ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ 
กลุ่มสถาบัน และเอกลักษณ์ของสถาบัน

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : จรัส โนนกอง , ชุดาลักษณ์ กิติราช , เจริญศรี ธรรมนิยม , สะอาด ศิริโชติ , ธัญชนก สีหะวงษ์ , บุณฑริการ์ บุญกันหา , พัทธ์ธีรา เสาร์ชัย , ศุภากร ปานเทวัญ , มานะศักดิ์ หงษ์คำชัย , พรรทิวา อุโลก , อุไรวรรณ นาอินทร์ , สุชาติ ศรีชื่น
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยมีพันธกิจหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ในการดำเนินพันธกิจหลัก มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องมีการจัดทำแผนเพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาและการดำเนินงานของคณะให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ตลอดจนมีการบริหารทั้งด้านบุคลากร การเงิน ความเสี่ยงและการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามพันธกิจหลักให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล คำนึงถึงความหลากหลายและความเป็นอิสระทางวิชาการ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ยืดหยุ่น คล่องตัว โปร่งใส และตรวจสอบได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของสถาบัน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสถาบันพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน แผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลา เพื่อให้บรรลุผลตามตัวชี้วัด เป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาเห็นชอบ/อนุมัติ
2 การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคณะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน
3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบันและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม อย่างน้อย 1 เรื่อง
4 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน (ให้แสดงผลการดำเนินงานในปีที่ประเมิน)
5 การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ
6 การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน
7 การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในตามระบบและกลไกที่สถาบันกำหนด ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1พัฒนาแผนกลยุทธ์จากผลการวิเคราะห์ SWOT โดยเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ของสถาบัน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของสถาบัน รวมทั้งสอดคล้องกับกลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสถาบันพัฒนาไปสู่แผนกลยุทธ์ทางการเงิน แผนปฏิบัติการประจำปีตามกรอบเวลา เพื่อให้บรรลุผลตามตัวชี้วัด เป้าหมายของแผนกลยุทธ์และเสนอผู้บริหารระดับสถาบันเพื่อพิจารณาเห็นชอบ/อนุมัติ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีระบบ กลไก และกระบวนการในการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์แผนกลยุทธ์ทางการเงิน และแผนปฏิบัติการประจำปี ตามขั้นตอนดังนี้

1. กระบวนการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี  
    1.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี  (5.2-1(1)) โดยมีคณะผู้บริหารทุกท่านเป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีรองอธิการบดีฝ่ายนโยบายและแผนเป็นคณะกรรมการดำเนินงานและมีผู้บริหารคณาจารย์และบุคลากรจากทุกคณะ หน่วยงาน เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน โดยมีหน้าที่ ระดมความคิดเห็นเพื่อรวบรวมข้อมูล สำหรับการจัดทำแผน ทบทวนแผนพัฒนาและประเมินผล ยุทธศาสตร์มหาลัยราชภัฏศรีสะเกษระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)
    1.2 มีการจัดประชุมคณะกรรมการจัดทำแผน ทบทวนแผนพัฒนาและประเมินผลตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อร่วมกันยกร่างแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี  (พ.ศ. 2566-2570) แบบมีส่วนร่วมโดยมีตัวแทนจากคณะ หน่วยงาน ตั้งแต่ระดับผู้บริหาร อาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน  เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 -2570 ) โดยมีการเชื่อมโยง  แผนยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้องดังนี้
        1) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)
        2) (ร่าง) กรอบทิศทางแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2560 - 2574)
        3) แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)
        4) กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561 - 2580)
        5) ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)
        6) ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570)
        7) แผนยุทธศาสตร์เพื่อยกคุณภาพมาตรฐานมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่คุณภาพเป็นเลิศ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2558 - 2567)
    1.3 มีการดำเนินการวิเคราะห์ SWOT  กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์ และกลยุทธ์ ตัวชี้วัดของกลยุทธ์ ค่าเป้าหมาย  หลังจากนั้นได้เสนอ  (ร่าง)แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)   ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2565 วันที่ 19 กันยายน 2565 วาระที่ 4.5 (5.2-1(2)) เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) (5.2-1(3)) และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2565 วันที่ 24 กันยายน 2565 วาระที่ 4.9 (5.2-1(4)) และแปลงมาเป็นแผน กลยุทธทางการเงินและแผนปฏิบัติการในลำดับต่อไป

2. กระบวนการพัฒนาแผนกลยุทธ์ทางการเงิน
          การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยจะประสบความสำเร็จได้นั้น มีความจำเป็นที่จะต้องจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินเพื่อเป็นกลไกในการบริหารจัดการด้านการเงินให้เหมาะสมและเพียง พอที่จะสนับสนุนพันธกิจต่าง ๆ  ของมหาวิทยาลัยให้บรรลุตามเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ อันได้แก่ การสร้างกลไกในการจัดสรร การวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย การตรวจสอบการเงินและงบประมาณอย่างมี ประสิทธิภาพ มีการวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่ายของการดำเนินงาน โดยพิจารณาจากทุกแหล่งเงิน ทั้งจาก งบประมาณแผ่นดิน และเงินรายได้จากค่าบำรุงการศึกษา รวมทั้งรายได้อื่น ๆ ที่มหาวิทยาลัยได้รับ มีการนำเงินรายได้ไปจัดสรรอย่างเป็นระบบ มีระบบฐานข้อมูลทางการเงินที่สามารถแยกค่าใช้จ่ายตามหมวด ต่าง ๆ มีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบครบทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัย รวมทั้งมีผู้ตรวจสอบการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ รายงานทางการเงินต้องสามารถทราบข้อมูลด้านค่าใช้จ่ายทั้งหมด ทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย  การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาบุคลากร แผนกลยุทธ์ทางการเงินของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5ปี ( พ.ศ. 2566 – 2570) ได้มีการดำเนินการตามแผนงาน โครงการ และพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงาน ประสบความสำเร็จ จึงได้จัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินของมหาวิทยาลัยฯ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล (Good Governance) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดี พ.ศ. 2542 มี 6 องค์ประกอบ คือ หลักนิติธรรม (The Rule of Law) หลักคุณธรรม (Morality) หลักความโปร่งใส (Accountability) หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักความรับผิดชอบ (Responsibility) และหลักความคุ้มค่า (Cost – effectiveness or Economy)
    - มีการดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) ด้านการเงิน เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการเงินของมหาวิทยาลัย โดยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในเพื่อศึกษาองค์ประกอบและความสามารถภายในของการดำเนินงานทางการเงินของมหาวิทยาลัย ได้แก่ จุดแข็ง (Strengths) และจุดอ่อน (Weaknesses) และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานทางการเงินของมหาวิทยาลัย ได้แก่ โอกาส (Opportunities) และอุปสรรค (Threats)
    - โดยแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางเงินระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)  (5.2-1(5)) มีหน้าที่กลั้นกรองกลยุทธทางการเงินและทบทวนแผลกลยุทธทางการเงิน
    - มีการดำเนินการจัดทำแผนกลยุทธ์ทางการเงินระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) (5.2-1(6)) ให้มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
    - มีการเสนอแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2565 (5.2-1(7)) วาระที่ 4.20 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนกลยุทธทางการเงินฯ
    - มีการเสนอแผนกลยุทธ์ทางการเงินต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย  ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 (5.2-1(8)) วาระที่ 4.10 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนกลยุทธทางการเงินฯ

3. กระบวนการพัฒนาแผนปฏิบัติการ 
    การดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยทำการแปลงจากแผนยุทธศาตร์มหาวิทยาลัยเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีตามพันธกิจ โดยใช้กระบวนการแปลงกลยุทธ์สู่การปฏิบัติการ ดังนี้
    - มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (5.2-1(9))
    - มีการจัดการประชุมชี้แจงการจัดทำคำของบประมาณและแผนปฏิบัติการ โดยมีบุคลากรที่เป็นตัวแทนจากทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเข้าร่วมการประชุม เพื่อถ่ายทอดกลยุทธ์ กำหนดทิศทางการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี เสนอผลการดำเนินงานในปีงบประมาณที่ผ่านมา (5.2-1(10))
     - มีการจัดชี้แจงการจัดทำคำของบประมาณและแผนปฏิบัติการประจำปี ต่อคณะกรรมการพิจารณาคำของบประมาณ และแผนปฏิบัติการ โดยการกำหนดการตารางในการเข้าชี้แจงคำของบประมาณและแผนปฏิบัติการประจำปี 2566       (5.2-1(11))
    - มีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของแผน ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม ให้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยอย่างครบถ้วน กำหนดกลยุทธ์ประจำปีโดยถอดจากแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) กำหนดโครงการ/กิจกรรมที่สอดรับกลยุทธ์ กำหนดตัวชี้วัดค่าเป้าหมายของโครงการ ในแผนปฏิบัติการ ประจำปี พ.ศ. 2566 (5.2-1(12))
    - มีการเสนอแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2565 วาระที่4.1 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฯ (5.2-1(13))
    - หลังจากนั้นได้มีการเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8/2565  วาระที่ 4.12 เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฯ (5.2-1(14 ))

4. กระบวนการถ่ายทอดแผนสู่การปฏิบัติ
       ในการแปลงแผนหรือนำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ไปสู่การปฏิบัตินั้น มหาวิทยาลัยมุ่งเน้นการนำแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยไปจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี โดยการถ่ายทอดนโยบาย ผลผลิต ผลลัพธ์ และค่าเป้าหมายให้แก่ คณะ สำนัก สถาบัน กอง และหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดยมีแนวปฏิบัติต่างๆ ดังนี้
         4.1) สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกระดับ โดยการสร้างความรู้ ความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับแผน และกลวิธีนำแผนลงสู่ระดับหน่วยงานและบุคคล เพื่อให้บุคลากรทุกระดับได้รับทราบและเกิดทักษะในการนำไปปฏิบัติ โดยมีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ระยะ5 ปี ในที่ประชุมสามัญประจำปีของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
         4.2) มหาวิทยาลัยได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์แผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี(พ.ศ.2566-2570) และแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2566 และทำบันทึกประชาสัมพันธ์แผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (5.2-1(15)) การถ่ายทอดยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสู่ระดับคณะ สำนัก สถาบัน กอง และหน่วยงานต่างๆ โดยการชี้แจงทำความเข้าใจ และความชัดเจนในแต่ละประเด็น
         4.3) กำหนดค่าเป้าหมาย กลยุทธ์ โครงการ กิจกรรม ตลอดจนทรัพยากรที่ต้องการสำหรับจัดทำงบประมาณประจำปีในแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2566  (5.2-1(16))
         4.4) การสร้างพลังและความร่วมมือเพื่อนำไปสู่ผลที่ตั้งเป้าหมายไว้ตามแผนงานและโครงการ
         4.5) จัดระบบการสื่อสารภายในองค์กรอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง วางระบบสนับสนุนต่างๆ เช่น การบริการการเปลี่ยนแปลง การพัฒนาบุคลากร การบริหารแบบมีส่วนร่วม การจัดการความรู้ ตลอดจนการกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ เพื่อถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และค่าเป้าหมายให้แก่คณะ สำนัก สถาบัน กอง และหน่วยงานต่างๆ โดยพัฒนาระบบการสื่อสารภายในมหาวิทยาลัย เพื่อประชาสัมพันธ์แผนให้บุคลากรได้รับทราบอย่างทั่วถึงในรูปแบบที่หลากหลาย
         4.6) การบริหารแผนการปฏิบัติราชการ มหาวิทยาลัยจัดระบบการบริหารแผนปฏิบัติราชการให้มีกลไกเพื่อเฝ้าระวังและตรวจสอบแผนการดำเนินงานที่มีความคลาดเคลื่อน จากแผนเพื่อประกอบการตัดสินใจว่าจะต้องแก้ไขอย่างไร โดยให้มีการรายงานผลตามลำดับขั้นของความรับผิดชอบเป็นรายไตรมาส

5.กระบวนการกำกับ ติดตาม และทบทวนแผนฯ
     5.1 กระบวนการกำกับ ติดตาม และทบทวนแผนกลยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี  (พ.ศ. 2566-2570) 
    - มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทบทวนแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) 
    - มีการจัดทำคู่มือแนวทางและกระบวนการทบทวนแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) (5.21(17)) เพื่อใช้เป็นแนวทางการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ที่ส่วนราชการพึงนํามาใช้ในการพัฒนาระบบบริหารจัดการ  การทบทวนวิสัยทัศน์ ผลผลิต/โครงการ และตัวชี้วัดผลสำเร็จเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อให้หน่วยงาน ได้ดำเนินการทบทวนวิสัยทัศน์  เป้าหมายการให้บริการ ผลผลิต/โครงการ  และตัวชี้วัดผลสำเร็จในระดับต่างๆให้มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งระบบ
    - มีการประชุมคณะกรรมการทบทวนแผนพัฒนามหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) เรื่อง การกำหนดแนวทางและกระบวนการในการทบทวนแผน (5.2-1(18)) โดยที่ประชุมของคณะกรรมการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พบว่า แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยฯ ดำเนินการเสร็จก่อนการนำระบบประกันคุณภาพตามเกณฑ์ EdPEx มาใช้ ส่งผลให้      เป้าหมายในการพัฒนาองค์กรยังไม่สอดคล้องกับเกณฑ์ EdPEx  ดังนั้นกองนโยบายและแผน ซึ่งได้รับมอบหมายจากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษให้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการทบทวนแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 -2570) ขึ้น ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมศรีพฤทธาลัยราชภัฏสัมมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  โดยการเรียนเชิญคณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ ตัวแทนจากทุกหน่วยงานมาร่วมการประชุมทบทวนแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5ปี (พ.ศ.2666 -2570) เพื่อทบทวนตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย ให้สอดคล้องกับเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษา ตามเกณฑ์ EdPEx เพื่อให้เป็นตามเกณฑ์
    - มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (5.2-1(19)) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนฯ ทุกหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย มีการทำหนังสือเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ และเร่งรัดการดำเนินงานโครงการ (5.2-1(20)) และจัดประชุมคณะทำงานเพื่อเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2566 (ไตรมาส 1), (ไตรมาส 2) และ(ไตรมาส 3) พร้อมทั้งผู้ดูแลงบประมาณทุกหน่วยงาน เพื่อเร่งรัดการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพ 
    - มหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินงานครบถ้วน ครอบคลุมทั้ง 4 พันธกิจหลัก คือ ด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
    - มีการรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2566เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ไตรมาส 1) ครั้งที่1/66 วาระที่5.7 (5.2-1(21)) , (ไตรมาส 2) ครั้งที่4/66 วาระที่5.7 (5.2-1(22))
    - มีการรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2566 เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย (ไตรมาส 1) ครั้งที่1/66 วาระที่5.4 (5.2-1(23)) , (ไตรมาส 2) ครั้งที่4/66 วาระที่ 5.1 (5.2-1(24))

6. กระบวนการปรับปรุงแผน
    - มีการจัดทำรายงานประจำปี 2565 ตามแผนปฏิบัติการประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (5.1-1(25)) และรายงานผลการดำเนินงานรายตัวชี้วัด ค่าเป้า รายงานผลการดำเนินงานรายตัววชี้วัด ค่าเป้าหมาย และบรรลุเป้าหมายหมาย  และการบรรลุเป้าหมาย(5.2-1(26))

2การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคณะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์ บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการกำกับ ติดตาม ส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคณะ ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงิน โดยสามารถแจกแจงรายละเอียดของการดำเนินงานได้ดังต่อไปนี้

1. การกำกับ
    1.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2565 (5.2-2(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่กำกับ ติดตาม และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
    1.2 มีการจัดทำคู่มือในการดำเนินงานการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (5.2-2(2)) เพื่อให้ทุกคณะใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย
    1.3 มีการจัดทำไฟล์สูตรการคำนวณการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยให้ทุกคณะใช้เป็นเครื่องมือในการคำนวณเพื่อความแม่นยำของข้อมูล มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (5.2-2(3))
    1.4 มีการจัดทำปฏิทินกรอบระยะเวลาในการดำเนินงานการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย และเผยแพร่ในแต่ละคณะให้มีการดำเนินงานตามกระบวนการ แบบฟอร์ม และตรงตามระยะเวลาที่กำหนด (5.2-2(4))

2. การกำกับติดตาม
    2.1 มีการจัดการประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 2/2566 (5.2-2(5)) เพื่อกำกับ ติดตามการดำเนินงานวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย การวิเคราะห์ความคุ้มค่า ประสิทธิภาพประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต โอกาสในการแข่งขัน 
    2.2 มหาวิทยาลัยมีการกำกับติดตามผลการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (5.2-2(7)) , (5.2-2(8)) เพื่อพิจารณาข้อมูลประกอบการวิเคราะห์ความคุ้มค่าและกำหนดแนวทางการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขัน และเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (กบ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2566 เมื่อวันพุธที่ 23 สิงหาคม 2566 (5.2-2(9)) วาระที่ 5.5 เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาให้ทุกหลักสูตร มีความสามารถอยู่ในจุดคุ้มทุนในปีการศึกษาต่อไป

3. ส่งเสริมสนับสนุน
    3.1 มีการเผยแพร่คู่มือในการดำเนินงานการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (5.2-2(2))
    3.2 มีการจัดทำไฟล์สูตรการคำนวณการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยให้ทุกคณะใช้เป็นเครื่องมือในการคำนวณเพื่อความแม่นยำของข้อมูล มีประสิทธิภาพ และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน (5.2-2(3))
    3.3 มีการสนับสนุนข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยให้คณะใช้ดำเนินการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของแต่ละหลักสูตร ประสิทธิภาพประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน (5.2-2(6))

4. ผลการติดตาม
    ผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ตามองค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 2 อันเป็นผลจากการกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคณะดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนานักศึกษา อาจารย์บุคลากร การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขัน มีผลการดำเนินงานดังนี้

ที่ คณะ ผลการประเมิน
1 คณะครุศาสตร์ ผ่าน
2 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ผ่าน
3 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ผ่าน
4 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผ่าน
5 วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง ผ่าน
6 คณะพยาบาลศาสตร์ ผ่าน
3ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบันและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม อย่างน้อย 1 เรื่อง

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ดังนี้

1. ขั้นวางแผน (Plan)
    1.1 มีการจัดทำแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (5.2-3(1)) เพื่อเป็นระบบและกลไกในการดำเนินงาน พร้อมแนะนำวิธีการใช้แผนการบริหารจัดการความเสี่ยงให้ผู้เกี่ยวข้องทราบทุกขั้นตอนและแจกเอกสารให้หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยทั้งระดับคณะ สำนัก และสถาบันนำไปใช้ประโยชน์
    1.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยง ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2565 (5.2-3(2)) โดยมีอธิการบดี คณะผู้บริหารทุกท่านเป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่กำกับ ติดตาม จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ดำเนินงานตามแผนฯ และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และจัดทำรายงานประเมินตนเองในระดับสถาบันองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสถาบัน เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 3 ดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลการวิเคราะห์และระบุปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของสถาบันและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิม
    1.3 มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยงระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 1/2565 (5.2-3(3)) เพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ แจ้งผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในด้านการบริหารความเสี่ยง ประจำปีการศึกษา 2565 และกำหนดแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานในปีการศึกษา 2565 และร่วมกันระบุความเสี่ยง (Risk Identification) การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) และการจัดลำดับความเสี่ยง (Degree of Risk)
    1.4 มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยงระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 2/2565 (5.2-3(4)) เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 
    1.5 นำแผนบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (5.2-3(5)) เสนอคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ให้ความเห็นชอบ ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2565 (5.2-3(6)) และนำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง
    1.6 นำแผนบริหารความเสี่ยงฯ เสนอคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565 (5.2-3(7)) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฯ และนำข้อเสนอแนะดังกล่าวมาปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการความเสี่ยง

2. ขั้นดำเนินงาน (Do)
    ผลจาการดำเนินการตามแนวทางการป้องกัน/แก้ไข/ลดความเสี่ยง พบว่า จากปัจจัยความเสี่ยง  จำนวน 8 เรื่อง สามารถดำเนินการจนส่งผลให้ความเสียงลดลงจากเดิม จำนวน 4  เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 50 และมีปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถจัดการความเสี่ยงให้ลดลงได้ จำนวน 4  เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 50 (5.2-3(8))

3. การกำกับ ติดตาม และประเมินผล (Check)
    3.1 มหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2565 (5.2-3(9)) โดยมีอธิการบดี คณะผู้บริหารทุกท่านเป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ เป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยงและควบคุมความเสี่ยงภายใน รวมทั้งกำหนดแนวทางและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนการบริหารความเสี่ยง ระดับสถาบัน พิจารณาจัดการทำรายงานสรุปผลการประเมินการบริหารความเสี่ยงต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
   3.2 จัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยงระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 2/2565 (5.2-3(10))  เพื่อกำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566
   3.3 จัดทำรายงานผลการดำเนินงานการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 (5.2-3(11)) เสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และเสนอให้คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย พิจารณาให้ความเห็นชอบ และให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนามหาวิทยาลัยในส่วนที่เกี่ยวข้อง

4. ขั้นปรับปรุง
  4.1 นำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 4/2566 (5.2-3(12)) เพื่อพิจารณาผลการบริหารความเสี่ยงและให้ข้อเสนอแนะ
  4.2 มีการนำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่4/2566 (5.2-3(13)) เพื่อพิจารณาผลการบริหารความเสี่ยงและให้ข้อเสนอแนะ
  4.3 มหาวิทยาลัยได้กำหนดแนวทางการปรับปรุงการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยนำเอาข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย และคณะกรรมการดำเนินงานมากำหนดแนวทางการปรับปรุง ระยะเวลาการปรับปรุง และผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน ดังนี้

ข้อเสนอแนะ

แนวทางการปรับปรุง/การดำเนินงานปรับปรุง

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

- คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เสนอว่า ควรปรับแก้เพิ่มเติมให้ครบถ้วนสมบูรณ์ และให้นำเข้าที่ประชุมภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อทราบต่อไป 

1. การปรับปรุง  :
(   ) ปรับปรุงกระบวนการ 
(   ) ปรับปรุงโครงการ 
( / ) ปรับปรุงแผน

2. การดำเนินงาน :
(   ) ดำเนินการแล้ว         
( / ) อยู่ระหว่างดำเนินการ : เพิ่มเติมข้อมูลรายงานผลการสอบทานการประเมินการบริหารความเสี่ยง (5.2-3(14)) โดยการปรับแก้เพิ่มเติมรายงาน โดยสังเคราะห์ความเสี่ยงที่มีโอกาสและผลกระทบกับเป้าประสงค์ตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย และนำมาบริหารจัดการในแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
(   ) ยังไม่ดำเนินการ

สิงหาคม 2566

คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับสถาบัน

 

4บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน (ให้แสดงผลการดำเนินงานในปีที่ประเมิน)

 มหาวิทยาลัย บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการ ดังนี้

1. หลักประสิทธิผล (Effectiveness) ผู้บริหารมีการบริหารงบประมาณและการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เน้นที่ผลลัพธ์ใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุด โดยได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (5.2-4(1)) และได้นำเสนอแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 8/2564 (5.2-4(2)) เพื่อพิจารณา และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเงินงบประมาณรายจ่าย ปี พ.ศ.2565 เพื่อเป็นการกำกับติดตามการบริหารรายจ่ายให้ใช้ทรัพยากรให้ได้ประโยชน์สูงสุดอีกทางหนึ่งด้วย (5.2-4(3))

2. หลักประสิทธิภาพ (Efficiency) ผู้บริหารมีการดำเนินงานตามแนวทางการกำกับดูแลที่ดี โดยมีคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (5.2-4(4)) ในการกำกับดูและติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย คณะ สำนัก ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของมหาวิทยาลัย (5.2-4(5)) และมีคณะกรรมการตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย (5.2-4(6)) และคณะกรรมการติดตามตรวจสอบประจำมหาวิทยาลัย (5.2-4(7)) ซึ่งได้มีการจัดวางระบบและดำเนินการป้องกันความเสี่ยง มีระบบการตรวจสอบดีที่ และการติดตามตรวจสอบประเมินผลมหาวิทยาลัย และนำเสนอต่อสภามหาวิทยาลัย (5.2-4(8)) , (5.2-4(9))

3. หลักการตอบสนอง (Responsiveness) ผู้บริหารได้บริหารงานเพื่อสร้างความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น รวมถึงตอบสนองต่อผู้รับบริการ โดยมีกลไกและกระบวนการบริหารจัดการภายในมหาวิทยาลัย ที่มีประสิทธิภาพ มีความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ภายใต้กรอบการปฏิบัติที่ชัดเจน รวมถึงเปิดโอกาสและช่องทางในการรับฟังความคิดเห็นจากบุคลากร นักศึกษาและผู้ที่มีส่วนได้เสีย เสนอแนะ ซักถาม เช่น ช่องทางแจ้งข้อร้องเรียนฯ (5.2-4(10))  ,  (5.2-4(11)) และรายงานการปฏิบัติราชการต่อสภามหาวิทยาลัยทราบ (5.2-4(12))

4. หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability) ผู้บริหารได้ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ มีการกำหนดหน้าที่การรับผิดชอบของบุคคลากรอย่างชัดเจน ปฏิบัติราชการตามวิสัยทัศน์การบริหารงานที่ได้แถลงไว้ต่อสภามหาวิทยาลัยและ บุคลากร ทั้ง 9 ด้าน คือ ด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการบริการวิชาการ ด้านการบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ด้านส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริ ด้านการบริหารบุคคล ด้านกิจการนักศึกษา ด้านการบริหารทั่วไป โดยได้จัดทำเป็นรายงานผลการปฏิบัติราชการเสนอต่อสภามหาวิทยาลัยในการประชุม ทุกครั้ง (เช่นด้านการผลิตบัณฑิต ด้านการวิจัย ด้านการบริการวิชาการเป็นต้น) (5.2-4(13))

5. หลักความโปร่งใส (Transparency) มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัย โดยการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานใน มหาวิทยาลัย เช่น แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย (5.2-4(14)) แต่งตั้งคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ (5.2-4(15)) แต่งตั้งกรรมการสภาวิชาการจากผู้ทรงคุณวุฒิแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณา ตำแหน่งทางวิชาการ (5.2-4(16)) ซึ่งได้มีการรายงานสถานะทางการเงินให้กับคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยและคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกเดือน (5.2-4(17)) และมีการจัดตั้งหน่วยตรวจสอบภายใน ซึ่งปฏิบัติงานขึ้นตรงต่ออธิการบดี (5.2-4(18)) , (5.2-4(19))

6. หลักการมีส่วนร่วม (Participation) อธิการบดี ได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหารได้แสดงความคิดเห็นและส่วนร่วมในการปฏิบัติราชการ ในการประชุมกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย โดยจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยขึ้นทุกเดือน (5.2-4(20)) เปิดโอกาสและช่องทางสายตรงอธิการบดีให้บุคลากรนักศึกษาชี้แจงปัญหาในการดำเนินงาน (5.2-4(21)) รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในรูปแบบของคณะกรรมการต่าง ๆ ตามโครงสร้างของมหาวิทยาลัย เช่นคณะกรรมการอุทธรณ์และร้องทุกข์ คณะกรรมการประจำคณะ/สำนัก (5.2-4(22)) รวมถึงบทบาทหน้าที่ของสภาคณาจารย์และข้าราชการ (5.2-4(23)) ที่ได้มีการประชุมสภาคณาจารย์และข้าราชการในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของมหาวิทยาลัยและบุคลากร (5.2-4(24))

7. หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) อธิการบดี ได้มอบหมายงานและมอบอำนาจความรับผิดชอบให้แก่ผู้บริหารในระดับต่างๆ โดยได้มีคำสั่งมอบหมายงานให้ที่ปรึกษาอธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิต ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยรวมถึงคณะกรรมการ ต่างๆในการพิจารณาและเสนอแนะในการจัดกิจกรรมของมหาวิทยาลัยโดยตรง โดยมุ่งเน้นการสร้างความพึงพอใจ เพิ่มประสิทธิภาพ และผลการดำเนินงานที่ดีของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย (5.2-4(25))

8. หลักนิติธรรม (Rule of law) ผู้บริหาร คณะกรรมการบริหารทุกระดับได้มีการออกแนวปฏิบัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ขึ้นมาใช้ภายในมหาวิทยาลัย และต้องดำเนินการภายใต้กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมีบทลงโทษการทุจริตและประพฤติมิชอบ และ ตลอดจนมีการใช้อำนาจตามที่กฎหมายและพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ กำหนดไว้ (5.2-4(26))

9. หลักความเสมอภาค (Equity) อธิการบดี มีนโยบายด้านการให้บริการโดยยึดหลัก คือการให้บริการอย่างเสมอภาคโดยไม่แบ่งแยกด้าน ชายหรือหญิง ถิ่นกำเนิด เชื่อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม การศึกษา การฝึกอบรม และอื่น ๆ โดยให้ทุกคนได้รับบริการอย่างเท่าเทียมกัน ตลอดจนมีการสร้างเสริมความสามัคคี ระหว่างบุคลากรของมหาวิทยาลัยผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การประชุมพิจารณาการจัดสรรบ้านพักให้กับบุคลากร (5.1-4(27)) การให้สวัสดิการสำหรับบุคลากรหรือคู่สมรถของบุคลากรในกรณีคลอดบุตร กรณีบุคลากรสมสร กรณีบุคลากรบวช และกรณีอนุญาตให้บุคลากรชายลาเลี้ยงดูบุตรช่วยภรรยาได้ (5.2-4(28)) การพิจารณาทุนการศึกษาและการอนุมัติให้ลาศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ทั้งในส่วนสายสนับสนุน และสายวิชาการ เป็นต้น (5.2-4(29))

10. หลักมุ่งเน้นฉันทามติ (Consensus Oriented) อธิการบดี บริหารงานภายใต้ การใช้กระบวนการหาข้อคิดเห็นและข้อตกลงภายในกลุ่มในการพิจารณาประเด็น สำคัญต่างๆ อันมีผลต่อการบริหารงานตามนโยบายของมหาวิทยาลัยเช่น การประชุมสภามหาวิทยาลัย การประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย การประชุมคณะกรรมการบริหารงานบุคคล เป็นต้น (5.2-4(30)) 

5การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ

มหาวิทยาลัยมีการกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ ดังนี้

1. กำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ (ภายใน)
    1.1 มีการจัดทำคู่มือการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ พ.ศ. 2561 (5.2-5(1)) เพื่อเป็นระบบและกลไกในการดำเนินงาน พร้อมแนะนำวิธีการใช้คู่มือให้ผู้เกี่ยวข้องทราบทุกขั้นตอน และแจกเอกสารคู่มือให้ทุกหน่วยภายในมหาวิทยาลัยทั้งระดับคณะ สำนัก และสถาบันนำไปใช้     
    1.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการความรู้ตามระบบ ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2565 (5.2-5(2)) โดยมีอธิการบดี คณะผู้บริหารทุกท่านเป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่กำกับ ติดตาม จัดทำแผนการจัดการความรู้ตามระบบ ดำเนินงานตามแผน ฯ และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และจัดทำรายงานประเมินตนเองในระดับสถาบันองค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจ กลุ่มสถาบันและเอกลักษณ์ของสถาบัน เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 5 กำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ         
    1.3 มีการจัดทำแบบฟอร์มการจัดเก็บข้อมูลการจัดการความรู้ (5.2-5(3)) เพื่อให้ทุกหน่วยงานจัดเก็บข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ         
    1.4 มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการความรู้ ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 1/2565 (5.2-5(4)) เป็นการประชุมเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ แจ้งผลการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายในด้านการจัดการความรู้ ประจำปีการศึกษา 2564 มีการกำกับ ติดตามการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ การกำหนดปฏิทินการดำเนินงาน ร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ และร่วมกันวิเคราะห์ประเด็นความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาองค์กร กำหนดประเด็นความรู้ การรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีเป็นลายลักษณ์อักษร การเผยแพร่องค์ความรู้และจัดเก็บอย่างเป็นระบบในคลังข้อมูลการจัดการความรู้ และส่งเสริมให้มีการนำแนวปฏิบัติที่ดีไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาองค์กร และพิจารณา (ร่าง) แผนการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2565 (5.2-5(5))      
    1.5 มีการนำ (ร่าง) แผนการจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2565 เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 (5.2-5(6)) วันที่ 23 มกราคม 2566  เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

   1.6 มีการจัดประชุมคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการจัดการความรู้ ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2565 ครั้งที่ 2/2565 (5.2-5(7)) เป็นการประชุมเพื่อพิจารณาแนวทางการจัดโครงการประกวดสุดยอดผลงานด้านการจัดการความรู้ (KM Award) ประจำปีการศึกษา 2565

2. มีการจัดโครงการประกวดสุดยอดผลงานด้านการจัดการความรู้

    มีการจัดโครงการประกวดสุดยอดผลงานด้านการจัดการความรู้ (KM Award) ประจำปีการศึกษา 2565 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมศรีวรรณ เกียรติสุรนนท์ ตึก 9 ชั้น 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี (Good Practice) จากหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยที่เป็นผลมาจากการจัดการความรู้ และมอบรางวัลสำหรับผู้ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่น (Best Practice) เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน ตลอดจนเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงาน และเผยแพร่องค์ความรู้สู่การปฏิบัติต่อไป มีหน่วยงานส่งผลงานเข้าประกวด 11 หน่วยงาน (5.2-5(8))

3. มีการรวบรวมจัดเก็บองค์ความรู้เป็นลายลักษณ์อักษร   
    มีการจัดทำเว็บไซต์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีของทุกหน่วยงาน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้สาธารณะชนทราบบนเว็บไซต์ : คลังข้อมูลการจัดการความรู้ ( http://qa.sskru.ac.th/sys/?q=km ) และจัดทำเป็นรูปเล่ม แนวปฏิบัติที่ดี (Tacit Knowledge) (5.2-5(9)) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 7/2566 (5.2-5(10)) เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2566 เพื่อโปรดทราบ

4. ผลการกำกับติดตามสนับสนุน คณะ มีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ     
    ผลจากการกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกคณะมีการดำเนินการจัดการความรู้ตามระบบ ครบทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ด้านการผลิตและด้านการวิจัย ตามองค์ประกอบที่ 5 ตัวบ่งชี้ที่ 5.2 เกณฑ์มาตรฐานข้อที่ 5

ที่

คณะ

ประเด็นความรู้ (การผลิตบัณฑิต)

ประเด็นความรู้ (การวิจัย)

ผลการประเมิน(ผ่าน/ไม่ผ่าน)

1

คณะครุศาสตร์

การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

แนวทางการพัฒนาผลงานเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการ

ผ่าน

2

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

การจัดทำ มคอ. ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ

การขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

ผ่าน

3

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการกับการทำงาน

กระบวนการพัฒนาผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์สู่การจด

อนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร

ผ่าน

4

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

การพัฒนาคุณภาพตำราและเอกสารประกอบการสอน

เทคนิคการจัดการและเผยแพร่บทความวิจัยอย่างเป็นระบบ                        

ผ่าน

5

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

เทคนิคการทำหลักสูตร OBE เพื่อเชื่อมโยง มคอ.7

เทคนิคการทำวิจัยที่มีคุณภาพในระดับสากลและการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ

ผ่าน

6

คณะพยาบาลศาสตร์

แนวปฏิบัติในการจัดการเรียนการสอนแบบการศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์

เทคนิคการเขียนผลงานวิจัยเพื่อการตีพิมพ์

ผ่าน

6การกำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

1. มีระบบและกลไก
    1.1 มีการกำหนดทิศทางการบริหารและพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนตามยุทธศาสตร์ที่ 6
การพัฒนาระบบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ไว้ในแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) (5.2-6(1)) เพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
    1.2 มีการจัดทำกรอบอัตรากำลังและตำแหน่งเพิ่มใหม่ ระยะ 4 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 – 2568 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ สายวิชาการและสายสนับสนุน เพื่อใช้เป็นกรอบในการวางแผนด้านทรัพยากรมนุษย์และรองรับการพัฒนามหาวิทยาลัยให้สามารถดำเนินการภารกิจให้บรรลุเป้าหมาย (5.2-6(2))
    1.3 มหาวิทยาลัยมีการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรตามกรอบอัตรากำลังที่กำหนดไว้ในแผน โดยเป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย พนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563 (5.2-6(3)) และกำหนดแนวปฏิบัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ตามประกาศหลักเกณฑ์ วิธีการจ้างการบรรจุ การแต่งตั้งและการทำสัญญา มีประกาศหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการสรรหาและการเลือกสรรพนักงานมหาวิทยาลัย เพื่อให้บุคลากรได้ทราบและเป็นไปตามกรอบอัตรากำลังที่วางแผนไว้ (5.2-6(4)), (5.2-6(5)), (5.2-6(6)), (5.2-6(7))
    1.4 มีการกำหนดลักษณะงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง และมีการนำมาตรฐานกำหนดตำแหน่งของบุคลากรแต่ละตำแหน่งมาเป็นข้อกำหนดการปฏิบัติงานในบัญชีแนบท้ายคำสั่งจ้างของบุคลากรทุกราย เพื่อให้บุคลากรทราบถึงตำแหน่งของตนเอง และเป็นการระบุคุณสมบัติตำแหน่งความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่ง เพื่อให้บุคลากรเข้าใจในการทำงาน (5.2-6(8))
    1.5 มีการประเมินผลการปฏิบัติงาน ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2563 (5.2-6(9)) โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย (ขั้นต้น ขั้นกลาง ขั้นสุดท้าย)  (5.2-6(10)),(5.2-6(11)), (5.2-6(12)) พร้อมทั้งมีการกำหนดปฏิทินการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษไว้อย่างชัดเจน (5.2-6(13)) และได้จัดทำเอกสารประกอบการประชุมประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัย  (5.2-6(14)) และมีการกำหนดเส้นทางเดินของตำแหน่งโดยให้บุคลากรสายวิชาการสามารถขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ พ.ศ. 2561 (5.2-6(15))  และกำหนดให้บุคลากรสายสนับสนุนสามารถขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วยมาตรฐานการกำหนดตำแหน่งและการแต่งตั้งข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้น พ.ศ. 2556 (5.2-6(16))
    1.6 มีการกำหนดปฏิทินการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อการขับเคลื่อนโครงการให้บรรลุและเป็นไปตามระยะเวลาประเมินคุณภาพระดับสถาบัน  (5.2-6(17))
    1.7 มีฐานข้อมูลสารสนเทศของบุคลากร โดยมีการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศของบุคลากรของสำนักและบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยโดยใช้ระบบ HRMS (http://www. hrms.sskru.ac.th) (5.2-6(18)) ในการจัดเก็บฐานข้อมูลบุคลากร และมีการทำบันทึกเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ เผยแพร่แจ้งการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบุคลากรไปให้แต่ละคณะ/สำนัก/สถาบัน รับทราบ (5.2-6(19))

2. มีการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน 
    มหาวิทยาลัยได้นำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาระบบบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพมาเป็นแนวทางในกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย (5.2-6(20))  ในการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ระยะ 5 ปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 (5.2-6(21)) โดยในแผนมีการกำหนดทิศทางการบริหารครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ การจัดหาบุคลากร การบำรุงรักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร การพ้นจากงานของบุคลากร และด้านอื่นๆ และมีกระบวนการถ่ายทอดโดยการทำบันทึกนำส่งแผนกลยุทธ์สู่การปฏิบัติหรือนำแผนไปสู่การปฏิบัตินั้น ได้มีการถ่ายทอดนโยบาย ผลผลิต ผลลัพธ์และค่าเป้าหมายให้แก่คณะ สำนัก สถาบันและหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้เป็นแนวทางในการบริหารและพัฒนาอาจารย์ และบุคลากรให้บรรลุตามเป้าหมาย และได้จัดการประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันพุธที่ 5 ตุลาคม 2565 (5.2-6(22)) เพื่อพิจารณา (ร่าง) แผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 และเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (ก.บ.) ครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565 (5.2-6(23)) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ

3. มีการกำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนฯ
    3.1 มหาวิทยาลัยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการ จำนวน 2 ชุด เพื่อทำหน้าที่ขับเคลื่อนพันธกิจด้านการบริหารและพัฒนาบุคลากร และกำกับ ติดตาม การดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด คือ
               - คณะกรรมการบริหารงานบุคคลประจำมหาวิทยาลัย (ก.บ.ม.) (5.2 - 6(24)) มีหน้าที่กำกับติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
               - คณะกรรมการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (5.2 - 6(25)) ทบทวนและจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร กำกับติดตามประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
   3.2 มหาวิทยาลัยได้จัดประชุมคณะกรรมการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันพุธที่ 5 ตุลาคม 2565 (5.2 – 6 (26)) เพื่อกำกับ ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
   3.3 มหาวิทยาลัยกำหนดให้มีการรายงานผลการประเมินความสำเร็จของโครงการ ตามแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 อย่างต่อเนื่อง (5.2 – 6 (27)  และเสนอ คณะกรรมการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 1/2566วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2566 วาระที่ 5.1 เรื่องกำกับติดตามและประเมินผลความสำเร็จแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (5.2 – 6 (28)) เพื่อทราบและพิจารณา

4. มีการดำเนินงานตามแผน
    มหาวิทยาลัยได้จัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามตัวชี้วัด และรายงานผลการดำเนินโครงการของแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 เสนอต่อคณะกรรมการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 1/2566 วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2566 โดยมีผลการดำเนินการ ดังนี้
      4.1 มหาวิทยาลัยได้กำหนดกิจกรรมโครงการตามแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  จำนวน 13 โครงการ และดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 13 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ส่งผลให้อาจารย์และบุคลากรได้รับการพัฒนาขีดความสามารถเพิ่มขึ้น ดังนี้
           1. โครงการอบรมผู้บริหารทุกระดับ (5.2 – 6(29))
           2. โครงการปฐมนิเทศบุคลากรบรรจุใหม่ (5.2 – 6(30))
           3. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการใช้งานโปรแกรม Microsoft Teams และโปรแกรม Canva เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน (5.2 – 6 (31))
           4. โครงการพัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับบุคลากร (5.2 – 6(32))
           5. โครงการบริหารจัดการงานวิจัย (5.2 – 6(33))
           6. โครงการบริหารจัดการคลินิกตำแหน่งทางวิชาการ (5.2 – 6(34))
           7. โครงการการพัฒนาอาจารย์สู่ตำแหน่งทางวิชาการ (5.2 – 6(35))
​​​​​​​           8. โครงการพัฒนาบุคลากรสายวิชาการ (5.2 – 6(36))
​​​​​​​           9. โครงการพัฒนาอาจารย์ด้านความเชี่ยวชาญทางคลินิก (5.2 – 6(37))
​​​​​​​           10. โครงการอบรมการให้ความรู้ในการเขียนแบบประเมินค่างาน (5.2 – 6(38))
​​​​​​​           11. โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนผลงานวิชาการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น (5.2 – 6(39))
​​​​​​​           12. โครงการอบรมการตีพิมพ์บทความระดับนานาชาติ (5.2 – 6(40))
​​​​​​​           13. โครงการจัดอบรมเสริมสร้างจิตบริการและการทำงานเป็นทีมสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (5.2 – 6(41))

    4.2 มหาวิทยาลัยได้กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 8 ตัวชี้วัด บรรลุเป้าหมาย จำนวน 5 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 62.50 ไม่บรรลุเป้าหมาย 3 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 37.50 (5.2 – 6(42))

    4.3 มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดี สุขภาพที่ดี ตลอดจนการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่บุคลากร เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีการจัดโครงการตรวจสุขภาพบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปี พ.ศ. 2566 (5.2 - 6(43)) และได้จัดให้มีสวัสดิการบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพิ่มเติม อาทิ
​​​​​​​           - สวัสดิการเกี่ยวกับด้านการพยาบาล
​​​​​​​           - สวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือการศึกษาบุตร
​​​​​​​           - สวัสดิการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
​​​​​​​           - สวัสดิการเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพประจำปี
​​​​​​​           - สวัสดิการค่าใช้จ่ายในโอกาสแสดงความเสียใจต่อบุคลากร
​​​​​​​           - สวัสดิการค่าใช้จ่ายในโอกาสแสดงความยินดีต่อบุคลากร
​​​​​​​           - สวัสดิการเกี่ยวกับการสะสมทรัพย์ (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ)
​​​​​​​           - สวัสดิการเกี่ยวกับประกันสังคม (5.2 - 6(44))

5. มีการประเมินวัตถุประสงค์ของแผนและกิจกรรม และนำผลมาปรับปรุง
    มีการนำผลการประเมินความสำเร็จตามตัวชี้วัดของแผน (5.2 - 6(45)) และรายงานผลการดำเนินของโครงการ (5.2 - 6(46)) เสนอต่อคณะกรรมการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 1/2566 วันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคม 2566 (5.2 - 6(47)) และนำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการมาเป็นแนวทางการปรับปรุงแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปี พ.ศ. 2567  ดังนี้

ข้อเสนอแนะ

แนวทางการปรับปรุง/การดำเนินการปรับปรุง

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

1. ให้กระจ่ายความรับผิดชอบโครงการในแผนให้ครอบคลุมทุกหน่วยงานในสังกัด

 

 

 

 

1. การปรับปรุง :
    (   ) ปรับปรุงกระบวนการ
    (   ) ปรับปรุงโครงการ
    ( / ) ปรับปรุงแผน

2. การดำเนินงาน :
    ( / ) ดำเนินการแล้ว
    มีการจัดประชุมคณะกรรมการชี้แจงให้หน่วยงานได้รับทราบ และให้นำโครงการที่หน่วยงานรับผิดชอบนำมาบรรจุในแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร

สิงหาคม - กันยายน 2566

 

 

 

 

 

คณะกรรมการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนา
บุคลากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 

 

2. กำหนดตัวชี้วัด โครงการ/กิจกรรมด้านพัฒนาบุคลากร ให้สอดคล้องตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx เพื่อใช้รองรับการตรวจประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และการกำหนดตัวชี้วัดของโครงการควรเพิ่มตัวชี้วัดเชิงคุณภาพเพื่อให้สามารถประเมินวัตถุประสงค์ของโครงการได้

1. การปรับปรุง :
    (   ) ปรับปรุงกระบวนการ
    (   ) ปรับปรุงโครงการ
    ( / ) ปรับปรุงแผน

2. การดำเนินงาน :
    ( / ) ดำเนินการแล้ว
    มีการจัดประชุมชี้แจ้งให้คณะกรรมการจัดทำแผนทราบการกำหนดโครงการด้านการพัฒนาบุคลากรต้องสอดคล้องกับเกณฑ์ EdPEx และกำหนดตัวชี้วัดให้สามารถวัดผลได้ทั้งเชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

สิงหาคม - กันยายน 2566

 

 

 

 

 

 

คณะกรรมการจัดทำแผนบริหารและแผนพัฒนา
บุคลากมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

 

 

3. โครงการที่ไม่ได้จัดกิจกรรมตามแผน เช่น การพัฒนาระบบสารสนเทศบุคลากร ซึ่งเป็นการดูแลข้อมูลในระบบฐานข้อมูลให้ใช้งบประมาณในการบริหารจัดการขององค์กร

1. การปรับปรุง :
    (   ) ปรับปรุงกระบวนการ
    (   ) ปรับปรุงโครงการ
    ( / ) ปรับปรุงแผน

2. การดำเนินงาน :
    ( / ) ดำเนินการแล้ว
    มีการนำโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลบุคลากรออกจากแผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

 สิงหาคม2566

งานบริหารบุคคล

 

 

7การกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในตามระบบและกลไกที่สถาบันกำหนด ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพ

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการกำกับติดตามส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกหน่วยงานในสถาบันมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในตามระบบและกลไกที่สถาบันกำหนด ประกอบด้วย การควบคุมคุณภาพ การตรวจสอบคุณภาพ และการประเมินคุณภาพอย่างครบถ้วน ดังนี้

1. การควบคุมคุณภาพ
    1.1 มีการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน (5.2-7(1)) เพื่อเป็นระบบและกลไกในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของหลักสูตร คณะ สำนัก สถาบัน และมหาวิทยาลัย โดยคู่มือดังกล่าวผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2562 (5.2-7(2)) เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2562 และคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2562 (5.2-7(3)) ลงวันที่ 25 สิงหาคม 2562 และได้นำคู่มือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานได้รับทราบผ่านเว็บไซต์หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (http://qa.sskru.ac.th/sys/?q=dowload)
    1.2 มีการจัดทำประกาศที่เกี่ยวข้องกับการขับดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อเป็นระบบและกลไกให้ทุกหลักสูตร คณะ สำนัก สถาบัน และมหาวิทยาลัย ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ประกอบด้วย ประกาศ เรื่อง แนวทางการดำเนินงานสำหรับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ที่นำเกณฑ์ EdPEx ไปใช้ในการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ (5.2-7(4)) ประกาศ เรื่อง แนวทางปฏิบัติด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร (5.2-7(5)) ทำประกาศ เรื่อง แนวทางการปฏิบัติที่ดีการประกันคุณภาพการศึกษา (5.2-7(6)) ประกาศ เรื่อง นโยบายประกันคุณภาพการศึกษา (5.2-7(7)) ประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดคุณสมบัติคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (5.2-7(8)) ประกาศ เรื่อง นโยบายบริหารความเสี่ยง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (5.2-7(9)) ประกาศ เรื่อง กรอบระยะเวลาในการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (5.2-7(10)) 
    1.2 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน ครบทุกตัวบ่งชี้ คลอบคลุมทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัย เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำแผน ดำเนินงานตามแผน ประเมินความสำเร็จของโครงการและแผน ปรับปรุงการดำเนินงานให้ดีขึ้น เขียนรายงานการประเมินตนเองและจัดเก็บเอกสารหลักฐานในตามตัวบ่งชี้ที่รับผิดชอบ ตอบคำถามที่คณะกรรมการประเมินสงสัย และจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจประเมิน เช่น คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยง (5.2-7(11)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการบริหารจัดการ (5.2-7(12)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านผลิตบัณฑิต (5.2-7(13)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม (5.2-7(14)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการส่งเสริมสมรรถณะและทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ (5.2-7(15)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการจัดการความรู้ (5.2-7(16)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการพัฒนานักศึกษา (5.2-7(17)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านวิจัย (5.2-7(18)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจต้นทุนต่อหน่วย (5.2-7(19)) คณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาตามพันธกิจด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน (5.2-7(20)) เป็นต้น
    1.3 มีการจัดทำปฎิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (5.2-7(21)) เพื่อให้ทุกหลักสูตร คณะ และสำนัก ใช้เป็นกรอบการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่ซ้ำซ้อนกัน
    1.4 มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ จัดเก็บข้อมูล บริการข้อมูล บริหารจัดการข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เช่น ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารและตัดสินใจด้านการวิจัย (http://researchmis.sskru.ac.th/) เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูล บริหารจัดการข้อมูล ให้กับสถาบันวิจัย และทุกคณะ เพื่อการบริหารและตัดสินใจ ระบบการประเมินออนไลน์ (http://esar.sskru.ac.th/) เพื่อให้หลักสูตร คณะ สำนัก สถาบัน และมหาวิทยาลัย ใช้ในการเขียนรายงานการประเมินตนเอง จัดเก็บเอกสารหลักฐานประกอบตัวชี้วัด และใช้สำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในแบบออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เว็บไซต์หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา (http://qa.sskru.ac.th/) เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและกิจกรรม ดาวน์โหลดเอกสาร และบริการข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายนอกและภายใน ระบบจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำ (http://qa.sskru.ac.th/employ/) ให้ทุกหลักสูตรใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล กำกับติดตามบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา สามารถนำข้อมูลไปใช้ในการบริหารและพัฒนาหลักสูตรได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ

2. การตรวจสอบคุณภาพ
    2.1 มีการ กำกับ ติดตาม และตรวจสอบการดำเนินงานของหลักสูตร คณะ สำนัก และสถาบัน โดยจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ ระดับมหาวิทยาลัย โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา เป็นประธาน มีผู้บริหาร คณะจารย์ บุคลกร จากทุกหน่วยงานเป็นกรรมการ และมีหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ ปีละ 2 ครั้ง เพื่อดำเนินงาน ดังนี้
          - ครั้งที่ 1 ได้มีการจัดประชุมในวันที่ 21 ตุลาคม 2565 (5.2-7(22)) เพื่อทราบ รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร คณะ สำนัก สถาบัน และมหาวิทยาลัย  นำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินมาพิจารณาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประจำปี และรับทราบประกาศ ปฏิทิน กรอบระยะเวลาในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
          - ครั้งที่ 2 ได้มีการจัดประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 (5.2-7(23)) เพื่อทบทวนชี้แจงแนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาประจำปี รายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา สำรวจหลักสูตรที่มีความต้องการยกเลิกตัวบ่งชี้ในกรณีที่ไม่มีการดำเนินงาน กำกับติดตามการจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำ กำหนดระยะเวลาการประเมินของแต่ละหน่วย พิจารณา (ร่าง) รายงานการประเมินตนเอง และรับทราบแนวทางการรายงานข้อมูลในระบบฐานข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษา
    2.2 มีการดำเนินการติดตามตรวจสอบคุณภาพระดับหลักสูตร คณะ สำนัก และสถาบัน โดยจัดการประชุมของคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพันธกิจ ที่รับผิดชอบตัวบ่งชี้ของมหาวิทยาลัย เช่น พันธกิจด้านผลิตบัณฑิต พันธกิจด้านการพัฒนานักศึกษา พันธกิจด้านพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาด้านภาษาอังกฤษ พันธกิจด้านการพัฒนานักศึกษาด้านดิจิทัล พันธกิจด้านการวิจัย พันธกิจด้านการบริการวิชาการแก่สังคม พันธกิจด้านด้านการทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรมและความเป็นไทย พันธกิจด้านการจัดการบริหารความเสี่ยง  พันธกิจด้านการจัดการความรู้  พันธกิจด้านการกำกับผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารและพัฒนาบุคลากร และ พันธกิจด้านด้านการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วย (5.2-7(24)) เป็นต้น
    2.3 หน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของ หลักสูตร คณะ สำนัก และสถาบัน อย่างต่อเนื่อง และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย  (5.2-7(25)) สภาวิชาการ  (5.2-7(26)) สภามหาวิทยาลัย  (5.2-7(27)) ทราบและพิจารณา เช่น รายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน กำกับติดตามการจัดเก็บข้อมูลภาวะการมีงานทำ พิจารณาระเบียบประกาศต่างๆ พิจารณาโครงการและกำหนดการในการตรวจประเมิน พิจารณาปฏิทินการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพ พิจารณาผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา พิจารณาแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา พิจารณาแผนบริหารความเสี่ยง พิจารณาแผนการจัดการความรู้ เป็นต้น

3. การประเมินคุณภาพ
    3.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน  (5.2-7(28)) เพื่อทำหน้าที่ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตามระบบและกลไกที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยคณะกรรมการตรวจประเมินทุกคนมีประสบการณ์ในการบริหารสถาบันอุดมศึกษา และมีประสบการณ์ในการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน โดยใช้เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาของ สกอ. และ คปภ.
    3.2 ทุกหน่วยงานมีการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง ระดับหลักสูตร คณะ สำนัก และสถาบัน (5.2-7(29)) เพื่อใช้ประกอบการประเมิน และจัดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ส่งผลให้มีผลการประเมิน ดังนี้

หน่วยงาน

ผลการประเมิน ปีการศึกษา 2565

ระดับคณะ

ระดับหลักสูตร

คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

4.76

3.77

คณะครุศาสตร์

4.75

3.81

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

4.64

3.81

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

4.73

3.65

คณะพยาบาลศาสตร์

4.20

2.99

วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง

4.84

3.89

    3.3 มหาวิทยาลัย ได้จัดทำรายงานสรุปผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ของทุกหน่วยงาน เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย (ก.บ.) และรายงานต่อคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย พิจารณาให้ข้อเสนอแนะ หลักจากนั้นได้จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการตรวจประเมิน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้มีคุณภาพต่อไป

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 ข้อ 5 คะแนน