ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : วรรณิดา ดวงมณี
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

หน่วยงานสนับสนุนจะต้องดําเนินการวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินที่ประกอบไปด้วยการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย โดยมีการจัดสรรงบประมาณและการจัดทํารายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ ครบทุกพันธกิจ มีระบบการตรวจสอบ การใช้เงิน เพื่อให้สามารถวิเคราะห์สถานะทางการเงิน ความมั่นคง และวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารจัดการ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในการดําเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงาน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ มีการดำเนินการ 6 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานที่มีการวิเคราะห์แนวทางจัดหาหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ และมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มีการกําหนดตัวชี้วัด ความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ ทางการเงิน และจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน
2 มีระบบและกลไกหรือมาตรการ แนวทาง วิธีการกํากับด้านการเงินและการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน
3 มีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ระบบ และกลไก หรือมาตรการ แนวทาง และวิธีการกํากับด้านการเงิน การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดและเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบหรือนําไป ใช้ประโยชน์ต่อการทํางานต่างๆ ของหน่วยงานได้
4 มีการนําข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายหรือสถานะทางการเงิน และติดตาม การเบิกจ่ายทางการเงินในการดําเนินงานต่าง ๆ ตามพันธกิจของหน่วยงานของแต่ละไตรมาสให้แก่คณะผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการประจําหน่วยงานได้รับทราบหรือพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา
5 มีการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือหน่วยงาน และมีการเผยแพร่รายงานทางการเงินหรือช่องทางการตรวจสอบความโปร่งใสทางการเงินของหน่วยงานให้แก่คณะผู้บริหาร และบุคลากรทั้งภายในและภายนอก
6 มีการรายงานผลความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน และมีการนําผลการพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงหรือพัฒนา
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานที่มีการวิเคราะห์แนวทางจัดหาหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมี ประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ และมีความเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน มีการกําหนดตัวชี้วัด ความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ ทางการเงิน และจะต้องผ่านการอนุมัติเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการทบทวนและจัดทำแผนกลยุทธทางการเงิน และจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ดังนี้

มีการจัดทำแผนแผนกลยุทธทางการเงิน ระยะ 5 ปี (1.2-1(1)) โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ประกอบด้วย

     - ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ

     - รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบิการฯ

     - หัวหน้าสำนักงานอำนวยการฯ

     - หัวหน้างานทุกฝ่าย พร้อมด้วยบุคลากรในแต่ละงาน

เพื่อทำหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ ของหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย เพื่อวิเคราะห์ SWOT กับวิสัยทัศน์ของหน่วยงานมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ทางการเงิน ของมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งกำหนดกลยุทธ์ มาตรการแนวทางการดําเนินงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จและค่าเป้าหมายของแผนยุทธศาสตร์ทางการเงิน ในแต่ละปีที่สามารถดำเนินการและวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยจัดให้มีการจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนกลยุทธ์สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เมื่อวันที่ 6-7 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารบรรณราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ มีจำนวนบุคลากรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 24 คน (1.2-1(2)) ผลจาการทบทวนทำให้ได้แผนกลยุทธ์ ระยะ 5 ปี ที่มีความสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ  มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 วันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565 (1.2-1(3))

2มีระบบและกลไกหรือมาตรการ แนวทาง วิธีการกํากับด้านการเงินและการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการกำหนดนโยบายและสร้างระบบและกลไกในการกำกับ ติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน ดังนี้

   1. มีประกาศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง นโยบายการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 20 มกราคม 2566 (1.2-2 (1)) โดย ประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทราบโดยทั่วกัน ผ่านเว็บไซต์สำนักฯ 1.2-2(2))

   2. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบตัวบ่งชี้ด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา 2565 สั่ง  ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2565 1.2-2(3) โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ประกอบด้วย

     - ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ 

     - รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบิการฯ 

     - หัวหน้าสำนักงานอำนวยการฯ

     - หัวหน้างานทุกฝ่าย พร้อมด้วยบุคลากรในแต่ละงาน 

       มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม จัดเก็บข้อมูล ให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565 เพื่อจัดทำรายงานการประเมินตนเองใน ระดับสำนัก

   3. มีคำสั่งแต่งตั้งให้บุคลากรเข้าร่วมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ลงวันที่ 4 ตุลาคม 2565 (1.2-2(4)) โดยมีส่วนร่วมของบุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ประกอบด้วย

     - ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการฯ 

     - รองผู้อำนวยการสำนักวิทยบิการฯ 

     - หัวหน้าสำนักงานอำนวยการฯ

     - หัวหน้างานทุกฝ่าย พร้อมด้วยบุคลากรในแต่ละงาน 

      เพื่อทำหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจของหน่วยงาน ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัย

    4. มีแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (1.2-2(5)) เพื่อกำหนดทิศทางและเป้าหมายในการดำเนินโครงการและกิจกรรมให้สอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ และพันธกิจของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และเพื่อเป็นกรอบในการกำกับ ติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด

    5. มีทะเบียนคุมการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2566 โดย การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาบริหารจัดการด้วย google sheet (1.2-2(6)) เพื่อให้บุคลากรเข้าถึงข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณที่ชัดเจน เพื่อการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน

    6. มีคู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ (1.2-2(7))

3มีการถ่ายทอดแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ระบบ และกลไก หรือมาตรการ แนวทาง และวิธีการกํากับด้านการเงิน การป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดและเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบหรือนําไป ใช้ประโยชน์ต่อการทํางานต่างๆ ของหน่วยงานได้

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการถ่ายทอดแผนกลยุทธทางการเงิน ของหน่วยงานไปสู่บุคลากรในสังกัดทราบ จำนวน 4 ช่องทาง ดังนี้

    1. จัดทําบันทึกข้อความ (1.2-3 (1)) จัดส่งแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน ส่งไปยังหน่วยงานต่างๆ ภายใต้สำนักวิทยบริการฯ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ทุกหน่วยงานทราบและนําไปใช้ประโยชน์ต่อไป

    2. จัดทำประกาศ สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง นโยบายการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 20 มกราคม 2566 (1.2-3(2))

    3. จัดทำทะเบียนควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2565 ด้วย Google Sheet (1.2-3(3)) เพื่อให้บุคลากรเข้าถึงข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณที่ชัดเจน เพื่อการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน

   4. เผยแพร่แผนกลยุทธ์ทางการเงินระยะ 5 ปี (1.2-3(4)) และแผนปฏิบัติการประจำปี พ.ศ. 2566 (1.2-3(5)) ของหน่วยงานให้บุคลากรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรับทราบ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ผ่านช่องทางเว็บไซต์สำนักฯ (1.2-3(6))

4มีการนําข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายหรือสถานะทางการเงิน และติดตาม การเบิกจ่ายทางการเงินในการดําเนินงานต่าง ๆ ตามพันธกิจของหน่วยงานของแต่ละไตรมาสให้แก่คณะผู้บริหารหน่วยงานหรือคณะกรรมการประจําหน่วยงานได้รับทราบหรือพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมีการนําข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และสถานะทางการเงินเพื่อติดตาม การเบิกจ่ายทางการเงินในการดําเนินงานต่างๆ ตามพันธกิจของหน่วยงาน ดังนี้

    1. มีการติดตามการเบิกจ่ายในการดําเนินงานต่างๆ ตามพันธกิจของหน่วยงานรายไตรมาส 1-4 และรวบรวมผลการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี ดังนี้

        1.1) รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2566 รอบ 9 เดือน ตั้งแต่ (1 ตุลาคม 2565-30 มิถุนายน 2566) (1.2-4(1))

ปีงบประมาณ

งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

งบแผ่นดิน

บกศ.

ผลการเบิกจ่าย

คิดเป็นร้อยละ

2566

1,531,000

76,000

1,455,000

860,477.56

56.20

     1.2) รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดิน โครงการยุทธ์ศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในรอบ 9 เดือน (ตุลาคม 2565-มิถุนายน 2566) (1.2-4(2)) โดยมีผลการเบิกจ่าย ดังนี้

ปีงบประมาณ

งบประมาณแผ่นดิน

การเบิกจ่าย

ร้อยละ

2566

1,000,000

999,428

99.94

     

 

 

 1.3) มีการจัดทํารายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในรอบ 9 เดือน (ตุลาคม 2565-มิถุนายน 2566) (1.2-4(3)) โดยมีผลการเบิกจ่าย ดังนี้

ปีงบประมาณ

งบประมาณที่

ได้รับการจัดสรร

ผลการเบิกจ่าย

ร้อยละ

2566

273,400

70,023

26.00

    2. เสนอรายงานต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 5/2566 ในวันพุธที่ 28 มิถุนายน 2566  (1.2-4(4))

    3. เสนอต่อที่การประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันอังคารที่ 11 ก.ค. 2566 (1.2-4(5)) ได้รับทราบหรือพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ โดยคณะกรรมการให้ข้อเสนอแนะ ดังนี้

         1) ควรกำหนด ตัวชี้วัดที่ 4 ในกลยุทธ์ที่ 4 เป็น มีระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดที่ตั้งไว้

         2) ควรดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ และมีการกำกับ ติดตาม การใช้งานงบประมาณอย่างเร่งคัด เพื่อให้สามารถใช้จ่ายงบประมาณบรรลุตามแผนที่ตั้งไว้

        3) ควรมีการนำระบบเข้ามาใช้เพื่อที่สามารถตอบข้อซักถามได้และเพื่อให้การดำเนินงานต่างๆชัดเจนมากขึ้น

        4) ควรมีการกำหนดระบบกลไกและตัวชี้วัดที่ชัดเจน และสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์สำนัก ระยะ 5 ปี

5มีการตรวจสอบ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือหน่วยงาน และมีการเผยแพร่รายงานทางการเงินหรือช่องทางการตรวจสอบความโปร่งใสทางการเงินของหน่วยงานให้แก่คณะผู้บริหาร และบุคลากรทั้งภายในและภายนอก

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการตรวจสอบ ติดตาม การใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่สถาบันหรือหน่วยงาน และมีการเผยแพร่รายงานทางการเงินหรือช่องทางการตรวจสอบความโปร่งใสทางการเงินของหน่วยงาน ดังนี้

        1. มีการตรวจสอบ ติดตาม การใช้จ่ายเงินงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบราชการ โดยมีการายงานผลการดำเนินงานการใช้จ่ายงบประมาณ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักฯ (1.2-5(1-5)) และเสนอต่อที่ประชุมคระกรรรมการประจำสำนักฯเพื่อทราบและให้ข้อเสนอแนะ (1.2-5(6-8))

          2. มีหน่วยงานกลาง กำกับ ดูแล ติดตามและตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามระเบียบราชการทุกไตรมาส โดยฝ่ายแผนของหน่วยงานกลาง มีหน้าที่ เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ พ.ศ. 2566 และมีการประชุม กำกับ ติดตามการใช้จ่ายงบประมาณ (1.2-5(9-10))

        3. สรุปผลการดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณ ตามตัวชี้วัดป้าหมาย/ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับของหน่วยงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566  (ส่งข้อมูลกองนโยบายและแผนทุกไตรมาส) (1.2-5(11))

        4. จัดทำทะเบียนควบคุมการเบิกจ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2566 ด้วย Google Sheet เพื่อให้บุคลากรเข้าถึงข้อมูลการเบิกจ่ายงบประมาณที่ชัดเจน เพื่อการป้องกันการทุจริต ประพฤติมิชอบ และผลประโยชน์ทับซ้อนของบุคลากรในหน่วยงาน (1.2-5(12))

        5. มีการเผยแพร่ให้บุคคลภายนอกรับทราบเพื่อความโปร่งใส่ในการใช้จ่ายงบประมาณ โดยประชาสัมพันธ์บนเว็บไซต์สำนักฯ (1.2-5 (13))

6มีการรายงานผลความสําเร็จแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการประจําหน่วยงาน และมีการนําผลการพิจารณาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงหรือพัฒนา

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการรายงานผลความสำเร็จของแผนกลยุทธ์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน ดังนี้

   1. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการจัดทำรายงานผลความสำเร็จของแผนกลยุทธ์ทางการเงิน หรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงาน (1.2-6(1)) โดยมีการกําหนดตัวชี้วัดความสําเร็จของแผนไว้ จํานวน 5 ตัวชี้วัด บรรลุเป้าหมาย 4  ตัวชี้วัด   ไม่บรรลุเป้าหมาย 1  ตัวชี้วัด

    2. มีการจัดทํารายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในรอบ 9 เดือน (ตุลาคม 2565-มิถุนายน 2566) (1.2-6(2)) โดยได้รับการจัดสรรงบประมาณโดยภาพรวม ทั้งสิ้น จํานวน 1,531,000 บาท เบิกจ่ายได้แล้วเสร็จ จํานวน 860,477.56 บาท คิดเป็นร้อยละ 56.20 โดยแยกเป็นงบประมาณรายจ่าย ดังนี้

      2.1) แยกออกเป็นร้อยละการเบิกจ่ายงบประมาณ แผ่นดิน ในแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีผลการเบิกจ่าย ดังนี้

ปีงบประมาณ

งบประมาณแผ่นดิน

การเบิกจ่าย

ร้อยละ

2566

76,000

75,990

99.99

    2.2) แยกออกเป็นร้อยละการเบิกจ่ายงบประมาณ บำรุงการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีผลการเบิกจ่าย ดังนี้

งบประมาณ

งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

ผลการเบิกจ่าย

ร้อยละ

2566

1,455,000

784,487.56

53.92

3. มีการจัดทํารายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดิน โครงการยุทธ์ศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในรอบ 9 เดือน (ตุลาคม 2565-มิถุนายน 2566) (1.2-6(3)) โดยมีผลการเบิกจ่าย ดังนี้

ปีงบประมาณ

งบประมาณแผ่นดิน

การเบิกจ่าย

ร้อยละ

2566

1,000,000

999,428

99.94

     4. มีการจัดทํารายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณเงินรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในรอบ 9 เดือน (ตุลาคม 2565-มิถุนายน 2566) (1.2-6(4)) โดยมีผลการเบิกจ่าย ดังนี้

ปีงบประมาณ

งบประมาณที่ได้รับการจัดสรร

ผลการเบิกจ่าย

ร้อยละ

2566

273,400

70,023

26.00

หลักจากนั้น เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันอังคารที่ 11 ก.ค. 2566 (1.2-6 (5)) เพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะ พบว่า มีข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนา จำนวน 4 ประเด็น หน่วยงานจึงได้จัดทำแผนการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา โดยกำหนดแนวทางการปรับปรุงพัฒนา ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย ระยะเวลาดำเนินงาน และผู้รับผิดชอบ อย่างชัดเจน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ข้อเสนอ

แนวทางปรับปรุง

ระยะเวลาดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

11. ควรกำหนด ตัวชี้วัดที่ 4 ในกลยุทธ์ที่ 4 เป็น มีระบบ เพื่อให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดที่ตั้งไว้

ปรับตัวชี้วัดที่ 4 ในกลยุทธืที่ 4 ให้เปลี่ยนจากคำว่ากระบวนการ เป็น ระบบ

ก.ค-ส.ค.66

งานบริหาร

22. ควรดำเนินโครงการ/กิจกรรมให้เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้ และมีการกำกับ ติดตาม การใช้งานงบประมาณอย่างเคร่งคัด เพื่อให้สามารถใช้จ่ายงบประมาณบรรลุตามแผนที่ตั้งไว้

มีการ กำกับ ติดตาม การใช้จ่ายงบประมาณอย่างเคร่งคัด

1 ต.ค 66-15 ส.ค67

งานบริหาร

3. ควรมีการนำระบบเข้ามาใช้เพื่อที่สามารถตอบข้อซักถามได้และเพื่อให้การดำเนินงานต่างๆชัดเจนมากขึ้น

มีระบบบริหารจัดการ งบประมาณและวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย การตรวจสอบ การเงินและงบประมาณ

1 ต.ค 66-15 ส.ค67

งานบริหาร

4.ควรมีการกำหนดระบบกลไกและตัวชี้วัดที่ชัดเจน และสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์สำนัก ระยะ 5 ปี

จัดทำระบบกลไกในการขับเคลื่อนแผนกลยุททางการเงิน และกำหนดตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ 5 ปี

1 ต.ค 66-15 ส.ค67

งานบริหาร

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5 คะแนน