ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปรารถนา มะลิไทย , สุเทวี คงคูณ , เอกลักษณ์ สุรวิทย์ , วรางคณา ปุ๋ยสูงเนิน , วิลาสินี รัตนวรรณ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยมีหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนแบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติและความต้องการที่หลากหลายของประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม  และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน สังคม สถานประกอบการ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 1 หมายถึง แผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน หลักสูตรจะต้องอธิบายถึงผลการดำเนินงานที่ดำเนินการในสถานประกอบการ
เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 4 หมายถึง การปรับปรุงแผนตามเกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 1

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด
3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด
4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

ในปีการศึกษา 2565วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีระบบและกลไกให้หลักสูตรจัดทำแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานดังต่อไปนี้

    1. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้รับเอาประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย มากำหนดแนวทางการพัฒนานักศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง  (5.1 -1(1))

    2. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพประจำปีการศึกษา 25655 (5.1-1(2)) เพื่อทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนและส่งเสริมการเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีความสามารถด้านการทำงาน

    3. วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง จัดทำระบบระบบและกลไกในการพัฒนาส่งเสริมและเตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีความสามารถด้านการทำงาน ระบบและกลไกในการพัฒนาส่งเสริมและเตรียมความพร้อม ให้นักศึกษามีความสามารถด้านการทำงาน (5.1-1(3))

2 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามที่กำหนด

            วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการกำกับ ติดตามดำเนินการเป็นไปตามแผนที่กำหนด ดังนี้

1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ระดับคณะประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อทบทวนระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ดังนี้

      1.1 รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ประจำปีการศึกษา 2565

      1.2 รับทราบกรอบปฏิทินการปฏิบัติการด้านงานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2565

      1.3 ทบทวนระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน เพื่อให้มีแนวปฏิบัติที่ดี

      1.4 แนวทางการจัดการความรู้ (Knowledge) พันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2565

 วิทยาลัยกฏหมายฯ มีการกำกับติดตามดำเนินการตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานอย่างต่อเนื่อง จนส่งผลให้ปีการศึกษา 2565 สาขามีการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน     จำนวน 3 หลักสูตร คิดเป็น 100 % 

ได้ให้หลักสูตรทุกหลักสูตรดำเนินการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาที่บูรณาการกับการทำงาน โดยกำหนดรายวิชาให้สอดคล้องกับการทำงานและสามารถนำไปปฏิบัติงานได้จริง (5.1-2(1)) (5.1-2(2)) (5.1-2(3)) (5.1-2(4)) (5.1-2(5)) (5.1-2(6))

ลำดับที่

หลักสูตร

รายละเอียดการบูรณาการหลักสูตร

การดำเนินงาน

1

รปบ. (รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต)

2553802:เตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพรัฐประศาสนศาสตร์

แนวทางการจัดการ                                                    ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพร่วมกับหลักสูตรดำเนินกิจกรรมดังนี้                                                         1. หลักสูตรจัดให้นักศึกษาเก็บชั่วโมงเตรียมฝึกจำนวน 30 ชั่วโมง โดยเก็บชั่วโมงจากหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย ตามแบบฟอร์มที่หลักสูตรกำหนด                                 2. เข้าร่วมอบรมการเสริมทักษะคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ งานสารบรรณ                                                     3. จองสถานที่ฝึกประสบการณ์ในระบบและแบบฟอร์มที่คณะกำหนด                                                          4. เข้าร่วมโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนออกฝึกประสบการณ์  และออกฝึกประสบการณ์จำนวน 600 ชั่วโมง คณะจัดอาจารย์นิเทศนักศึกษาให้นักศึกษารับทราบก่อนออกฝึกประสบการณ์                                              5.นำเสนอสรุปผลการฝึกประสบการณ์ในรูปแบบโปสเตอร์ของแต่ละหน่วยงานที่นักศึกษาออกฝึก เพื่อร่วมกันเสนอปัญหา และข้อเสนอแนะ รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน                                                             ผลที่เกิดกับนักศึกษา  1. นักศึกษามีความพร้อมทั้งทักษะความรู้ ทักษะวิชาชีพ  สามารถฝึกประสบการณ์ในหน่วยงานได้ครบตามกำหนดเวลาและสามารถทำงานในหน่วยงานได้ดีตามที่ได้รับมอบหมาย

2

รปบ. (รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต)

2553344 : การบริหารงานสำนักงาน
ภาครัฐ

3

รบ. (รัฐศาสตรบัณฑิต)

2553803:การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์

ฝึกประสบการณ์วิชาชีพทางรัฐศาสตร์

1. การฝึกทักษะการเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน การสร้างบุคลิกภาพ มารยาท และความประทับใจแรกในการทำงาน

2. เรียนรู้วิธีการใช้ Outlook, Onedrive และ Microsoft Teams บนเว็บบราวเซอร์ผ่านระบบออนไลน์ และได้ฝึกทักษะการใช้งาน Microsoft Office ในการจัดการงานเอกสาร การทำหนังสือราชการ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการทำงาน

3. การเก็บชั่วโมงเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา

4. การจัดการเรียนการสอนบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

5. การบรรยายเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการพูด รูปแบบการพูดในที่สาธารณะ 

แนวทางการจัดการ                                                    ศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพร่วมกับหลักสูตรดำเนินกิจกรรมดังนี้                                                 

  1. .  เข้าร่วมอบรมการเสริมทักษะคอมพิวเตอร์ ภาษาอังกฤษ งานสารบรรณ                                             

  2. จองสถานที่ฝึกประสบการณ์ในระบบและแบบฟอร์มที่คณะกำหนด                                                          3. เข้าร่วมโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนออกฝึกประสบการณ์  และออกฝึกประสบการณ์จำนวน 600 ชั่วโมง คณะจัดอาจารย์นิเทศนักศึกษาให้นักศึกษารับทราบก่อนออกฝึกประสบการณ์                             

4.นำเสนอสรุปผลการฝึกประสบการณ์ในรูปแบบโปสเตอร์ของแต่ละหน่วยงานที่นักศึกษาออกฝึก เพื่อร่วมกันเสนอปัญหา และข้อเสนอแนะ รวมถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน    

5. การบรรยายเชิงปฏิบัติการ เทคนิคการพูด รูปแบบการพูดในที่สาธารณะ                                                 

  ผลที่เกิดกับนักศึกษา            1. นักศึกษามีความพร้อมทั้งทักษะความรู้ ทักษะวิชาชีพ  สามารถฝึกประสบการณ์ในหน่วยงานได้ครบตามกำหนดเวลาและสามารถทำงานในหน่วยงานได้ดีตามที่ได้รับมอบหมาย(ข้อมูลจากแบบประเมินผลของหน่วยงาน)

2.นักศึกษามีเทคนิคในการพูด ในที่สาธารณะ อาทิ การเป็นพิธีกรให้กับหน่วยงานที่ตนฝึกประสบการณ์วิชาชีพในกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงาน ซึ่งถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่ นักศึกษาได้งานทำหลังจากฝึกประสบการณ์โดยหน่วยงานทำสัญญาจ้างเข้าทำงานต่อในหน่วยงาน

4

รบ. (รัฐศาสตรบัณฑิต)

2554110 :การพัฒนาบุคลิกภาพและการพูดในที่สาธารณะ

5

นบ. (นิติศาสตรบัณฑิต)

2564602 :การว่าความและศาลจำลอง

การจัดการเรียนการสอนแบบ
ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  ทั้งการร่างคำให้การ การถามค้าน  วีธีการซักพยาน  พร้อมการแสดงบทบาทสมมติในการไต่สวน ว่าความ ในรูปแบบศาลจำลอง

 

3 มีการกำกับ ติดตามให้หลักสูตรประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนด

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มอบนโยบายให้งานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ได้ดำเนินการตามระบบ

และกลไกการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัย ดังนี้

          มหาวิทยาลัยมีนโยบายการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานให้แต่ละคณะคัดเลือกหลักสูตรในการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

          3.1 คณะมีนโยบายให้หลักสูตรจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานโดยส่งเสริมให้นักศึกษา      โดยคณะจะจัดทำระบบฐานข้อมูลสถานประกอบการที่เป็นเครือข่ายความร่วมมือทั้งในและนอกจังหวัดศรีสะเกษ

และรับผิดชอบติดต่อประสานงานโดยตรงเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันในแนวทางปฏิบัติและรายละเอียดต่าง ๆ

ที่เกี่ยวข้องในทิศทางเดียวกัน หลังจากนั้นจะจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ

โดยรายงานต่อผู้บริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

          3.2 งานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพทำการประสานงานกับสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการเพื่อตรวจสอบช่วงระยะเวลาให้มีความสอดคล้องกับระยะเวลาการขออนุมัติสำเร็จการศึกษา เพื่อนำมาเป็นฐานข้อมูลประกอบการวางแผนปฏิทินการดำเนินงานศูนย์ฝึกฯ

          3.3 งานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพจะทำการประสานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษารายวิชาฝึกประสบการณ์เข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบแนวทางการปฏิบัติงาน รวมจัดทำแผนปฏิบัติการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน และกำหนดรายวิชาเพื่อจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการทำงานร่วมกับสถานประกอบการ โดยให้รับผิดชอบกำกับติดตามดูแลและประเมินผล อย่างต่อเนื่องรวมถึงการจัดแบ่งอาจารย์นิเทศในระดับหลักสูตรพร้อมรายงานผลการดำเนินงานในลำดับถัดไป

         3.4 งานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้รับการแต่งตั้งให้เป็นตัวแทนคณะกรรมการดำเนินงานทุกสาขาเพื่อรับผิดชอบดูแลนักศึกษาและปรึกษาหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปหรือ

มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับระบบและกลไกลการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร วิ่ทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ประจำปีการศึกษา 2565

          3.5 คณะกรรมการบริหารคณะพิจารณาแผนปฏิบัติการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงาน และกำหนดรายวิชาเพื่อจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการทำงาน เป็นมติ กบ.คณะ

          3.6 งานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ร่วมกับหลักสูตร ดำเนินตามแผนและประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการกับการทำงาน

 

          3.7 งานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จะทำหน้าที่ในการกำกับติดตามการปฏิบัติตามแผนบูรณาการกับการทำงานของวิทยาล้ยกฎหมายและการปกครอง และรายงานการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนที่กำหนดในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

          3.8 งานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเรียนกับการทำงานอย่างต่อเนื่อง และรายงานต่อผู้บริหารคณะ

 

              วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน ประจำปีการศึกษา 2565 และสรุปผลการดำเนินงานด้านโครงการ/กิจกรรม ( 5.1-3(1)) เพื่อรายงานผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน โดยนำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองครั้งที่ 6/2566 เมื่อวันที่  5 กรกฎาคม 2566 วาระที่ 4.15  เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ (5.1-3(2)) เพื่อขอข้อเสนอแนะในการพัฒนา ปรับปรุง สำหรับการดำเนินงานในปีการศึกษา 2566 ต่อไป

4 มีการนำผลไปปรับปรุงแผนจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

งานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพเพื่อทบทวนระบบและกลไกการปฏิบัติงานรวมถึงสรุปปัญหาข้อเสนอแนะ ที่แต่ละหลักสูตรได้รับจากการออกนิเทศเพื่อสะท้อนปัญหา หาทางแก้ไข ซึ่งผลสะท้อนในประเด็นหลักคือทักษะในด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ของนักศึกษายังไม่คล่องและเป็นฐานข้อมูลในการวางแผนในปีถัดไปให้เกิดปัญหาที่ลดลง ตลอดจนมีการกำหนดทิศทางการพัฒนาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยในปีการศึกษา 2565 กำหนดให้มีการดำเนินงานบูรณาการหลักสูตรกับการทำงาน รวมทั้งสิ้น 3 หลักสูตร และในปีการศึกษา 2565  โดยเน้นตามบริบทของรายวิชาในแต่ละหลักสูตร  ซึ่งสรุปได้ดังนี้

ลำดับ

หลักสูตร

ประเภทหน่วยงานที่เข้าฝึกประสบการณ์

1

รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

หน่วยงานภาครัฐ / หน่วยงานภาคเอกชน ฝ่ายบุคคล

2

นิติศาสตรบัณฑิต

หน่วยงานภาครัฐ สถานประกอบการ เช่น สำนักงานทนายความ

3

รัฐศาสตรบัณฑิต

หน่วยงานภาครัฐ/ หน่วยงานภาคเอกชน ฝ่ายบุคคล

 

 

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้นำข้อเสนอแนะจากประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ และผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน รายงานผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน มาปรับปรุงแผนงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ปีการศึกษา 2565 ( 5.1-4(1)) และแผนงานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน ปีการศึกษา 2566 (5.1-4(2))

5 มีแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน

เนื่องจากงานศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ร่วมกับหลักสูตร 3 หลักสูตร ประกอบด้วย
สาขารัฐประศาสนศาสตร์   สาขานิติศาสตร์ และสาขาวิชารัฐศาสตร์ มีการวางแผนระบบและกลไกที่รัดกุมและสามารถปฏิบัติงานได้ตรงตามแผนที่กำหนดไว้ทำให้ได้รับคำชื่นชมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

           วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง โดยศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ได้ดำเนินการจัดการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ โดยจัดการอบรม ประกอบด้วย

             1. กิจกรรมเตรียมความพร้อมนักศึกษาก่อนออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ในวันที่ 31 ตุลาคม 2565
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการเตรียมความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน การสร้างบุคลิกภาพ มารยาท และความประทับใจแรกในการทำงาน รวมทั้งการแนะนำวิธีการรายงานผลการฝึกประสบการณ์ผ่านคู่มือการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การเตรียมโปสเตอร์ และคลิปวิดีโอ เพื่อนำเสนอผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ (5.1-5(1))

             2. โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาด้านการสื่อสารและการใช้ IT ในวันที่ 17 สิงหาคม 2565 เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาตนเอง เพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์และทักษะจากการฝึกอบรม สามารถใช้งานโปรแกรมชุด Office ได้ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ในการอบรมครั้งนี้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการใช้ Outlook, Onedrive และ Microsoft Teams บนเว็บบราวเซอร์ผ่านระบบออนไลน์ และได้ฝึกทักษะการใช้งาน Microsoft Office ในการจัดการงานเอกสาร การทำหนังสือราชการ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการทำงาน (5.1-5(2))

           โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษาในชั้นปีที่ 4 จำนวน 3 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต  หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต ภายใต้การกำกับดูแลของวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง   ได้เกิดความรู้ทักษะและประสบการณ์สามารถนำความรู้เหล่านี้ไปใช้ในปฏิบัติระหว่างการออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการทำงานหลังสำเร็จการศึกษา  ในระหว่างฝึกประสบการณ์นักศึกษาได้นำความรู้จากการเข้าร่วมอบรมคอมพิวเตอร์นำไปใช้ในการทำงานในหน่วยงานคือ การสร้างเพจประชาสัมพันธ์หน่วยงานให้มีความน่าสนใจ สวยงาม  จัดข้อมูลหน่วยงานในหน้าFacebook ทำให้หน่วยงานมีความพึงพอใจในผลงาน และได้รับคำชื่นชมผ่านทางแบบประเมินผลการฝึกประสบการณ์และจากอาจารย์นิเทศนักศึกษา โดยนักศึกษาช่วยปรับสื่อประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานในสื่อออนไลน์ ข้อมูลมีความเป็นปัจจุบันและมีความทันสมัย น่าเข้าไปศึกษาและสืบค้นอมูลมากยิ่งขึ้น ถือเป็นแนวปฏิบัติที่ดีของนักศึกษาวิทยาลัยกฏหมายและการปกครองที่มีความรู้และทักษะในด้านคอมพิวเตอร์ที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนในปีการศึกษา 2565

          ซึ่งหลังจากฝึกประสบการณ์ครบตามเวลาที่กำหนดในปีการศึกษา 2565 นักศึกษาสาขารัฐศาสตร์มีหน่วยงานทำสัญญาจ้างเข้าทำงานต่อในหน่วยงาน นายปุณยวีร์ เฆมกันจาย ได้เข้าทำงานที่สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษและนายบัญชา หนองหว้า ได้เข้าทำงานที่สำนักงานสหกรณ์การเกษตรเมืองศรีสะเกษ เป็นต้น