาคงอยู่ ในแต่ละปีการศึกษา 2561 2562 2563 2561 127 127 (100%) 2562 112 102 (91.07%) 2563 94 84 (89.36%) - จะเห็นได้อัตราการคงอยู่ของนักศึกษามีแนวโน้มและผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น เนื่องจาก หลักสูตรได้เตรียมความพร้อมในการรายงานผลอัตราความคงอยู่ของนักศึกษาในหลักสูตรเมื่อมีนักศึกษาครบ 4 ชั้นปี ในปีการศึกษา 2562โดยทำการบันทึกอัตราการเปลี่ยนแปลงของจำนวนนักศึกษาและรวบรวมสาเหตุการหายไปของนักศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลพบว่าสาเหตุที่นักศึกษาหายไปได้แก่ การติดเกณฑ์ทหาร การสอบติดโรงเรียนนายสิบ ย้ายสาขาวิชาไปเรียนคณะอื่น และขาดแคลนทุนทรัพย์ในการเรียนซึ่งทางสาขาวิชารัฐศาสตร์ได้พยายามแก้ไขโดยให้คำแนะนำนักศึกษาในการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา (กยศ.) การสำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา จำนวนรับเข้า จำนวนสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร 2560 2561 2562 2563 2556 100 85 (85 %) - - 2557 220 - 107 (48.63) - 2558 120 - - 97 (80.83) 2559 175 - - - 143 (80.83) - จะเห็นได้ว่า อัตราการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร มีนักศึกษาสำเร็จจำนวน 3 รุ่น เมื่อเปรียบเทียบการสำเร็จการศึกษาลดลง แต่จากอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาในปีถัดไปมีแนวโน้มที่ดีขึ้นคาดว่าอัตราความสำเร็จของนักศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตร จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเช่นกัน โดยหลักสูตรได้เตรียมความพร้อมในการรายงานผลจำนวนและร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาเมื่อมีนักศึกษาครบ 4 ชั้นปี ในปีการศึกษา 2563โดยทางสาขาวิชารัฐศาสตร์มีการเตรียมความพร้อม เช่น การให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการเปิดประตูสู่โลกกว้าง จัดโดยศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เข้าร่วมโครงการติวเสริมความรู้เพื่อสอบภาค ก.ของ ก พ.ที่วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองจัดขึ้น ผลความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร 3 ปีย้อนหลัง ปีการศึกษา 2561 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร เท่ากับ 4.25 ปีการศึกษา 2562 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร เท่ากับ 4.36 ปีการศึกษา 2563 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อหลักสูตร เท่ากับ 4.39 การจัดการข้อร้องเรียน หลักสูตรมีระบบการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษา ดังนี้ 1. กำหนดช่องทางในการร้องเรียน โดยมีช่องทาง พบอาจารย์ที่ปรึกษา พบอาจารย์ประจำหลักสูตร และสายตรงคณบดี 2. ประมวลผลข้อร้องเรียนเสนอต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและเสนอต่อคณะกรรมการของวิทยาลัยฯ ต่อไป 3. ดำเนินการจัดการแก้ไขข้อร้องเรียน โดยวิทยาลัยฯแต่งตั้งคณะกรรมกาการจัดการข้อร้องเรียนของนักศึกษาเพื่อสรุปหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม - ในปีการศึกษา 2563 มีนักศึกษาข้อร้องเรียนคือ เรื่องการประเมินผลการเรียนผิดพลาดของอาจารย์ประจำวิชา ซึ่งทางสาขาได้ดำเนินการตามกระบวนการของคณะ และทำการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว - ในการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร ครั้งที่ 6/2563ที่ประชุมมีการรายงานผลการดำเนินงานเรื่อง การคงอยู่ของนักศึกษา จากการประสบปัญหาจำนวนนักศึกษาลดน้อยลง ซึ่งหลักสูตรได้ดำเนินการให้นักศึกษาที่ประสบปัญหาการขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา ยื่นกู้ กยศ. เป็นผู้กู้รายใหม่ ทำให้อัตราการคงอยู่ของนักศึกษามีทิศทางที่ดีขึ้น

หลักฐานอ้างอิง
รายงานความพึงพอใจนักศึกษาต่อหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2563

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
4 4