✓ | 1 | มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2565 (5.3-1(1)) และได้ดำเนินงานตามนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาจากหน่วยมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (5.3-1(2))
ระบบการควบคุมคุณภาพ
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะฯ (5.3-1(3)) โดยมีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบ ในการกำกับติดตามการดำเนินด้านประกันคุณภาพตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ตามปฏิทินการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ประกอบด้วยกิจกรรมด้านการควบคุมคุณภาพ การติดตามการดำเนินงาน และการประเมินคุณภาพ (5.3-1(4)),(5.3-1(5))
ทั้งนี้วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพให้มีประสิทธิภาพ และให้คณาจารย์รวมถึงบุคลากรวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองถือเป็นแนวปฏิบัติให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน นอกจากนี้ยังได้มีการจัดโครงการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2565 เพื่อให้บุคลากรได้เรียนรู้และเข้าใจระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรและระดับคณะ อีกทั้งการประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-based Education) และการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรตามหลักการของ (Outcome-based Education : OBE) และโครงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ทราบถึงบทบาทของตนเองเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา และการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการพัฒนาทักษะความรู้ให้กับนักศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรได้ตระหนักรู้ในเกณฑ์มาตรฐานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ ซึ่งจะได้นำมาสู่กระบวนการจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับหลักสูตร อีกทั้งเพื่อให้ผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากร มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา และนำไปสู่กระบวนการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพระดับสาขาวิชาตามนโยบายที่ชัดเจนในด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถาบัน และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (5.3-1(6))
ระบบตรวจสอบคุณภาพ
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดทำแผนงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2565 โดยมีคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทำหน้าที่ในการตรวจสอบการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามแผน และแนวปฏิบัติด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (5.3-1(7))
ระบบประเมินคุณภาพ
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้จัดทำแต่งตั้งคำสั่งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร เพื่อรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2565 ซึ่งผลจากการประเมินทั้ง 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต พบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานในองค์ประกอบที่ 1 ทุกหลักสูตร และมีผลการดำเนินงานองค์ประกอบที่ 2 - 6 ในภาพรวม
ระดับคุณภาพ “ ดี” โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (5.3-1(8)),(5.3-1(9))
หลักสูตร
|
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา
|
องค์ประกอบที่ 1
|
องค์ประกอบที่ 2 - 6
|
1. รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
|
ผ่าน
|
4.06
|
2. รัฐศาสตรบัณฑิต
|
ผ่าน
|
3.92
|
3. นิติศาสตรบัณฑิต
|
ผ่าน
|
3.68
|
รวม
|
ผ่าน
|
3.89
|
| |
✓ | 2 | มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง และได้มีการดำเนินงาน กำกับติดตามและสรุปผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ดังนี้
1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษา วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2565 (5.3-2(1))
2. มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานตามวาระที่กำหนด เพื่อวางแผน ติดตามการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (5.3 - 2(2))
3. มีการรายงานผลการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2565ต่อคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2566 (5.3-3(3))
| |
✓ | 3 | มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการจัดสรรงบประมาณดำเนินการ สำหรับการบริหารจัดการเพื่อจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้กับทุกหลักสูตร และพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษาของทุกหลักสูตร ตามแผนงบประมาณดำเนินงานแต่ละหลักสูตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (5.3-3(1))
ซึ่งวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้มีการจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการการประกันคุณภาพการศึกษาในการจัดทำรายงานผลการจัดทำคู่มือ การจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการประกันคุณภาพการศึกษา อีกทั้งการสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ เพื่อใช้ในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรและระดับคณะโดยแยกเป็น
1. งบประมาณสำหรับบุคลากร คือ มีงบประมาณสนับสนุนในการให้บุคลากรในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้เข้ารับการพัฒนาศักยภาพตามพันธกิจต่างๆ
2. งบประมาณสำหรับสิ่งสนับสนุนจัดสรรไว้เพื่อให้แต่ละสาขาวิชาได้จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือ ห้องปฏิบัติการต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ เช่น งบประมาณจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการเรียนการสอนให้เพียงพอ การจัดซื้อครุภัณฑ์ในห้องประชุมเพื่อให้คณาจารย์ นักศึกษาใช้ในการเรียนการสอน มีห้อง co learning space สำหรับนักศึกษา มีห้องให้คำปรึกษางานวิจัย ศูนย์บริการวิชาการเด็กและเยาวชน จังหวัดศรีสะเกษ (5.3-3(2))
นอกเหนือจากการจัดสรรงบประมาณยังได้จัดสรรพื้นที่ในการทำห้องสมุด ห้องปฏิบัติการเฉพาะสาขาวิชา เช่น ห้องสมุดนิติศาสตร์ ห้องศาลจำลองสาขานิติศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาได้หาความรู้เพิ่มเติมในศาสตร์นั้นๆ (5.3-3(3)), (5.3-3(4))
| |
✓ | 4 | มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมิน ให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการแต่งตั้งคำสั่งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2565 (5.3-4(1)) เพื่อรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรตามปฏิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 (5.3-4(2)) และได้มีการรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาต่อคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566 วันที่ 17 กรกฎาคม 2566
เพื่อพิจารณาและให้ข้อเสนอแนะ เพื่อนำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้เกิดคุณภาพในปีการศึกษา 2566 ต่อไป (5.3-4(3)), (5.3-4(4))
| |
✓ | 5 | นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง | จากการรายงานผลการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2564 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยฯ นั้น ได้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ที่ 4.2 คุณภาพการอาจารย์ที่หลักสูตรควรมีการส่งเสริมคุณภาพอาจารย์ในหลักสูตรเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย/ผลงานวิชาการ รวมทั้งด้านการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของอาจารย์ด้านการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ นั้น ส่งผลให้ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีผลการดำเนินการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรประจำปีการศึกษา 2564 ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 คุณภาพอาจารย์ที่ดีขึ้น ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน และมีผลการดำเนินงานในภาพรวมมีระดับคุณภาพ “ ดี” ทุกหลักสูตร
ซึ่งได้มีการสรุปเปรียบเทียบคะแนนการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2563 – 2565 ดังนี้ (5.3-5(1))
หลักสูตร
|
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา
|
2563
|
2564
|
2565
|
1. รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
|
3.97
|
4.06
|
4.06
|
2. รัฐศาสตรบัณฑิต
|
3.87
|
3.85
|
3.92
|
3. นิติศาสตรบัณฑิต
|
3.46
|
3.58
|
3.68
|
รวม
|
3.77
|
3.94
|
3.89
|
ผลการดำเนินงาน
- ปีการศึกษา 2563 ผลการประเมิน 3.77
- ปีการศึกษา 2564 ผลการประเมิน 3.94
- ปีการศึกษา 2565 ผลการประเมิน 3.89
อย่างไรก็ตามจากการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของหลักสูตร ปีการศึกษา 2563– 2565 พบว่าผลการดำเนินงานของทุกหลักสูตรมีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาได้มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้การประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (5.3-5(2)),(5.3-5(3))
| |
✓ | 6 | มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน | ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้รับการประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร จำนวน 3 หลักสูตร พบว่าหลักสูตรผ่านเกณฑ์มาตรฐานมีผลการดำเนินงานในภาพรวม มีระดับคุณภาพ “ ดี” โดยมีผลการประเมินดังนี้ (5.3-6(1))
หลักสูตร
|
ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา
|
องค์ประกอบที่ 1
|
องค์ประกอบที่ 2 - 6
|
1. รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต
|
ผ่าน
|
4.06
|
2. รัฐศาสตรบัณฑิต
|
ผ่าน
|
3.92
|
3. นิติศาสตรบัณฑิต
|
ผ่าน
|
3.68
|
รวม
|
ผ่าน
|
3.89
|
| |