ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ 
กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะ

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปรารถนา มะลิไทย , วิลาสินี รัตนวรรณ , สุเทวี คงคูณ , วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

คณะมีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธงานตามกิจหลัก แต่ละคณะจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยงและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใสและตรวจสอบได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ และมหาวิทยาลัย รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ (เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย)
2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง
4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัด (ให้แสดงผลการดำเนินงานในปีที่ประเมิน)
5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง
6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของคณะและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะ และมหาวิทยาลัย รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของคณะและและพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลาเพื่อให้บรรลุผลตามตัวบ่งชี้และเป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาอนุมัติ (เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย)

         วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดทำแผนกลยุทธ์ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) (5.2-1(1)) ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งได้มีกระบวนการในการดำเนินงาน ดังนี้

        1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ เพื่อทำหน้าที่ในการทบทวนจัดทำแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์และนโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (5.2-1(2))

         2. คณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ ได้มีการประชุมเพื่อทบทวน วางแผน เพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ ภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ และบุคลากรวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ในการร่วมกับวิเคราะห์ SWOT ที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ นโยบายของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จากนั้นได้มีการนำแผนกลยุทธ์เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

         3. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน (5.2-1(3)) เพื่อทำหน้าที่ในการดำเนินการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง นอกจากนี้ยังได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (5.2-1(4)) เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (5.2-1(5)) ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง และแผนกลยุทธ์ทางการเงิน โดยได้มีการจำแนกตามโครงการ/กิจกรรม เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครั้งที่ 11/2565 วาระที่ 4.12 (5.2-1(6)) , ครั้งที่ 1/2566 วาระที่ 4.4 (5.2-1(7)) และกรรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 4/2565 วาระที่ 4.3(5.1-1(8))  , ครั้งที่ 1/2566 วาาระที่ 4.8 (5.1-1(9)) และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566

2 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

   วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอน เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

             ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2565 ผลการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตรที่พิจารณาจากจำนวนนักศึกษา
ณ จุดคุ้มทุน พบว่ามีหลักสูตรสาขาวิชาต่าง ๆ ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จำนวน 3 หลักสูตร มีความคุ้มค่าในการผลิตบัณฑิตแต่วิทยาลัยฯ ยังต้องมีกระบวนการผลิตบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีจํานวนนักศึกษาที่ไม่บรรลุตามเป้าหมายแผนการรับนักศึกษาส่งผลให้หลักสูตรต้องมีการจัดโครงการบริการวิชาการเพื่อแนะแนวการศึกษาต่อให้กับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดใกล้เคียง  นอกจากนี้แต่ละหลักสูตรยังได้มุ่งเน้นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรผ่านช่องทางออนไลน์เพื่อให้เข้าถึงของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น  (5.1-2-1))

3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของคณะและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมอย่างน้อย 1 เรื่อง

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ดังนี้

     1. แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อทำหน้าที่ในการกำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล และปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (5.2-3(1))    

     2. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ได้มีการประชุมครั้งที่ 1/2566 วันที่ 3 มกราคม 2566 (5.2-3(2)) เพื่อเลือกประเด็นความเสี่ยง  และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (5.2-3(3)) และแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านความเสี่ยง (5.2-3(4))  และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครั้งที่ 1/2566 วาระที่ 4.10 วันที่ 4 มกราคม 2566 (5.2-3(5)) ซึ่งแผนบริหารความเสี่ยงได้มีวิเคราะห์ และแสดงลำดับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง และสูงมากเพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง และวิเคราะห์ความเสี่ยง โดยได้มีการรวบรวมข้อมูลปัจจัยด้านความเสี่ยงจากหลักสูตร เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์หาความเสี่ยงในระดับคณะ ผลการวิเคราะห์และจัดลำดับความเสี่ยงโดยพิจารณาจากการประเมินโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง และความรุนแรงของผลกระทบจากเหตุการณ์ความเสี่ยง โดยอาศัยเกณฑ์มาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ ทำให้การตัดสินใจจัดการกับความเสี่ยงเป็นไปอย่างเหมาะสม
       ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการวิเคราะห์มีปัจจัยเสี่ยงภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ สูง และสูงมาก ได้จัดลำดับความเสี่ยง ดังนี้

  1. ภาวะการมีงานทำของบัณฑิตจบใหม่
    ปัจจัยภายนอก  การมีงานทำของบัณฑิตจบใหม่
    ปัจจัยภายใน  การติดตามภาวะการมีงานทำจากบัณฑิตจบใหม่
  2. บุคลากร และนักศึกษาขาดทักษะการป้องกันตัวในเหตุการณ์ฉุกเฉิน ภายในอาคารเรียน
    ปัจจัยภายนอก  บุคลากร และนักศึกษาเรียนรู้ทักษะการป้องกันตัวในเหตุการณ์ฉุกเฉิน ภายในอาคารเรียน จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ
    ปัจจัยภายใน  บุคลากร และนักศึกษาขาดทักษะการป้องกันตัวในเหตุการณ์ฉุกเฉิน ภายในอาคารเรียน
  3. การจัดการและเผยแพร่งานวิจัยอย่างเป็นระบบ
    ปัจจัยภายนอก  การเผยแพร่งานวิจัยสู่ภายนอก
    ปัจจัยภายใน  การจัดการงานวิจัยอย่างเป็นระบบ

    3. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการนำแผนบริหารความเสี่ยงเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะเพื่อรับทราบ ในคราวประชุมครั้งที่ ครั้งที่ 1/2566 วันที่ 20 มกราคม 2566 วาระที่ 4.9 (5.2-3(6))

   4. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อลดความเสี่ยง โดยเฉพาะปัจจัยภายนอกหรือปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมไม่ได้ 4 ปัจจัย 4 ประเด็นดังนี้

4.1 ภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิตจบใหม่
1) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีระบบจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิต เพื่อให้บัณฑิตกรอกข้อมูลภาวะการมีงานทำ และรายละเอียดสถานที่ทำงาน เพื่อได้ทราบข้อมูล กำกับติดตามข้อมูลว่าบัณฑิตที่จบการศึกษาไปแล้ว
มีสถานที่ทำงานที่ใดบ้าง

2) คณาจารย์วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้แจ้งและประชาสัมพันธ์ให้บัณฑิตกรอกข้อมูลในระบบจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิต
3) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง กำกับติดตามข้อมูลที่บัณฑิตกรอกข้อมูลในระบบจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิตให้ครบถ้วน

4.2 บุคลากร และนักศึกษาขาดทักษะการป้องกันตัวในเหตุการณ์ฉุกเฉิน ภายในอาคารเรียน
1) วิทยาลัยกฎหมายมีการจัดอบรมปฏิบัติการ ทักษะการป้องกันตัวในเหตุการณ์ฉุกเฉิน ภายในอาคารเรียน จากฝ่ายรักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัย
2) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการจัดทำคู่มือ ป้ายประกาศ คำเตือน วิธีการ และคำแนะนำในการแก้ไขสถานการฉุกเฉินภายในอาคาร
3) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการตรวจสอบ การชำรุดในอาคาร ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา ระบบลิฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

4.3 การจัดการและเผยแพร่งานวิจัยอย่างเป็นระบบ
1) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารงานวารสารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อวางแผนการจัดทำระบบสำหรับการบริหารงานวารสารเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และวางแผนการจัดทำวารสารวิชา บทความวิจัยในรูปแบบออนไลน์
2) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีการกำหนดโครงการบริหารงานวารสาร ในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566
3) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีการกำหนดโครงการบริหารงานวิจัย ในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566

     5. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการประเมินความสำเร็จของแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลต่อคณะกรรมการประจำคณะ (5.2-3(7)), (5.2-3(8)) พบการดำเนินงานพบว่า

1) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีระบบจัดเก็บข้อมูลภาวการณ์มีงานทำของบัณฑิตจบใหม่เพื่อให้บัณฑิตกรอกข้อมูลภาวะการมีงานทำ และรายละเอียดสถานที่ทำงาน เพื่อได้ทราบข้อมูล กำกับติดตามข้อมูลว่าบัณฑิตที่จบการศึกษาไปแล้ว มีสถานที่ทำงานที่ใดบ้าง  ด้วยคณาจารย์วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้แจ้งและประชาสัมพันธ์ให้บัณฑิตกรอกข้อมูลในระบบจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิต มีการกำกับติดตามข้อมูลที่บัณฑิตกรอกข้อมูลในระบบจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำของบัณฑิตให้ครบถ้วน บัณฑิตมีงานทำเท่ากับ 132 คนซึ่งตัวชี้วัดความสำเร็จบริหารความเสี่ยง จำนวนภาวะการมีงานทำของบัณฑิตจบใหม่ ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 วิทยาลัยกฎหมาย บัณฑิตเท่ากับ 173 คน บัณฑิตมีงานทำเท่ากับ 132 คน คิดเป็นร้อยละ 76.30  ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัด และมีความเสี่ยงลดลง

2) นักศึกษา คณาจารย์วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีทักษะการป้องกันตัวในเหตุการณ์ฉุกเฉิน ภายในอาคารเรียน จากฝ่ายรักษาความปลอดภัยของมหาวิทยาลัย มีการจัดทำคู่มือ ป้ายประกาศ คำเตือน วิธีการ และคำแนะนำในการแก้ไขสถานการฉุกเฉินภายในอาคาร และมีการตรวจสอบ การชำรุดในอาคาร ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา ระบบลิฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ส่งผลให้เกิดความเสียหายน้อยลง

3) วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารงานวารสารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อวางแผนการจัดทำระบบสำหรับการบริหารงานวารสารเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และวางแผนการจัดทำวารสารวิชา บทความวิจัยในรูปแบบออนไลน์ มีการกำหนดโครงการบริหารงานวารสาร ในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 และการกำหนดโครงการบริหารงานวิจัย ในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ 2566 อยู่ในระหว่างดำเนินการเพื่อเข้าสู่ฐานข้อมูล ThaiJo

ปัจจัยความเสี่ยง

ระดับความเสี่ยงก่อนการจัดการ

ระดับความเสี่ยงคงเหลือ

สถานะความเสี่ยง

มาตรการจัดการความเสี่ยง

ปัญหาอุปสรรค

กิจกรรม
ที่วิเคราะห์

ผู้รับ

ผิดชอบ

คะแนน

ระดับ

คะแนน

ระดับ

1. ภาวะการมีงานทำของบัณฑิตจบใหม่มีจำนวนน้อย

 

20

 

สูง

 

16

 

สูง

 

-แจ้งประชาสัมพันธ์ให้บัณฑิตกรอกแบบสอบถามจากระบบในระยะเวลาที่กำหนด

- มีการกำกับติดตามข้อมูลเพื่อให้ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด

บัณฑิตไม่เข้าใจในข้อคำถามในแบบสอบถามที่ให้กรอกข้อมูล

การกรอกข้อมูลแบบสอบถามจากบัณฑิต

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

2. บุคลากรและนักศึกษาขาดทักษะการป้องกันตัวในเหตุการณ์ฉุกเฉิน ภายในตัวอาคาร

 

25

 

สูง

 

20

 

สูง

 

 

 

 

-จัดอบรมปฏิบัติการทักษะการป้องกันตัวในเหตุการณ์ฉุกเฉิน

- จัดทำป้ายประกาศ คำเตือน วิธีการ แนะคำแนะนำ

- จัดการตรวจสอบ การชำรุดในอาคาร ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปา ระบบลิฟต์ อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง

อาคารมีอายุการใช้งานนาน 20 ปี

 

 

เกิดอุทกภัยน้ำท่วมทะลักเข้ามาในตัวอาคาร

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

3. การจัดการและเผยแพร่งานวิจัยขาดความเป็นระบบ

 

 

 

15

 

สูง

 

10

 

ปานกลาง

 

 

-แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานวารสาร

-จัดประชุมในการวางแผนการจัดทำวารสาร

-กำหนดโครงการบริหารงานวารสารในแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ 2566

- ส่งบุคลากรเข้าอบรมเข้าสู่ฐานข้อมูลที่ได้รับการยอมรับ(ThaiJo)

ระยะเวลาในการดำเนินการในแต่ละขั้นตอนของระบบ 

ThaiJo

การเข้าร่วมอบรมของบุคลากรเพื่อเตรียมเข้าสู่ระบบThaiJo

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

       รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มติที่ประชุมเห็นชอบผลการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงของวิทยาลัยฯ และได้ให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงต่อไป (5.2-3(9)), (5.2-3(10))

4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัด (ให้แสดงผลการดำเนินงานในปีที่ประเมิน)

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ยึดมั่นในการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลในการบริหารในองค์กร

โดยมีการดำเนินงานตามด้านต่างๆ ดังนี้

หลักธรรมาภิบาล 10 ประการ

การดำเนินงาน

1.หลักประสิทธิผล  (Effectiveness)     

 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง สามารถดำเนินโครงการครบตามพันธกิจ มีการบริหารจัดการงบประมาณและทรัพยากรที่มีได้อย่างคุ้มค่า โดยดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายของแผนปฏิบัติราชการ มีกระบวนการปฏิบัติงาน ติดตาม ประเมินผลและพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ผ่านการรายงานผลการดำเนินงานผ่านที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย

2.หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)

 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามพันธกิจ โดยการบริหารจัดการที่เหมาะสมให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรด้านต้นทุน แรงงานและระยะเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการปฏิบัติงานตามพันธกิจเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม โดยได้ดำเนินงานตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยอยู่ภายใต้การกำกับติดตามประเมินผลของคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยฯ

3.หลักการตอบสนองResponsiveness

 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้บริหารงานตามพันธกิจที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับบริการ เช่น การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ประเมินความพึงพอใจของสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา การทวนสอบวัดผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา การบริการวิชาการ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ โดยในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ร่วมลงนามความร่วมมือกับโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อตอบสนองความต้องการในการให้ความรู้ทางวิชาการและแนะแนวทางการศึกษาต่อของโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

4.หลักภาระรับผิดชอบ Accountability

 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ตระหนักถึงภาระความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามพันธกิจเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมีการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจ ดังนี้ ด้านบริการวิชาการ ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านพัฒนานักศึกษา

5.หลักความโปร่งใส  (Transparency)

 

 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการชี้แจงในการจัดสรรงบประมาณให้กับสาขาวิชาและหน่วยงานในกำกับอย่างชัดเจน โดยเปิดโอกาสให้ทุกหน่วยงานได้แสดงความคิดเห็น มีการรายงานผลการดำเนินงานให้ที่ประชุมกรรมการบริหารวิทยาลัย กรรมการประจำวิทยาลัยรับทราบและให้ข้อเสนอแนะ เพื่อนำไปปรับปรุงในการดำเนินงานต่อไป ชี้แจงเป้าหมาย กิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องดำเนินการอย่างชัดเจน

6.หลักการมีส่วนร่วม (Participation)

 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้เปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยงานมีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงาน โดยผ่านที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย ในการพิจารณาวางแผน เห็นชอบ ติดตามและทบทวนการดำเนินงานต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

7.หลักการกระจายอำนาจ Decentralization

 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้กระจายอำนาจในการบริหารจัดการ โดยผ่านรองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี ประธานสาขาวิชา ตามภารกิจที่รับผิดชอบ เช่น ด้านวิชาการ ด้านวิจัย ด้านงานประกันคุณภาพ ด้านบริการวิชาการ ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยให้อิสระในการดำเนินงานที่เห็นควรตามความเหมาะสม

8.หลักนิติธรรม  (Rule of Law)

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้นำแนวปฏิบัติ ข้อบังคับ กฎ ระเบียบ ประกาศต่างๆ ของมหาวิทยาลัย เป็นแนวทางในการบริหารงาน ตามอำนาจที่ได้รับมอบหมายจากอธิการบดี คำนึงถึงความถูกต้องเป็นหลัก

9.หลักความเสมอภาค (Equity)

 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง บริหารงานด้วยความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน ไม่แบ่งแยกด้วยตำแหน่ง ให้ความเสมอภาคกับทุกคนในการรับฟังข้อปัญหา หรือให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ

10.หลักมุ่งเน้นฉันทามติ Consensus Oriented)

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ดำเนินงานโดยยึดหลักฉันทามติของที่ประชุม ทั้งการประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย คณะกรรมการประจำวิทยาลัย การประชุมสามัญของคณะ ในทุกประเด็นที่ได้ขอความพิจารณาร่วมกัน  หากมีการเปลี่ยนแปลงด้วยข้อจำกัดของกฎ ระเบียบของมหาวิทยาลัยที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จะมีการชี้แจงให้รับทราบทุกครั้ง

 

5 ค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีจากความรู้ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคล ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง และแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ตามประเด็นความรู้ อย่างน้อยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย จัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรและนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดการความรู้ที่อยู่ภายใต้การบริหารและดำเนินงาน โดยคณะกรรมการการจัดการความรู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง (5.2-5(1)) มีการประชุมเพื่อกำหนดประเด็นกระบวนการจัดการความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ครอบคลุมพันธกิจ 2 ด้าน (5.2-5(2)) คือ

            1) ด้านการวิจัย  

            2) ด้านการผลิตบัณฑิต

     ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการจัดการความรู้ ที่ครอบคลุมพันธกิจทั้ง 2 ด้าน ซึ่งผลการดำเนินงานวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้แนวปฏิบัติที่ดี และมีการเผยแพร่ผ่านการประชุมเพื่อให้บุคลากรนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อพัฒนาการเขียนบทความวิจัย และการพัฒนาคุณภาพตำรา จากผลการดำเนินงานในปีการศึกษา 2564 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการนำแนวปฏิบัติที่ดีมาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และมีการปรับปรุง ซึ่งในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัยอย่างชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กำหนด โดยใช้ผลจากการสำรวจการพัฒนาบุคลากร ในประเด็นความสนใจในการพัฒนาความรู้ 2 ด้าน ดังปรากฏในแผนการจัดการความรู้ ทั้ง 2 ด้านได้แก่

     ประเด็นที่ 1 กลุ่มเป้าหมายที่จะนำบทความวิจัยไปตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับชาติที่มีชื่อยู่ในศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยที่มีชื่ออยู่กลุ่มที่ 2

     ประเด็นที่ 2 กลุ่มเป้าหมายที่สนใจการพัฒนาตำราเพื่อนำไปใช้ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการและการขอรับเงินค่าตอบแทนเทียบเท่าเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการ

    วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด โดยได้การดำเนินการในลักษณะการพบปะพูดคุยแบบการประชุมกลุ่มย่อยภายในกลุ่มเป้าหมาย โดยทุกครั้งที่มีการพบปะพูดคุยในลักษณะการประชุมกลุ่มย่อย จะมีการบันทึกการประชุม และหลังจากนั้นจะมีการมอบหมายหน้าที่ให้บุคลากรในกลุ่มผู้สังเคราะห์ความรู้
นำสิ่งที่ได้จากการประชุมในแต่ละครั้งทำหน้าที่ถอดชุดความรู้ที่ได้จากการประชุมออกมาเป็นเอกสารสรุปความรู้ และเผยแพร่ระหว่างกันทุกครั้ง ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างตัวบุคลากรภายในกลุ่มตลอดเวลา รวมทั้งทางเว็บไซต์ และเครือข่ายสังคมออนไลน์ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง    

     วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการรวบรวมความรู้จากผู้มีประสบการณ์ตรงและกลุ่มเป้าหมายตามประเด็นความรู้ แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ โดยคณะกรรมการจัดการความรู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งการรวบรวมนั้นรวบรวมทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี แล้วนำมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ พร้อมมีการเผยแพร่ภายในแนวปฏิบัติที่ดีการทำเอกสารประกอบการสอน และแนวปฏิบัติที่ดีการทำวิจัย และเผยแพร่ผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ (5.2-5(3))

     วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

ผลจากการการจัดการความรู้ทั้ง 2 ประเด็น สรุปได้ดังนี้

ด้านการผลิตบัณฑิต ประเด็นการพัฒนาคุณภาพตำรา และเอกสารประกอบการสอน (5.2-5(4))

การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ผลที่เกิดขึ้นจากการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

1. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
ได้เผยแพร่แนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาคุณภาพตำราและเอกสารประกอบการสอนให้กับอาจารย์ในคณะ

 

2. อาจารย์ในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปใช้พัฒนาการเขียนตำราและเอกสารประกอบการสอน และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม

    อาจารย์ในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จำนวน 4 คน ได้นำแนวปฏิบัติการพัฒนาคุณภาพตำรา และเอกสารประกอบการสอนไปใช้ โดยแบ่งเป็น

     1. นำไปใช้เพื่อขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 1 คน คือ

ชื่อ - สกุล

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

ผศ.ประเสริฐ บัวจันอัฐ

ตำรา เรื่อง การปกครองท้องถิ่นไทย (ฉบับปรับปรุงแก้ไขครั้งที่ 1)

 

      2.นำไปใช้เพื่อขอรับเงินค่าตอบแทนเทียบเท่าเงินประจำตำแหน่งทางวิชาการ จำนวน 3 คน คือ

ชื่อ - สกุล

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน

1.รศ.ดร.ภัควัฒน์ จรรยาสุทธิวงศ์

ตำรา เรื่อง นิติปรัชญา

2.ผศ.ทรณ์ สิทธิศักดิ์

ตำรา เรื่อง กฎหมายลักษณะทรัพย์สิน

3.ผศ.พิมพ์ลภัส สุขคุ้ม

ตำรา เรื่อง คำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิด จัดการงานนอกสั่ง ลาภมิควรได้

 

ด้านการวิจัย ประเด็น เทคนิคการจัดการและการเผยแพร่บทความวิจัยอย่างเป็นระบบ (5.2-5(5))

การนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

ผลที่เกิดขึ้นจากการนำองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์

1.วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้เผยแพร่แนวปฏิบัติเทคนิคการจัดการและการเผยแพร่บทความวิจัยอย่างเป็นระบบ

 

2. อาจารย์ในวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้นำไปใช้ประโยชน์เพื่อเป็นแนวทางในนำเทคนิคการจัดการและการเผยแพร่บทความวิจัยอย่างเป็นระบบไปใช้เพื่อตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ

1. มีบทความที่ได้รับการตอบรับ และเผยแพร่ฉบับสมบูรณ์ ในวารสาร เสนอในวารสารวิชาการระดับชาติที่มีชื่อยู่ในศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทยที่มีชื่ออยู่กลุ่มที่ 2 จำนวน 2 คน 4 บทความคือ

   - ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ธัญวรัตน์ แจ่มใส
   - อาจารย์กิตติชัย ขันทอง

ชื่อ - สกุล

ชื่อผลงาน

วารสาร

ผศ.ประเสริฐ บัวจันอัฐ

รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์การบริหารส่วนตำบลปะอาว อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

วารสารการบริหารปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น: ปีที่7 ฉบับที่ 1 (2566). (TCI2 )

อ.กิตติชัย ขันทอง

การนำนโยบายสภาเด็กและเยาวชนตำบลไปสู่การปฏิบัติ:กรณีศึกษาสภาเด็กและเยาวชนตำบลดวนใหญ่ อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ

วารสารรัฐศาสตร์พิจาร: ปีที่9 ฉบับที่ 17 (2565). (TCI1 )

 

 

6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

       วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้จัดทำแผนการบริหารและการพัฒนาบุคลากรวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองซึ่งรวมทั้งบุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุน โดยได้มีการสำรวจข้อมูลจากบุคลากรในหลักสูตร
และบุคลากรสำนักงานคณบดี ซึ่งมีการนำข้อมูลของบุคลากร เช่น จำนวนบุคลากรทั้งหมด คุณวุฒิ ตำแหน่งทางวิชาการ
เพื่อนำมามาวิเคราะห์และจัดทำเป็นแผนบริหารและพัฒนาบุคลากร โดยนำไปสู่กระบวนการพัฒนา 3 ด้านคือแผนบริหารกำลังคน แผนพัฒนาความก้าวหน้าบุคลากรและแผนพัฒนาสมรรถนะบุคลากร (5.2-6(1))

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการบริหารส่งเสริมการพัฒนาและติดตามผลดำเนินงานตามแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร เพื่อให้เป็นไปตามแผนการสำรวจความต้องการในการพัฒนาตนเองทั้งการพัฒนาทักษะด้านความรู้ การศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น และมีการกำกับติดตามการศึกษาต่อ

ในปีการศึกษา 2565วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีบุคลากรสายวิชาการที่ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก
จำนวน 4 คน ดังนี้

ชื่อ - สกุล

สาขาวิชา

สถานะการเรียน

1.อ.สุรศักดิ์ จันทา

รด.รัฐศาสตร์

ศึกษายังไม่ครบตามหลักสูตร อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล

2. ว่าที่ ร.อ.ธัญยธรณ์ พิพัฒนมงคลชัย

ปรด. นิติศาสตร์

ศึกษายังไม่ครบตามหลักสูตร อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล

3. รศ.วรเดช ภาวัตเวคคิน

นด.นิติศาสตร์

อยู่ระหว่างรอสภามหาวิทยาลัยอนุมัติการสำเร็จการศึกษา

3. ผศ.ปรารถนา มะลิไทย

ปรด. รัฐประศาสนศาสตร์

ศึกษายังไม่ครบตามหลักสูตร อยู่ระหว่างการเก็บข้อมูล

4. อ.กิตติชัย ขันทอง

ปรด.รัฐศาสตร์

อยู่ระหว่างการเรียน

นอกจากนี้มีบุคลากรที่ขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการจำนวน 2 คน โดยแยกเป็นการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
รองศาสตราจารย์ จำนวน 1 คน ท่าน และขอกำหนดทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย จำนวน 1 คน แ

ชื่อ - สกุล

สาขาวิชา

ตำแหน่งทางวิชาการ

1. ผศ.ดร.ประจวบ จันทร์หมื่น

รัฐประศาสนศาสตร์

รองศาสตราจารย์

2. อ.กิตติชัย  ขันทอง

รัฐศาสตร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์

 

        ในส่วนของบุคลากรสายสนับสนุน วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นตามประกาศของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่องเกี่ยวกับการประเมินค่างานเพื่อกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีเจ้าหน้าที่ที่มีคุณสมบัติตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด 1 คน คือ นางอัจฉรา จันเทพา ได้เข้าร่วมการอบรมการเขียนคู่มือการประเมินค่างานเพื่อใช้ในการขอประเมินเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น

        วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาบุคลกรทั้งวิชาการและสายสนับสนุน ซึ่งได้มีการจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาตนเองในอัตรา 5,000 บาท/คน/งบประมาณ และได้มีการสนับสนุนให้บุคลากรเข้าร่วมโครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาศักยภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรแต่ละสายงาน ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นการเพิ่มพูนทักษะทั้งด้านความรู้ และมีการติดตามให้มีการนำความรู้และทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน การวัดผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ตลอดจนการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยวิทยาลัยได้จัดทำเป็นรายงานผลการพัฒนาศักยภาพตนเองรายบุคคลต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

        ทั้งนี้วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้มีการดำเนินการเพื่อติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร ผ่านที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง และได้ดำเนินการติดตามผลปีละ1ครั้งและนำผลการประเมินมาพัฒนาและปรับปรุงแผนการดำเนินงานให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไป (5.2-6(2))

7 ดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมและสอดคล้องกับพันธกิจและพัฒนาการของคณะที่ได้ปรับให้การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารงานคณะตามปกติที่ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

      วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีระบบกลไกการติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรของคณะ
โดยดำเนินการตามมาตรฐานการประกันคุณภาพในทุกองค์ประกอบตามมาตรฐานการประกันคุณภาพของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และมหาวิทยาลัยกลุ่มราชภัฏ โดยเน้นระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่ก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

            1. การแต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2565 (5.2-7(1))

            2. กำหนดกรอบการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2565 ที่ประกอบด้วยแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพระดับหลักสูตรและระดับคณะ พร้อมด้วยระบบกลไกต่างๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานการประกันคุณภาพให้สำเร็จลุล่วงและเกิดประสิทธิภาพทั้งในระดับหลักสูตรและระดับคณะ (5.2-7(2))

            3. การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง (Improvement Plan) โดยนำผลการประเมินคุณภาพจากวงรอบปีการศึกษา 2564 มาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนางานในด้านต่างๆ ให้ครอบคลุมภาระงานด้านการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรและระดับคณะ และขับเคลื่อนงานให้เป็นไปตามปฏิทินการดำเนินงานที่วางไว้ (5.2-7(3))

            4. ได้มีการส่งเสริมคณาจารย์เข้าร่วมการอบรมเกี่ยวกับการประกันคุณภาพระดับหลักสูตร โดยการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับบุคลากร และนักศึกษาดังนี้ (5.2-7(4))

  • โครงการพัฒนาสมรรถนะด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2565 เพื่อให้บุคลากรได้เรียนรู้และเข้าใจระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตรและระดับคณะ อีกทั้งการประเด็นเกี่ยวกับแนวคิดและหลักการการศึกษาที่เน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ (Outcome-based Education) และการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรตามหลักการของ (Outcome-based Education : OBE)
  •  โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ทราบถึงบทบาทของตนเองเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา และการนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนการพัฒนาทักษะและความรู้เกี่ยวกับการเขียนโครงการพัฒนานักศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้

          5. ได้มีการส่งเสริมให้อาจารย์เข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนากระบวนการทำงานสู่ความเป็นเลิศและหลักสูตรการจัดทำโครงร่างองค์กร (organizational Profile : OP) และแผนพัฒนาคุณภาพ (Progress Report : PR) ในวันที่ 13-15 มีนาคม 2566 เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากรเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการทำงานสู่ความเป็นเลิศ และเพื่อการจัดทำโครงร่างองค์กร และแผนพัฒนาคุณภาพ เตรียมความพร้อมเข้าสู่การประเมินโดยใช้เกณฑ์ EdPEx เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในระยะต่างๆ อย่างต่อเนื่อง (5.2-7(5))

           6. คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษามีการประชุมคณะกรรมการงานประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อปรึกษาหารือ วางแผน ติดตามผลและสรุปผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

           7. คณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาได้กำกับ ติดตามการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง และรายงานต่อคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ติดตามการดำเนินงาน รวมถึงการได้รับข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนำมาบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ (5.2-7(6))

          8. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จัดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2565 ในทุกหลักสูตร จำนวนทั้งสิ้น 3 หลักสูตร โดยผลการประเมินจากคณะกรรมการดังนี้ (5.2-7(7))

หลักสูตร

ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา

2563

2564

2565

1. รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

3.97

4.06

4.06

2. รัฐศาสตรบัณฑ

3.87

3.85

3.92

3. นิติศาสตรบัณฑิต

3.46

3.58

3.68

รวม

3.77

3.94

3.89

 

ผลการดำเนินงาน

  • ปีการศึกษา 2563 ผลการประเมิน 3.77
  • ปีการศึกษา 2564 ผลการประเมิน 3.94
  • ปีการศึกษา 2565 ผลการประเมิน 3.89

 

     จากการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของหลักสูตร ปีการศึกษา 2563– 2565 พบว่าผลการดำเนินงานของทุกหลักสูตรมีแนวโน้มลดลง ซึ่งผลจากการที่กระบวนการรับนักศึกษาในองค์ประกอบที่ 3 ระดับหลักสูตรที่ไม่สามารถปรับแผนการรับนักศึกษาให้สอดคล้องกับสภาพการณ์เปลี่ยนแปลงของจำนวนนักศึกษาที่ลดลง ซึ่งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาได้มีการรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง เพื่อให้การประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น