ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 การพัฒนาสำนักสู่สถาบันเรียนรู้

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สุพรรษา แสงตา , กมลมาศ เอี้ยวถาวร
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

    มาตรฐานการอุดมศึกษาข้อที่ ๓ กำหนดให้หน่วยงานมีการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่หน่วยงานแห่งการเรียนรู้ โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในหน่วยงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้หน่วยงานมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด กระบวนการในการบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงาน ประกอบด้วย การระบุความรู้ การคัดเลือก การรวบรวม การจัดเก็บความรู้ การเข้าถึงข้อมูล และการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในหน่วยงาน การกำหนดแนววิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น

 

นิยามศัพท์

    แนวปฏิบัติที่ดี หมายถึง วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสำนัก
2 กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ ๑
3 มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ ๑ และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
4 มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ ๑ ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge)
5 มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสำนัก

สำนักงานอธิการบดี มีการจัดการความรู้ที่อยู่ภายใต้การบริหารสำนักงานอธิการบดี  ซึ่งได้จัดทำคำสั่งมอบหมายผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยผ่านคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2562 วาระที่ 5.4(ร่าง) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ กำกับ ติดตามและจัดเก็บข้อมูล การดำเนินงานประกันคุณภาพ ระดับสำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา 2562(6.1-1(1)) และสำนักงานอธิการบดีได้จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการ กำกับ ติดตามและจัดเก็บข้อมูล การดำเนินงานประกันคุณภาพ ระดับสำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา 2562 (6.1-1(2)) จากการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ได้มีการกำหนดประเด็นการพัฒนาความรู้ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดีครั้งที่ 1/2563 วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2563 วาระที่ 5.1 การพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน (6.1-(3)) ได้กำหนดประเด็นการพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน และกำหนดกลุ่มเป้าหมายของการจัดการความรู้ (6.1-1(4)) ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563  (6.1-1(5))

2กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ ๑

สำนักงานอธิการบดี ได้กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติงาน ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 โดยใช้การพิจารณาจากการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 1/2563 วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2563 วาระที่5.1 การพัฒนาความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน (6.1-2(1))

3มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ ๑ และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด

ได้มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง        (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด โดยสำนักงานอธิการบดีได้จัดจัดกิจกรรมการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงาน เรื่อง “เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ” (6.1-3(1)) ซึ่งมีบุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิการบดีเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๑๓ คน เพื่อร่วมพบปะพูดคุยกันภายในกลุ่มเป้าหมาย โดยมีการพบปะพูดคุยในลักษณะการพูดคุยเกี่ยวกับประเด็น “เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ”(การเขียนหนังสือภายนอก และหนังสือภายใน) จากนั้นจะมีการมอบหมายหน้าที่ให้บุคลากรในกลุ่มผู้สังเคราะห์ความรู้ นำสิ่งที่ได้จากการประชุมทำหน้าที่ถอดชุดความรู้ที่ได้จากการ ประชุมออกมาเป็นเอกสารสรุปความรู้ และเผยแพร่ระหว่างกันทุกครั้ง ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างตัวบุคลากรภายในกลุ่มตลอดเวลา (6.1-3(2)) 

4มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ ๑ ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge)

สำนักงานอธิการบดี ได้มีการรวบรวมความรู้จากผู้มีประสบการณ์ตรงและกลุ่มเป้าหมายตามประเด็นความรู้ แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ เป็นแนวปฏิบัติที่ดี แล้วนำมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเขียนหนังสือราชการในรูปแบบของคู่มือ (6.1-4(1)) พร้อมมีการนำคู่มือ “เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ (การเขียนหนังสือภายนอก และหนังสือภายใน)”เผยแพร่ไปยังหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (6.1-4(2))

5มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

ได้มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง โดยบุคลากรที่ผู้เข้าร่วมการจัดการความรู้ได้นำความรู้ที่ได้มาใช้งานและปฏิบัติจริง (6.1-5(1))