✓ | 1 | มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจและพัฒนาการของหน่วยงาน ตั้งแต่ระดับหน่วยงานย่อย และดำเนินการตามระบบที่กำหนด | สำนักงานอธิการบดีมีระบบและกลไกด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และมีการดำเนินงานตามระบบดังนี้ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน (๘.๑-๑(๑)) และได้กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานและดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด (๘.๑-๑(๒)) จัดทำคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา (๘.๑-๑(๓)) โดยผ่านที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๔/๒๕๖๓ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๕.๒ แนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับสำนักงานอธิการบดีประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๘.๑-๑(๔))
โดยได้จัดทำรายงานการประเมินตนเองเพื่อแสดงถึงผลการดำเนินงานในรอบปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๘.๑-๑(๕)) เพื่อรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ วันศุกร์ที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๔ วาระที่ ๕.๑ พิจารณาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ (๘.๑-๑(๖)) และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๘.๑-๑(๗)) โดยผ่านที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงาอธิการบดี ครั้งที่ ๕/๒๕๖๓ วันพุธที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๔.๒ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กำกับ ติดตามและจัดเก็บข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับสำนัก สำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๘.๑-๑(๘))
| |
✓ | 2 | มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน | สำนักงานอธิการบดีมีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน ซึ่งผู้บริหารสูงสุดของสำนักงานอธิการบดีได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แต่งตั้งให้ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี รองผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการกองทุกกองควบคุมดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละตัวบ่งชี้ในการประกันคุณภาพ และแต่งตั้งให้ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี รองผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี ผู้อำนวยการกองทุกกองเป็นผู้กำกับข้อมูลในแต่ละตัวบ่งชี้และมีการมอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจน และได้ร่วมกันพิจารณานโยบาย โดยได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านประกันคุณภาพ (๘.๑-๒(๑))
| |
✓ | 3 | มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย ๑) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ ๒) การจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน ก่อนจัดส่งมหาวิทยาลัยตามกำหนดเวลา และ ๓) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน | สำนักงานอธิการบดีมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย ๑) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ ๒) การจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๔/๒๕๖๓ วันพฤหัสบดีที่๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๕.๒ แนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ปี ๒๕๖๓ (๘.๑-๓(๑)) และ ๓) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมประจำสำนักโดยได้ดำเนินการตามวงจร PDCA ซึ่งเริ่มจากวางแผนการดำเนินงาน โดยจัดทำเป็นคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๘.๑-๓(๒)) จากนั้นได้ดำเนินการมอบหมายให้บุคลากรในสำนักดำเนินการจัดเก็บหลักฐาน (๘.๑-๓(๓)) และจัดทำเป็นรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๘.๑-๓(๔)) นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ วาระที่ ๓.๑ การกำกับ ติดตาม การดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานอธิการบดี ปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๘.๑-๓(๕))
| |
✓ | 4 | มีการนำผลการประกันคุณภาพภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้ | สำนักงานอธิการบดีได้มีการนำผลการประกันคุณภาพภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้ โดยได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๔/๒๕๖๓ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๕.๑ พิจารณาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ (๘.๑-๔(๑)) และได้นำผลประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาพัฒนากระบวนการทำงานในแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การดำเนินงานและตัวบ่งชี้ภายในแผน (๘.๑-๔(๒))
| |
✓ | 5 | มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพภายในครบทั้ง ๖ องค์ประกอบคุณภาพ | สำนักงานอธิการบดีมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพโดยได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศต่างๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับและอำนวยการความสะดวกด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประกอบด้วย - ระบบฐานข้อมูลบุคลากรจัดเก็บ รวบรวม นำเสนอข้อมูลพื้นฐานด้านบุคลากร (๘.๑-๕(๑)) - ระบบรายงานการประเมินตนเองออนไลน์ (Esar Online) จัดเก็บรวบรวมหลักฐาน การดำเนินงาน และนำเสนอข้อมูลการประเมินตนเองในระดับสำนัก (๘.๑-๕(๒))
| |
✓ | 6 | มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพ โดยเฉพาะผู้ใช้ บริการตามภารกิจของหน่วยงาน | สำนักงานอธิการบดี ได้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการประกันคุณภาพ โดยเฉพาะผู้ใช้ บริการตามภารกิจของหน่วยงานสำนักงานอธิการบดี
เป็นหน่วยงานสนับสนุนบริการวิชาการมีพันธกิจหลัก คือ ให้บริการแก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอก และนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและนักศึกษา พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ มีทักษะในการปฏิบัติงาน มีจิตสำนึกด้านการบริการ ปรับปรุงอาคารและภูมิทัศน์ให้สวยงาน รวมถึงสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาสังคมร่วมกับชุมชน สำนักงานอธิการดี จึงได้มีการจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจในการให้บริการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาใช้บริการสำนักงานอธิการบดี ได้แก่ บุคลากร นักศึกษา บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย ที่ได้มาติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายในสำนักงานอธิการบดี ประกอบด้วย ฝ่ายธุรการและสารบรรณ ว่ามีผลความพึงพอใจอย่างไร รวมถึงข้อเสนอแนะในการให้บริการ (๘.๑-๖(๑)) จากนั้นจึงได้นำผลประเมินความพึงพอใจและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานมานำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ วันจันทร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ วาระที่ ๕.๙ รายงานการประเมินความพึงพอใจในการใช้บริการ สำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อไป (๘.๑-๖(๒))
| |
✓ | 7 | มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพระหว่างหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย และมีกิจกรรมร่วมกัน | สำนักงานอธิการบดีได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเครือข่าย จึงได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพระหว่างหน่วยงาน (๘.๑-๗(๑)) และทุกคณะสำนัก จัดกิจกรรมร่วมกันระหว่าง คณะสำนัก เรื่อง การควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง (๘.๑-๗(๒)) เพื่อให้ทุกหน่วยงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขับเคลื่อนงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย ๑ เรื่อง
| |