✓ | 1 | กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม และความเป็นไทย ซึ่งได้ดำเนินงานตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
1. มีการกำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่าโดยมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนชุมชน และการต่อยอดงานชุมชนที่มีอยู่ให้ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในตลาดที่กว้างขึ้นซึ่งยังคงเอกลักษณ์ของชุมชนและสร้างรายได้และความเข้มแข็งของชุมชน ภายใต้แนวคิด การเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาในท้องถิ่นกับชุมชน และเครือข่ายผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะการผลิตผลิตภัณฑ์ซึ่งกันและกัน โดยให้กลุ่มที่มีทักษะ ความชำนาญ เน้นเป็นพี่เลี้ยงในการให้คำแนะนำปรึกษา ตลอดจนช่วยเหลือในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ มากกว่าการเป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้
2. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อกำกับดูแลงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1 - 1(1))
| |
✓ | 2 | จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้มีการดำเนินการจัดทำแผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยคณะกรรมการดำเนินงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ได้มีการประชุม ครั้งที่ 1 วันที่ 20 ธันวาคม 2565 (4.1-2(1)) ในการพิจารณากิจกรรมโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จและ เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ของแผนดังนี้
โครงการ/กิจกรรม
|
กลุ่มเป้าหมาย
|
ระยะเวลา
ที่จัดกิจกรรม
|
ประมาณ
(บาท)
|
แหล่งงบ
|
ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
การส่งเสริมการทอผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ
|
-ประชาชนบ้านหนองสวง
ต.หนองครก อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ จำนวน 40 คน
-บุคลากร นักศึกษาวิทยาลัย
จำนวน 50 คน
|
ต.ค.65
-
มิ.ย.66
|
20,000
|
สำนักงาน
|
วัตถุประสงค์ของแผน
|
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผน
|
ค่าเป้าหมาย
|
1. เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้เข้าร่วมโครงการเพื่อทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
|
1. จำนวนฐานข้อมูลพื้นที่ดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม
2. จำนวนบุคลากรและนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองเข้าร่วมโครงการ
|
1 พื้นที่
100 คน
|
2. เพื่อบูรณาการโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือกิจกรรมนักศึกษา และวิจัยวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
|
1. จำนวนโครงการที่มีการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรม การเรียนการสอน หรือกิจกรรมนักศึกษา และวิจัยวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
|
1 รายวิชา
|
3. เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับหน่วยงานท้องถิ่น
|
1. จำนวนหน่วยงานเครือข่ายการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
|
- เครือข่าย
|
ตลอดจนได้มีการจัดสรรงบประมาณที่ต้องใช้ในแต่ละโครงการเพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย ครั้งที่ 1/2566 วันพุธที่ 4 มกราคม 2566 วาระ 4.5 (4.1-2(2)) ให้เห็นชอบและอนุมัติแผนงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ปีการศึกษา 2565 (4.1-2(3)) และให้ดำเนินงานจัดโครงการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ตามแผนที่กำหนดไว้
| |
✓ | 3 | มีการส่งเสริม สนับสนุนการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ให้ความสำคัญกับการบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กับพันธกิจด้านอื่น ๆ อาทิ ด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย ซึ่งได้ดำเนินการจัดโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม จำนวน 1 โครงการ โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย การส่งเสริมการทอผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ ในวันที่ 8-9 กรกฎาคม 2566 ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการการมัดหมี่ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ และดำเนินงานตามพันธกิจในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1 – 3 (1)) ให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ ในภาคเรียนที่ 1/2565 ซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์สุเทวี คงคูณเป็นอาจารย์ผู้สอน (4.1-3(2)) และรายวิชาการบริหารจัดการแบบร่วมมือเชิงเครือข่าย ในภาคเรียน 2/2565 ซึ่งมีอาจารย์ปรารถนา มะลิไทยเป็นอาจารย์ผู้สอน และ (4.1-3(3)) ดังนี้
กิจกรรมการเรียนการสอนที่ดำเนินการบูรณาการพร้อมกับการดำเนินโครงการบูรณาการรายวิชา
ข้อมูล
โครงการด้านศิลปวัฒนธรรม
|
รายละเอียดแผนการบูรณาการ
|
ค่าเป้าหมาย
|
1. ชื่อโครงการ: โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย
การส่งเสริมการทอผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ พื้นที่บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมืองจังหวัดศรีสะเกษ
|
1. ประเด็นที่นำมาบูรณาการ: การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ด้าน “ทุนทางสังคม”
2 . หัวข้อที่สอน/กิจกรรมที่สอน/ประเด็นเรื่อง: กระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ผ่านทุนทางสังคม
3. รายละเอียด: การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ด้านทุนนทางสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนในการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อส่งเสริมการทอผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ
4. รายชื่อผู้สอน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุเทวี คงคูณ
5. รายชื่อผู้บรรยาย :
นายดิศกุล สว่างทองหลา เจ้าหน้า
ที่งานพิธี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ
|
2 รายวิชา
|
1. ประเด็นที่นำมาบูรณาการ: การบริหารจัดการความร่วมมือระหว่างองค์กร
2 . หัวข้อที่สอน/กิจกรรมที่สอน/ประเด็นเรื่อง: กระบวนการบริหารจัดการความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย และชุมชน
3.รายละเอียด:ตัวแบบการบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือ
ตามแนวคิด วสันต์ เหลืองประภัสร์ เพื่อการพัฒนาชุมชนในการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อส่งเสริมการทอผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ
4. รายชื่อผู้สอน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปรารถนา มะลิไทย
5. รายชื่อผู้บรรยาย :
- นายดิศกุล สว่างทองหลาง เจ้า
หน้าที่งานพิธี สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ
|
|
| |
✓ | 4 | มีการกำกับติดตามให้หน่วยงานมีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะ | วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการกำกับและติดตามงานด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยมีประชุมคณะกรรมการดำเนินงานศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ครั้งที่ 2 วันที่ 21 มิถุนายน 2566 (4.1–4(1)) และการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผนประจำปีการศึกษา 2564 (4.1–4(2)) และสรุปผลประเมินตามความสำเร็จตามของโครงการจำนวน 1 โครงการ ดังนี้ (4.1 – 4 (3))
ตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผน
|
ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้
(ผลการดำเนินงาน)
|
การบรรลุเป้าหมาย
|
1. จำนวนฐานข้อมูลพื้นที่ดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม 1 พื้นที่
2. จำนวนบุคลากรและนักศึกษาวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองเข้าร่วมโครงการ 100 คน
|
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม จำนวน 1 พื้นที่ บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมืองศรีสะเกษ
|
บรรลุ
|
1. จำนวนโครงการทีมีการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรม การเรียนการสอน หรือกิจกรรมนักศึกษา หรือวิจัยวิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง
|
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้มีการบูรณาการด้านศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน จำนวน 2 รายวิชา ได้แก่ รายวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ภาครัฐ และรายวิชาการบริหารจัดการแบบร่วมมือเชิงเครือข่าย
|
บรรลุ
|
1. จำนวนหน่วยงานเครือข่ายการดำเนินงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2 เครือข่าย
|
วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ได้ดำเนินงานด้านศิลปวัฒนธรรม โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นประชาชนในพื้นที่ 2 หมู่บ้าน ได้แก่ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย การส่งเสริมการทอผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรี ผู้เข้าร่วมโครงการคือกลุ่มทอผ้าบ้านหนองสวง และ กลุ่มสตรีบ้านหนองม่วง และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองครก อำเภอเมืองศรีสะเกษ
|
บรรลุ
|
จากการดำเนินโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นเป็นไทย วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้มีการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้บริหารคณะประเมินนำเสนอผลการดำเนินต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย ครั้งที่ 6/2566 วันพุธที่ 5 กรกฎาคม 2566 วาระที่ 4.4 (4.1 – 4 (4))
| |
✓ | 5 | นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย | จากการรายงานผลการดำเนินงานต่อที่ประชุมกรรมการบริการวิทยาลัย นั้น วิทยาลัยกฎหมายและการปกครองได้มีการนำข้อเสนอแนะจากมติที่ประชุมเพื่อไปปรับปรุงสำหรับการดำเนินงานในปีต่อไป ดังนี้ จากมติที่ประชุมกรรมการบริหารฯ ได้เสนอว่ามีการต่อยอดการดำเนินโครงการในพื้นที่เดิม จำนวน 1 พื้นที่ คือ พื้นที่บ้านหนองสวง ตำบลหนองครก อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นการจัดโครงการเพื่อเกิดความรู้ความเข้าใจและเกิดทักษะเกี่ยวกับการการทอผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ คณะกรรมกรรมการศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยประชุมจัดทำร่างแผนงานการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา 2566 (4.1-5(1) (4.1-5(2) เพื่อนำเสนอผลการดำเนินต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยคณะต่อไป
| |