✓ | 1 | กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการกำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบันตามมาตรฐานการอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษในมาตรฐานด้านที่ 4 ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย กล่าวคือ มีการบูรณาการกระบวนการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ นำไปสู่การสืบสาน การสร้างองค์ความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรมทั้งของไทยและต่างประเทศตามศักยภาพและอัตลักษณ์ของสถาบัน ผลลัพธ์ของการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยและสร้างโอกาสและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยมีการกำหนดขั้นตอนดังนี้
1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2565 (4.1 - 1(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม พันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน สำหรับองค์ประกอบที่ 4 ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 และตัวบ่งชี้ที่ 4.2 และมีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้ทรงประจำสถาบันฯ ในการกำหนดทิศทางการดำเนินงาน และเรียนแจ้งทุกหน่วยงานในการกำหนดผู้รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย
2. มีการจัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1 - 1(2)) เพื่อมุ่งให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเห็นคุณค่าและมีทัศนคติที่ดีในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย นำศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยมาสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าให้เกิดนวัตกรรมที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์
3. มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมอนุรักษ์เผยแพร่ด้านศาสนาศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น (4.1 - 1(3)) โดยสภาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย ระหว่าง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม /สถาบัน/ศูนย์/กลุ่มงานด้านศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ซึ่งถือเป็นการร่วมงานที่มีการขับเคลื่อนงานด้านศิลปะและวัฒนธรรมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ
4. เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ กับ สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง “การสร้างเครือข่ายทางด้านศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น” เพื่อที่จะร่วมกันดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงรักษาศิลปะและวัฒนธรรมให้มีการอนุรักษ์ เผยแพร่ สืบทอด ในด้านต่างๆให้คงอยู่สืบไป
6. มีการจัดทำปฏิทินการดำเนินงานด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1 - 1(4)) เพื่อกำหนดกรอบระยะเวลาการดำเนินงานที่ชัดเจน
| |
✓ | 2 | จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน | มหาวิทยาลัยศรีสะเกษ มีการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน ดังนี้
1. มีการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ระยะ 1 ปี (4.1-2(2)) โดยมีการเชื่อมโยงเป้าหมายการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570 ) ในยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ ส่งเสริมและฟื้นฟูศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ(4.1 - 2(1)) มากำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนระยะ 1 ปี (4.1-2(3)) เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการกำหนดโครงการ/กิจกรรมให้สอดคล้องกับตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนโดยเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรในสถาบันฯ โดยการวิเคราะห์หา SWOT และดำเนินการตามขั้นตอนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์และมีการกำกับติดตามจากการประชุมประจำเดือนในแต่ละเดือนที่จัดกิจกรรมนั้นๆ
2. มีการจัดสรรงบประมาณตามแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ที่พอเพียง เหมาะสม สามารถดำเนินงานตามแผนฯได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปีงบประมาณ 2566 ได้จัดสรรงบประมาณ จำนวนทั้งสิ้น 613,000 บาท (4.1-2(4)) เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ จำนวน 5 โครงการ ดังนี้
2.1 โครงการบริหารจัดการงานศิลปะและวัฒนธรรม
2.2 โครงการอนุรักษ์ สืบสาน วัฒนธรรมประเพณีฯ
2.3 โครงการบูรณาการกิจกรรมการเรียนรู้ในมิติวัฒนธรรม
2.4โครงการบริการวิชาการในมิติศิลปวัฒนธรรมและส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
2.5 โครงการสร้างเครือข่าย ความสัมพันธ์ทั้งในและต่างประเทศ
| |
✓ | 3 | มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม | มหาวิทยาลัย มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ ศิลปวัฒนธรรม จำนวน 3 เรื่อง ดังนี้
ที่
|
เรื่อง
|
การบูรณาการ
|
1
|
โครงการค่ายศิลป์รักษ์ป่า “ ราชภัฏ ” ปลูกป่าในใจคน รุ่นที่ 2 วันที่ 2 มิถุนายน 2565
ณ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา อ.ภูสิงห์ จ.ศรีสะเกษ (4.3 - 3(1))
|
บูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชาสุนทรียภาพ โดยมีการนำมิติทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม มาใช้ในการดำเนินงานร่วมกับนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา โดยเน้นรูปแบบการทํางานร่วมกันเป็นทีม จัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ “ เพ้นท์สี ละเลงศิลป์ ” ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้สร้างสรรค์จินตนา โดยใช้วิถีธรรมชาติถ่ายทอดเรื่องราวความงดงามของธรรมชาติ สร้างสํานึกรักษ์ หวงแหนในคุณค่าของธรรมชาติ
|
2
|
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ งานศาสนพิธี รัฐพิธีและราชพิธี
วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
ณ ห้องประชุมราชมรรคา อาคารศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม (4.3 - 3(2))
|
บูรณาการกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้การบริการวิชาการ โดยเป็นการนำวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากวัฒนธรรมจังหวัด มาให้ความรู้กับเครือข่ายพระสงฆ์ภายในจังหวัดศรีสะเกษ เพื่อให้พระสงฆ์และนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในหลักปฏิบัติด้านศาสนพิธีรัฐพิธีและพิธีกรรม ต่าง ๆ อย่างถูกต้อง ซึ่งการบูรณาการดังกล่าวนำไปสู่การสืบสาน การสร้างความรู้ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรมให้เกิดคุณค่าและก่อมูลค่าให้แก่ชุมชนท้องถิ่นด้วย
|
3
|
โครงการวันคล้ายวันก่อตั้งสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม(สภศ.) ครบรอบ 2 ปี "สองปีทำ นำฮอยศิลป์ ม่วนถิ่นเดิน เพลินภาษา"
วันพุธที่ 1 มีนาคม 2566 (4.3 - 3(3))
|
เกิดการบูรณาการองค์ความรู้ทั้ง 3 ศาสตร์ ได้แก่ ภาษา ศิลปะการแสดง และศิลปะการออกแบบ เป็นต้น โดยมีการให้นักศึกษา โดยเป็นการบรูณาการร่วมกันระหว่าง 3 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สถาบันภาษา ศิลปะและและวัฒนธรรม 2) สาขานาฏศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ และ 3) สาขาวิชาการออกแบบ คณะมนุยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ สะท้อนความหลายหลายทางวัฒนธรรม และการพัฒนาแบบพึ่งพาอาศัยกัน และสามารถปรับตัวในโลกยุควิถีใหม่ได้อย่างมีความสุข ผ่านการถ่ายทอดศิลปะการแสดง และการนำเสนอผลงานของนักศึกษา อีกทั้งยังมีตอบปัญหาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อให้นักศึกษาเข้าร่วมทำกิจกรรมดังกล่าว
|
| |
✓ | 4 | กำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยมีกองนโยบายและแผนได้กำหนดให้มีกรอบการรายงานผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการปีงบประมาณ 2566 และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน ดังนี้
1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการประจำสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ครั้งที่ 1 / 2566 วันที่ 13 มกราคม 2566 ((4.4 - 4(1)) โดยมีการกำกับติดตามรายงานผลการดำเนินโครงการไตรมาสที่ 1 และการรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไตรมาสที่ 1 (ตุลาคม - ธันวาคม)
2. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ระดับสถาบัน ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2566 ((4.4 - 4(2)) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนโดยทางมหาวิทยาลัยมอบผู้รับผิดชอบกำกับติดตาม คือ ผู้อำนวยการสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการกำกับติดตามติดตามผลโดยหน่วยมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้
1.1 รายงานผลการดำเนินงานโครงการงานศิลปะและวัฒนธรรมและคณะ
1.2 พิจารณาวัตถุประสงค์ของแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยยึดแนวทางการดำเนินงานจากแผนกลยุทธ์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
3.สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อกำกับติดตามให้มีการดำเนินการไปตามประจำทุกไตรมาส ((4.4 - 4(3)) ให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้และรายงานการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ และมีการจัดทำรายงานประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1 - 4(5)) เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม
4. มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม รายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในวาระเสนอให้ที่ประชุมทราบ จำนวน 8 ครั้ง ดังนี้ (4.4 - 4(4))
ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันพุธที่ 25 พฤษภาคม 2565
ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันพุธที่ 22 มิถุนายน 2565
ครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2565
ครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันจันทร์ที่ 19 กันยายน 2565
ครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2565
ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 มกราคม 2566
ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566
ครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2566
| |
✓ | 5 | นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย | สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ได้มีการนำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย เช่น
1. การปรับปรุงกิจกรรม ขั้นตอนของพิธีการต่างๆ ให้มีความกระชับ และเรียบร้อย สง่างามมากยิ่งขึ้น ซึ่งจากการประเมินความสำเร็นโดยการมีส่วนร่วมของนักศึกษา มีข้อเสนอแนะในกิจกรรมพิธีเฉลิมพระเกียรติที่มีพิธีสงฆ์ด้านในอาคาร และจะต้องเคลื่อนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาร่วมทำบุญตักบาตรด้านนอกอาคาร จากนั้นต้องเคลื่อนเข้าในหอประชุมอีกตครั้งเพื่อประกอบพิธีถวายราชสดุดี ทำให้เกิดความล่าช้า และไมเรียบร้อย ต่อมาได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น โดยมีการจัดพิธีสงฆ์ด้านนอกให้เรียบร้อยแล้วจึงเข้าไปด้านในอาคารหอประชุมเพื่อจัดพิธีถวายราชสดุดี
สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรมมีการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการทบทวนแผนกลยุทธ์สถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566 -2570) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในวันที่ 15-16 ธันวาคม 2565 ณ ยูอาร์แคมป์ปิ้งสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อระดมความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ต่าง ๆ จากบุคลากรภายในสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ระดับหน่วยงานร่วมกัน โดยมุ่งสู่เป้าหมายและบรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ของแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนามหาวิทยาลัยโดยรวม เพื่อสร้างความร่วมมือร่วมใจกันในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ระยะ 5 ปี ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติงานของมหาวิทยาลัย และเพื่อนำแผนปฏิบัติงานไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (2.3 - 5(1)) (2.3 - 5(2))
- มีการเพิ่มโครงการที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาค้นคว้าวิจัยและสร้างองค์ความรู้เพื่อพัฒนาเป็นฐานข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมสำหรับการให้บริการและเผยแพร่ต่อสาธารณชน รวมทั้งกำหนดโครงการพัฒนายุทธศาสตร์และพัฒนาระบบบริหารจัดการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในอีก 5 ปีข้างหน้า เพื่อสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
เนื่องด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ไม่สามารถที่จะดำเนินการในโครงการต่างๆ ได้อย่างสะดวก ทำให้จึงต้องการดำเนินกิจกรรมในรูปแบบ Online ผสมผสานกับรูปแบบ Onside (ไม่ให้เกินจำนวนคนตามนโยบายภาครัฐ มาตรการป้องกันวิกฤตการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019) โดยอาจแบ่งเป็นกิจกรรมย่อยๆ หรือเพิ่มจำนวนวันในการจัดกิจกรรม หรือแบ่งกลุ่มประชากรในการร่วมกิจกรรมเป็นหลายกลุ่มในหลายสถานที่ เพื่อรักษาระยะห่างในการจัดกิจกรรม เป็นต้น
เพื่อให้การดำเนินงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและอย่างต่อเนื่องนั้น สถาบันภาษาฯ จึงนำผลการวิเคราะห์และประเมินผลความสำเร็จตามตัวชี้วัดของแผน และนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงในการจัดทำแผนปฏิบัติงานด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา 2566 ต่อไป อีกทั้งยังโดยมีการปรับปรุง ดังนี้ เช่น การให้ความสำคัญเกี่ยวกับ องค์ความรู้ด้านศิลปะ และวัฒนธรรมไทย ที่เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษาหรือชุมชนหรือสังคม โครงการที่ก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ ศิลปะและวัฒนธรรมไทย รวมทั้งภูมิปัญญาไทย และสร้างรายได้ให้ชุมชน และ ผู้เข้าร่วมโครงการที่มีการฝึกทักษะ หรือ ลงมือปฏิบัติ หรือแสดงผลงานด้านศิลปะ และวัฒนธรรมไทย
| |
✓ | 6 | มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่ | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบหรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่ ดังนี้
1. มีการดำเนินพัฒนาแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมชาติพันธุ์ 4 เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) (4.1 - 6(1)) เป็นการพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพในการสืบทอดมรดกภูมิปัญญา โดยการมีส่วนร่วมและมีความพร้อมในการยกระดับการทำงานให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ ในการเป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีแก่ชุมชนอื่น และสร้างจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตตามศาสตร์พระราชา ซึ่งแบ่งชุมชน ออกเป็น 4 ชุมชน ได้แก่ 1) หมู่บ้านชาติพันธุ์เยอ บ้านปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ (ต่อยอดสู่โครงการพัฒนาชุมชนเยอบ้านโพนค้อ) 2) หมู่บ้านชาติพันธุ์ลาว บ้านละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 3) หมู่บ้านชาติพันธุ์เขมร บ้านสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ และ 4) หมู่บ้านชาติพันธุ์ส่วย บ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ (ต่อยอดสู่โครงการพัฒนาชุมชนส่วยบ้านเมืองจันทร์)
2. มีการสร้างแหล่งเรียนรู้จัดทำห้องนิทรรศการ เช่น ห้องเสวยราชสมบัติกษัตริย์ตรา ห้องร้อยภาพพันเรื่อง ห้องศูนย์ศรีสะเกษศึกษา ห้องอาเซียนศึกษา เป็นต้น ซึ่งให้ผู้ที่สนใจ นักเรียน นักศึกษา ได้ศึกษาหาความรู้ข้อมูลต่างๆ (4.1 - 6(2))
- การพัฒนาแหล่งเรียนรู้อาคารศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมในรูปแหล่งเรียนรู้และนิทรรศการถาวร และเผยแพร่คู่มือนำชม/หนังสือพระมหากรุณาธิคุณ/ประวัติศาสตร์ศรีสะเกษ/ประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ซึ่งเป็นเอกสารวิจัยประกอบการชมห้องที่สื่อถึงความเป็นไทยอันเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจต่อไป
- มีการมอบหนังสือสรุปโครงการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยในแต่ละปีให้แก่มหาวิทยาลัยทั่วประเทศและสถานที่ราชการในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง
-มีการเข้าเยี่ยมชมจากผู้ที่สนใจจาก หน่วยงานภายนอก ประชาชนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ที่ต้องการ ศึกษาความรู้ เพิ่มเติม (4.1 - 6(3))
3. มีการจัดทำวีดิทัศน์นำชมแหล่งเรียนรู้ภายในศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรม (4.1 - 6(4))
| |
✓ | 7 | กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ | มหาวิทยาลัย มีการกำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ ดังนี้
มีการดำเนินงานการศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวม ร้อยเรียงประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของเอกสาร ชุดความรู้ ทั้งฉบับตีพิมพ์และออนไลน์ ในเวทีการประชุมระดับชาติและวารสารระดับชาติ การแสดงศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมของจังหวัดศรีสะเกษ ชนสี่เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถือเป็นการแสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเป็นมาของชาวศรีสะเกษ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในระดับชาติโดยมีการนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ประวัติศาสตร์ของจังหวัดศรีสะเกษในรูปแบบการแสดง แสง สี เสียง ที่เป็นที่ยอมรับในระดับจังหวัด ในการจัดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ประจำปี 2566 วันที่ 8-12 มีนาคม 2566 ณ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีศรีสะเกษ (2.3 - 7(1)) (2.3 - 7(2)) โดยมีการร่วมมือกับ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ วัด โรงเรียน ชุมชน ซึ่งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆเป็นอย่างดี
รวมถึงความร่วมมือกับทางจังหวัดในการจัดงาน 240 ปี ศรีสะเกษ (2.3 - 7(3)) (2.3 - 7(4)) ในการแสดงพิธีเปิด รำเฉลิมฉลอง 240 ปีศรีสะเกษ 240 ปี ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2565 ณ เกาะกลางน้ำ ห้วยน้ำคำ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ
และการพัฒนาชุดการแสดง “วงผกาลำดวน” ที่เป็นมาตรฐานที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของจังหวัดศรีสะเกษเพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนทั่วประเทศได้รับรู้ โดยมีหน่วยงานระดับจังหวัด เช่น สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัด ยอมรับว่าเป็นมาตรฐาน
นอกจากนี้ยังได้ร่วมกำหนดนโยบายด้านศิลปวัฒนธรรมกับภาคีเครือข่ายสภาศิลปวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ร่วมลงนาม MOU เครือข่ายศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยฯ
| |