ตัวบ่งชี้ที่ 1.7 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วิภาวดี ทวี , อุมาพร ประชาชิต , จรูญ แช่มชื่น , รุ่งทิวา เนื้อนา , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , จุฑาสินี ชนะศึก , ปัญญณัฐ ศักดิ์สิทธานุภาพ
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ความสามารถด้านดิจิทัลเป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถของบัณฑิตที่มีความรู้ และทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีในปัจจุบันมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหา การสื่อสาร ตลอดจนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อรู้เท่าทันการใช้งานและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ การสร้างนวัตกรรม และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตัวบ่งชี้นี้ประเด็นการพิจารณาประกอบด้วยระดับความสามารถด้านดิจิทัลของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรีที่สอบผ่านตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
หมายเหตุ

ข้อ 5 นักศึกษาที่เข้าสอบต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ในปีที่ประเมิน

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล
2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ
3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล
4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป
5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล ดังต่อไปนี้

        1. คณะกรรมการได้นำประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย มากำหนดแนวทางการพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัลของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (อ้างอิง 1.7-1(1) ประกาศนโยบายการพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล)

        2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการ แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2565 (อ้างอิง 1.7-1(2) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2565)

       3. คณะกรรมการฯ จัดทำระบบระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล (อ้างอิง 1.7-1(3) ระบบและกลไกในการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล)

       4. คณะกรรมการฯ ดำเนินการตามระบบและกลไกที่กำหนด

2 มีการจัดทำแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีการจัดทำแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล จากการมีส่วนร่วมของหลักสูตรทั้ง 9 หลักสูตร ที่เปิดสอนภายในคณะฯ จากนั้นคณะกรรมการได้รวบรวบข้อมูลเพื่อจัดทำแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ปีการศึกษา 2565 (อ้างอิง 1.7-2(1) แผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2565)

        ผู้รับผิดชอบแผนงานฯ นำแผนฯเสนอต่อคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 3/2565 มีการพิจารณาแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2565 วันที่ 16 พฤศจิกายน 2565 ณ ห้องประชุมคณะฯ เพื่อพิจารณาลงมติในที่ประชุม ให้เกิดความเรียบร้อยและการดำเนินอย่างมีประสิทธิภาพ (อ้างอิง 1.7-2(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ วาระที่ 5.1)

            ผู้รับผิดชอบแผนงานฯ นำแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2565 เสนอต่อคณะกรรมการประจำคณะ ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 วันที่ 6 ธันวาคม 2565  เพื่อเห็นชอบแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล  ประจำปีการศึกษา 2565  (อ้างอิง 1.7-2(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ ครั้งที่ 3/2565 วาระที่  5.1)

3 มีการจัดสรรงบประมาณ และสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการจัดสรรงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการดำเนินการตามแผนพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล รวมทั้งสิ้น 3,600 บาท (อ้างอิง 1.7-3(1) แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566) โดยจัดสรรงบประมาณและสิ่งสนับสนุนการดำเนินการ 1 โครงการ

โดยนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 (รหัส 62) จำนวน 255 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (รหัส 65) จำนวน 168 คน เข้าร่วมการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนการทดสอบสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล แบ่งการอบรมเป็น 2 วัน คือ รุ่นที่ 1 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 อบรมในวันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2566 และรุ่นที่ 2 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วัน อบรมในวันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2566 (อ้างอิง 1.7-3(2) รายงานผลการดำเนินงานโครงการอบรมและสอบวัดความรู้สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล) ซึ่งนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ทั้งสองรุ่นเข้ารับการอบรมครบทุกคน คิดเป็น 100%

ทั้งนี้ การจัดอบรมเป็นการดำเนินการร่วมของคณะฯ กับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้การดำเนินการจัดอบรมไม่เกิดความซ้ำซ้อน และมีการใช้งบประมาณของมหาวิทยาลัยอย่างคุ้มค่าที่สุด การจัดอบรมตามโครงการจึงไม่ได้ใช้งบประมาณของคณะ แต่นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะครบ 100% ถือว่าบรรลุตามวัตถุประสงค์

4 มีการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถด้านดิจิทัล และมีการนำผลจากการประเมินมาปรับปรุงในปีถัดไป

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้ดำเนินการและมีการกำกับติดตาม และการกระบวนการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน ดังนี้

            1.คณะกรรมการพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล มีการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน ประจำปีการศึกษา 2565 และสรุปผลการดำเนินงานด้านโครงการ/กิจกรรม  ต่าง ๆ เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ (อ้างอิง 1.7-4(1) รายงานผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล) โดยนำเข้าพิจารณาในการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ในการประชุมครั้งที่ 3/2566 วันที่ 5 กรกฎาคม 2566 (อ้างอิง 1.7-4(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารคณะ ครั้งที่ 3/2566 วาระที่ 5.5) และนำเสนอผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จของแผน และโครงการ/กิจกรรมประจำปีการศึกษา  2565 ในการประชุมครั้งที่ 4/2566 วันที่ 12 กรกฎาคม 2566 (อ้างอิง 1.7-4(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการประจำคณะ 4/2566 วาระที่ 5.1)  

            2.คณะกรรมการฯ ได้นำข้อเสนอแนะจากประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ และผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล  มาปรับปรุงแผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ปีการศึกษา 2566 (อ้างอิง 1.7-4(4) แผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ปีการศึกษา 2565 และ 1.7-4(5) แผนงานพัฒนานักศึกษาด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล ปีการศึกษา 2566)

5 มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่ผ่านเกณฑ์ IC3 หรือเทียบเท่า หรือตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50

         คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายจาก 9 สาขา ได้แก่ 1.สาขาการพัฒนาชุมชน 2. นิเทศศาสตร์ 3.สาขาภาษาอังกฤษธุรกิจ 4.สาขาภาษาจีน 5.สาขาภาษาญี่ปุ่น 6.สาขาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร 7.สาขาศิลปะและการออกแบบ 8.สาขาประวัติศาสตร์ จำนวนทั้งสิ้น 255 คน ได้เข้าร่วมการสอบความรู้ด้านสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล เมื่อวันที่ 30 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2566  ผู้เข้าสอบจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จำนวน 255 คน มีผู้สอบผ่านเกณฑ์ จำนวน 237 คน (คิดเป็นร้อยละ92.94) จากจำนวนนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายทั้งหมด (อ้างอิง 1.7-5(1) รายงานผลการสอบ สมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5