ตัวบ่งชี้ที่ 1.9 ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไก

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ศิราวุธ สงวนสิน
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา/หน่วยงาน ตามที่กําหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ซึ่งสถาบัน/หน่วยงาน ต้องสร้างระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาการดําเนินงานของสถาบัน/หน่วยงานให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าประสงค์ และระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กําหนดโดยสถาบันและหน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการวัดผลสําเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในรวมทั้งการรายงานผลการประกันคุณภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน มีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมี นวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน
2 มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน
3 มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน/หน่วยงาน
4 มีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ
5 มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกัน
6 มีแนวปฏิบัติที่ดีหรืองานวิจัยด้านการประกันคุณภาพการศึกษาที่หน่วยงานพัฒนาขึ้นและเผยแพร่ ให้หน่วยงานอื่นสามารถนําไปใช้ประโยชน์
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1ดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามระบบและกลไกที่เหมาะสมสอดคล้องกับ พันธกิจของหน่วยงาน ดังนี้ 1. มีการจัดทำคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนักฯ (1.9 – 1 (1)) เพื่อเป็นระบบและกลไกในการดําเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มีการกำหนดเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนสอดคล้องกับพันธกิจของหน่วยงาน จำนวน 2 องค์ประกอบ 13 ตัวบ่งชี้ 2. มีการจัดทำปฏิทินการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนักฯ (1.9 – 1 (2)) เพื่อกำหนดกิจกรรม และกระบวนการดําเนินงานให้ชัดเจนในวงรอบปีประกันอย่างชัดเจน 3. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับตัวบ่งชี้และจัดเก็บข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน (1.9 – 1 (3)) โดยมีส่วนร่วมของ บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักฯ รองผู้อำนวยการสำนักฯ หัวหน้าสำนักงานอำนวยการ หัวหน้างานและบุคลากรทุกฝ่ายเพื่อทำหน้าที่พัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนักฯ รวมทั้งทำหน้าที่ขับเคลื่อนดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับสำนักให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2มีการกําหนดนโยบายและให้ความสําคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน รวมทั้งมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ดังนี้

1. มีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน โดยมีผู้บริหาร และบุคลากรของมหาวิทยาลัยฯ มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย โดยสำนักฯ ได้จัดทำเป็นประกาศ เรื่อง นโยบายประกันคุณภาพการศึกษา (1.9 –2 (1)) มีรายละเอียดดังนี้  

1.1 พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  โดยกำหนดให้มีการดำเนินการควบคุม ตรวจสอบการประเมิน และพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

    1.2 กำหนดให้ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยกระจายสู่คณะสำนัก เพื่อสร้างวัฒนธรรมดำเนินงานที่มีคุณภาพ

    1.3 พัฒนามาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินคุณภาพที่สามารถสะท้อนคุณภาพการปฏิบัติงาน ตามนโยบาย เป้าหมาย พันธกิจ และภารกิจของมหาวิทยาลัย สามารถกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน การพัฒนาการดำเนินงานและผลผลิตทางการศึกษาของมหาวิทยาลัย

    1.4 ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ การให้ความรู้ และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา คณาจารย์และบุคลากรในการดำเนินงานประกันคุณภาพทางการศึกษา

    1.5 นำระบบและการจัดการความรู้มาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาองค์กรสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

    1.6 ส่งเสริมการเปิดเผยข้อมูลและเผยแพร่ผลงานตามพันธกิจของระบบและกลไกการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

    1.7 เปิดโอกาสให้บุคลากรภายนอกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบและกลไกการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

    1.8 ส่งเสริมให้คณะ สำนัก และสถาบัน สร้างเครือข่ายประกันคุณภาพการศึกษากับหน่วยงานภายในและภายนอก

2. มีระบบสารสนเทศสนับสนุนการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จํานวน 2 ระบบ ดังนี้

    2.1 มีระบบการประเมินออนไลน์ ESAR (http://www.esar.sskru.ac.th/) (1.9 – 2 (2)) เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายในของ หน่วยงานสามารถเขียนผลการดําเนินงาน อัพโหลดเอกสารหลักฐาน รายองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ สามารถ เพิ่ม ลบ แก้ไข สืบค้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

    2.2 มีเว็บไซต์สำนัก (1.9–2 (3)) เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้สำหรับการเผยแพร่ผลการประเมิน SAR ข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาให้หน่วยงานภายนอก และภายในสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์  

3มีการดําเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย 1) การควบคุม ติดตามการดําเนินงาน และประเมินคุณภาพ 2) การจัดทํารายงานประจําปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกําหนดเวลา 3) การนําผลการประเมินคุณภาพไปทําแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบัน/หน่วยงาน

1. มีการควบคุม ติดตาม และประเมินคุณภาพโดยคณะกรรมการบริหารสำนักฯ และคณะกรรมการประจำฯ ผ่านการประชุมคณะกรรมการอย่างต่อเนื่อง (1.9-1(1)-(2)

2.มีการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพตามกำหนดเวลา (1.9 – 3 (3)) ผ่านความเห็นชอบจาก คณะกรรมการประจำสำนัก (1.9 – 3 (4)) และเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์สำนักฯ (1.9 – 3 (5))

3. มีการนำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาปีที่ผ่านมา ไปทำแผนการพัฒนาคุญภาพการศึกษาประจำปีการศึกษา 2565 ของสำนักฯ (1.9-1(6))

4มีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาปรับปรุงการทํางานของหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ

สำนักวิทยบริการมีการนําผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในประจำปีการศึกษา 2564 มาปรับปรุงการทํางานของสำนักฯ ให้มีประสิทธิภาพ โดยได้มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาคุณภาพ ประจำปีการศึกษา 2565 และนำเข้า ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวาระเพื่อทราบ ในคราวประชุม ครั้ง ที่2/2566 วันที่ 11 กรกฎาคม 2566

5มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกัน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงาน ภายในหรือภายนอกและมีกิจกรรมร่วมกัน ดังนี้
1. มีเครือข่ายภายในเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัย ระหว่าง สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม กับสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีการลงนามบันทึกข้อตกลง ความร่วมมือด้านการประกันคุณภาพการศึกษา (MOU) (1.9 – 5 (1)) ในวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 มีระยะเวลาความร่วมมือเป็นเวลา 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 ถึง วันที่ 18 พฤษภาคม 2568

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5 คะแนน