ตัวบ่งชี้ที่ 5.3 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตร

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ธัญทิพ บุญเยี่ยม , ปิ่นอนงค์ จำปาเงิน , ภิรัญญา จันทร์เปล่ง , ทิวาพร ใจก้อน , พรเทพ เจิมขุนทด , ปวริศา แดงงาม , นิลวรรณ จันทา , รุ่งทิวา เนื้อนา , ตรัยเทพ ศรีสุข , ทินกร กมล , นงนุช แสงพฤกษ์
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

บทบาทหน้าที่ของคณะในการกำกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร มีการดำเนินการตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินจะมุ่งไปที่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าการประเมินคุณภาพ เพื่อให้สามารถส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนด สะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
2 มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา
3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร
4 มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมิน ให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบและกลไกในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์ ได้ดำเนินงานตามระบบและกลไกการประกันคุณภาพหลักสูตร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 3 ด้านดังนี้

ระบบควบคุมคุณภาพ

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใระดับ หลักสูตรเพื่อดำเนินการตามนโยบายด้านประกันคุณภาพการศึกษา และดำเนินงานตามปฏิทินการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในปีการศึกษา 2562 อีกทั้งได้จัดทำคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา  2562 เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินงานของอาจารย์ประจำหลักสูตรตามเกณฑ์ตัวบ่งชี้ นอกจากนี้ยังได้จัดการอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งระดับหลักสูตรและระดับคณะ ให้แก่บุคลากร เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2563 เพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้ การเขียนรายงานการประเมินตนเอง ให้เชื่อมโยงและสอดคล้องกับเอกสารหลักฐาน รวมถึงการอัพโหลด และกรอกข้อมูลในระบบ CHE QA ONLINE

ระบบตรวจสอบคุณภาพ

มีการจัดทำแผนประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา  2562 โดยมีคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาดำเนินการตรวจสอบตามแผน และแนวปฏิบัติด้านการประกันคุณภาพการศึกษา

ระบบประเมินคุณภาพ

มีการจัดทำกำหนดการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ปีการศึกษา 2562 และมีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร จากนั้นทุกหลักสูตรเข้ารับการประเมินและรายงานผลการประเมิน

2 มีคณะกรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาทุกภาคการศึกษา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์ได้มีการแต่งตั้งคณะ กรรมการกำกับ ติดตามการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับคณะฯ และระดับหลักสูตร เพื่อดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบ ขั้นตอนที่กำหนดไว้ โดยมีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อชี้แจงรายระเอียดการดำเนินโครงการ กิจกรรม ตามแผนและปฏิทินการดำเนินงาน จากนั้นนำข้อมูลการดำเนินงานรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ เพื่อให้ข้อเสนอแนะ

3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตร

คณะมนุษยศาสตร์และสังคม ศาสตร์ ได้จัดสรรงบประมาณให้แต่ละหลักสูตร เพื่อการดำเนิน งานประจำปีงบประมาณ 2562 โดยมีโครงการหลักของแต่ละหลักสูตร 3 โครงการ ได้แก่

1. โครงการบริหารจัดการหลักสูตร ซึ่งประกอบไปด้วยการจัดซื้อวัสดุสำนักงานสำหรับสาขาวิชา และกิจกรรมอื่นนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในแผน  2.โครงการบริการวิชาการ 3.โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและศึกษาดูงาน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

สรุปงบประมาณ ปีงบประมาณ 2563 ที่จัดสรรสำหรับหลักสูตร

หน่วยงาน/สาขาวิชา

งบประมาณที่ได้รับจัดสรร (บาท)

แผ่นดิน

บกศ.

กศ.บป.

รวมทั้งสิ้น

หมายเหตุ

งบปี 62

จำนวนเงิน

ร้อยละ

จำนวนเงิน

ร้อยละ

จำนวนเงิน

ร้อยละ

จำนวนเงิน

ร้อยละ

เพิ่ม/ลด

สำนักงานคณบดี

288,200

 

964,500

 

23,200

 

2,025,400

78.08

+185,000

1,840,000

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

40,000

 

30,000

 

 

 

70,000

2.70

-55,000

125,000

สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ

25,000

 

60,000

 

 

 

85,000

3.28

-15,000

70,000

สาขาวิชาภาษาจีน

18,000

 

52,000

 

 

 

70,000

2.70

 

70,000

สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

25,000

 

20,000

 

 

 

45,000

1.73

+5,000

40,000

สาขาวิชาบรรณรักษศาสตร์ฯ

22,500

 

12,500

 

 

 

35,000

1.35

+15,000

20,000

สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ

10,000

 

35,000

 

 

 

55,000

2.12

+15,000

40,000

สาขาวิชานิเทศศาสตร์

17,000

 

28,000

 

 

 

45,000

1.73

 

45,000

สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

42,000

 

38,000

 

 

 

80,000

3.08

-10,000

60,000

สาขาวิชาประวัติศาสตร์

10,000

 

35,000

 

 

 

45,000

1.73

-25,000

40,000

ศูนย์ภาษา

38,600

 

 

 

 

 

 

1.49

-30,000

10,000

รวมทั้งสิ้น

1,234,000

 

1,362,000

 

23,200

 

2,594,000

100

 

2,360,000

 

   งบประมาณที่ได้รับจัดสรรทุกหลักสูตรเปรียบเทียบปีงบประมาณ 2563 และปีงบประมาณ 2562

หลักสูตร

ได้รับจัดสรรปี 63

ได้รับจัดสรรปี 62

เพิ่ม/ลด

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

70,000

125,000

-55,000

สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ

85,000

70,000

+15,000

สาขาวิชาภาษาจีน

70,000

70,000

-

สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

45,000

40,000

+5,000

สาขาวิชาบรรณรักษศาสตร์ฯ

35,000

20,000

+15,000

สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ

55,000

40,000

+15,000

สาขาวิชานิเทศศาสตร์

45,000

45,000

-

สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

80,000

60,000

+20,000

สาขาวิชาประวัติศาสตร์

45,000

40,000

+5,000

นอกจากนี้คณะฯได้จัดสรรงบ ประมาณเพื่อพัฒนาบุคลากร คนละ 5,000 บาท / ปีงบประมาณทั้งนี้งบประมาณดังกล่าวได้จัดสรรไว้ที่คณะฯ อีกทั้งคณะฯได้จัดสรรสิ่งสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรต่างๆ อันได้แก่ ห้องพักอาจารย์ คลีนิควิจัย เพื่อให้คำปรึกษาแก่อาจารย์ด้านการวิจัย ห้องสมุดของแต่ละสาขา เพื่อให้อาจารย์และนักศึกษาได้ค้นคว้าหาข้อมูล ที่ไม่สามารถหาได้จากห้องสมุดกลาง  ห้องวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมการดำเนินการจัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมของนักศึกษา

4 มีการประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกำหนดเวลาทุกหลักสูตร และรายงานผลการประเมิน ให้กรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ทุกหลักสูตร ตามที่กำหนดไว้ในปฏิทินการดำเนินงาน ประจำปีการศึกษา 2562 และทุกหลักสูตรได้จัดทำรายงานผลการดำเนินการของหลักสูตร มคอ.7 โดยได้นำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประเมินในรอบการประเมิน ประจำปีการศึกษา 2561 มาปรับปรุง เพื่อเข้ารับการประเมินในปีการศึกษา  2562 ระหว่างวันที่ 22-30 มิถุนายน 2563 โดยการดำเนินการเชิญคณะ กรรมการผู้ตรวจประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรที่มีชื่อผู้ประเมินของ สกอ. และเป็นผู้ประเมินที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในแต่ละหลักสูตร โดยมีหลักสูตรที่เข้ารับการประเมินจากคณะกรรมการภายใน 3 หลักสูตร ได้แก่ 

1. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาจีน

2. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

3. หลักสูตรสาขาวิชาบรรณรักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

หลักสูตรที่เข้ารับการประเมินจากคณะกรรมการภายในและภายนอกคณะฯ 6 หลักสูตร ได้แก่ 

1. หลักสูตรสาขาวิชานิเทศศาสตร์ 

2. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

3. หลักสูตรสาขาวิชาประวัติศาสตร์

4. หลักสูตรสาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

5. หลักสูตรสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ

6. หลักสูตรสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ

ผลการประเมิน 9 หลักสูตร ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 9 หลักสูตร จากนั้นได้รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรต่อคณะกรรมการประจำคณะฯเพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ และนำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปพัฒนาปรับปรุงเพื่อให้เกิดคุณ   ภาพดึขึ้น

5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากกรรมการประจำคณะมาปรับปรุงหลักสูตรให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในปีการศึกษา 2561 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ปิดหลักสูตร 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรสหวิทยาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและหลักสูตรสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา จึงมึหลักสูตรที่เข้ารับการประเมินทั้งหมด 9 หลักสูตร และพบว่ามีหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน  จำนวน 9 หลักสูตร และมีผลการประเมินระดับคุณภาพดี จำนวน 6 หลักสูตร หลักสูตรมีคุณภาพระดับปานกลาง จำนวน 3 หลักสูตร และภายหลังการประเมินในแต่ละสาขาวิชาได้นำผลการประเมินรายงานต่อคณะกรรมการประจำคณะฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะควรมีการจัดทำแผนพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง ดำเนินงานตามระบบและกลไกและมีการปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ดีขึ้นตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินฯ แต่ละหลักสูตรได้ดำเนินการจัดทำร่างแผนพัฒนาคุณภาพหลักสูตรประจำปีการศึกษาต่อไป

สรุปคะแนนเปรียบเทียบการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร
ปีการศึกษา 2561 และปีการศึกษา 2562 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 

ลำดับที่

สาขาวิชา

ปีการศึกษา 2561

ปีการศึกษา 2562

หมายเหตุ

 

คะแนน

ระดับคุณภาพ

องค์ที่ 1

คะแนน

ระดับคุณภาพ

องค์ที่ 1

 

1

สาขาวิชาภาษาจีน

2.88

ปานกลาง

ผ่าน

3.24

ดี

ผ่าน

 

 

2

สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

3.09

ดี

ผ่าน

3.45

ดี

ผ่าน

 

 

3

สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ

2.57

ปานกลาง

ผ่าน

3.43

ดี

ผ่าน

 

 

4

สาขาวิชาบรรณรักษศาสตร์ฯ

3.14

ดี

ผ่าน

3.26

ดี

ผ่าน

 

 

5

สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

3.45

ดี

ผ่าน

3.83

ดี

ผ่าน

 

 

6

สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ

2.75

ปานกลาง

ผ่าน

3.35

ดี

ผ่าน

 

 

7

สาขาวิชานิเทศศาสตร์

3.01

ดี

ผ่าน

3.54

ดี

ผ่าน

 

 

8

สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

3.11

ดี

ผ่าน

3.62

ดี

ผ่าน

 

 

9

สาขาวิชาประวัติศาสตร์

3.52

ดี

ผ่าน

3.71

ดี

ผ่าน

 

 

รวมคะแนนเฉลี่ยทุกสาขาวิชา

3.06

3.50

 

 

เมื่อเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2561 และ 2562 พบว่าใน ปีการศึกษา 2562 มีหลักสูตรที่ได้มาตรฐาน ระดับคุณภาพดี จำนวน 9 หลักสูตร เมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา 2561 มีหลักสูตรที่ได้มาตรฐานระดับคุณภาพดี จำนวน 6 หลักสูตร และได้มาตรฐานระดับคุณภาพปานกลาง จำนวน 3 หลักสูตร ส่งผลให้การประเมินในภาพรวมมีคะแนนดีขึ้นจาก 3.06 เป็น 3.50 ระดับดีทุกสาขา

6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินการตรวจประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2562 ระหว่างวันที่ 22-30 มิถุนายน 2563 โดยมีหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 9 หลักสูตร เข้ารับการตรวจประเมินดังนี้

1. สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์

2. สาขาวิชาประวัติศาสตร์

3. สาขาวิชานิเทศศาสตร์

4. สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ

5. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ

6. สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

7. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน

8. สาขาวิชาภาษาจีน

9. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

ผลการประเมิน มีหลักสูตรที่ผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน จำนวน 9 หลักสูตร จาก 9 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ 100

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5