✓ | 1 | มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ |
คณะพยาบาลศาสตร์ มีระบบสารสนเทศด้านการวิจัย (2.1-1) เพื่อใช้ในการบริหารและการตัดสินใจด้านการวิจัยของคณะฯ ที่รวบรวมข้อมูลผลงานทางวิชาการของอาจารย์ จำนวนเรื่อง จำนวนหน่วยน้ำหนัก แหล่งตีพิมพ์เผยแพร่ ทุนสนับสนุนงานวิจัย ประเภทของทุนสนับสนุนงานวิจัย โดยสามารถจำแนกข้อมูล เป็นปีการศึกษา และปี พ.ศ. ซึ่งผู้บริหารสามารถพิจารณาข้อมูลในระบบสารสนเทศและใช้ในการ วางแผน กำกับ ติดตาม ผลงานวิชาการของอาจารย์ได้อย่างเป็นปัจจุบัน รวมทั้ง วางแผนการส่งเสริมเรื่องการขอทุนวิจัย และวางแผนส่งเสริมการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัย
|
| |
✓ | 2 | สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor) |
คณะพยาบาลศาสตร์ มีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ดังนี้
1. จัดให้มีห้องให้คำปรึกษาและสนับสนุนงานวิจัย โดยมีคณะกรรมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการทำวิจัยในการสืบค้นงานวิจัย การเขียนโครงการวิจัย การขอทุนวิจัย การขอจริยธรรมการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย รวมทั้งการให้ข้อมูลข่าวสารด้านการวิจัย ได้แก่ ประกาศข่าวทุนการวิจัย การอบรมจริยธรรมการวิจัย การประชุมอบรมด้านการวิจัย เป็นต้น (2.1-2(1))
2. มีห้องสมุดและแหล่งค้นคว้าข้อมูลเพื่อสนับสนุนการวิจัย ดังนี้
1) ห้องสมุดคณะพยาบาลศาสตร์ และห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ ศรีสะเกษ ที่ให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลวิชาการ ตำรา หนังสือ บทความ และผลงานวิจัย (2.1-2(2))
2) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-book, e-Journal) ได้แก่ GALE-EBOOKS, IG Library (2.1-2(3))
3) ฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้นวิชาการและงานวิจัยทางการพยาบาล ได้แก่ CINAHL Complete, SpringerLink-Journal, ScienceDirect, Academic Search Ultimate (2.1-2(4))
3. การอำนวยความสะดวกและการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย โดยมีระบบสารสนเทศงานวิจัย DRMS ที่ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถเข้าถึงข้อมูลงานวิจัย สามารถยื่นขอทุนวิจัยและรายงานความก้าวหน้าของการวิจัยผ่านระบบ รวมทั้งเป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารข้อมูล และมีระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลโดยกำหนดรหัสผู้ใช้งานและรหัสการเข้าใช้ส่วนตัว (2.1-2(5))
4. มีกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัย โดยจัดโครงการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 (2.1-2(6)) และจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยเรื่องเทคนิคการเขียนงานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์ (2.1-2(7)) รวมทั้ง ส่งเสริมให้อาจารย์เข้าร่วมประชุมอบรมการวิจัยทั้งภายในและภายนอกสถาบัน (2.1-2(8))
|
| |
✓ | 3 | จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ |
คณะพยาบาลศาสตร์ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสาร โดยการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
ได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านการวิจัย ดังนี้
1. ทุนสนับสนุนการวิจัย โดยอาจารย์ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยในปีงบประมาณ 2566 (ต.ค. 2565 - ก.ย. 2566) จากงบบำรุงการศึกษา (บกศ.) โดยขออนุมัติทุนสนับสนุนงานวิจัยผ่านสำนักวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 85,000 บาท (2.1-3(3))
2. ทุนสำหรับการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (2.1-3(4))
|
| |
✓ | 4 | มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น |
คณะพยาบาลศาสตร์ มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น ดังนี้
1. สนับสนุนให้อาจารย์เข้าร่วมประชุมอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการทำวิจัย ได้แก่
1) การอบรมเรื่อง “การพัฒนาศักยภาพการผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมสอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพ” (2.1-4(1)) วันที่ 8-9 มิถุนายน 2565
2) การอบรมเรื่อง “เทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติและระดับนานาชาติ” (2.1-4(2)) วันที่ 21 มิถุนายน 2565
3) การอบรมเรื่อง “การเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่สอดคล้องกับการวิจัยและนวัตกรรมในมิติใหม่” วันที่ 14-16 กันยายน 2565 และวันที่ 22-23 เมษายน 2566 (2.1-4(3))
4) การอบรม “การเขียนรายงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ระดับนานาชาติ วันที่ 21-22 เมษายน 2566 (2.1-4(4))
5) การอบรมพัฒนาศักยภาพอาจารย์ในการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ในวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 (2.1-4(5))
2. การสร้างขวัญและกำลังใจ การยกย่องอาจารย์ที่มีผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ดีเด่น ดังนี้
1) การประกาศยกย่องและแสดงความยินดีกับนักวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่บนเว็บไซต์คณะพยาบาลศาสตร์ (2.1-4(6))
2) การประกาศรายชื่อและแสดงความยินดีกับอาจารย์ที่ได้รับทุนสนับสนุนโครงการวิจัยบนเว็บไซต์คณะพยาบาลศาสตร์ (2.1-4(7))
|
| |
✓ | 5 | มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ |
คณะพยาบาลศาสตร์ มีการดำเนินงานความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมกับสถาบันอุดมศึกษาและองค์กรภาครัฐในประเทศ เพื่อสร้างและพัฒนาความร่วมมือในกิจกรรมด้านงานวิจัย และงานอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อกัน (2.1-5(1)) จำนวน 3 เครือข่าย ดังนี้
1. ความร่วมมือกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีความร่วม มือของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 6 สถาบัน
2. ความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลดวนใหญ่ (2.1-5(2))
3. ความร่วมมือโครงการวิจัย “การพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลผ่านนวัตกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ของผู้สูงอายุเพื่อสืบสานภูมิปัญญาอาหารสุขภาพ” (2.1-5(3))
|
| |
✓ | 6 | มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด | คณะพยาบาลศาสตร์ มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน โดยมีการดำเนินการตามระบบการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ ในคู่มือการบริหารงานวิจัย งานวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-6(1)) ทั้งนี้คณะพยาบาลศาสตร์ มีการดำเนินการติดตามงานวิจัยระบบที่กำหนดและมีการนำผลงานวิจัยที่มีการนำไปใช้ประโยชน์โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่ชุมชนในเชิงวิชาการและเชิงนโยบาย จำนวน 5 เรื่อง (2.1-6(2))
| |
✓ | 7 | มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด |
คณะพยาบาลศาสตร์ มีระบบและกลไกในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ โดยยึดขั้นตอนการปฏิบัติตามระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2565 ในการคุ้มครองสิทธิ์และ รักษาสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-7) ซึ่งมีการกำกับ ดูแลให้มีการดำเนินตามระบบโดย คณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยคณะกรรมการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมของคณะฯ เป็นผู้ดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลผลงานวิจัยของอาจารย์ในคณะฯ ทุกผลงาน เพื่อประสานงานกับสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อดำเนินการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ตามระบบและกลไกของมหาวิทยาลัย โดยในปีการศึกษา 2565 งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์ทุกเรื่อง ได้รับการคุ้มครองสิทธิ์
|
| |