ตัวบ่งชี้ที่ 1.4 การบริหารความเสี่ยง

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : ปฏิกิติพัฒน์ ศรีมะณี , จันจิรา ชาติมนตรี , อนุวัฒน์ ศรีสุวรรณ์
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

หน่วยงานสนับสนุนจะต้องดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง ที่เป็นผลจากการวิเคราะห์และระบุ ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ที่ส่งผลต่อการดําเนินงานตามพันธกิจของ หน่วยงานและให้ระดับความเสี่ยงลดลงจากเดิมหรืออยู่ในระดับที่ยอมรับสามารถควบคุมได้ เพื่อป้องกันหรือบรรเทา ความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสํารองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่างๆ มีความพร้อมใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบรรลุเป้าหมายของสถาบัน/หน่วยงาน ตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสําคัญ

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีผู้บริหารสูงสุด หรือตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเป็นประธานในคําสั่ง และมีบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน โดยมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ และระบบกลไกหรือกระบวนการทํางานของคณะกรรมการอย่างชัดเจน
2 มีจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จากภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ครอบคลุมตามพันธกิจหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของหน่วยงานอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน
3 มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และแผนบริหารความเสี่ยงจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน
4 มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยง ที่หน่วยต้องเร่งดําเนินการด่วน และบอกได้ถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ทําให้ความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย 1 เรื่อง
5 มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลตามระยะเวลา ที่กําหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาร่วมกัน
6 มีการนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานตนเองและหน่วยตรวจสอบภายในไปใช้ในการ ปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป และให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงาน ตามปกติอย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทํางานด้านบริหารความเสี่ยงและควบคุมภายใน โดยมีผู้บริหารสูงสุด หรือตัวแทนผู้บริหารของหน่วยงานเป็นประธานในคําสั่ง และมีบุคลากรร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทํางาน โดยมีการกําหนดบทบาทหน้าที่ และระบบกลไกหรือกระบวนการทํางานของคณะกรรมการอย่างชัดเจน

1. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการว่างแผนเตรียมการด้านการบริหารความเสี่ยง และควบคุมภายใน ประจำปีการศึกษา 2565 ดังนี้

        1.1 สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับตัวบ่งชี้และจัดเก็บข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามตัวบ่งชี้ด้านการบริหารความเสี่ยง สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2565 ตามคำสั่งสถาบันวิจัยและพัฒนา ที่ 14/2565 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 โดยมีส่วนร่วมของบุคลากร ตั้งแต่ รองอธิการบดี เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และหัวหน้าสำนักงานอำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และตัวแทนจากทุกกลุ่มงานเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อทำหน้าที่ให้คำปรึกษา อำนวยการ พิจารณา สั่งการ กำกับ ติดตาม ให้ความเป็น ข้อเสนอแนะ และจัดเก็บข้อมูล ปฏิบัติงานให้สอดคล้อง เป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565 (1.4 - 1(1)) 

        1.2 สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมภายใน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2565 ที่ 15/2565 ลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 โดยมีผู้บริหาร คือ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา หัวหน้าสำนักงานอำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา หัวหน้างานบริหารทั่วไป ทำหน้าที่ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสอบที่สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษกำหนดด้านการเงิน บัญชี พัสดุ รวมทั้งการตรวจสอบการบริหารงานด้านอื่น ๆ ให้เป็นไปตามนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรี ตลอดจนการตรวจสอบการดูแลรักษาทรัพย์สิน และการใช้ทรัพยากรทุกประเภทว่าเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ประเมินผลการปฏิบัติงาน และเสนอแนะวิธีการหรือมาตรการในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การปฏิบัติงานตามข้อ 1 เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อป้องปรามมิให้เกิดความเสียหายหรือการทุจริตเกี่ยวกับการเงินหรือทรัพย์สินต่างๆ ของทางราชการ รายงานผลการตรวจสอบต่ออธิการบดีตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด ติดตามผลการตรวจสอบ เสนอแนะ และให้คำปรึกษาแก่ผู็บริหารของสถาบันวิจัยและพัฒนา เพื่อให้มีการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามขอเสนอแนะ และดำเนินการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (1.4-1(2)) 

2มีจัดทําแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง จากภายในและภายนอกหน่วยงาน ที่ครอบคลุมตามพันธกิจหรือความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ทับซ้อน ของหน่วยงานอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน

2. สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีการศึกษา 2565 รายละเอียดดังนี้

     2.1 สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการจัดประชุมคณะกรรมการลริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 9/2565 วันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 (1.4-2(1)) วาระที่ 5.7 ร่าง แผนบริหารความเสี่ยงสถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อหารือ ความเสี่ยง ปัจจัยเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยง โอกาสและผลกระทบที่จะเกิดความเสี่ยง ทั้งภายใน และภายนอก โดยการทบทวนผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารความเสี่ยง ปีงบประมาณ 2566 ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง ที่ครอบคลุมพันธกิจของหน่วยงานโดยมีประเด็นความเสี่ยงตามแผน จำนวน 3 ประเด็น

ประเด็นความเสี่ยง

     2.1.1 ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกลดลง เนื่องจากการส่งผลงานไม่ตรงตามเวลาของแหล่งทุนกำหนด (ด้านกลยุทธ์)

     2.1.2 นักวิจัยไม่บริหารจัดการด้านการเงินตามแผน ในการรายงานผลในระบบ NRIIS (ด้านการเงิน)

     2.1.3 การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ มีจำกัดในการรายงานผลผลิตที่เป็นไปตามคำรับรอง (ด้านการดำเนินงาน) (1.4-2(2))

3มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลําดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2 โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยงของหน่วยงาน และแผนบริหารความเสี่ยงจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน

3. สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยงสถาบันวิจัยและพัฒนา ดังนี้

     3.1 มีการจัดประชุมคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 10/2565 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2565 วาระที่ 5.9  แผนบริหารความเสี่ยง สถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อร่วมกันประเมินโอกาส ผลกระทบของความเสี่ยง และจัดลำดับความเสี่ยงสถาบันวิจัยและพัฒนา โดยระบุไว้ในแผนบริหารความเสี่ยง สถาบันวิจัยและพัฒนา พบว่ามีประเด็นความเสี่ยง 3 ประเด็น ดังนี้ 1) ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกลดลง เนื่องจากการส่งผลงานไม่ตรงตามเวลาของแหล่งทุนกำหนด 2) นักวิจัยไม่บริหารจัดการด้านการเงินตามแผน ในการรายงานผลในระบบ NRIIS 3) การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ มีจำกัดในการรายงานผลผลิตที่เป็นไปตามคำรับรอง (1.4-3(1)) (1.4-3(2))

     3.2 มีการประชุมคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 1/2566 ลงวันที่ 19 มกราคม 2566 เพื่อพิจารณา แผนบริหารความเสี่ยงสถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีการศึกษา 2565 โดยมีมติที่ประชุม เห็บชอบ โดยไม่มีการปรับแก่ไข (1.4-3(3))

4มีแผนการดําเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรือความเสี่ยง ที่หน่วยต้องเร่งดําเนินการด่วน และบอกได้ถึงวิธีการจัดการความเสี่ยงที่ทําให้ความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ มีระดับความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย 1 เรื่อง

4. มีแผนการดำเนินงานหรือโครงการ/กิจกรรมในการบริหารความเสี่ยง สถาบันวิจัยและพัฒนา มีระดับความ จำนวน 3 เรื่อง ที่หน่วยงานต้องเร่งดำเนินการด่วน ดังนี้ 

     4.1 R-1 ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกลดลง เนื่องจากการส่งผลงานไม่ตรงตามเวลาของแหล่งทุนกำหนด

     4.2 R-2 นักวิจัยไม่บริหารจัดการด้านการเงินตามแผน ในการรายงานผลในระบบ NRIIS

     4.3 R-3 การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ มีจำกัดในการรายงานผลผลิตที่เป็นไปตามคำรับรอง

(1.4-4(1))

5มีการติดตามประเมินผลการดําเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานผลตามระยะเวลา ที่กําหนดในรอบ 6 เดือน และรอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะผู้บริหารได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาร่วมกัน

5. สถาบันวิจัยและพัฒนา มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง และรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด ในรอบ 6 เดือน และ รอบ 12 เดือน เสนอต่อคณะกรรมการกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงได้รับทราบและพิจารณาข้อคิดเห็น หรือ ข้อเสนอแนะ ดังนี้

     5.1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมภายใน สถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีการศึกษา 2565 เพื่อทำหน้าที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงโดยได้จัดทำรายงานผลตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง (1.4-5(1))

     5.2 มีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง สถาบันวิจัยและพัฒนา ประจำปีการศึกษา 2565 (1.4-5(2)) เสนอต่อคณะกรรมการบริหารสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 4/2566 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 วาระที่ 5.12 รายงานผลแผนบริหารความเสี่ยง มติที่ประชุม เห็นชอบ (1.4-5(3)) และรายงานต่อคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา ครั้งที่ 2/2566 ลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 วาระที่ 5.2 รายงานผลแผนบริหารความเสี่ยง มติที่ประชุม เห็นชอบ (1.4-5(4))

6มีการนําผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานตนเองและหน่วยตรวจสอบภายในไปใช้ในการ ปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป และให้การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงาน ตามปกติอย่างต่อเนื่อง

6. สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้นำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำสถาบันวิจัยและพัฒนา และคระกรรมการบริหารความเสี่ยงระดับสถาบันฯ มาวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ในการปรับแผนบริหารความเสี่ยงในปีงบประมาณถัดไป ทางสถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนบิรหารความเสี่ยง และให้ความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานตามปกติของสถาบันฯ ซึ่งจะเห็นได้จากการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จัดทำขึ้น พบว่า บรรลุ เป้าหมาย ทุกๆ ปี เนื่องจากสถาบันวิจัยและพัฒนาได้จัดโครงการ/กิจกรรมต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ประเด็นความเสี่ยงก็ยังคงสูงอยู่ ดังนั้นสถาบันวิจัยและพัฒนา จึงเห็นควรจะจัดการความเสียง โดยการปรับปรุงกระบวนการในการจัดการความเสี่ยงให้ลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (1.4-6(1))

ข้อเสนอแนะ แนวทางการปรับปรุง ระยะเวลาการดำเนินการ ผู้รับผิดชอบ
ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอกลดลง เนื่องจากการส่งผลงานไม่ตรงตามเวลาของแหล่งทุนกำหนด

1. การปรับปรุง : ปรับปรุงกระบวนการ

2. การดำเนินงาน : อยู่ระหว่างดำเนินการ จัดทำโครงการ/กิจกรรม เพื่อพัฒนากระบวนการดำเนินงานติดตาม และสร้างความเข้าใจให้นักวิจัยตระหนักถึงความสำคัญของการส่งมอบผงานวิจัยตรงตามเวลาที่แหล่งทุนกำหนด

ปีการศึกษา 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนา

 

 

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5