ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : พัทธ์ธีรา เสาร์ชัย
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

    หน่วยงานจะต้องมีระบบในการจัดหาและจัดสรรเงินอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีแผนกลยุทธ์ทางด้านการเงินซึ่งเป็นแผนจัดหาเงินทุนที่สามารถผลักดันแผนกลยุทธ์ของสำนักให้สามารถดำเนินการได้ มีการวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่ายของการดำเนินงาน ทั้งจากงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้อื่นๆ ที่หน่วยงานได้รับ มีการจัดสรรงบประมาณและการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบครบทุกยุทธศาสตร์ มีระบบการตรวจสอบการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ รายงานทางการเงินต้องแสดงรายละเอียดการใช้จ่ายในทุกภารกิจ โครงการ กิจกรรมเพื่อให้สามารถวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงของหน่วยงานได้

 

นิยามศัพท์

    แผนกลยุทธ์ทางการเงิน เป็นแผนระยะยาวที่ระบุที่มาและใช้ไปของทรัพยากรทางการเงินของหน่วยงานที่สามารถผลักดันแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานให้สามารถดำเนินการได้ แผนกลยุทธ์ทางการเงินจะสอดรับไปกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน หน่วยงานควรประเมินความต้องการทรัพยากรที่ต้องจัดหาสำหรับการดำเนินงานตาม กลยุทธ์แต่ละกลยุทธ์ และประเมินมูลค่าของทรัพยากรออกมาเป็นเงินทุนที่ต้องการใช้ ซึ่งจะเป็นความต้องการเงินทุนในระยะยาวเท่ากับเวลาที่หน่วยงานใช้ในการดำเนินการให้กลยุทธ์นั้นบังเกิดผล จากนั้นจึงจะกำหนดให้เห็นอย่างชัดเจนถึงที่มาของเงินทุนที่ต้องการใช้ว่าสามารถจัดหาได้จากแหล่งเงินทุนใด เช่น รายได้จากการจัดสรรงบประมาณทั้งเงินบำรุงการศึกษาและงบประมาณแผ่นดิน รวมทั้งมีการวิเคราะห์ต้นทุนของการดำเนินงานด้วย โดยที่ระยะเวลาของแผนกลยุทธ์ทางการเงินจะเท่ากับระยะเวลาของแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน

 

รอบระยะเวลา

    รอบปีงบประมาณ (๑ ต.ค. ๒๕๖๑ – ๓๐ ก.ย. ๒๕๖๒)

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 หรือ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 หรือ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
2 มีแนวทางจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้
3 มีงบประมาณประจำปีที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการในแต่ละภารกิจและการพัฒนาหน่วยงาน และบุคลากร
4 มีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ และรายงานต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง
5 มีการนำข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง
6 มีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit committee) ภายในและภายนอก ทำหน้าที่ตรวจ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกาหนด
7 ผู้บริหารระดับสูงมีการติดตามผลการใช้เงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย และนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน

สำนักงานอธิการบดีมีแผนกลยุทธ์ทางการเงิน (2.1-1(1)) ที่ระบุแหล่งที่มาและใช้ไปของทรัพยากรทางการเงินและสอดรับไปกับแผนกลยุทธ์ของสำนักงานอธิการบดี (2.1-1(2)) สามารถผลักดันแผนกลยุทธ์ของสำนักงานอธิการบดีให้สามารถดำเนินการได้

2มีแนวทางจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้

สำนักงานอธิการบดีมีแนวทางจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน และหลักเกณฑ์การจัดสรร
ที่เหมาะสมกับลักษณะของการใช้จ่ายและเพียงพอสำหรับการบริหารจัดการ (2.1-2(1)) ซึ่งมีแหล่งเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน 2 แหล่ง คือ 1) เงินงบประมาณแผ่นดิน และ 2) เงินนอกงบประมาณ (เงินบำรุงการศึกษา) ซึ่งมาจากค่าลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา รายได้จากการบริการวิชาการ การให้เช่าทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย เป็นต้น และจัดสรรให้หน่วยงานในสังกัดโดยให้แต่ละหน่วยงานจัดทำคำของบประมาณ (2.1-2(2)) โดยมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ (2.1-2(3))

3มีงบประมาณประจำปีที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการในแต่ละภารกิจและการพัฒนาหน่วยงาน และบุคลากร

สำนักงานอธิการบดี ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการในแต่ละพันธกิจและการพัฒนาบุคลากรในแต่ละปีอย่างเหมาะสม (2.1-3(1)) (2.1-3(2))

4มีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ และรายงานต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง

มีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ ที่แสดงรายละเอียดการใช้จ่ายเงินในทุกภารกิจ โครงการ กิจกรรม ประกอบด้วยยอดเบิกจ่ายสะสม ร้อยละการเบิกจ่าย แผนการเบิกจ่าย และผลการเบิกจ่าย รายงานคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดีเป็นรายไตรมาส

โดยปีงบประมาณ 2562 ไตรมาสที่ 3 นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 5/2562 วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน 2562 วาระที่ 3.6 (2.1-4(1))  

ปีงบประมาณ 2562 ไตรมาสที่ 4 นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 6/2562 วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2562 วาระที่ 4.5 (2.1-4(2))

ปีงบประมาณ 2563 ไตรมาสที่ 1 นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 1/2563 วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2563 วาระที่ 4.1 (2.1-4(3)) 

ปีงบประมาณ 2563 ไตรมาสที่ 2 นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 2/2563 วันอังคารที่ 2 มิถุนายน 2563 วาระที่ 4.4 (2.1-4(4)) 

เพื่อให้ทราบถึงความเคลื่อนไหวของการใช้จ่ายงบประมาณ และสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงของหน่วยงานได้

5มีการนำข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง

คณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี นำข้อมูลตามรายงานทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง (2.1-5(1)) 
(2.1-5(2)) (2.1-5(3)) (2.1-5(4)) เพื่อพยากรณ์รายจ่ายของสำนักในอนาคต

6มีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit committee) ภายในและภายนอก ทำหน้าที่ตรวจ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกาหนด

มีหน่วยงานตรวจสอบภายในและภายนอก ทำหน้าที่ตรวจสอบติดตามการใช้จ่ายเงิน
ให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด (2.1-6(1)) (2.1-6(2)) (2.1-6(3)) (2.1-6(4)) (2.1-6(5))

7ผู้บริหารระดับสูงมีการติดตามผลการใช้เงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย และนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจ

ผู้บริหารระดับสูงมีการติดตามผลการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย และนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจ (2.1-7(1)) เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำคำของบประมาณปีถัดไป

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 5