มหาวิทยาลัย มีการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ดังนี้
1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness) ผู้บริหารมีการบริหารงบประมาณและการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เน้นที่ผลลัพธ์ให้เกิดการใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (5.2-4(1)) และได้นำเสนอแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 8/2563 (5.2-4(2)) เพื่อพิจารณา และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเงินงบประมาณรายจ่าย ปี พ.ศ.2564 เพื่อเป็นการกำกับติดตามการบริหารรายจ่ายให้ใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุดอีกทางหนึ่งด้วย (5.2-4(3))
2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) ผู้บริหารมีการดำเนินงานตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดี โดยมีคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (5.2-4(4)) ในการกำกับดูและติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย คณะ สำนัก ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย (5.2-4(5)) และมีคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย (5.2-4(6)) และคณะกรรมการติดตามตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย (5.2-4(7)) ซึ่งได้มีการจัดวางระบบและดำเนินการป้องกันความเสี่ยง มีระบบการตรวจสอบดีที่ และการติดตามตรวจสอบประเมินผลมหาวิทยาลัย และนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย (5.2-4(8)) , (5.2-4(9))
3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness) ผู้บริหารได้บริหารงานเพื่อสร้างความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น รวมถึงตอบสนองต่อผู้รับบริการ โดยมีกลไกและกระบวนการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัย ที่มีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ภายใต้กรอบการปฏิบัติที่ชัดเจน รวมถึงเปิดโอกาสและช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นจากบุคลากร นักศึกษาและผู้ที่มีส่วนได้เสีย เสนอแนะ ซักถาม เช่น เว็บไซต์สายตรงอธิการบดี (5.2-4(10)) , (5.2-4(11)) และรายงานการปฏิบัติราชการต่อสภามหาวิทยาลัยทราบ (5.2-4(12))
4. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) ผู้บริหารได้ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ มีการกำหนดหน้าที่การรับผิดชอบของบุคคลากรอย่างชัดเจน ปฏิบัติราชการตามวิสัยทัศน์การบริหารงานที่ได้แถลงไว้ต่อสภามหาวิทยาลัยและ บุคลากร ทั้ง 9 ด้าน คือ ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการบริการวิชาการ ด้านการบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ด้านส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ ด้านการบริหารบุคคล ด้านกิจการนักศึกษา ด้านการบริหารทั่วไป โดยได้จัดทำเป็นรายงานผลการปฏิบัติราชการเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยในการประชุม ทุกครั้ง (เช่นด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการเป็นต้น) (5.2-4(13))
5. หลักความโปร่งใส (Transparency) มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัย โดยการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานใน มหาวิทยาลัย เช่น แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย (5.2-4(14)) แต่งตั้งคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ (5.2-4(15)) แต่งตั้งกรรมการสภาวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา ตำแหน่งทางวิชาการ (5.2-4(16)) ซึ่งได้มีการรายงานสถานะทางการเงินให้กับคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยและคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกเดือน (5.2-4(17)) และมีการจัดตั้งหน่วยตรวจสอบภายใน ซึ่งปฏิบัติงานขึ้นตรงต่ออธิการบดี (5.2-4(18)) , (5.2-4(19))
6. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) อธิการบดี ได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหารได้แสดงความคิดเห็นและส่วนร่วมในการปฏิบัติราชการ ในการประชุมกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย โดยจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยขึ้นทุกเดือน (5.2-4(20)) เปิดโอกาสและช่องทางสายตรงอธิการบดีให้บุคลากรนักศึกษาชี้แจงปัญหาในการดำเนินงาน (5.2-4(21)) รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ ตามโครงสร้างของมหาวิทยาลัย เช่นคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ คณะกรรมการประจำคณะ/สำนัก (5.2-4(22)) รวมถึงบทบาทหน้าที่ของสภาคณาจารย์และข้าราชการ (5.2-4(23)) ที่ได้มีการประชุมสภาคณาจารย์และข้าราชการในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและบุคลากร (5.2-4(24))
7. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) อธิการบดี ได้มอบหมายงานและมอบอำนาจความรับผิดชอบให้แก่ผู้บริหารในระดับต่างๆ โดยได้มีคำสั่งมอบหมายงานให้ที่ปรึกษาอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิต ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยรวมถึงคณะกรรมการ ต่างๆในการพิจารณาและเสนอแนะในการจัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัยโดยตรง โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจ เพิ่มประสิทธิภาพ และผลการดำเนินงานที่ดีของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย (5.2-4(25))
8. หลักนิติธรรม (Rule of law) ผู้บริหาร คณะกรรมการบริหารทุกระดับได้มีการออกแนวปฏิบัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ภายในมหาวิทยาลัย และต้องดำเนินการภายใต้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมีบทลงโทษการทุจริตและประพฤติมิชอบ และ ตลอดจนมีการใช้อำนาจตามที่กฎหมายและพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ กำหนดไว้ (5.2-4(26))
9. หลักความเสมอภาค (Equity) อธิการบดี มีนโยบายด้านการให้บริการโดยยึดหลัก คือการให้บริการอย่างเสมอภาคโดยไม่แบ่งแยกด้าน ชายหรือหญิง ถิ่นกำเนิด เชื่อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษา การฝึกอบรม และอื่น ๆ โดยให้ทุกคนได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน ตลอดจนมีการสร้างเสริมความสามัคคี ระหว่างบุคลากรของมหาวิทยาลัยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การประชุมพิจารณาการจัดสรรบ้านพักให้กับบุคลากร (5.1-4(27)) การให้สวัสดิการสำหรับบุคลากรหรือคู่สมรถของบุคลากรในกรณีคลอดบุตร กรณีบุคลากรสมสร กรณีบุคลากรบวช และกรณีอนุญาตให้บุคลากรชายลาเลี้ยงดูบุตรช่วยภรรยาได้ (5.2-4(28)) การพิจารณาทุนการศึกษาและการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งในส่วนสายสนับสนุน และสายวิชาการ เป็นต้น (5.2-4(29))
10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) อธิการบดี บริหารงานภายใต้ การใช้กระบวนการหาข้อคิดเห็นและข้อตกลงภายในกลุ่มในการพิจารณาประเด็น สำคัญต่างๆ อันมีผลต่อการบริหารงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเช่น การประชุมสภามหาวิทยาลัย การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย การประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคล เป็นต้น (5.2-4(30))
|