ตัวบ่งชี้ที่ 5.4 ระบบกำกับการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย , สุชาติ ศรีชื่น , พรรทิวา อุโลก , อุไรวรรณ นาอินทร์
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยมีหน้าที่ในการกำกับการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร ระดับคณะ และหน่วยงานในสถาบัน โดยมีการดำเนินการตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ การติดตามตรวจสอบคุณภาพและการพัฒนาคุณภาพ การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินจะมุ่งไปที่ระบบการประกันคุณภาพการศึกษามากกว่าการประเมินคุณภาพเพื่อให้สามารถส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนด สะท้อนการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
หมายเหตุ

คุณภาพหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้พิจารณาตามเกณฑ์ทั้ง 2 ประเด็นดังนี้
   1. ผลรวมของคะแนนเฉลี่ยทุกหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะต้องดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไม่พิจารณาจากเส้นแนวโน้ม (Trendline) (ใช้ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง)
   2. ผลการประเมินคุณภาพฯ ของแต่ละหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะต้องดีขึ้นอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของหลักสูตร/คณะทั้งหมด โดยไม่พิจารณาเส้นแนวโน้ม (Trendline) (ใช้ข้อมูล 3 ปีย้อนหลัง)
**กรณีที่หลักสูตรไม่ผ่านเกณฑ์ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 การกำกับมาตรฐาน จะไม่พิจารณาผ่านเกณฑ์ข้อที่ 5   

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ
2 มีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา
3 มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ
4 นำผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรและคณะที่ผ่านการพิจารณาของกรรมการระดับสถาบันเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภามหาวิทยาลัยมาปรับปรุงหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
6 มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีระบบและกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีระบบและกลไกในการกำกับติดตามการดำเนินการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะให้เป็นไปตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ ดังนี้
    1.1 มีการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน (5.4-1(1)) เพื่อเป็นระบบและกลไกในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตร คณะ สำนัก สถาบัน และมหาวิทยาลัย โดยคู่มือดังกล่าวผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2562 (5.4-1(2)) เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2562 และคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2562 (5.4-1(3)) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2562 และได้นำคู่มือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานได้รับทราบผ่านเว็บไซต์หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (http://qa.sskru.ac.th/sys/?q=dowload)
    1.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน ครบทุกตัวบ่งชี้ คลอบคลุมทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำแผน ดำเนินงานตามแผน ประเมินความสำเร็จของโครงการและแผน ปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้น เขียนรายงานการประเมินตนเองและจัดเก็บเอกสารหลักฐานในตามตัวบ่งชี้ที่รับผิดชอบ ตอบคำถามที่คณะกรรมการประเมินสงสัย และจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจประเมิน เช่น คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยง (5.4-1(4)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการบริหารจัดการ (5.4-1(5)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านผลิตบัณฑิต (5.4-1(6)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (5.4-1(7)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถณะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ (5.4-1(8)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการจัดการความรู้ (5.4-1(9)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการพัฒนานักศึกษา (5.4-1(10)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านวิจัย (5.4-1(11)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจต้นทุนต่อหน่วย (5.4-1(12)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (5.4-1(13)) เป็นต้น
    1.3 มีการจัดทำปฎิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (5.4-1(14)) เพื่อให้ทุกหลักสูตร คณะ และสำนัก ใช้เป็นกรอบการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ซ้ำซ้อนกัน

2มีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีคณะกรรมการกำกับติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามระบบที่กำหนดในข้อ 1 และรายงานผลการติดตามให้กรรมการระดับสถาบันเพื่อพิจารณา ดังนี้
   2.1 มีการ กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานของหลักสูตร คณะ สำนัก และสถาบัน โดยจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ ระดับมหาวิทยาลัย โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา เป็นประธาน มีผู้บริหาร คณะจารย์ บุคลกร จากทุกหน่วยงานเป็นกรรมการ และมีหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ ปีละ 2 ครั้ง เพื่อดำเนินงาน ดังนี้
          - ครั้งที่ 1 ได้มีการจัดประชุมในวันที่ 21 ตุลาคม 2565 (5.4-2(1)) เพื่อทราบ รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร คณะ สำนัก สถาบัน และมหาวิทยาลัย  นำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินมาพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี และรับทราบประกาศ ปฏิทิน กรอบระยะเวลาในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
          - ครั้งที่ 2 ได้มีการจัดประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 (5.4-2(2)) เพื่อทบทวนชี้แจงแนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาประจำปี รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำรวจหลักสูตรที่มีความต้องการยกเลิกตัวบ่งชี้ในกรณีที่ไม่มีการดำเนินงาน กำกับติดตามการจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำ กำหนดระยะเวลาการประเมินของแต่ละหน่วย พิจารณา (ร่าง) รายงานการประเมินตนเอง และรับทราบแนวทางการรายงานข้อมูลในระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
    2.2 มีการดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพระดับหลักสูตร คณะ สำนัก และสถาบัน โดยจัดการประชุมของคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพันธกิจ ที่รับผิดชอบตัวบ่งชี้ของมหาวิทยาลัย เช่น พันธกิจด้านผลิตบัณฑิต พันธกิจด้านการพัฒนานักศึกษา พันธกิจด้านพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ พันธกิจด้านการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล พันธกิจด้านการวิจัย พันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม พันธกิจด้านด้านการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย พันธกิจด้านการจัดการบริหารความเสี่ยง  พันธกิจด้านการจัดการความรู้  พันธกิจด้านการกำกับผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากร และ พันธกิจด้านด้านการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (5.4-2(3)) เป็นต้น
    2.3 หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของ หลักสูตร คณะ สำนัก และสถาบัน อย่างต่อเนื่อง และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย  (5.4-2(4)) สภาวิชาการ  (5.4-2(5)) สภามหาวิทยาลัย  (5.4-2(6)) ทราบและพิจารณา เช่น รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน กำกับติดตามการจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำ พิจารณาระเบียบประกาศต่างๆ พิจารณาโครงการและกำหนดการในการตรวจประเมิน พิจารณาปฏิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ พิจารณาผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา พิจารณาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พิจารณาแผนบริหารความเสี่ยง พิจารณาแผนการจัดการความรู้ เป็นต้น

3มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของหลักสูตรและคณะ ให้เกิดผลตามองค์ประกอบการประกันคุณภาพหลักสูตรและคณะ ดังนี้
    3.1 มีการจัดทำประกาศที่เกี่ยวข้องกับการขับดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นระบบและกลไกให้ทุกหลักสูตร คณะ สำนัก สถาบัน และมหาวิทยาลัย ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประกอบด้วย ประกาศ เรื่อง แนวทางการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่นำเกณฑ์ EdPEx ไปใช้ในการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ (5.4-3(1)) ประกาศ เรื่อง แนวทางปฏิบัติด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (5.4-3(2)) ทำประกาศ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติที่ดีการประกันคุณภาพการศึกษา (5.4-3(3)) ประกาศ เรื่อง นโยบายประกันคุณภาพการศึกษา (5.4-3(4)) ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดคุณสมบัติคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (5.4-3(5)) ประกาศ เรื่อง นโยบายบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (5.4-3(6)) ประกาศ เรื่อง กรอบระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (5.4-3(7)) 
    3.2 มีการจัดทำปฎิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (5.4-3(8)) เพื่อให้ทุกหลักสูตร และคณะ ใช้เป็นกรอบการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ซ้ำซ้อนกัน
    3.3 มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ จัดเก็บข้อมูล บริการข้อมูล บริหารจัดการข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เช่น ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจด้านการวิจัย (http://researchmis.sskru.ac.th/เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล บริหารจัดการข้อมูล ให้กับสถาบันวิจัย และทุกคณะ เพื่อการบริหารและตัดสินใจ ระบบการประเมินออนไลน์ (http://esar.sskru.ac.th/เพื่อให้หลักสูตร และคณะใช้ในการเขียนรายงานการประเมินตนเอง จัดเก็บเอกสารหลักฐานประกอบตัวชี้วัด และใช้สำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในแบบออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (http://qa.sskru.ac.th/) เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรม ดาวน์โหลดเอกสาร และบริการข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายนอกและภายใน ระบบจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำ (http://qa.sskru.ac.th/employ/) ให้ทุกหลักสูตรใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล กำกับติดตามบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ระบบคลังข้อมูลการจัดการความรู้ (http://qa.sskru.ac.th/sys/?q=km) เป็นแหล่งรวบรวม จัดเก็บองค์ความรู้ของทุกคณะไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร สามารถสืบค้นได้อย่างเป็นระบบ

4นำผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรและคณะที่ผ่านการพิจารณาของกรรมการระดับสถาบันเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้นำผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรและคณะที่ผ่านการพิจารณาของกรรมการระดับสถาบันเสนอสภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณา ดังนี้
    หลังจากที่ทุกหลักสูตร และทุกคณะ ได้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565 แล้วเสร็จ หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ได้มีการกำกับติดตามให้ทุกหน่วยงานส่งผลการประเมินมายังหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพ (5.4-4(1)) เพื่อรวบรวมและรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2566  (5.4-4(2)) เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ หลังจากนั้นเสนอต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2566 (5.4-4(3)) เพื่อพิจารณา 

5นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภามหาวิทยาลัยมาปรับปรุงหลักสูตรและการดำเนินงานของคณะให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้นำผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากสภามหาวิทยาลัยมาปรับปรุงหลักสูตร และการดำเนินงานของคณะ ให้มีคุณภาพดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
    หลังจากที่มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2564 (5.4-5(1)) แล้วเสร็จ หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ได้นำผลการประเมินจากคณะกรรมการเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ครั้งที่ 8/2565 (5.4-5(2)) และเสนอที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 7/2565 (5.4-5(3)) เพื่อพิจารณา และนำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Quality Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา 2565 (5.4-5(4)) เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (Quality Improvement Plan) (5.4-5(5)) ส่งผลให้ทุกหลักสูตร และทุกคณะ มีผลการประเมินสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด รายละเอียดดังตารางนี้

หน่วยงาน

เปรียบเทียบผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน 3 ปีย้อนหลัง

ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2564

ปีการศึกษา 2565

ระดับหลักสูตร

3.69 3.70 3.75

ระดับคณะ

4.45 4.57 4.65
6มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน

มหาวิทยาลัย มีผลการประเมินคุณภาพทุกหลักสูตรผ่านองค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน ดังนี้
    สภามหาวิทยาลัย ตระหนักและให้ความสำคัญในการบริหารจัดการหลักสูตรทุกหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดระบบการประกันคุณภาพการศึกษาที่มีประสิทธิภาพตั้งแต่การควบคุมคุณภาพ ติดตามตรวจสอบคุณภาพ และการพัฒนาคุณภาพให้มหาวิทยาลัย คณะ และหลักสูตรสามารถทำงานเชื่อมกันได้อย่างเป็นระบบ และผู้บริหารมหาวิทยาลัย มีการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติในการดำเนินงานของหลักสูตร มีการกำหนดหน่วยงานและผู้รับผิดชอบระดับมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยประสานงาน มีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานของคณะและหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง มีการส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากร ทั้งด้านงบประมาณ สิ่งอำนวยความสะดวกให้พร้อมต่อการจัดการเรียนการสอน ระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการหลักสูตร ฯลฯ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตร ในปีการศึกษา 2565 มีหลักสูตรที่เปิดทำการเรียนการสอนจำนวนทั้งสิ้น 48 หลักสูตร จากการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพส่งผลให้มีผลการประเมินด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามองค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต ตัวบ่งชี้ที่ 1.1 ผลการบริหารจัดการหลักสูตรโดยรวม มีผลการประเมินผ่าน 48 หลักสูตร คิดเป็นร้อยละ  100 มีระดับคุณภาพ 3.75 (คะแนน ) (5.4-6(1))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 ข้อ 5 คะแนน