ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ระบบและกลไกการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : เสถียร สีชื่น , ศิริวุฒิ วรรณทอง , ทินกร กมล , พรเทพ เจิมขุนทด , ทิวาพร ใจก้อน , ธัญทิพ บุญเยี่ยม
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น ชุมชน และสังคมเป็นภารกิจหลักประการหนึ่งของมหาวิทยาลัย ซึ่งพึงมีระบบและกลไกในการบริการทางวิชาการแก่สังคมที่เป็นรูปธรรม กำหนดเป้าหมายในการให้บริการวิชาการที่ชัดเจนเพื่อเป็นกรอบในการจัดทำแผนดำเนินงานในการให้บริการวิชาการแก่สังคม มีคณะกรรมการติดตาม กำกับ สนับสนุน การปฏิบัติงานตามภารกิจด้านบริการทางวิชาการแก่สังคมของสถาบันให้สอดคล้องกับเป้าหมาย เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ
2 จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
3 ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ
4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา
5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีส่วนร่วมกับสถาบันและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ

             ในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการบริการวิชาการนั้น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีการกำหนดเป้าหมายการบริการวิชาการที่เกิดจากการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น ที่สะท้อนความต้องการให้คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้าไปบริการวิชาการแก่สังคม โดยประชุมตัวแทนชุมชนเพื่อสะท้อนปัญหาและความต้องการในการรับบริการวิชาการแก่สังคม (3.1.1(1-2)

         โดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานบริการวิชาการแก่สังคมของคณะฯ ปีงบประมาณ 2563 (3.1.1(2) เพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำแผนบริการวิชาการที่สอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง (3.1.1(3-4)

 

2 จัดทำแผนบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามจุดเน้น จุดเด่นของสถาบัน ตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริและแผนการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จในระดับแผนและโครงการบริการวิชาการ และเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

         คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มีระบบและกลไกการให้บริการวิชาการแก่สังคม โดยมีการแต่งตั้งผู้รับผิดชอบงานคือ ผู้ช่วยคณบดี หัวหน้างานบริการวิชาการแก่สังคม และคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมของคณะ เพื่อทำหน้าที่จัดทำแผนการบริการวิชาการแก่สังคมที่มีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน และจัดทำแผนการนำไปใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการเพื่อให้เกิดผลต่อการพัฒนานักศึกษา ชุมชนหรือสังคม ที่มีการกำหนดตัวบ่งชี้ความสำเร็จของแผน  ซึ่งในแผนปฏิบัติการปีงบประมาณ  2563 มีจำนวน 4 โครงการ โดยทั้ง 4 โครงการ  และเสนอที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ พิจารณาให้เห็นชอบและอนุมัติให้ดำเนินการจัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนดไว้

3 ดำเนินการตามแผนการบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมที่กำหนดไว้ตามข้อ 2 โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกสถาบัน อย่างน้อย 1 โครงการ

           ในปีงบประมาณ  2563 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้จัดทำโครงการบริการวิชาการแก่สังคมตามแผนที่กำหนดไว้ โดยร่วมกับหน่วยงานภายนอก จำนวน  4 โครงการ ดังนี้

          1. โครงการส่งเสริมอาชีพการเพาะเห็ดบ้านปรือคันตะวันออก ตำบลปรือใหญ่ อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืน  3.1-3-(1)

          2. โครงการ “ศิลป์เพื่อน้อง” (สัมมนาศิลปะและการออกแบบ)   3.1-3-(2)

         3. โครงการยุวบรรณารักษ์ 3.1-3-(3)

        4. โครงการนิทรรศการภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่น #2019 3.1-3-(4)

         และโครงการบริการวิชาการแก่สังคม คณะได้ดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 1 โครงการ ดังนี้

         1. โครงการบริการวิชาการแก่สังคม พัฒนาผลิตภัณฑ์ปลาส้ม และการรวมกลุ่มอาชีพผู้ผลิตปลาส้ม บ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

              นอกจากนี้ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดทำโครงการบูรณาการร่วมมือสนับสนุนกิจการนักศึกษา/ออกค่าย “ฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ” ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 4 โครงการ ดังนี้

     1) โครงการบูรณาการร่วมมือสนับสนุนกิจการนักศึกษา/ออกค่าย “ฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ” หลักสูตร อาชีพเลี้ยงกบในกระชัง

     2) โครงการบูรณาการร่วมมือสนับสนุนกิจการนักศึกษา/ออกค่าย “ฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ” หลักสูตร อาชีพเพาะเห็ด

     3) โครงการบูรณาการร่วมมือสนับสนุนกิจการนักศึกษา/ออกค่าย “ฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ” หลักสูตร อาชีพนวดแผนไทย

     4) โครงการบูรณาการร่วมมือสนับสนุนกิจการนักศึกษา/ออกค่าย “ฝึกอบรมการสร้างอาชีพชุมชนตามแนวชายแดนในจังหวัดศรีสะเกษ” หลักสูตร อาชีพช่างซ่อมเครื่องยนต์เล็ก

4 ประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการบริการวิชาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคมตามข้อ 2 และนำเสนอคณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณา

           คณะกรรมการการบริการวิชาการแก่สังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้ดำเนินงานตามแผนบริการวิชาการแก่สังคม ในปีงบประมาณ  2563 เมื่อการดำเนินโครงการสิ้นสุดลง คณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมได้ประชุม (3.1-4(1) เพื่อประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการ ผลการดำเนินงานของโครงการในแผนบริการวิชาการแก่สังคม พบว่า มีโครงการที่ดำเนินงานทั้งหมด 4 โครงการ คณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมนำผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนและโครงการเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ  เพื่อพิจารณาผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่สังคม

5 นำผลการประเมินตามข้อ 4 ไปปรับปรุงแผนบริการวิชาการในปีต่อไป

          คณะกรรมการการบริการวิชาการแก่สังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้นำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผนฯ และโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ปีงบประมาณ  2563 ที่นำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อพิจารณาและที่ประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม  ซึ่งทางคณะกรรมการบริการวิชาการแก่สังคมจะได้นำข้อเสนอแนะมาแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนาแผนการให้บริการวิชาการแก่สังคม ในปีงบประมาณ 2564 (3.1-5(3)

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
5 5