ตัวบ่งชี้ที่ 2.3 ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วิภาวดี ทวี , พัณณิตา นันทะกาล , นลินี อำพินธ์ , นงนุช แสงพฤกษ์ , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , จุฑาสินี ชนะศึก , ปัญญณัฐ ศักดิ์สิทธานุภาพ
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลงานทางวิชาการเป็นข้อมูลที่สำคัญในการแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ประจำและนักวิจัยได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นผลงานที่มีคุณค่า สมควรส่งเสริมให้มีการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงวิชาการและการแข่งขันของประเทศ ผลงานทางวิชาการ อยู่ในรูปของบทความวิจัยหรือบทความทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI หรือ Scopus หรือตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วย หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2562 ผลงานได้รับการจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร หรือเป็นผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ ตำราหรือหนังสือที่ใช้ในการขอผลงานทางวิชาการและผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว โดยมีวิธีการคิด ดังนี้

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 เกณฑ์แบ่งกลุ่มตามสาขาวิชาดังนี้
     กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
     ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็น คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
     กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
      ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็น คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
     กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
     ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็น คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยภายในคณะทั้งหมด

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
สรุปคะแนนที่ได้ในระดับคณะ

     คะแนนที่ได้ในระดับคณะ    =    ค่าเฉลี่ยคะแนนที่ได้ของทุกกลุ่มสาขาวิชาในคณะ

กำหนดระดับคุณภาพผลงานทางวิชาการดังนี้

ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพ
0.20

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
- มีการยื่นจดอนุสิทธิบัตร

0.40 - บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
- มีการยื่นจดสิทธิบัตร
0.60 - บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจาก การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ตามประกาศ ก.พ.อ.
- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2
- มีการจดแจ้งลิขสิทธิ์
0.80 - ผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร
- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. หรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1
1.00

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2562
- ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ
- ผลงานค้นพบพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่ค้นพบใหม่และได้รับการจดทะเบียน
- ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งทางวิชาการแต่ไม่ได้นำมาขอรับการประเมินตำแหน่งทางวิชาการ
- ผลงานที่ได้รับการจดสิทธิบัตร
- ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ได้แก่
    ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรม

    ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการเรียนรู้

    ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ

    ผลงานวิชาการรับใช้สังคม

    กรณีศึกษา

    ตำราหรือหนังสือหรืองานแปล

    ซอฟต์แวร์

    พจนานุกรม สารานุกรม นามานุกรม และงานวิชาการในลักษณะเดียวกัน

หมายเหตุ
1. การส่งบทความเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้นำเสนอในการประชุมวิชาการต้องส่งเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) และ เมื่อได้รับการตอบรับและตีพิมพ์แล้ว การตีพิมพ์ต้องตีพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
2. ผลงานทางวิชาการทั้งหมดจะต้องได้รับการเผยแพร่ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

กำหนดระดับคุณภาพผลงานสร้างสรรค์ด้านสุนทรียะ ศิลปะ หรือ ผลงานสร้างสรรค์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้

ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพ
0.20 ผลงานสร้างสรรค์ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ online
0.40 ผลงานสร้างสรรค์ได้รับการเผยแพร่ในระดับสถาบัน
0.60 ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ
0.80 ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ
1.00 ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน/นานาชาติ

ผลงานสร้างสรรค์ทุกชิ้นต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบ ไม่น้อยกว่า 3 คน โดยมีบุคคลภายนอกสถาบันร่วมพิจารณาด้วย

ผลการดำเนินงาน

 

การดำเนินงาน

ข้อมูลพื้นฐาน

น้ำหนัก

กลุ่มสาขาวิชา

มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง

 

49

จำนวนอาจารย์ประจำที่ลาศึกษาต่อ

 

2

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มีจำนวน 8 เรื่อง ดังนี้

 

1. วุฒิชัย นาคเขียว. (2565). ประวัติศาสตร์นิพนธ์เมืองสุรินทร์ พ.ศ. 2540-2557. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (น.152-172). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วันที่ 31 สิงหาคม 2565. (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

 

2. จุฑาสินี ชนะศึก. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความวิตกกังวลในการพูดภาษาจีน กรณีศึกษา รายวิชาสนทนาภาษาจีน 2 ของสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (น.208-214). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วันที่ 31 สิงหาคม 2565. (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

 

3. วิภาวดี ทวี. (2565). การศึกษาข้อผิดพลาดของการใช้คำบุพบทบอกทิศทางของสาขาวิชาภาษาจีน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (น.215-226). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วันที่ 31 สิงหาคม 2565. (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

 

4. อภิสิทธิ์ ไชยยงค์. (2565). การสร้างสื่อบัตรคำเพื่อทบทวนการจำคำศัพท์การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน HSK1 ของสาขาวิชาภาษาจีนชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (น.227-240). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วันที่ 31 สิงหาคม 2565. (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

 

5. จันทกานต์ พันเลียว. (2565).การจัดการสารสนเทศด้านทรัพยากรน้ำของชุมชนแบบมีส่วนร่วม อำเภอบึงบูรพ์ จังหวัดศรีสะเกษ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 5 ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (น.138-151). คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. วันที่ 31 สิงหาคม 2565. (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

 

6. นิภาภัฒน ทองคำใส. (2565).การวิเคราะห์ปรัชญาและการศึกษา เอกภาพของความรู้และการปฏิบัติ. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 (น.622-627). คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกกุฏราชวิทยาลัย. วันที่ 1 มิถุนายน 2565. (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

 

7. นลินี  อำพินธ์. (2565). Feminine Conceptual Metaphors in Isaan Folk Songs การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “ภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน-จีน 2023” (LC ASEAN – CHINA 2023) (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

 

8. พินิจ มิชารี. (2565).การสร้างสรรค์ผลงานชุด รูปในรูปทรงเสื่อมสลาย การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ "ศิลปกรรมวิจัย" ประจำปี 2565 3-4 กันยายน 2565. มหาวิทยาลัยขอนแก่น, (น. 35-43). (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

0.20

1.6

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1  มีจำนวน 2 บทความ

 

1. ผศ.ดร.อาสนะ เชิดชู Translation as a Tool to Teach English to Thai Learners. วารสารมนุษยสังคมสาร (มสส.) คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรีมย์

(คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

 

2. โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์ การพัฒนานวัตกรรมหม้อย้อมผ้าเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนสู่เศรษฐกิจชุมชนในจังหวัดศรีสะเกษ มนุษยสังคมสาร (มสส.). ปีที่ 21 ฉบับที่ 1 (มกราคม - เมษายน) 2566. (น. 83 - 104)

(คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

0.8

1.6

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 มีจำนวน 4  บทความดังนี้

 

1. ปัญญณัฐ ศักดิ์สิทธานุภาพ การวิเคราะห์ภาษาของผู้เรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ: การพูดคุยกับระบบปัญญาประดิษฐ์ที่สั่งการด้วยเสียงAssistant วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

(คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

 

2. วรางคณา วิริยะพันธ์ ผลกระทบของภาษาแม่และหนังสือเรียนภาษาญี่ปุ่นต่อการเลือกใช้สกรรมกริยาและอกรรมกริยาภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนชาวไทย วารสารมนุษย์และสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 6 (2), 196-216. (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565). (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

 

3. ผศ.อุมาพร ประชาชิต การสื่อสารวัฒนธรรมอีสานในมิวสิควิดีโอเพลงไทยสากล : ศึกษาในเพลง “ขวัญเอยขวัญมา” วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

 

สิทธิชัย บวชไธสง. (2566). การสร้างฐานข้อมูลสารสนเทศดิจิทัล 4 ภาษา ไทย อังกฤษ ลาว กัมพูชา เพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเขตพื้นที่ชายแดนไทย ลาว กัมพูชา. วารสารวิชาการมนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 7(1),109-123. (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

0.60

2.4

- ผลงานวิชาการรับใช้สังคมที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว มีจำนวน 1 งาน ดังนี้

ผลงานทางวิชาการ ของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เสถียร สีชื่น (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

1.00

1

- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฎในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. (Scopus) จำนวน 1 งาน

 

Emon Senphuwa. (2022). Local cultural Diplomacy on Pomoting Stability along the Theland-Combodia border. Social Science Journal. 12(2), August-September. (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

1.00

1

-งานสร้างสรรค์ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ online  มีจำนวน 9 งาน  ดังนี้

 

  1. นักข่าวพลเมือง : วิถีตลาดชุมชน ถนนสายวัฒนธรรม ริมน้ำมูล จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ วันที่ 26 มิ.ย. 2565 เวลา 19.00 น. (คลิกเพื่อชมวิดีโอ)
  2. นักข่าวพลเมือง: ห้องเรียนชุมชน งานบุญบั้งไฟ จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ วันที่ 20 มิ.ย. 2565 เวลา 19.00 น. (คลิกเพื่อชมวิดีโอ)
  3. นักข่าวพลเมือง : 30 ปี โขง ชี มูล” ถอดบทเรียนคนลุ่มน้ำอีสาน จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ วันที่ 17 ก.ย. 2565 เวลา 19.00 น. (คลิกเพื่อชมวิดีโอ)
  4. นักข่าวพลเมือง : แบ่งปันความช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ วันที่ 1 ต.ค. 2565 เวลา 19.00 น. (คลิกเพื่อชมวิดีโอ)
  5. นักข่าวพลเมือง: ท่องเที่ยวชุมชนชาวบ้านวนาสวรรค์ จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ วันที่ 3  มิถุนายน 2566 (คลิกเพื่อชมวิดีโอ)
  6. นักข่าวพลเมือง: ผลกระทบน้ำท่วมราษีไศล ออกอากาศ วันที่ 24  พฤศจิกายน 2565 (คลิกเพื่อชมวิดีโอ)
  7. นักข่าวพลเมือง: ปักหมุดจุดช่วยเหลือ ออกอากาศ วันที่ 27 ตุลาคม 2565 (คลิกเพื่อชมวิดีโอ)
  8. นักข่าวพลเมือง : รายงานปักหมุดจุดช่วยเหลือและระดมน้ำใจส่งต่อพื้นที่น้ำท่วม ออกอากาศ วันที่  17   ตุลาคม  2565 (คลิกเพื่อชมวิดีโอ)
  9. นักข่าวพลเมือง : ทางไปต่อ พ.ร.บ.ภัยพิบัติ ภาคประชาชน ออกอากาศ วันที่  22   ธันวาคม 2565 (คลิกเพื่อชมวิดีโอ)

 

0.20

1.8

งานสร้างสรรค์ที่มีการเผยแพร่สู่ในระดับชาติ  มีจำนวน 2 งาน  ดังนี้

ประทักษ์ คูณทอง. เคลือดิน สูจิบัตรนิทรรศการแสดงผลงานศิลปกรรมของคณาจารย์และศิลปินในระดับชาติ “โฮมดิน” ครั้งที่ 2, น.21, มหาวิทยาลัยขอนแก่น (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

 

โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์. กวยอาเจียง. สูจิบัตรนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะคณาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ครั้งที่ 8 ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการ เครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 31 แห่ง. วันที่ 4 สิงหาคม -  1 กันยายน 2565 ณ หอศิลป์ทองทวาปี มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. (คลิกเพื่อไปยังรายการหลักฐาน)

0.6

1.2

ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการที่ได้รับรองคุณภาพ

 

10.6

จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด

 

51

ผลการดำเนินงาน (ร้อยละ)

 

20.78

คะแนน

 

5

สูตรการคำนวณ

     1.  ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย

ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำ

และนักวิจัย

X 100

จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยทั้งหมด  

 

10.6

    X 100 =

ร้อยละ 20.78

    51   

 

     2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนน   =

20.78

X 5 = 5.19 คะแนน

หลักฐาน
รหัสหลักฐาน เอกสารหลักฐาน
2.3 - (1)
2.3 - (2)
2.3 - (3)
2.3 - (4)
2.3 - (5)
2.3 - (6)
ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5