ผลงานทางวิชาการเป็นข้อมูลที่สำคัญในการแสดงให้เห็นว่าอาจารย์ประจำและนักวิจัยได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการและการพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นผลงานที่มีคุณค่า สมควรส่งเสริมให้มีการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงวิชาการและการแข่งขันของประเทศ ผลงานทางวิชาการ อยู่ในรูปของบทความวิจัยหรือบทความทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติ ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI หรือ Scopus หรือตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วย หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2562 ผลงานได้รับการจดอนุสิทธิบัตรหรือสิทธิบัตร หรือเป็นผลงานทางวิชาการรับใช้สังคมที่ผ่านการประเมินตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ ตำราหรือหนังสือที่ใช้ในการขอผลงานทางวิชาการและผ่านการพิจารณาตามเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว โดยมีวิธีการคิด ดังนี้
โดยการแปลงค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยเป็นคะแนนระหว่าง 0 – 5 เกณฑ์แบ่งกลุ่มตามสาขาวิชาดังนี้
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็น คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็น คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 30 ขึ้นไป
กลุ่มสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดไว้เป็น คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 20 ขึ้นไป
1. คำนวณค่าร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย
ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย |
--------------------------------------------------------------------------------------------------------- x 100 |
จำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยทั้งหมด |
2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5
คะแนนที่ได้ | = | ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัย |
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- x 5 | ||
ร้อยละของผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 |
คะแนนที่ได้ในระดับคณะ = ค่าเฉลี่ยคะแนนที่ได้ของทุกกลุ่มสาขาวิชาในคณะ
ค่าน้ำหนัก | ระดับคุณภาพ |
0.20 |
- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ |
0.40 | - บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ - มีการยื่นจดสิทธิบัตร |
0.60 | - บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจาก การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ตามประกาศ ก.พ.อ. - บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 - มีการจดแจ้งลิขสิทธิ์ |
0.80 | - ผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร - บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. หรือตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 |
1.00 |
- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการ ระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามประกาศ ก.พ.อ. ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ผลงานวิชาการเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะ ผลงานวิชาการรับใช้สังคม กรณีศึกษา ตำราหรือหนังสือหรืองานแปล ซอฟต์แวร์ พจนานุกรม สารานุกรม นามานุกรม และงานวิชาการในลักษณะเดียวกัน |
หมายเหตุ
1. การส่งบทความเพื่อพิจารณาคัดเลือกให้นำเสนอในการประชุมวิชาการต้องส่งเป็นฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) และ เมื่อได้รับการตอบรับและตีพิมพ์แล้ว การตีพิมพ์ต้องตีพิมพ์เป็นฉบับสมบูรณ์ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบเอกสาร หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้
2. ผลงานทางวิชาการทั้งหมดจะต้องได้รับการเผยแพร่ตามประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ค่าน้ำหนัก | ระดับคุณภาพ |
0.20 | ผลงานสร้างสรรค์ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ online |
0.40 | ผลงานสร้างสรรค์ได้รับการเผยแพร่ในระดับสถาบัน |
0.60 | ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ |
0.80 | ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ |
1.00 | ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับภูมิภาคอาเซียน/นานาชาติ |
ผลงานสร้างสรรค์ทุกชิ้นต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการที่มีองค์ประกอบ ไม่น้อยกว่า 3 คน โดยมีบุคคลภายนอกสถาบันร่วมพิจารณาด้วย
ในปีการศึกษา 2562 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้จัดทำผลงานทางวิชาการทั้งหมด |
จำนวน 27 เรื่อง ดังนี้
ข้อมูลพื้นฐาน |
น้ำหนัก |
กลุ่มสาขาวิชา มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
จำนวนอาจารย์ประจำที่ปฏิบัติงานจริง (ไม่นับรวมผู้ลาศึกษาต่อ) |
45.5 |
|
จำนวนอาจารย์ประจำที่ลาศึกษาต่อ |
2 |
|
- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มีจำนวน 8 เรื่อง ดังนี้ 1. การศึกษาอิทธิพลของต่างประเทศจากสถาปัตยกรรมในเมืองศรีสะเกษระหว่าง พ.ศ. 2468-2537 : กรณีศึกษาบ้านขุนอำไพพาณิชย์ งานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 16 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ระหว่างวันที่ 3-4 ธันวาคม 2562 โดย อาจารย์ศิริวุฒิ วรรณทอง อาจารย์ธัญพงศ์ สารรัตน์ อาจารย์ชลธิชาโรจนแสง และอาจารย์ชำนาญ โสดา 2. การดำรงอยู่ของทรัพยากรวัฒนธรรมในวัดมหาพุทธาราม (พระอารามหลวง) อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ เนื่องในการประชุมวิชาการระดับชาติราชภัฏเลยวิชาการ ประจำปี 2563 วันที่ 25 มีนาคม 2563 โดยอาจารย์ทิวาพร ใจก้อน อาจารย์ธันยพงศ์ สารรัตน์ และอาจารย์สายใจ เกิดมงคล 3. ประเพณีประดิษฐ์กับการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม : กรณีศึกษางานเทศกาลดอกลำดวนบานสืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่าง พ.ศ.2561-2562 โดยอาจารย์ทิวาพร ใจก้อน อาจารย์ธันยพงศ์ สารรันต์ และอาจารย์โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์ เนื่องในการประชุมวิชาการระดับชาติ SMARTS ครั้งที่ 9 ณ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร กรุงเทพฯ วันที่ 21-22 มิถุนายน 2562 4. ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรมผ่านบทเรียนออนไลน์ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชนเผ่าเขมร สำหรับยุวมัคคุเทศก์ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ การประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-22 สิงหาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดย อาจารย์ อินทิรา ศักดิ์เมียนแก้ว และ อาจารย์วศณ มังชาดา 5. การเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ในการพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวในท้องถิ่น การประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-22 สิงหาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดย อาจารย์ธัญทิพ บุญเยี่ยม และ อาจารย์จรูญ แช่มชื่น 6. วัดพระธาตุเรืองรองกับการเผยแพร่แนวคิดชาตินิยมในภาคอีสานใต้ (พ.ศ.2510 จนถึงปัจจุบัน) การประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-22 สิงหาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดย อาจารย์วุฒิชัย นาคเขียว 7. ปัจจัยของการสลับภาษาของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ การประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-22 สิงหาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดย อาจารย์ชุติมา ช้างขำ และอาจารย์ปิ่นอนงค์ จำปาเงิน 8. การพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ การประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ระดับชาติและระดับนานาชาติ ครั้งที่ 2 วันที่ 21-22 สิงหาคม 2562 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยอาจารย์นลินี อำพินธ์ อาจารย์ชัชวาลย์ โคตรสงคราม และอาจารย์สิรีธร สุขเจริญ
|
0.20 |
1.6 |
- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 มีจำนวน 3 บทความดังนี้ 1. กลยุทธ์พัฒนาผู้ค้ารายย่อยจุดผ่านแดนไทย-กัมพูชา วารสารพัฒนาสังคม ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 ตุลาคม 2562 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอมอร แสนภูวา 2. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์กูยในอีสานตอนล่าง วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 พฤศจิกายน - ธันวาคม 2562 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์บูรณ์เชน สุขคุ้ม 3. การศึกษาองค์ความรู้ด้านคติชนกลุ่มชาติพันธ์พื้นเมืองที่ส่งผลต่อกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกการเป็นพลเมืองดีในชุมชน : กรณีศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต Journal of Community Development and Lift Quality. ปี 7 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2562. โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อานนท์ ตั้งพิทักษ์ไกร |
1.00 |
3.00 |
- บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 มีจำนวน 6 บทความดังนี้ 1. ร่องรอยของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพุทธศาสนาในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษสมัยก่อนพุทธศตวรรษที่ 23 บทความวิชาการ วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 (ตุลาคม 2562-มกราคม 2563) โดย กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ 2. แนวทางการนำหลักธรรมาภิบาลไปใช้ในงานพัฒนาชุมชน กรณีศึกษาผู้นำชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ วารสารวิถีสังคมมนุษย์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 เดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2562 โดยอาจารย์เสถียร สีชื่น 3. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์วัฒนธรรมกูยบ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ ปีที่ 14 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน 2563 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธนพล วิยาสิงห์ 4. แนวทางแก้ไขข้อผิดพลาดการใช้คำช่วยภาษาญี่ปุ่นในรายวิชาภาษาญี่ปุ่น 2 ของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นชั้นปีที่ 1 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ วารสารมนุษยศาสร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 13 (2), 49-68. โดยอาจารย์สุทธิดา พันธุ์โคตร 5. การรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อโฆษณาดิจิทัล ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาวกูยจังหวัดศรีสะเกษ วารสารรัตนปัญญา ISSN : 2730-1710 JOURNAL OF RATTANA PANYA Vol.5 No.1 (January-June 2020) โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิจติพงษ์ ประชาชิต 6. การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมหวาย ที่แสดงถึงอัตลักษณ์จังหวัดศรีสะเกษ วารสารพัฒนวารสาร ISSN : 2730-1702 Baddhana Journal (Vol.7 No.1 January-June 2020) โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิจติพงษ์ ประชาชิต
|
0.60 |
3.6 |
- ผลงานวิชาการรับใช้สังคมที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว มีจำนวน 2 งาน ดังนี้ 1. ตำรา เรื่อง การอ่านภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐาน โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พรเทพ เจิมขุนทด 2. งานวิจัย เรื่อง ประวัติศาสตร์และโบราณคดี การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมชุมชนโบราณ จังหวัดศรีสะเกษ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กณิชฑ์ ธีรสิทธธางกูร |
1.00 |
2.00 |
-งานสร้างสรรค์ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ online มีจำนวน 6 งาน ดังนี้ 1. นักข่าวพลเมือง กยศ.กับนักศึกษาใหม่ ม.ราชภัฏศรีสะเกษออกอากาศ 2 กันยายน 2562 2. นักข่าวพลเมือง จิตอาสา ม.ราชภัฏศรีสะเกษ ส่งน้ำใจชาวร้อยเอ็ด ออกอากาศ 5 กันยายน 2562 3. นักข่าวพลเมือง อาสาสมัครวันหยุด จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ 26 กันยายน 2562 4. นักข่าวพลเมือง ส่งเสริมสานตะกร้าสร้างรายได้ จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ 31 ตุลาคม 2562 5. นักข่าวพลเมือง แปรรูปผลิตภัณฑ์ “กก” สร้างมูลค่าเพิ่ม จ.ศรีสะเกษ ออกอากาศ 25 พฤศจิกายน 2562 6. นักข่าวพลเมือง วิสาหกิจชุมชนเครื่องเงินโบราณบ้านโชค จ.สุรินทร์ ออกอากาศ 12 มกราคม 2563 |
0.20 |
1.2 |
-งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ มีจำนวน 2 งาน ดังนี้ 1. The Appearance of Mundane World No.1 ตีพิมพ์ในสูจิบัตร Thai Artists Contemporary Artists Award 2020 จัดโดย The Department of Cultural Promotion Ministry of Culture โดย ดร.สีหนาท ลอบมณี 2. The Appearance of Mundane World No.2 ตีพิมพ์ในสูจิบัตร Thai Artists Contemporary Artists Award 2020 จัดโดย The Department of Cultural Promotion Ministry of Culture โดย ดร.สีหนาท ลอบมณี |
0.60 |
1.2 |
ผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงานวิชาการที่ได้รับรองคุณภาพ |
12.6 |
|
จำนวนอาจารย์ประจำทั้งหมด |
45.5 |
|
ผลการดำเนินงาน (ร้อยละ) |
27.69 |
|
คะแนน |
5 |
|
คะแนนที่ได้ =
|
|
27.69 |
X 5 |
=6.92
|
|
20 |
การบรรลุเป้าหมาย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บรรลุเป้าหมาย ในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมผลงานทางวิชาการของอาจารย์ให้มีการเผยแพร่และการนำไปใช้ประโยชน์ในระดับชาติอย่างต่อเนื่อง โดยกำหนดเป้าหมายไว้ที่ 5 คะแนน
|
||||||
การประเมินตนเอง
|
ทำได้ (ข้อ) | ได้คะแนน | |
---|---|---|
5 |