ตัวบ่งชี้ที่ 1.5 กิจกรรมนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : เพ็ญพักตร์ สุมณฑา , ลัดดาวัลย์ สมจิตร , สาคร ผมพันธ์ , สุชาติ ศรีชื่น , มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย , จักรชัย อินธิเดช
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยต้องส่งเสริมให้มีการจัดกิจกรรมนักศึกษาต่างๆ อย่างเหมาะสมและครบถ้วน กิจกรรมนักศึกษา หมายถึง กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ดำเนินการทั้งโดยสถาบันและโดยองค์กรนักศึกษา เป็นกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสได้รับการพัฒนาสติปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกาย และคุณธรรมจริยธรรม สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม
2 ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาให้ดำเนินกิจกรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน - กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน - กิจกรรมกีฬา หรือการส่งเสริมสุขภาพ - กิจกรรมจิตอาสา หรือรักษาสิ่งแวดล้อม - กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม - กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
3 จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา
4 ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป
5 ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา
6 นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1จัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม

มหาวิทยาลัย มีการจัดทำแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในภาพรวมของสถาบันโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนและการจัดกิจกรรม ดังนี้

1. นักศึกษาและบุคลากรมีส่วนร่าวมในการให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 โดยจัดโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการการกำหนดทิศทางการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาสู่ความสำเร็จ” ประจำปีการศึกษา 2563 [ SSKRU | The Power of Activity : 2020 ] (1.5-1(1)) เมื่อวันที่ 9 - 10 มีนาคม 2563 ณ ห้องประชุม 7210 อาคารพัชรกิติยาภา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยสภานักศึกษาเป็นผู้จัดโครงการ ซึ่งมีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 200 คน ประกอบด้วย สภานักศึกษา องค์การบริหารนักศึกษา สโมสรนักศึกษา ชมรมนักศึกษา และบุคลากรที่รับผิดชอบด้านงานกิจกรรมนักศึกษาทุกคณะ เพื่อรับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานด้านกิจกรรมนักศึกษา วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคของการปฏิบัติงานในการศึกษา 2562  และนำข้อเสนอแนะไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาแผนพัฒนานักศึกษาประจำปีการศึกษา 2563

2. นักศึกษาและบุคลากรมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะผ่านช่องทาง (Fanpage Facebook : sskruthailand) ช่องทางแบบสอบถามออนไลน์ในแต่ละกิจกรรมผ่านระบบ Google forms และให้ข้อเสนอแนะจากการสรุปโครงการแต่ละกิจกรรม โดยงานพัฒนานักศึกษาได้รวบรวม และจัดทำสรุปความคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์มาประกอบการพิจารณาจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 (1.5-1(2))

3. นักศึกษามีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 โดยมีรองอธิการบดีผ่ายกิจการนักศึกษาเป็นประธาน มีผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านกิจกรรมนักศึกษาจากทุกคณะ และสภานักศึกษา องค์การบริหารนักศึกษา ชมรมนักศึกษา ร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 (1.5-1(3))

4. นักศึกษามีส่วนร่วมเป็นผู้รับชอบโครงการตามแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 16 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 64 จากโครงการตามแผนทั้งหมด ประกอบด้วย 1) สภานักศึกษา จำนวน 2 โครงการ 2) องค์การบริหารนักศึกษา จำนวน 5 โครงการ 3) สโมสรนักศึกษา จำนวน 5 โครงการ และ 4) ชมรมนักศึกษา จำนวน 4 โครงการ และรับผิดชอบโดยกองพัฒนานักศึกษา จำนวน 9 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 36 จากโครงการตามแผนทั้งหมด (1.5-1(4))

5. มีการจัดประชุมคณะกรรมการคณะกรรมจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ครั้งที่ 1/2563 (1.5-1(5)) เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 ณ ห้องประชุมช่อลำดวน ชั้น 2 อาคารทองคูณ หงส์พันธ์ุ  เพื่อพิจารณาแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 20 คน โดยมีรองอธิการบดีผ่ายกิจการนักศึกษาเป็นประธาน มีผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ และสภานักศึกษา องค์การบริหารนักศึกษา ตัวแทนชมรมนักศึกษา เข้าร่วมประชุม โดยนำข้อเสนอแนะจากข้อสรุปตามโครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการการกำหนดทิศทางการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาสู่ความสำเร็จ” ประจำปีการศึกษา 2563 [ SSKRU | The Power of Activity : 2020 ] มาเป็นกรอบแนวทางในการกำหนดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา กำหนดวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ระยะเวลา งบประมาณ ผู้รับผิดชอบ และครอบคลุมตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ (TQF 5 ด้าน) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 (1.5 - 1(6))

 

2ในแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาให้ดำเนินกิจกรรมในประเภทต่อไปนี้ให้ครบถ้วน - กิจกรรมส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่กำหนดโดยสถาบัน - กิจกรรมกีฬา หรือการส่งเสริมสุขภาพ - กิจกรรมจิตอาสา หรือรักษาสิ่งแวดล้อม - กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม - กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม

มหาวิยาลัย มีการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ครอบคลุมกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ (TQF 5 ด้าน) และสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย "บัณฑิตจิตสาธารณะ" ดังนี้

1. ด้านการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
       มีการกำหนดคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ไว้ 5 ด้าน คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม , ด้านทักษะในการประกอบสัมมาชีพ , ด้านความรู้ , ด้านความรับผิดชอบ และด้านความสามัคคี (1.5-2(1)) และได้กำหนดอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย "บัณฑิตจิตสาธารณะ" ได้กำหนดกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาครอบคลุมทั้ง 6 ด้านดังนี้
      1.1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม [ S : Social Ethics ] มีกิจกรรม จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
           - โครงการเชิดชูเกียรติ “คนดีศรีราชภัฏ” ประจำปี 2563 (1.5-2(2))
           - โครงการคุณธรรมจริยธรรมเฉลิมพระเกียรติ ระดับอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2563  (1.5-2(3))
           - โครงการ “ไหว้ครูบูชาบูรพาจารย์แห่งงานศิลป์” ประจำปีการศึกษา 2563 (1.5-2(4))
           - โครงการครุศาสตร์ร่วมใจทำบุญตักบาตร (1.5-2(5))

       1.2 ด้านทักษะในการประกอบสัมมาชีพ [ S : Self – Sufficiency ] มีกิจกรรม จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
           - โครงการพัฒนาสื่อโฆษณาสินค้าชุมชนเพื่อเพิ่มรายได้โดยใช้เทคนิคการสอนแอฟพลิเคชั่น (1.5-2(6))
           - โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการผลิตสื่อเพื่อส่งเสริมการขายและบริการหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวัฒนธรรม (1.5-2(7))
           - โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เพื่อเข้าสู่อาชีพก่อนสำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 (1.5-2(8))

       1.3 มีความรู้ [ K : Khowledge ] มีกิจกรรม จำนวน 6 โครงการ ดังนี้
           - โครงการ “อบรมเชิงปฏิบัติการ  การสร้างเสริมกิจกรรมนักศึกษา สู่ความสำเร็จ”ประจำปีการศึกษา 2563 SSKRU : The Power of Activing 2020 (1.5-2(9))
           - โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านประกันคุณภาพการศึกษาผู้นำนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 (1.5-2(10))
           - โครงการ 1 ชุมชน 1 มหาวิทยาลัย วิศวกรสังคมขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรม (1.5-2(11))
           - โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ผ่านระบบดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2563 (1.5-2(112))
           - โครงการ“ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาวะและสิ่งแวดล้อม” (1.5-2(13))
           - โครงการบริการวิชาการ“สานฝันต่อ ทอปันน้อง สิทธิหน้าที่ของเยาวชน” (1.5-2(14))

        1.4 มีความรับผิดชอบ [ R : Responsibility ] มีกิจกรรม จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
           - โครงการ “ค่ายอุตสาหกรรมอาสา แบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง ประจำปี 2563 (1.5-2(15))
           - โครงการบัณฑิตจิตอาสาทำดีพี่เพื่อน้อง ปีที่ 11 ตอน “จิตอาสาพัฒนาชนบท” (1.5-2(16))
           - โครงการ“เยาวชนฅนสร้างฝันร่วมกันอาสา พัฒนาท้องถิ่น” ครั้งที่ 6 (1.5-2(17))
           - โครงการ “ค่ายศิลป์รักษ์ป่า (Nature Hug Art Camp)” (1.5-2(18))

       1.5 ด้านความสามัคคี [ U : Unity ]  มีกิจกรรม จำนวน 3 โครงการดังนี้
           - โครงการพิธีเชิญตราพระราชลัญจกรเชิดชูเกียรติสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2563 (1.5-2(19))
           - โครงการทำสนามกีฬาบีบีกัน (BB GUN) (1.5-2(20))
           - โครงการ “Forest For Life ป่าให้เรา เราให้ป่า” (1.5-2(21))

        1.6 ด้านการส่งเสริมอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย คือ “บัณฑิตจิตสาธารณะ”
          มีการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตจิตสาธารณะ โดยกระบวนการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดตั้งชมรมและเข้าร่วมกิจกรรมชมรม ในปีการศึกษา 2563 มีการจัดตั้งชมรมโดยนักศึกษา จำนวน 23 ชมรม และดำเนินกิจกรรม จำนวน 46 โครงการ มีผู้สมัครเป็นสมาชิกชมรม จำนวน 8,000 คน โดยแต่ละชมรมมีหน้าที่เป็นผู้ออกแบบจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น ด้านต่างๆ เช่น ด้านจิตอาสา ด้านบริการวิชาการ ด้านศิลปะวัฒนธรรม ด้านกีฬาและการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านวิชาการ และอื่นๆ โดยมีการดำเนินการตั้งแต่การจัดทำแผนปฏิบัติการชมรม การวิเคราะห์พื้นที่ และจัดกิจกรรมโดยสมาชิกมีส่วนร่วมทั้งการเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ประสานงานโครงการ ร่วมจัดหางบประมาณดำเนินการ ส่งผลให้นักศึกษาเกิดกระบวนการทำงานเป็นทีม เกิดการเรียนรู้โดยมีชุมชนเป็นฐาน ได้บูรณาการทักษะด้านต่างๆในการบริการชุมชน มีทักษะการสื่อสาร ทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ทักษะวิชาการวิชาชีพ เกิดประสบการณ์ที่ผ่านการพัฒนาจากการลงมือปฏิบัติจริง ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคือ บัณฑิตจิตสาธารณะ ยกตัวอย่างกิจกรรมที่จัดโดยชมรมต่างๆ จำนวน 5 โครงการ ดังนี้
          - โครงการ “ค่ายอุตสาหกรรมอาสา แบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง ประจำปี 2563 (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(15))
          - โครงการบัณฑิตจิตอาสาทำดีพี่เพื่อน้อง ปีที่ 11 ตอน “จิตอาสาพัฒนาชนบท” (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(16))
          - โครงการ “เยาวชนฅนสร้างฝันร่วมกันอาสา พัฒนาท้องถิ่น” ครั้งที่ 6 (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(17))
          - โครงการ “ค่ายศิลป์รักษ์ป่า (Nature Hug Art Camp)” (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(18))
          - โครงการ “ค่ายบูรณาการความรู้  เพื่อพัฒนาเยาวชนและท้องถิ่น” (1.5-2(22))

2. ด้านกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ  
          มีการจัดกิจกรรมโครงการที่ส่งเสริมและพัฒนาด้านกีฬาและสุขภาพแก่นักศึกษาที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพและร่างกายให้พร้อมสมบูรณ์แข็งแรงช่วยสร้างความสามัคคีแก่นักศึกษา ตลอดจนเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่มีความสามารถด้านกีฬาได้แสดงออกและแข่งขันในระบบชาติจนมีผลงานเป็นที่ยอมรับ โดยมีรายละเอียดตัวอย่างโครงการที่ดำเนินการ จำนวน 1 โครงการ คือ โครงการทำสนามกีฬาบีบีกัน (BB GUN) (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(20))

3. กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม
          มีการจัดโครงการที่ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์แก่นักศึกษา โดยมีรายละเอียดตัวอย่างโครงการที่ดำเนินการ จำนวน 5 โครงการ ดังนี้
           - โครงการ “ค่ายอุตสาหกรรมอาสา แบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง ประจำปี 2563 (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(15))
           - โครงการบัณฑิตจิตอาสาทำดีพี่เพื่อน้อง ปีที่ 11 ตอน “จิตอาสาพัฒนาชนบท”(อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(16))
           - โครงการ“เยาวชนฅนสร้างฝันร่วมกันอาสา พัฒนาท้องถิ่น” ครั้งที่ 6 (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(17))
           - โครงการ“ค่ายวิทยาศาสตร์เพื่อสุขภาวะและสิ่งแวดล้อม” (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(13))
           - โครงการ “Forest For Life ป่าให้เรา เราให้ป่า”(อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(21))

4. กิจกรรมเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม
          มีการจัดโครงการที่ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาให้เป็นผู้ที่มีความรู้คู่คุณธรรม เพื่อให้นักศึกษาเป็นคนดีมีวินัย รักการช่วยเหลือสังคม มีจิตอาสา และสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน โดยมีรายละเอียดตัวอย่างโครงการที่ดำเนินการ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
            - โครงการเชิดชูเกียรติ “คนดีศรีราชภัฏ” ประจำปี 2563 (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(2))
            - โครงการคุณธรรมจริยธรรมเฉลิมพระเกียรติ ระดับอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2563  (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(3))
            - โครงการครุศาสตร์ร่วมใจทำบุญตักบาตร (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(5))

5. กิจกรรมส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม
          มีการจัดโครงการที่ส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา และสร้างการเรียนรู้บนฐานวัฒนธรรมของชาติที่ดีงาม ให้เกิดความเข้าใจ ตระหนัก และปรับให้เข้ากับการเปลี่ยนสมัยใหม่ และสืบทอดให้เกิดคุณค่าอย่างเข้าใจและบูรณาการกับการเรียนรู้ตนเองได้ โดยมีรายละเอียดตัวอย่างโครงการที่ดำเนินการ จำนวน 3 โครงการ ดังนี้
             - โครงการ “ไหว้ครูบูชาบูรพาจารย์แห่งงานศิลป์” ประจำปีการศึกษา 2563  (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(4))      
             - โครงการ “ค่ายศิลป์รักษ์ป่า (Nature Hug Art Camp)”  (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(18))
             - โครงการพิธีเชิญตราพระราชลัญจกรเชิดชูเกียรติสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2563  (อ้างอิงหลักฐาน 1.5-2(19))

3จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา

มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรมให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา โดยจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้นำนักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2563 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 ณ อาคารส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการ ชั้น 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา เครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นกิจกรรมที่ประสบความสำเร็จ (Best Prectist) สร้างความตระหนักและให้ความสำคัญในการเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมคุณภาพของสถาบัน โดยกำหนดเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 120 คน และมีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 97.5 ประกอบด้วย บุคลากรด้านการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา องค์การบริหารนักศึกษา สภานักศึกษา สโมสรนักศึกษา 4 คณะ 1 วิทยาลัย และชมรม จำนวน 20 ชมรม โดยผลการเข้าร่วมกิจกรรมดังนี้  (1.5 - 3(1))

1. ลักษณะกิจกรรม
    1.1 อบรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำให้สามารถทำงานในบทบาทองค์กรนักศึกษาด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และการขับเคลื่อนกิจกรรมต่างๆ ตามวงจรคุณภาพ PDCA
    1.2 มีการแบ่งกลุ่มการ  Workshop ในการเรียนรู้การเขียนโครงการ การกำหนดวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ ค่าเป้าหมาย และการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการและแผนพัฒนานักศึกษา
    1.3 มีการนำเสนอแลกเปลี่ยนมุมมองความคิดเห็นด้านกิจกรรมนักศึกษา นำเสนอโครงการที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice) เพื่อเป็นแนวปฏิบัติที่ดีในการดำเนินกิจกรรมของแต่ละคณะ
    1.4 มีการการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กรนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเพื่อสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัยให้เข้มแข็งในการหนุนเสริมการทำงานขององค์กรนักศึกษา

2. ผลการเข้าร่วมกิจกรรม

ตัวชี้วัด

ค่าเป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

บรรลุ

ไม่บรรลุ

2.1 เชิงปริมาณ
    1) ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการ

ร้อยละ 80

มหาวิทยาลัยได้กำหนดกลุ่มเป้าหมาย เข้าร่วมโครงการ จำนวน 120 คน และมีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 97.50

บรรลุ

 

    2) ผู้เข้าร่วมโครงการมีระดับความพึงพอใจ                

ไม่น้อยกว่า  3.51

 

จากการแจกแบบสอบถามผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 117 คน และมีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 85 คน พบว่า มีระดับความพึงพอใจเฉลี่ยโดยภาพรวมของโครงการ ค่าคะแนน 3.91 (ระดับมาก)

บรรลุ

 

2.2 เชิงคุณภาพ

    1) ร้อยละของนักศึกษาที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบการประกันคุณภาพการศึกษา

 

ร้อยละ 80

ได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 120 คน และผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจ จำนวน 117 คน คิดเป็นร้อยละ 97.50 พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจในการใช้และออกแบบเครื่องมือในการทำงาน และ Workshop กระบวนการบริหารจัดการการดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพการศึกษาได้

 

บรรลุ

 

    2) ร้อยละของนักศึกษาที่สามารถออกแบบเครื่องมือในการทำงานกับพื้นได้

ร้อยละ 60

พบว่าผู้เข้ารับการอบรมที่สามารถออกแบบเครื่องมือในการทำงานกับพื้นได้ จำนวน 80 คน คิดเป็นร้อยละ 68.37 ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมมีการทำแบบทดสอบการออบแบบเครื่องการเก็บข้อมูลชุมชนวิเคราะห์และนำมาเขียนข้อเสนอโครงการได้

 

บรรลุ

 

    3) ร้อยละของนักศึกษาที่สามารถฝึกการวิเคราะห์ SWOT และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบริหารงานได้

ร้อยละ 60

พบว่าผู้เข้ารับการอบรมที่สามารถฝึกการวิเคราะห์ SWOT และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบริหารงานได้ จำนวน 75 คน คิดเป็นร้อยละ 64.10 ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมสามารถทำแบบฝึกการวิเคราะห์ SWOT โครงการกิจกรรม และเสนอแนวทางการแก้ปัญหาได้ดี

 

บรรลุ

 

3. จากการดำเนินงานดังกล่าว พบข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการให้ความรู้และทักษะการประกันคุณภาพการศึกษาแก่นักศึกษา จำนวน 4 ประเด็น ดังนี้
    3.1 จัดมาตรการป้องกันตามสาธารณะสุขให้คำแนะนำในระหว่างดำเนินกิจกรรม การเตรียมการสถานที่ จุดคัดกรองวัดอุณหภูมิร่างกาย จุดล้างมือ กำหนดสวมใส่หน้ากากอนามัย กำหนดระยะห่างด้านสถานที่ผู้เข้ารับการอบรมเป็นไปตามมาตรการของสาธารณสุขกำหนดและมีเจ้าหน้าที่ประจำห้องประชุม
    3.2 ควรมีการเพิ่มสื่อในการศึกษาและตัวอย่างในการออกแบบโครงการหรือไม่ก็ลงพื้นที่ด้วยในการจัดกิจกรรมครั้งต่อไปแล้วนำมาวิเคราะห์ออกแบบการดำเนินโครงการเพิ่มเครื่องมือในการทำงานกลุ่มอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อความเข้าใจมากขึ้น
    3.3 ควรดำเนินงานต่อเนื่องและควรมีทั้งระบบออนไลน์ระบบฐานข้อมูลในการสืบค้นเอกสารคู่มือสามารถเข้าถึงได้ง่ายมีช่องในการสื่อสารเพื่อการทำงานที่เข้าถึงง่ายและต่อเนื่อง
    3.4 ควรที่จะสร้างเครือข่ายภายในภายนอกแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาส่งผลในการหนุนเสริมการทำงานร่วมในในระดับสถาบันต่อเนื่อง

4ทุกกิจกรรมที่ดำเนินการ มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป

มหาวิทยาลัย มีการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำผลการประเมินมาปรับปรุงการดำเนินงานครั้งต่อไป มีกระบวนการดำเนินงานดังนี้

1. มีการกำหนดให้ผู้รับผิดชอบแต่ละโครงการจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการเป็นรูปเล่ม และจัดส่งเล่มพร้อมไฟล์รายงานฯ หลังเสร็จสิ้นโครงการภายใน 30 วัน และในรายงานผลการดำเนินโครงการดังกล่าวมีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมทุกโครงการ เช่น 1) โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ (1.5-4(1)) 2) โครงการ 1 ชุมชน 1 มหาวิทยาลัย วิศวกรสังคมขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรม (1.5-4(2)) เป็นต้น

2. มีการจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ (1.5-4(3)) พบว่า ในปีการศึกษา 2563 ได้กำหนดโครงการตามแผนพัฒนานักศึกษา จำนวน 25 โครงการ และดำเนินแล้วเสร็จ จำนวน 22 ไม่ได้ดำเนินการ จำนวน 3 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 88 เนื่องจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการได้ หลังจากนั้นนำรายงานผลการประเมินฯ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม  2564 (1.5-4(4)) เพื่อพิจารณา และกำหนดแนวทางในการปรับปรุง

3. มีการนำผลการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 มากำหนดแนวทางการปรับปรุงโครงการกิจกรรม ดังนี้ (1.5-4(5))

ข้อเสนอแนะ

แนวทาง

ผลการดำเนินงาน

ระยะเวลา/ผู้รับผิดชอบ

1. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) มีความจำเป็นที่จะต้องปรับรูปแบบการดำเนินงานด้านกิจกรรมนักศึกษาให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อการพัฒนานักศึกษาให้สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ทั้ง 5 ด้านโดยให้จัดกิจกรรมที่เป็นลักษณะออนไลน์ผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้น

ให้มีการกำหนดโครงการที่จัดในลักษณะออนไลน์ผ่านระบบดิจิทัลในลักษณะการบรรยาย
และการผลิตสื่อส่งเสริมกิจกรรมบัณฑิตจิตรสาธารณะ

มีการปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมในลักษณะออนไลน์ผ่านระบบดิจิทัล และกำหนดกิจกรรมไว้ในแผนพัฒนานักศึกษา จำนวน 5 โครงการ ดังนี้
1. โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ผ่านระบบดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2564
2. โครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมเฉลิมพระเกียรติ
3. โครงการสื่อสร้างงสรรค์ส่งเสริมคุณธรรม ระดับอุดมศึกษา
4. โครงการอบรมคุณธรรมเตรียมความพร้อมก่อนสำเร็จการศึกษา
5. โครงการให้ความรู้ศิษย์เก่าติวเตรียมสอบ ก.พ. 2564
6. โครงการเสริมสร้างความสำเร็จสู่อาชีพการตลาดออนไลน์

ตุลาคม 2564 - 31 มกราคม 2565 โดย งานพัฒนานักศึกษา/คณะ

 2. เห็นควรส่งเสริมกิจกรรมโครงการนักศึกษาที่สอดคล้องกับหลักการแนวทางการพัฒนานักศึกษา “วิศวกรสังคม” ที่มุ่งสร้างเยาวชนและกระบวนการดำเนินงานสอดคล้องกับการพัฒนาบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย จึงเห็นควรให้ทุกหน่วยงานองค์กรนักศึกษา งานพัฒนานักศึกษา คณะร่วมกันขับเคลื่อนโครงการวิศวกรสังคมอย่างต่อเนื่องโดยบูรณาการเข้ากับโครงการต่างๆที่ดำเนินการ เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนานักศึกษา

ควรกำหนดโครงการและงบประมาณ ไว้ในแผนพัฒนานักศึกษา โดยให้เกิดกระบวนการทำงานที่มีส่วนร่วมของนักศึกษาวิศวกรสังคมที่ผ่านการพัฒนาระดับมหาวิทยาลัยและองค์กรนักศึกษา เพื่อขับเคลื่อนวิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กำหนดผู้รับผิดชอบจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน

ได้กำหนดโครงการพัฒนาศักยภาพวิศวกรสังคมเพื่อขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรม (Social Engineer) โดยนักศึกษาทั้ง 7 หน่วยงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

ไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2565

3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา กิจกรรมบรรยายควรที่มีการถ่ายทอดสดเนื้อหาผ่านช่องทางออนไลน์มีความหลายหลายของวิทยากรเพื่อสร้างแรงบัลดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน ร่วมทั้งศิษย์เก่าเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม

1. มีการกำหนดโครงการและงบประมาณไว้ในแผนพัฒนากิจกรรมนักศึกษา ปี 2564 เพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาทั้งนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาและนักศึกษาทุกสาขาวิชาทั้งปี ทั้งนี้กำหนดให้มีศิษย์เก่าที่ประสบผลสำเร็จมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กรอบระยะเวลาเพิ่มขึ้นเต็มวัน ซึ่งกำหนดเนื้อหาที่ลงลึกเพื่อให้ตรงวิชาสาขามากที่สุด ลักษณะกิจกรรมเป็นการบรรยายให้ความรู้และลงมือปฏิบัติทดสอบผ่านช่องทางออนไลน์
2. การจัดกิจกรรมสร้างเสริมมการเรียนรู้ภาวะการมีงานให้จัดการอบรมที่หลากหลายและให้มีส่วนร่วมของวิทยากรกับผู้อบรม รวมทั้งวิทยากรที่มาจากหลายสาขาอาชีพและเน้นแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่เป็นประโยชน์

ได้กำหนดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาและงบประมาณดำเนินงานไว้ในแผนการพัฒนานักศึกษาประจำปีการศึกษา 2564

ไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2564  โดย งานพัฒนานักศึกษา

4. ควรมีการโครงการเชิดชูเกียรติ “คนดีศรีราชภัฏ” อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปีการศึกษา 2564 เป็นปีแห่งการครบรอบ 2 ทศวรรษราชภัฏศรีสะเกษ จึงเห็นควรให้มีโครงการดังกล่าว ซึ่งควรมีการสรรหาผู้ที่ทรงคุณค่าแก่การมอบรางวัลนี้ให้มีความหลากหลายทั้ง ศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าในหลายสาขาอาชีพหรือด้านต่างๆ

มีการกำหนดโครงการและงบประมาณไว้ในแผนพัฒนานักศึกษา โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้
    1. กำหนดให้มีการเสนอชื่อรางวัลและสรรหาผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์โดยศิษย์เก่าหรือผ่านการดเนินการร่วมกับสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยด้านต่างๆ
    2. จัดการประกวดผลงานหรือการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของนักศึกษาปัจจุบันโดยผ่านการประกวดโครงการ/หรือผลงานทั้งแบบเป็นกลุ่ม หรือเดียวให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
    3. กำหนดให้มีการมอบรางวัลในวันสำคัญของสถาบันเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณความดีและทรงคุณค่าของมหาวิทยาลัย

มีการกำหนดโครงการงบประมาณไว้ในแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 อยู่ระหว่างการดำเนินงานประสานงานภายใต้ข้อจำกัดสถานะการโรคระบาทในปัจจุบัน

13 ตุลาคม 2564 โดย งานพัฒนานักศึกษา

 

5ประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา

มหาวิทยาลัย มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา มีกระบวนการดังนี้

มีการจัดทำรายงานการประเมินผลความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 (1.5-5(1)) และรายงานความเชื่อมโยงโครงการที่สอดคล้องกับการจัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (1.5-5(2)) เสนอคณะกรรมการจัดทำแผนการจัดกิจกรรพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2564 ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 (1.5-5(3)) โดยมีผลประเมินความสำเร็จของวัตถุประสงค์ของแผนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษา  ดังนี้

วัตถุประสงค์ของแผน

ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน

ความสำเร็จของตัวชี้วัด

บรรลุ

ไม่บรรลุ

1) เพื่อพัฒนานักศึกษาให้เป็นไปตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และอัตลักษณ์ที่กำหนดโดยสถาบัน

1) ร้อยละของกิจกรรมหรือโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จต่อโครงการในแผนทั้งหมด

ร้อยละ 80

มีการกำหนดกิจกรรมตามแผนพัฒนานักศึกษา จำนวน 25 โครงการ ดำเนินแล้วเสร็จ จำนวน 22 โครงการ และยังไม่ได้ดำเนินการ จำนวน 3 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 88 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19)

บรรลุ

 

2) จำนวนกิจกรรมหรือโครงการที่พัฒนานักศึกษาเป็นไปตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยกำหนดมีการดำเนินการครบทั้ง 5 ด้าน

 

อย่างน้อยด้านละ 2 โครงการ

มีการดำเนินงานโครงการตามแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ที่สอดคล้องคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ทั้ง 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านมีคุณธรรมจริยธรรม [ S : Social Ethics ] มีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ จำนวน 4 โครงการ           
2. ด้านมีทักษะในการประกอบสัมมาชีพ [ S : Self – Sufficiency ] มีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ จำนวน 3 โครงการ
3. ด้านมีความรู้[ K : Khowledge ] มีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ จำนวน 7 โครงการ
4. ด้านมีความรับผิดชอบ[ R : Responsibility ] มีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ จำนวน 4 โครงการ
5. ด้านมีความสามัคคี[ U : Unity ] มีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ จำนวน 3 โครงการ

บรรลุ

 

3) จำนวนกิจกรรมหรือโครงการส่งเสริมอัตลักษณ์มหาวิทยาลัย "บัณฑิตจิตสาธารณะ” โดยมหาวิทยาลัยและองค์การนักศึกษามีส่วนร่วมดำเนินการ

จำนวน 3 โครงการ และองค์กรนักศึกษามีส่วนร่วม

มีการส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาให้เป็นไปตามอัตลักษณ์ " บัณฑิตจิตสาธารณะ " โดยกระบวนการให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการจัดตั้งชมรมและเข้าร่วมกิจกรรมชมรม ในปีการศึกษา 2563 มีการจัดตั้งชมรมโดยนักศึกษา จำนวน 23 ชมรม และดำเนินกิจกรรม จำนวน 46 โครงการ มีผู้สมัครเป็นสมาชิกชมรม จำนวน 8,000 คน โดยแต่ละชมรมมีหน้าที่เป็นผู้ออกแบบจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น ด้านต่างๆ เช่น ด้านจิตอาสา ด้านบริการวิชาการ ด้านศิลปะวัฒนธรรม ด้านกีฬาและการสร้างเสริมสุขภาพ ด้านวิชาการ และอื่นๆ โดยมีการดำเนินการตั้งแต่การจัดทำแผนปฏิบัติการชมรม การวิเคราะห์พื้นที่ และจัดกิจกรรมโดยสมาชิกมีส่วนร่วมทั้งการเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ประสานงานโครงการ ร่วมจัดหางบประมาณดำเนินการ ส่งผลให้นักศึกษาเกิดกระบวนการทำงานเป็นทีม เกิดการเรียนรู้โดยมีชุมชนเป็นฐาน ได้บูรณาการทักษะด้านต่างๆในการบริการชุมชน มีทักษะการสื่อสาร ทักษะการมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ทักษะวิชาการวิชาชีพ เกิดประสบการณ์ที่ผ่านการพัฒนาจากการลงมือปฏิบัติจริง ตามอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยคือ บัณฑิตจิตสาธารณะ ยกตัวอย่างกิจกรรมที่จัดโดยชมรมต่างๆ จำนวน 5 โครงการ ดังนี้
          - โครงการ “ค่ายอุตสาหกรรมอาสา แบ่งปัน สานฝันเพื่อน้อง ประจำปี 2563
          - โครงการบัณฑิตจิตอาสาทำดีพี่เพื่อน้อง ปีที่ 11 ตอน “จิตอาสาพัฒนาชนบท”
          - โครงการ“เยาวชนฅนสร้างฝันร่วมกันอาสา พัฒนาท้องถิ่น” ครั้งที่ 6  
          - โครงการ “ค่ายศิลป์รักษ์ป่า (Nature Hug Art Camp)”
          - โครงการ“ค่ายบูรณาการความรู้  เพื่อพัฒนาเยาวชนและท้องถิ่น”
          - โครงการ “Forest For Life ป่าให้เรา เราให้ป่า”

บรรลุ

 

2. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรม

ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามแผนพัฒนาศึกษาต่อโครงการทั้งหมด

ร้อยละ 60

ปีการศึกษา 2563 มีโครงการที่รับผิดชอบโดยนักศึกษา  จำนวน 16 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 64 จากโครงการตามแผนทั้งหมด ประกอบด้วย สภานักศึกษา จำนวน 2 โครงการ , องค์การบริหารนักศึกษา จำนวน 6 โครงการ , สโมสรนักศึกษา จำนวน 5 โครงการ และ ชมรมนักศึกษา จำนวน 4 โครงการ  และสามารถดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวนทั้งหมด 10 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 62.50 ดังนี้
1. ด้านมีคุณธรรมจริยธรรม [ S : Social Ethics ]มีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ จำนวน 2 โครงการ
2. ด้านมีทักษะในการประกอบสัมมาชีพ [ S : Self – Sufficiency ] มีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ จำนวน 1 โครงการ
3. ด้านมีความรู้[ K : Khowledge ] มีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ จำนวน 4 โครงการ
4. ด้านมีความรับผิดชอบ[ R : Responsibility ] มีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ จำนวน 3 โครงการ
5. ด้านมีความสามัคคี[ U : Unity ] มีการดำเนินงานกิจกรรมโครงการ จำนวน 3 โครงการ  

 

 

บรรลุ

 

 

6นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา

มหาวิทยาลัย มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือปรับปรุงการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนานักศึกษา ดังนี้

มีการจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ (1.5-6(1)) และจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 (1.5-6(2)) หลังจากนั้นเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2563 (1.5-6(3))  เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการและผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน และกำหนดแนวทางการปรับปรุง โดยมีมติที่ประชุมเห็นชอบในการปรับปรุงดังนี้ 

1. แนวทางการปรับปรุงระดับโครงการ

ข้อเสนอแนะ

แนวทางการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

ระยะเวลา/ผู้รับผิดชอบ

1. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) มีความจำเป็นที่จะต้องปรับรูปแบบการดำเนินงานด้านกิจกรรมนักศึกษาให้เข้ากับสถานการณ์ เพื่อการพัฒนานักศึกษาให้สอดคล้องกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ทั้ง 5 ด้านโดยให้จัดกิจกรรมที่เป็นลักษณะออนไลน์ผ่านระบบดิจิทัลมากขึ้น

ให้มีการกำหนดโครงการที่จัดในลักษณะออนไลน์ผ่านระบบดิจิทัลในลักษณะการบรรยาย
และการผลิตสื่อส่งเสริมกิจกรรมบัณฑิตจิตรสาธารณะ

มีการปรับรูปแบบการจัดกิจกรรมในลักษณะออนไลน์ผ่านระบบดิจิทัล และกำหนดกิจกรรมไว้ในแผนพัฒนานักศึกษา จำนวน 5 โครงการ ดังนี้
1. โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ผ่านระบบดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2564
2. โครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมเฉลิมพระเกียรติ
3. โครงการสื่อสร้างงสรรค์ส่งเสริมคุณธรรม ระดับอุดมศึกษา
4. โครงการอบรมคุณธรรมเตรียมความพร้อมก่อนสำเร็จการศึกษา
5. โครงการให้ความรู้ศิษย์เก่าติวเตรียมสอบ ก.พ. 2564
6. โครงการเสริมสร้างความสำเร็จสู่อาชีพการตลาดออนไลน์

ตุลาคม 2564 - 31 มกราคม 2565 โดย งานพัฒนานักศึกษา/คณะ

 2. เห็นควรส่งเสริมกิจกรรมโครงการนักศึกษาที่สอดคล้องกับหลักการแนวทางการพัฒนานักศึกษา “วิศวกรสังคม” ที่มุ่งสร้างเยาวชนและกระบวนการดำเนินงานสอดคล้องกับการพัฒนาบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย จึงเห็นควรให้ทุกหน่วยงานองค์กรนักศึกษา งานพัฒนานักศึกษา คณะร่วมกันขับเคลื่อนโครงการวิศวกรสังคมอย่างต่อเนื่องโดยบูรณาการเข้ากับโครงการต่างๆที่ดำเนินการ เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนานักศึกษา

ควรกำหนดโครงการและงบประมาณ ไว้ในแผนพัฒนานักศึกษา โดยให้เกิดกระบวนการทำงานที่มีส่วนร่วมของนักศึกษาวิศวกรสังคมที่ผ่านการพัฒนาระดับมหาวิทยาลัยและองค์กรนักศึกษา เพื่อขับเคลื่อนวิศวกรสังคมมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ กำหนดผู้รับผิดชอบจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน

ได้กำหนดโครงการพัฒนาศักยภาพวิศวกรสังคมเพื่อขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรม (Social Engineer) โดยนักศึกษาทั้ง 7 หน่วยงานมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

ไตรมาสที่ 1 ปีงบประมาณ 2565

3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษา กิจกรรมบรรยายควรที่มีการถ่ายทอดสดเนื้อหาผ่านช่องทางออนไลน์มีความหลายหลายของวิทยากรเพื่อสร้างแรงบัลดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมงาน ร่วมทั้งศิษย์เก่าเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรม

1. มีการกำหนดโครงการและงบประมาณไว้ในแผนพัฒนากิจกรรมนักศึกษา ปี 2564 เพื่อตอบสนองความต้องการของนักศึกษาทั้งนักศึกษาที่จะสำเร็จการศึกษาและนักศึกษาทุกสาขาวิชาทั้งปี ทั้งนี้กำหนดให้มีศิษย์เก่าที่ประสบผลสำเร็จมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ กรอบระยะเวลาเพิ่มขึ้นเต็มวัน ซึ่งกำหนดเนื้อหาที่ลงลึกเพื่อให้ตรงวิชาสาขามากที่สุด ลักษณะกิจกรรมเป็นการบรรยายให้ความรู้และลงมือปฏิบัติทดสอบผ่านช่องทางออนไลน์
2. การจัดกิจกรรมสร้างเสริมมการเรียนรู้ภาวะการมีงานให้จัดการอบรมที่หลากหลายและให้มีส่วนร่วมของวิทยากรกับผู้อบรม รวมทั้งวิทยากรที่มาจากหลายสาขาอาชีพและเน้นแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่เป็นประโยชน์

ได้กำหนดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนสำเร็จการศึกษาและงบประมาณดำเนินงานไว้ในแผนการพัฒนานักศึกษาประจำปีการศึกษา 2564

ไตรมาสที่ 4 ปีงบประมาณ 2564  โดย งานพัฒนานักศึกษา

4. ควรมีการโครงการเชิดชูเกียรติ “คนดีศรีราชภัฏ” อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับปีการศึกษา 2564 เป็นปีแห่งการครบรอบ 2 ทศวรรษราชภัฏศรีสะเกษ จึงเห็นควรให้มีโครงการดังกล่าว ซึ่งควรมีการสรรหาผู้ที่ทรงคุณค่าแก่การมอบรางวัลนี้ให้มีความหลากหลายทั้ง ศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าในหลายสาขาอาชีพหรือด้านต่างๆ

มีการกำหนดโครงการและงบประมาณไว้ในแผนพัฒนานักศึกษา โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้
    1. กำหนดให้มีการเสนอชื่อรางวัลและสรรหาผู้ที่เข้าหลักเกณฑ์โดยศิษย์เก่าหรือผ่านการดเนินการร่วมกับสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยด้านต่างๆ
    2. จัดการประกวดผลงานหรือการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของนักศึกษาปัจจุบันโดยผ่านการประกวดโครงการ/หรือผลงานทั้งแบบเป็นกลุ่ม หรือเดียวให้สอดคล้องกับอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
    3. กำหนดให้มีการมอบรางวัลในวันสำคัญของสถาบันเพื่อเชิดชูเกียรติผู้ทำคุณความดีและทรงคุณค่าของมหาวิทยาลัย

มีการกำหนดโครงการงบประมาณไว้ในแผนพัฒนานักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2563 อยู่ระหว่างการดำเนินงานประสานงานภายใต้ข้อจำกัดสถานะการโรคระบาทในปัจจุบัน

13 ตุลาคม 2564 โดย งานพัฒนานักศึกษา


2. แนวทางการปรับปรุงระดับแผน

ข้อเสนอแนะ

แนวทางดำเนินงาน

ผลการดำเนินการ

ระยะเวลา/ผู้รับผิดชอบ

ควรจัดทำแผนกลยุทธ์การพัฒนานักศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ระยะ 5 ปี เพื่อกำหนดเป้าหมายในการพัฒนาให้มีความชัดเจนมากขึ้น

1. จัดประชุมคณะกรรรมการพัฒนานักศึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ ระยะ 5 ปี โดยมีส่วนร่วมของผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา จากทุกคณะ

2. มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ระยะ 1 ปี โดยเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาจากแผนกลยุทธ์ และกำหนดกิจกรรม โครงการ ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายให้ชัดเจน และสามารถนำไปสู่การจัดกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. มีการจัดประชุมคณะกรรรมการพัฒนานักศึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ ระยะ 5 ปี เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2564  ณ ห้องประชุมถนอม อินทรกำเนิด ชั้น 2 โรงแรมศรีพฤทธาลัยราชภัฏสัมมนาคารฯ (1.5-6(4)) โดยมีส่วนร่วมของผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา จากทุกคณะ เเพื่อยกร่างแผนกลยุทธ์ฯ 

2. มีการจัดประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษา ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 ณ ห้องประชุมช่อลำดวน ชั้น 2 อาคารทองคูณ หงส์พันธ์ุ เพื่อกำหนดกิจกรรมโครงการต่างๆ ให้เป็นไปตามข้อเสนอ (1.5-6(5))

มิถุนายน – สิงหาคม  2564 โดย งานพัฒนานักศึกษา

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5 คะแนน