✓ | 1 | ทุกคณะมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของมหาวิทยาลัยตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ | 1. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ระดับสถาบัน ที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งขึ้น จำนวน 3 ชุด กำหนดบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนพันธกิจด้านบริการวิชาการที่ชัดเจน ดังนี้ 1.1 คณะกรรมการบริหารงานด้านบริการวิชาการ (3.1 - 1(1)) มีผู้บริหารจากทุกคณะ/สำนัก/สถาบัน ร่วมเป็นคณะกรรมการ มีหน้าที่ อำนวยการ พิจารณา สั่งการ กำกับ ติดตาม และให้ความเห็น ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ 1.2 คณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (3.1 - 1(2)) มีตัวแทนจากทุกคณะ/สำนัก/สถาบัน ร่วมเป็นกรรมการ โดยมีงานบริการวิชาการ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ พิจารณา กลั่นกรอง ระเบียบ หลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการกำกับ ติดตาม งานด้านการบริการวิชาการ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและระบบการให้บริการวิชาการแก่สังคมให้สอดคล้องกับตัวบ่งชี้มาตรฐานประคุณภาพการศึกษาที่เกี่ยวข้อง 1.3 คณะกรรมการจัดเก็บข้อมูลด้านบริการวิชาการ (3.1 - 1(3)) มีตัวแทนจากทุกคณะ/สำนัก/สถาบัน ร่วมเป็นกรรมการ มีหน้าที่ จัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย และจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการ
2. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565(3.1 - 1(4)) ร่วมกันพิจารณาทบทวนการดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมายระดับสถาบัน ตามประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง พื้นที่เป้าหมายและชุมชนเป้าหมายของการให้บริการวิชาการแก่สังคม (3.1-1(5)) และมีติให้ความเห็นชอบกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ประจำปีการศึกษา 2565 (งบประมาณ 2566) จำนวน 3 พื้นที่ คือ 1) บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ 2) บ้านทับทิมสยาม 07 ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ และ 3) ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ให้ทุกคณะ สำนัก ให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสู่ความยั่งยืน ตามความถนัดและความเชี่ยวชาญของคณะและสำนัก โดยบูรณาการการเรียนการสอน และการวิจัย การประยุกต์ตามโจทย์ที่ชุมชนและท้องถิ่นต้องการ ตอบสนองแนวนโยบายของชาติ “หนึ่งจังหวัดหนึ่งมหาวิทยาลัย” เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐโดยการบริการวิชาการหลากหลายรูปแบบที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม เชื่อมโยงสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนและพื้นที่ ครอบคลุ่ม 4 มิติ คือ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติด้านการศึกษา ให้เกิดความยั่งยืน
3. ทุกคณะมีการลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน และร่วมกำหนดเป้าหมายและดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ โดยคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ได้จัดทำแบบฟอร์มสำรวจปัญหาและความต้องการชุมชน (3.1-1(6)) ในการจัดเก็บข้อมูลที่ครอบคลุมประเด็นต่างๆ ที่สำคัญ ลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน ทั้งการสัมภาษณ์ การประชุม การสอบถามจากผู้นำชุมชน และชาวบ้าน และเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนา การแสดงความเห็น เพื่อร่วมออกแบบกิจกรรมและแนวทางในการพัฒนาชุมชน และนำปัญหาและความต้องการของชุมชนมากำหนดกิจกรรมในการพัฒนา ดังนี้
ลำดับ |
ชุมชน |
ปัญหา |
ความต้องการ |
กิจกรรมตามแผนบริการวิชาการ |
1
|
บ้านรงระ (มากกว่า 3 ปี) |
1. ขาดทักษะอาชีพใหม่
2. ขาดทักษะการขาย การตลาด
3. ปัญหาหนี้สิน
4. ผู้สูงอายุไม่มีงานทำ
|
ช่องทางหารายได้ และผู้สูงอายุมีรายได้ |
กิจกรรม : โครงการพัฒนาและยกระดับการแปรรูป และช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์บริการทางทางวัฒนธรรมสู่การยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนกูยบ้านรงระตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
เป้าหมาย : ชุมชนบ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
ตัวชี้วัด : ช่องทางการจัดจำหน่าย จำนวนผลิตภัณฑ์บริการทางวัฒนธรรม
ประโยชน์ต่อชุมชน : ชุมชนเกิดอาชีพ และมีรายได้เพิ่ม พึ่งตนเองได้
งบประมาณ : 200,000 บาท |
2 |
บ้านสันติสุข (หมู่บ้านทับทิม สยาม ๐๗) (มากกว่า 5 ปี) |
หมู่บ้านเกิดการรวมกลุ่มกัน ของผู้คนที่อบพยบมากจากหลายถิ่นฐานมีภาษาที่แตกต่างถึง 4 ภาษา คือ เขมร ลาว ส่วน เยอ ทำให้ยากต่อการรวมกลุ่ม |
ต้องการสินค้าที่เป็นอัตลักษณ์ของชมชุม มีความทันสมัย เพิ่มมูลค่าของสินค้าชุมชน |
กิจกรรม : โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหวายเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน หมู่บ้านทับทิมสยาม07
เป้าหมาย : ประชาชนหมู่บ้านทับทิบสยาม07
ตัวชี้วัด : ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์จากหวาย
ประโยชน์ต่อชุมชน : เกิดผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอรจากหวายชุมชนเกิดอาชีพ และมีรายได้เพิ่ม พึ่งตนเองได้
งบประมาณ : 200,000 บาท |
3 |
ตำบลผักไหม (มากกว่า 6 ปี) |
1. มีการรวมกลุ่มอาชีพหลากหลาย
2. ผลิตผ้าไหมเป็นสินค้าโอทอป
3. ลำห้วยไหลผ่าน 2 สาย
4. มีกลุ่มที่เข้มแข็งเป็นแหล่งเรียนรู้
5. ประชาชนมีความสามัคคี |
1. มีการอพยพแรงงาน
2. ในพื้นที่มีเด็กและผู้สูงอายุจำนวนมาก ทำให้ขาด แคลนแรงงาน
3. ไม่มีระบบการเรียนรู้และการรวมกลุ่มอย่างถาวร |
กิจกรรม : โครงการส่งเสริมและพัฒนาลายผ้าอัตลักษณ์ประจำชุมชนย้อมผ้า ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
เป้าหมาย : สมาชิกกลุ่มทอผ้าไหม ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
ตัวชี้วัด : ลายผ้าอัตลักษณ์ 1 ลาย
ประโยชน์ต่อชุมชน : เกิดผ้าไหมลายอัตลักษณ์ของชุมชน
งบประมาณ : 15,000 บาท |
| |
✓ | 2 | มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย | มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย ดังนี้
1. ขั้นตอนการวางแผน (P : PLAN)
1.1 มีการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริการวิชาการ ระยะ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2566 - 2570) (3.1 - 2(1)) โดยคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยพิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 และถ่ายทอดแผนดังกล่าว สู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะ สำนัก และสถาบันเพื่อนำไปเป็นเป้าหมายในการกำหนดกิจกรรมโครงการพัฒนาชุมชนให้มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 มีการจัดทำแผนบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (3.1 - 2(2)) โดยคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยพิจารณาให้ความเห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 9/2565 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 มีตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน จำนวน 7 ตัวชี้วัด กำหนดกิจกรรมโครงการ งบประมาณ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ด้านบริการวิชาการ ระยะ 5 ปี มีกิจกรรมโครงการตามแผน จำนวน 4 โครงการ และได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงาน จำนวน 515,000 บาท
1.3 มีการจัดทำปฏิทินในการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ (3.1 - 2(3))เป็นกรอบในการขับเคลื่อนพันธกิจด้านบริการวิชาการที่ชัดเจน เพื่อการดำเนินงานกำกับติดตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. ขั้นตอนการดำเนินงาน (D : DO)
2.1 มีการดำเนินงานโครงการตามแผนบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมุ่งเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนสู่ความยั่งยืน โดยการบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ตามความความเชี่ยวชาญของแต่ละคณะไปพัฒนาชุมชนตามโจทย์ที่ชุมชนต้องการ มีการบูรณาการด้านการเรียนการสอน การวิจัย การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเข้ากับการบริการวิชาการ ตอบสนองแนวนโยบายของชาติ “หนึ่งจังหวัดหนึ่งมหาวิทยาลัย” เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐเข้ามาเป็นเครือข่ายร่วมพัฒนา เชื่อมโยงสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชนและพื้นที่ ครอบคลุ่ม 4 มิติ คือ มิติด้านเศรษฐกิจ มิติด้านสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม และมิติด้านการศึกษา ให้เกิดความยั่งยืน จำนวน 3 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ 3 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ส่งผลให้ชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รายละเอียดสรุปผลการดำเนินงานดังตาราง
ลำดับ
|
โครงการ
|
ชุมชน
|
ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย
|
1
|
โครงการพััฒนาและยกระดับการแปรรูป และช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์บริการทางทางวัฒนธรรม สู่การยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนกูยบ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ (3.1 - 2(4))
|
ชุุมชนบ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
|
บรรลุตามตัวชี้วัด
- ผลิตภัณฑ์บริการทางวัฒนธรรมคือ โฮมสเตย์บ้านรงระ
output
- มีทักษะการจำหน่วยสินค้าผ่านทาง LAZADA ,Shopee,tiktok,Facebook
- มีทักษะการถ่ายภาพสินค้า และวีดีโอ เพื่อการขายสินค้าในสื่อออนไลน์
- มีการรวมกลุ่มที่ชัดเจน
Outcome
1) ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
|
2
|
โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย : ส่งเสริมวัฒนธรรมและการเรียนรู้อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์กูย ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัด ศรีสะเกษ
(3.1 - 2(5))
|
ชุุมชนบ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ/นักศึกษาสาขาพัฒนาชุมชน 20 คนกศึกษา 1 ชั้นปี
|
บรรลุตามตัวชี้วัด
- คณะร่วมกับชุมชนจัดกิจกรรมส่งเสริมและเรียนรู้ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
output
- นักศึกษาได้เรียนรู้อัตลักษ์วิถีชาวกูย ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
- มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
Outcome
1) ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถบริหารจัดการกลุ่มให้มีการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง มีการบวนการพัฒนาและปรับปรุง
|
3
|
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ส่งเสริมการเรียนรู้ โครงการดำเนินวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “โคกหนองนาโมเดล” บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ วันที่ 19 มิถุนายน 2566 (3.1 - 2(6))
|
ชุุมชนบ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ/นักศึกษาสาขาพัฒนาชุมชน 20 คนกศึกษา 1 ชั้นปี
|
บรรลุตามตัวชี้วัด
- คณะร่วมกับชุมชนจัดกิจกรรมส่งเสริมและเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
output
- นักศึกษาได้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Outcome
1) ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถบริหารจัดการกลุ่มให้มีการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง มีการบวนการพัฒนาและปรับปรุง
|
4
|
โครงการแปรรููปผลิตภัณฑ์จากหวายเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน หมู่บ้านทับทิมสยาม07 (3.1 - 2(7))
|
ประชาชนหมู่บ้านทับทิบสยาม07
|
บรรลุตามตัวชี้วัด
- ผลิตภัณฑ์เฟอร์นิเจอร์จากหวายและเครือย่านาง ทำเป็นของใช้ คือ ตะกร้า ที่ใส่แก้ว ถาด และของใช้ตามออร์เดอร์ของลูกค้า
output
- มีทักษะการทำกระเป๋า ตะกร้า และถาดจากหวาย
- มีทักษะการทำกระเป๋า ตะกร้า และถาดจากเครือย่านาง
Outcome
1) ชุมชนมีอาชีพใหม่ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น
|
5
|
ส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าออกสู่ตลาดช่องทางการจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ (3.1 - 2(8))
|
สมาชิกกลุ่มทอผ้าไหม ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
|
บรรลุตามตัวชี้วัด
- ส่งเสริมและยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าออกสู่ตลาดผ่านช่องทางการจัดหน่ายเพือ่สร้างรายได้
output
- มีเทคนิคการถ่ายภาพผลิตภัรฑ์สำหรับการขายสินค้าออนไลน์
- มีเทคนิคการขายออนไลน์อย่างมืออาชีพ
Outcome
1) ชุมชนมีอาชีพใหม่ สร้างรายได้เพิ่มขึ้น
|
|
3. ขั้นตอนการตรวจสอบ/ประเมิน (C : CHECK)
3.1 มีการลงพื้นที่ติดตามตรวจเยี่ยมและประเมินผลการดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ ในพื้นที่บริการวิชาการของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (3.1 - 2(9)) โดยวันที่ 22 กรกฎาคม 2566 โดยคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ได้จัดกิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการการบริการจัดการกลุ่มและการจัดการความรู้ ภายใต้โครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ณ บ้านรงระ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ ซี่งมีผู้แทนจาก 3 ชุมชน เข้าร่วม คือ 1) ชุมชนบ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ 2) ชุมชน บ้านทับทิมสยาม 07 อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ และ 3) ชุมชนผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ได้ร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการกลุ่มและกระบวนการดำเนินงานด้านบริการในพื้นที่ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปี งบประมาณ 2566 และคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ทราบถึงความสำเร็จของงาน ปัญหา และอุสรรคที่เกิดขึ้น ได้แนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ มีการจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เสนอต่อคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ (3.1 - 2(10)) เพื่อทราบและพิจารณา โดยมีข้อเสนอแนะในการพัฒนา ดังนี้
1) ควรจัดทำความร่วมมือทางวิชาการ MOU กับหน่วยงานระดับพื้นที่เพื่อร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานพัฒนาชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) ควรเลือกโครงการที่คณะ สำนัก ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จัดทำเป็นหลักสูตรระยะสั้นเพื่อก่อให้เกิดรายได้หรือสามารถสะสมหน่วยกิตได้
3) ผู้รับผิดชอบโครงการ ควรมีผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในประเด็นที่จะพัฒนาร่วมเป็นผู้รับผิดชอบด้วย
4) ต้องให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลรายงานผลการดำเนินงานเข้าสู่ระบบรายงานผลด้านการบริการวิชาการ เพื่อให้สามารถสืบค้นได้ง่าย และมีสารสนเทศโดยภาพรวมระดับสถาบัน
5) ทุกปีควรมีรูปเล่มรายงานผลการดำเนินงานประจำปี
4. ขั้นตอนการปรับปรุง (A : ACT)
มหาวิทยาลัย ได้จัดการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ โดยได้เชิญผู้บริหารฝ่ายนโยบายและแผนและคณะกรรมการจัดหารายได้ของมหาวิทยาลัย เข้าร่วมประชุมในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 (3.1-2(11)) เพื่อถอดบทเรียนและพิจารณาแนวทางการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ และกำหนดแนวทางแก้ไขหรือพัฒนาโครงการบริการวิชาการในปีต่อไป โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการครั้งต่อไป
- ควรคัดเลือกโครงการต่อยอดสร้างรายได้ให้มหาวิทยาลัย
แนวทางการพัฒนา
1. ทุกคณะ สำนัก ค้นหา หลักสูตรระยะสั้น กิจกรรม หรือโครงการ ตามความถนัด ภายใต้ทรัพยากรของหน่วยงาน กำหนดเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดรายได้โดยสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ รวบรวมข้อมูล โดยภาพรวมของมหาวิทยาลัย เสนอคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการพิจารณา (หากเป็นหลักสูตรระยะสั้น ดำเนินการเสนอตามขั้นตอนของหลักสูตร)
- ดำเนินงานตามระบบและกลไกที่ชัดเจน (อ้างอิง ตามระเบียบการให้บริหารวิชาการ พ.ศ.2552 และ ระเบียบการบริหารจัดการเงินรายได้จากการบริการวิชาการ พ.ศ.2561)
- ส่วนกลางทบทวนระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และออกระเบียบที่ชัดเจน รวมถึง มีการระเบียบค่าตอบแทน การเบิกจ่ายงบประมาณ ต่างๆ และสัดส่วนของการจัดสรรเงินรายได้ที่ชัดเจน
2. ให้แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการดำเนินงานรายโครงการ ดังนี้
- ดำเนินงานผ่านกลไกของคณะ สำนัก และรายงานผลให้คณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการทราบ
- ทำความร่วมมือทางวิชาการกับ อปท.หรือโรงเรียน หรือ เป้าหมาย
5. มีหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน
5.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ (3.1 - 2(12)) ประจำปีการศึกษา 2566 โดยมีตัวแทนจากทุกคณะเป็นคณะกรรมการเพื่อร่วมมือกันนำองค์ความรู้ที่ความหลากหลายของแต่ละคณะมาบูรณาการให้ การขับเคลื่อนพันธกิจด้านบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยและร่วมกันในการจัดกิจกรรมโครงการตามแผนเพื่อขับเคลื่อนชุมชนให้สามารถพึงพาตนเองได้อย่างเข้มแข็ง
5.2 มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก (3.1 - 2(13)) เช่น มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ อาทิ
1) ร่วมกับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่มธุรกิจการตลาดและการจัดจำหน่าย รวมถึงบริษัทย่อยหรือบริษัทร่วมของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด โดยบริษัทตกลงบริจาคเงินเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้กับนักศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ของมหาวิทยาลัย (จำนวน 70%) ของค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร) จำนวน 100 ทุนต่อปีการศึกษา และบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบเงินค่าเบี้ยเลี้ยงและสวัสดิการอื่นๆในช่วงที่นักศึกษาฝึกปฏิบัติงานในพื้นที่บริษัทจัดหาให้
2) ร่วมกับ วิทยาลัยสารพัดช่าง จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อส่งเสริมความร่วมด้านวิชาการ บริการ และวิชาชีพ
3) ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายความมั่นคงทางอาหาร 15 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเบญจลักษ์พิทยา โรงเรียนเบญจประชาสรรค์ โรงเรียนวรคุณอุปถัมภ์ โรงเรียนคูซอดประชาสรรค์ โรงเรียนบัวน้อยวิทยา โรงเรียนคลีกลิ้งพัฒนาทร โรงเรียนไผ่งามพิทยาคม โรงเรียนบ้านหนองสาดโนนเจริญ โรงเรียนบ้านสีถาน โรงเรียนบ้านหนองอีกว่าง โรงเรียนบ้านหนองบาง โรงเรียนบ้านหนองแก้ว (ราษฏร์ผดุงวิทยา) โรงเรียนบ้านดอนไม้งาม ร.ร.ค้อวังวิทยามคม และ ร.ร.ทุ่งสิมวิทยาคม
4) ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายโครงสร้างมั่นคง 6 โรงเรียน ได้แก่ 1) โรงเรียนราชประชานุเคราะห์29จังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนพยุห์วิทยา โรงเรียนบ้านซำโพธิ์ โรงเรียนบ้านหนองไผ่ โรงเรียนบ้านคูซอด และโรงเรียนบ้านหมากเขียบ
| |
✓ | 3 | ชุมชนหรือองค์กรมีผู้นำหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง | ชุมชนหรือองค์กรมีผู้นำหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานผลการดำเนินงานพื้นที่บริการวิชาการ ระดับสถาบัน (3.1-3(1)) ดังนี้
ชุมชน
|
การดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
|
การต่อยอดของชุมชน
|
บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ |
1) โครงการพััฒนาและยกระดับการแปรรูป และช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์บริการทางทางวัฒนธรรม สู่การยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนกูยบ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
2) โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย : ส่งเสริมวัฒนธรรมและการเรียนรู้อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์กูย ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัด ศรีสะเกษ
3) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง“ส่งเสริมการเรียนรู้โครงการดำเนินวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “โคกหนองนาโมเดล” บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
|
- มีการรวมกลุ่มบริหารจัดการมีสมาชิกจำนวน 18 คนขับเคลื่อน
- มีผู้นำชุมชนทีมีศักยภาพในการบริหารจัดการกลุ่ม คือ นายจำรูญ นาคนวล เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ
- มีเยาวชนรุ่นใหม่ นายภูวนาท ตุ่มใสย์ (น้องบีม) ที่มีทักษะและความชำนาญเรื่องการทอผ้าไหม เป็นวิทยากรของชุมชน
- มี นางสาวสมถวิล ทวีชาติ ผู้ที่ปฏิบัติจนชำนาญ มีความเชี่ยวชาญ ปัจจุบันเป็นพี่เลี้ยง/ที่ปรึกษา ใน โครงการ forest of life สร้างพลังชีวิต อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าชุมชน
|
หมู่บ้านทับทิมยาม07
|
โครงการแปรรููปผลิตภัณฑ์จากหวายเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน หมู่บ้านทับทิมสยาม07
|
กลุ่มผลิตภัณฑ์จากหวาย
|
ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
|
โครงการส่งเสริมและพัฒนาลายผ้าอัตลักษณ์ประจำชุมชนย้อมผ้า ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
|
กลุ่มทอผ้าไหม ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
|
| |
✓ | 4 | ชุมชนหรือองค์กรสร้างกลไกที่มีการพัฒนาตนเองและท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องหรือยั่งยืน | ชุมชนหรือองค์กรสร้างกลไกที่มีการพัฒนาตนเองและท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องหรือยั่งยืน ดังรายงานผลการติดตามพื้นที่บริการวิชาการ ระดับสถาบัน (3.1-4(1)) ดังนี้
1. มหาวิทยาลัย ดำเนินงานโครงการบริการวิชาการในพื้นที่บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางคู่ จังหวัดศรีสะเกษ มาตั้งแต่ปี 2559 โดยเริ่มจากการบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาการพัฒนาชุม นำศึกษาสาขาวิชาพัฒนาชุมชนลงสำรวจพื้นที่และให้บริการวิชาการ วิชาการ จนสามารถสร้างเครือข่ายและดึงศักยภาพของผู้ชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ในปี 2564 จึงได้ประกาศเป็นพื้นที่บริการวิชาการ ระดับสถาบัน เพื่อบูรณาการความร่วมมือกับทุกคณะ สำนัก จนชุมชนมีความเข้มเข็ม มีระบบและกลไกในการดูแลตนเอง
1.1 มีการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายนักพัฒนาในพื้นที่จำนวน 18 คน ซึ่งมาจากตัวแทนกลุ่ม จำนวน 5 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มทอผ้าไหม 2)กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์จากอัญชัญ 3)กลุ่มโฮมสเตย์บ้านรงระ 4)กลุ่มดนตรีผู้สูงอายุ และ 5) กลุ่ม โคกหนองนา ทำหน้าที่ขับเคลื่อนกิจกรรมในการพัฒนาพื้นที่ ประสานงาน รวมกลุ่มเพื่อดำเนินงานกิจกรรมการพัฒนาในพื้นที่
1.2 โฮมสเตย์บ้านรงระ มีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ประจำปี พ.ศ.2566
2. มหาวิทยาลัย ดำเนินงานโครงการบริการวิชาการในพื้นที่บ้านทับทิมสยาม 07 ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ มาตั้งแต่ปี 2563 เป็นหมู่บ้านที่มีการก่อตั้งขึ้นใหม่ หลากหลายวัฒนธรรมมาร่วมตัวให้ ทำให้การรวมกลุ่มเป็นไปด้ายากเพราะมีความเชื่อและวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่แตกต่าง มีภาษาที่ใช้ 4 ภาษา เขมร ลาว ส่วย เยอ มหาวิทยาลัยเริ่มจากการบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาการพัฒนาชุม นำศึกษาสาขาวิชาพัฒนาชุมชนลงสำรวจพื้นที่และให้บริการวิชาการ วิชาการ จนสามารถสร้างเครือข่ายและดึงศักยภาพของผู้ชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ในปี 2564 จึงได้ประกาศเป็นพื้นที่บริการวิชาการ ระดับสถาบัน เพื่อบูรณาการความร่วมมือกับทุกคณะ สำนัก จนชุมชนมีความเข้มเข็ม มีระบบและกลไกในการดูแลตนเอง
2.1 มีการรวมกลุ่มอาชีพพัฒนาผลิตภัณฑ์จากหวายและเครือย่านาง
2.2 มีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
3. มหาวิทยาลัย ดำเนินงานโครงการบริการวิชาการในพื้นที่ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ มาตั้งแต่ปี 2563 ในปี 2564 จึงได้ประกาศเป็นพื้นที่บริการวิชาการ ระดับสถาบัน เพื่อบูรณาการความร่วมมือกับทุกคณะ สำนัก จนชุมชนมีความเข้มเข็ม มีระบบและกลไกในการดูแลตนเอง
3.1 มีการรวมกลุ่มอาชีพพัฒนาผลิตภัณฑ์ทอผ้าไหม
3.2 มีองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับตำบล และมีสถานที่ตั้งกลุ่มในพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล
| |
✓ | 5 | มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง | มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง ดัง รายงานผลการติดตามความยั่งยืนอันเนื่องมาจากการบริการวิชาการแก่สังคม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (3.1-5(1) ดังนี้
1. บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางคู่ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 และมีการดำเนินส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะ บูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน ได้แก่ 1) โครงการพััฒนาและยกระดับการแปรรูป และช่องทางการตลาดผลิตภัณฑ์บริการทางทางวัฒนธรรม สู่การยกระดับรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนกูยบ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 2) โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย : ส่งเสริมวัฒนธรรมและการเรียนรู้อัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์กูย ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัด ศรีสะเกษ 3) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “ส่งเสริมการเรียนรู้โครงการดำเนินวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “โคกหนองนาโมเดล” บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนมีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าอย่างเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ (In Cash) สังคม (In Kind) และเครือข่าย (Development Network) ในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ดังนี้
1.1 มีจุดเด่นด้านเศรษฐกิจ (In Cash) มหาวิทยาลัย นำนวัตกรรมการไปใช้ในการพัฒนายกระดับชุมชน จนส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ มีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ ,การเปิดศูนย์เรียนรู้โคกหนองนาโมเดล และ โฮมสเตย์ ดังนี้ 1) เกิดรายได้จากการรวมกลุ่มอาชีพ โดยเฉลี่ยรายได้ต่อเดือน 20,000 บาท/เดือน/กลุ่ม 2) เป็นอาชีพเสริมให้กับสมาชิกในกลุ่ม
1.2 สังคม (In Kind) ทำให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน และเกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านอื่นๆของชุมชนมีความสามัคคีในกลุ่ม รองรับโอกาสและความท้าทายในอนาคต ได้แก่ 1) การพัฒนาลายผ้าไหมที่เป็นอัตลักษ์ชุมชน 2) ขยายช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง 3) พัฒนาการขายออนไลน์ของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมากขึ้น 4) ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ 5) สร้างวิทยากรเพิ่มขึ้น 6) ขยายเครือข่ายการผลิตและการจำหน่าย 7) จัดให้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการผลิตวัตถุดิบ
1.3 เครือข่าย (Development Network) เกิดเครือข่ายความร่วมมือทั้ง อปท.ในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนขับเคลื่อนกลุ่ม
2. บ้านทับทิมสยาม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2564 และมีการดำเนินส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะ บูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน คือ โครงการแปรรููปผลิตภัณฑ์จากหวายเป็นเฟอร์นิเจอร์ตกแต่ง เพื่อเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจชุมชน หมู่บ้านทับทิมสยาม07 จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนมีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าอย่างเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ (In Cash) สังคม (In Kind) และเครือข่าย (Development Network) ในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ดังนี้
2.1 มีจุดเด่นด้านเศรษฐกิจ (In Cash) มหาวิทยาลัย นำนวัตกรรมการไปใช้ในการพัฒนายกระดับชุมชน จนส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ เป็นการนำทุนชุมชนเครือหูช้างและเครือย่านางมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างมูลค่าเพิ่ม และ มีรายได้จากการขายโปรแกรมการท่องเที่ยวในชุมชน พร้อมบริการอาหารเที่ยง 1 มื้อ ในราคา หัวละ 500 บาท ดังนี้ 1) เกิดรายได้จากการรวมกลุ่มอาชีพ โดยเฉลี่ยรายได้ต่อเดือน 50,000 บาท/เดือน/กลุ่ม หรือ 3,000-5,000 บาท/เดือน/คน 2) เป็นอาชีพเสริมให้กับสมาชิกในกลุ่ม
2.2 สังคม (In Kind) ทำให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน และเกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านอื่นๆของชุมชนมีความสามัคคีในกลุ่ม รองรับโอกาสและความท้าทายในอนาคต ได้แก่ 1) ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้น เช่น กระเป๋าถือจากเครือหูช้างและเครือย่านาง 2) ขยายช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง 3) พัฒนาการขายออนไลน์ของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมากขึ้น 4) จัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ 5) สร้างวิทยากรเพิ่มขึ้น 6) ขยายเครือข่ายการผลิตและการจำหน่าย 7) จัดให้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการผลิตวัตถุดิบ
2.3 เครือข่าย (Development Network) เกิดเครือข่ายความร่วมมือทั้ง อปท.ในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนขับเคลื่อนกลุ่ม
3. ตำบลผักไหม อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2564 และมีการดำเนินส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะ บูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน คือ โครงการส่งเสริมและพัฒนาลายผ้าอัตลักษณ์ประจำชุมชนย้อมผ้า ตำบลผักไหม อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ โดยความร่วมมือกับองค์การบริหารส่วนตำบลและกลุ่มทอผ้าไหมตำบลผักไหม จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนมีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าอย่างเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ (In Cash) สังคม (In Kind) และเครือข่าย (Development Network) ในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ดังนี้
3.1 มีจุดเด่นด้านเศรษฐกิจ (In Cash) มหาวิทยาลัย นำนวัตกรรมการไปใช้ในการพัฒนายกระดับชุมชน จนส่งผลให้เกิดความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ เป็นอาชีพเสริมให้กับสมาชิกในกลุ่ม ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
3.2 สังคม (In Kind) ทำให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชน และเกิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานด้านอื่นๆของชุมชนมีความสามัคคีในกลุ่ม รองรับโอกาสและความท้าทายในอนาคต ได้แก่ 1) ออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่เพิ่มขึ้น 2) ขยายช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง 3) พัฒนาการขายออนไลน์ของกลุ่มให้มีประสิทธิภาพและน่าสนใจมากขึ้น 4) จัดทำเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ 5) สร้างวิทยากรเพิ่มขึ้น 6) ขยายเครือข่ายการผลิตและการจำหน่าย 7) จัดให้เทคโนโลยีเพื่อช่วยในการผลิตวัตถุดิบ
3.3 เครือข่าย (Development Network) เกิดเครือข่ายความร่วมมือทั้ง อปท.ในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมสนับสนุนขับเคลื่อนกลุ่ม
| |
✓ | 6 | เกิดชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ที่มีคณะและมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบร่วมในการพัฒนาอย่างน้อย 1 ชุมชน | เกิดชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ที่มีคณะและมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบร่วมในการพัฒนา 2 ชุมชน รายงานผลการติดตามความยั่งยืนอันเนื่องมาจากการบริการวิชาการแก่สังคม ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (3.1-6(1)ได้แก่
1. บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางคู่ จังหวัดศรีสะเกษ จากการลงพื้นพัฒนาชุมชนตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา ส่งผลให้ชุมชนบ้านรงระมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน มีจุดเด่นด้านต่างๆ ที่น่าสนใจที่สามารถดึงดูดนักเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมที่โฮมสเตย์บ้านรงระอย่างต่อเนื่อง มีการนำสินค้าหลากหลาย ด้วยมีการร่วมกลุ่มเครือข่ายอาชีพในชุมชน ถึง 4 อาชีพ คือ 1) กลุ่มทอผ้าบ้านรงระ 2) กลุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์จากอัญชัญ 3) กลุ่มโฮมสเตย์บ้านรงระ 4) กลุ่มโคกหนองนาโมเดล ทำให้มีสินค้าที่หลากหลากส่งผลดีต่อโฮมสเตย์บ้านรงระอย่างมากเกิดมูลค่าทางเศรษฐิจที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้าและโฮมสเตย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จนโฮมสเตย์บ้านรงระ ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยว และรางวัลอื่นๆ อาทิ
1.1 โฮมสเตย์บ้านรงระ ได้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยว ประจำปี 2566
1.2 รางวัลรองชนะเลิศภาคอีสานตอนล่าง ในการประกวดโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบเพื่อยกระดับสู่ชุมชนอุดมสุขของ ธกส. ประจำปี 2564
1.3 รางวัลหมู่บ้านศรีสะเกษพัฒนาประชาเป็นสุข ลำดับที่ 3 ของจังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2553
นอกเหนือจากนั้นชุมชนยังได้รับความสนใจจากชุมชนอื่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เข้ามาศึกษาดูงานมากมาย เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100 คนต่อปี และอื่นๆ เป็นต้น
2. บ้านทับทิมสยาม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ จากการลงพื้นพัฒนาชุมชนตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา ส่งผลให้ชุมชนบ้านทับทิมสยามมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน มีจุดเด่นด้านต่างๆ ที่น่าสนใจที่สามารถดึงดูดนักเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม เกิดมูลค่าทางเศรษฐิจที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้าและจากการขายโปรแกรมการท่องเที่ยวชุมชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 และเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนวัตวิถีของจังหวัดศรีศรีสะเกษ
| |