ตัวบ่งชี้ที่ 1.9 ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไก

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อนุวัฒน์ ศรีสุวรรณ์ , สุรพงศ์ เบ้าทอง , ดารารัตน์ กันทวงค์
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา/หน่วยงาน ตามที่กําหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งสถาบัน/หน่วยงาน ต้องสร้างระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาการดําเนินงานของสถาบัน/หน่วยงานให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าประสงค์ และระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนดโดยสถาบันและหน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการวัดผลสําเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในรวมทั้งการรายงานผลการประกันคุณภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน มีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมี นวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน
2 มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
3 มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน/หน่วยงาน
4 มีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ
5 มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกัน
6 มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นและเผยแพร่ ให้หน่วยงานอื่นสามารถนําไปใช้ประโยชน์
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน

สถาบันวิจัยและพัฒนาได้ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบ และกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงานตามเกณฑ์ โดยมีการดำเนินการดังนี้

1. มีการจัดทําคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน (1.9 – 1 (1)) เพื่อเป็นระบบและกลไกในการดําเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยกําหนดเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนสอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันฯ

2. มีการจัดทําปฏิทินการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน (1.9-1(2)) เพื่อกําหนดโครงการ/กิจกรรม และกระบวนการดําเนินงานให้ชัดเจนในวงรอบปีประกันอย่างชัดเจน 

3. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน (1.9–1(3)) โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการด้านการประกันศึกษาภายในของสถาบันให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์  ตลอดจนกำกับ ติดตาม และให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินการประกันคุณภาพฯ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา และประสานงาน รวบรวมข้อมูล เอกสาร หลักฐานตามองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และดำเนินการเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาตามตัวบ่งชี้ทุกตัว

2มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

สถาบันวิจัยและพัฒนามีการกําหนดนโยบายและให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน  รวมทั้งมีระบบสารสนเทศให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน  ดังนี้

1. มีการกําหนดนโยบายที่ชัดเจน โดยมีผู้บริหาร และบุคลากรของหน่วยงานมีส่วนร่วมในการกําหนดนโยบาย โดยจัดทําเป็นประกาศ เรื่อง นโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา 1.9 –2  (1)) มีรายละเอียดดังนี้

   1) ประกาศสถาบันวิจัยและพัฒนา เรื่อง นโยบายประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

2. มีระบบสารสนเทศสนับสนุนการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 2 ระบบ ดังนี้

   1) มีระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาแบบประออนไลน์ คือ ระบบ ESAR (www.esar.sskru.ac.th) (1.9-2(2)) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของหน่วยงาน สามารถเขียนผลการดำเนินงาน อัพโหลดเอกสารหลักฐานรายองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ สามารถ เพิ่ม ลบ แก้ไข สืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    2) มีเว็ปไซต์หน่วยงาน http://research.sskru.ac.th/ (1.9-2(3)) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการเผยแพร่ผลการประเมิน SAR ข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้หน่วยงานภายนอก และภายในสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์

3มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน/หน่วยงาน

สถาบันวิจัยและพัฒนามีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบถ้วน ประกอบด้วย
1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปี โดยทำเป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกำหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของ สถาบัน ดังนี้

1. การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ

      สถาบันวิจัยและพัฒนามีการควบคุม ติดตาม และประเมินคุณภาพ โดยคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ที่สถาบันฯ มีการแต่งตั้งผ่านการประชุมคณะกรรมการ ดังนี้

      1) การประชุมคณะกรรมการดําเนินงานครั้งที่ 3/2566 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 256ุ5  วาระที่ 5.6 ติดตามงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับสถาบันวิจัยและพัฒนา  เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากปีที่ผ่านมาในการพิจารณาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงจากคณะกรรมการตรวจประเมินจากปีที่ผ่านมา มาใช้เป็นแนวทางการจัดทําแผนพัฒนาประกันคุณภาพการศึกษา และวาระที่ 5.7 ติดตามงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2565 และเกณฑ์ประกันคุณภาพ (EdPEx) ปีการศึกษา 2566 และ ชี้แจงปฏิทินการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพ ได้มีการแจ้งผู้เกี่ยวข้องให้รับทราบปฏิทินการดําเนินงาน กําหนดเป้าหมายการดําเนินงานตามองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และกำหนดมอบหมายผู้รับผิดชอบ ผู้กํากับตัวบ่งชี้ เพื่อนํามาใช้แต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา(1.9 – 3 (1))  และการประชุมคณะกรรมการดําเนินงาน เมื่อคราวประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 3/2566 (1.9 – 3 (2)) วันที่ 24 กรกฎาคม 2566 วาระที่ 5.4 ร่างคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพภายใน(EdPEx) ประจำปีการศึกษา 2565

2. มีการจัดทํารายงานประจําปีทำเป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกำหนดเวลา

      สถาบันฯ มีการจัดทำโครงการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2565 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 โดยมีผลการประเมินคะแนน 4.90 อยู่ในระดับ ดีมาก และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บนเว็ปไซต์ http://research.sskru.ac.th/ ของสถาบันวิจัยและพัฒนา  (1.9 – 3 (2))

3. การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพของสถาบันวิจัยและพัฒนา

      สถาบันฯ มีการนําข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน ประจําปีการศึกษา 2565   และข้อเสนอแนะจาก คณะกรรมการประจํา ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2565 วาระที่ 5.2 แผนพัฒนาคุณภาพ   (1.9 – 3 (3)) ผลการประเมินประกันคุณภาพภายใน ประจำปีการศึกษา 2563 มาจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (QA Improvement Plan) ประจําปีการศึกษา 2564 โดยมีข้อเสนอแนะ จํานวน 2 ประเด็นที่ควรพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพ ดังนี้

        1) สนับสนุนการตีพิมพ์นานาชาติ สอดคล้องกับตัวชี้วัดโครงการกิจกรรมพัฒนาวิจัยร่วมกับเครือข่ายที่อยู่ในแผนการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิรับเชิญจากแหล่งทุนภายนอกและการสร้างกลไกโครงการผลักดันแหล่งทุนภายนอกเพื่อให้เกิดการสนับสนุนทุนภายนอก

       2) สนับสนุนการขอตำแหน่งทางวิชาการเห็นควรให้มีการจัดกิจกรรมการเขียนบทความซึ่งอยู่ในแผนการพัฒนากลไกสนุบสนุนงานวิชาการ การขอตำแหน่งทางวิชาการโดยการอบรมออกประกาศและขอให้ไปตีพิมพ์ภายนอก ตีพิมพ์นานาชาติเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ สอดคล้องกับการบริการวิชาการเกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสร้างโอกาสสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก

4มีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ

4.1 สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการนําข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบันวิจัยและพัฒนา ประจําปีการศึกษา2565 และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจําปี และผลการประเมินคุณภาพภายในประจำปีการศึกษา2565 มาจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (QA Improvement Plan) ประจําปีการศึกษา 2565 (1.9-4(1)) แผนพัฒนาคุณภาพ (Quality Improvement Plan) ประจำปีการศึกษา 2565

5มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกัน

    สถาบันวิจัยและพัฒนามีการสร้างเครือข่ายสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย ระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนาและหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย โดยมีการลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (MOU) (1.9 – 5 (1)) มีการกิจกรรมร่วมกันระหว่างเครือข่ายกิจกรรม ในวันที่ 16สิงหาคม 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อการเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
มีข้อตกลงร่วมกันดังนี้ 

1.สนับสนุนความร่วมมือด้านการเก็บข้อมูลด้านการวิจัยระหว่างสถาบันวิจัยและพัฒนากับเครือข่าย 6 คณะ 1 สถาบัน และ 2 สำนัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา

2.ส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงการใช้ข้อมูลสารสนเทศสำหรับงานวิจัยในการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา 

โดยข้อตกลงดังกล่าวมีหน่วยงานภายในที่เข้าร่วม 6 คณะ 1 สถาบัน 2 สำนัก ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงาน หัวหน้างาน และบุคคลากรที่เกี่ยวข้อง  ส่งผลให้เกิดการประสานความร่วมมือระหว่างกันและสนับสนุนการดำเนินงาน ตลอดจนติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามบันทึกความเข้าใจให้เกิดประโยชน์สุงสุด

6มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นและเผยแพร่ ให้หน่วยงานอื่นสามารถนําไปใช้ประโยชน์

สถาบันวิจัยและพัฒนามีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีทำเป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกำหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันฯ ดังนี้
1. การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ
    1.1 มีการควบคุม ติดตาม และประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการ ประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ที่หน่วยงานแต่งตั้ง ผ่านการประชุมคณะกรรมการอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
        1) การประชุมคณะกรรมการดําเนินงาน คณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่  2/2566  เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2566
                วาระที่ 5.2 รายงานผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาคุณภาพและ Improement Plan (1.9 – 3 (1)) ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาจากปีที่ผ่านมาเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงเพื่อ นําข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินจากปีที่ผ่านมามาจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา รับทราบปฏิทินการดําเนินงานกําหนดเป้าหมายการดําเนินงานตามองค์ประกอบและตัวบ่งชี้และพิจารณากําหนด มอบหมายผู้รับผิดชอบ ผู้กํากับตัวบ่งชี้ เพื่อนํามาแต่งตั้งคณะกรรมการดําเนินงานด้าน การประกันคุณภาพการศึกษา วาระที่ 5.6 ติดตามงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยมีการมอบหมายผู้รับผิดชอบองค์ประกอบตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 1 ตัวบ่งชี้การบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยที่ประชุมมีมติ เห็นชอบติดตามงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับสถาบันวิจัย

                วาระที่ 5.7 ติดตามงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2565 และเกณฑ์ประกันคุณภาพ EdPEx ปีการศึกษา 2566

        2) การประชุมคณะกรรมการดําเนินงาน ในการประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา เมื่อคราวประชุมครั้งที่ 4 วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 วาระที่ 5.2 เพื่อกำกับติดตามงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย 2565 (1.9 – 3 (2))

        3) การประชุมคณะกรรมการดําเนินงานเมื่อคราวประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา       ครั้งที่ 1/2565วันที่ 13 มิถุนายน 2565 เพื่อกํากับติดตามผลการดําเนินงานของกิจกรรม โครงการ แผนงานด้านการ ประกันคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน กําหนดคณะกรรมการตรวจประเมิน กําหนดวันตรวจประเมิน สรุปข้อมูลเพื่อเขียนรายงานการประเมินตนเอง (SAR)  (1.9 – 3 (2))

    1.2 มีการจัดทํารายงานประจําปีทำเป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกำหนดเวลามีการจัดทำโครงการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบันวิจัยและพัฒนา  ประจำปีการศึกษา พ.ศ.2564 เมื่อวันที่ ............ พ.ศ. ...... โดยมีผลการประเมินคะแนน ....... อยู่ในระดับ ....... และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บนเว็ปไซต์สถาบันวิจัยและพัฒนา http://research.sskru.ac.th/

    1.3 การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันวิจัยและพัฒนา  มีการนําข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน ประจําปีการศึกษา 2564   และข้อเสนอแนะจาก คณะกรรมการประจํา ครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 วาระที่5.4   (1.9 – 3 (3))ผลการประเมินคุณภาพภายใน ประจำปีการศึกษา 2564   มาจัดทําแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา (QA Improvement Plan) ประจําปีการศึกษา 2564   โดยมี ข้อเสนอแนะ จํานวน 2 ประเด็น ดังนี้

จุดที่ควรพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพ

        1. สนับสนุนการตีพิมพ์นานาชาติ สอดคล้องกับตัวชี้วัดโครงการกิจกรรมพัฒนาวิจัยร่วมกับเครือข่ายที่อยู่ในแผนการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิรับเชิญจากแหล่งทุนภายนอกและการสร้างกลไกโครงการผลักดันแหล่งทุนภายนอกเพื่อให้เกิดการสนับสนุนทุนภายนอก

        2.สนับสนุนการขอตำแหน่งทางวิชาการเห็นควรให้มีการจัดกิจกรรมการเขียนบทความซึ่งอยู่ในแผนการพัฒนากลไกสนุบสนุนงานวิชาการ การขอตำแหน่งทางวิชาการโดยการอบรมออกประกาศและขอให้ไปตีพิมพ์ภายนอก ตีพิมพ์นานาชาติเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ สอดคล้องกับการบริการวิชาการเกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสร้างโอกาสสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอกบริการวิชาการ และงานวิชาการ

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5