ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกการพัฒนาเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน

ปีที่ประเมิน 2565
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : เทวา ขันติวงษ์ , รัชฎาภรณ์ พรมทอน เบ้าทอง
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

การพัฒนาเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนเป็นการบริการวิชาการเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนท้องถิ่นตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษา รวมถึงด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ
หมายเหตุ

1. ต่อเนื่อง หมายถึง การดำเนินงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป

2. ยั่งยืน หมายถึง การดำเนินงานตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป

3. เข้มแข็ง หมายถึง สามารถพึ่งตนเองได้

เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 ทุกคณะมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของมหาวิทยาลัยตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ
2 มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย
3 ชุมชนหรือองค์กรมีผู้นำหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
4 ชุมชนหรือองค์กรสร้างกลไกที่มีการพัฒนาตนเอง โดยคงอัตลักษณ์ของคนในชุมชนและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องหรือยั่งยืน
5 มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง
6 เกิดชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ที่มีคณะและมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบร่วมในการพัฒนาอย่างน้อย 1 ชุมชน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1ทุกคณะมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของมหาวิทยาลัยตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนวพระราชดำริ

ทุกคณะ/สำนัก/สถาบันมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับบริบท ปัญหา และความต้องการของท้องถิ่น ชุมชน หรือสังคม ตามจุดเน้น จุดเด่นของมหาวิทยาลัยตามศาสตร์พระราชา หรือตามแนว พระราชดำริ ดังนี้

1. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการเป็นคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ระดับสถาบัน ที่มหาวิทยาลัยแต่งตั้งขึ้น จำนวน 3 ชุด   มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนพันธกิจด้านบริการวิชาการที่ชัดเจน ดังนี้

  1.1) คณะกรรมการบริหารงานด้านบริการวิชาการ (2.1 - 1(1)) มีผู้บริหารจากทุกคณะ/สำนัก/สถาบัน ร่วมเป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นประธาน คณบดี ผู้อำนวยการสำนัก/สถาบันเป็นกรรมการ และมีผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการเป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ อำนวยการ พิจารณา สั่งการ กำกับ ติดตาม และให้ความเห็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ

  1.2) คณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (3.1 - 1(2)) มีตัวแทนจากทุกคณะ/สำนัก/สถาบัน ร่วมเป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วย รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ เป็นที่ปรึกษา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เป็นประธานรองหรือผู้ช่วยคณบดี รองหรือผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนัก/สถาบัน และเจ้าหน้าที่ กองนโยบายและแผน งานบริการวิชาการ งานพัสดุ งานคลัง และงานประกันคุณภาพการศึกษา ร่วมเป็นกรรมการ โดยมีสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เป็นกรรมการและเลขานุการ มีหน้าที่ พิจารณา กลั่นกรอง ระเบียบ หลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการกำกับ ติดตาม งานด้านการบริการวิชาการ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและระบบการให้บริการวิชาการแก่สังคมให้สอดคล้องกับตัวบ่งชี้มาตรฐานประคุณภาพการศึกษาที่เกี่ยวข้อง

  1.3) คณะกรรมการจัดเก็บข้อมูลด้านบริการวิชาการ (2.1 - 1(3)) มีตัวแทนจากทุกคณะ/สำนัก/สถาบัน ร่วมเป็นคณะกรรมการ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการเป็นที่ปรึกษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ เป็นประธาน ตัวแทนเจ้าหน้าที่จากทุกคณะ/สำนัก/สถาบันเป็นกรรมการ มีหน้าที่ จัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย และจัดทำเอกสารรายงานผลการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการ

         2. ทุกคณะมีส่วนร่วมในการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ร่วมกับมหาวิทยาลัย ในรูปแบบของคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ และมีประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง  พื้นที่เป้าหมายและชุมชนเป้าหมายของการให้บริการวิชาการแก่สังคม จำนวน 10 พื้นที่ (2.1-1(4) ) คือ

 

ลำดับ

ชุมชน

เป้าหมายในการดำเนินการร่วมกัน

1

บ้านหัวนา (มากกว่า 6 ปี)

๒๕๖๕

2

โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านหนองใหญ่(มากกว่า 5 ปี)

๒๕๖๕

3

บ้านสันติสุข(หมู่บ้านทับทิมสยาม ๐๗)(มากกว่า 5 ปี)

๒๕๖๖

4

บ้านรงระ(มากกว่า 3 ปี)

๒๕๖๖

5

ตำบลผักไหม(มากกว่า 6 ปี)

๒๕๖๖

6

บ้านหนองสรวง(มากกว่า 4 ปี)

๒๕๖๗

7

โรงเรียนบ้านประทาย(มากกว่า 6 ปี)

๒๕๖๗

8

ตำบลบึงบูรพ์(มากกว่า 4 ปี)

๒๕๖๘

9

ตำบลเมืองใต้(มากกว่า 2 ปี)

๒๕๖๘

10

โรงเรียนบ้านนาขนวน(มากกว่า 5 ปี)

๒๕๖๘

ในปีการศึกษา 2565 (งบประมาณ 2566) ได้ร่วมพิจารณากำหนดพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัย จำนวน 3 พื้นที่ รายงานการประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 (2.1-1(5))  คือ

ลำดับ

ชุมชน

1

บ้านสันติสุข(หมู่บ้านทับทิมสยาม ๐๗) (มากกว่า 5 ปี)

2

บ้านรงระ (มากกว่า 3 ปี)

3

ตำบลผักไหม (มากกว่า 6 ปี)

3. ทุกคณะมีการลงพื้นที่สำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน และกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัย โดยคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ      ได้จัดทำแบบฟอร์มสำรวจปัญหาและความต้องการชุมชน (2-1-1(6)) ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน ทั้งการสัมภาษณ์ การประชุม การสอบถามจากผู้นำชุมชน และชาวบ้าน และเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการพัฒนา การแสดงความเห็น เพื่อร่วมออกแบบกิจกรรมและแนวทางในการพัฒนาชุมชน หลักจากนั้นได้นำปัญหาและความต้องการของชุมชนมากำหนดกิจกรรมในการพัฒนาตามแผนของคณะและมหาวิทยาลัย

ลำดับ

ชุมชน

1

บ้านสันติสุข(หมู่บ้านทับทิมสยาม ๐๗) (มากกว่า 5 ปี)

2

บ้านรงระ (มากกว่า 3 ปี)

3

ตำบลผักไหม (มากกว่า 6 ปี)

4. การดำเนินงานในระดับสำนัก หน่วยงานสังกัดสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีส่วนร่วมในการร่วมกับมหาวิทยาลัยและชุมชนในการกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการมหาวิทยาลัย (นัดพิเศษ) เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 และที่ประชุมมติเห็นชอบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ ของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2565 (2.1-1(7)) ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการการวิชาการเป็นประธาน รองผู้อำนวยการ หัวหน้างาน เป็นกรรมการ และ หัวหน้างานบริการวิชาการเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยมี เจ้าหน้าที่งานบริการวิชาการและงานบริหารทั่วไป เป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ให้มีหน้าที่ พิจารณา กลั่นกรอง ระเบียบ หลักเกณฑ์การดำเนินงาน และการกำกับ ติดตาม งานด้านการบริการวิชาการ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพมาตรฐานและระบบการให้บริการวิชาการแก่สังคมให้สอดคล้องกับตัวบ่งชี้มาตรฐานประคุณภาพการศึกษาที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบพื้นที่เป้าหมายระดับสำนัก จำนวน 3 พื้นที่ คือ 1) ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ 2) ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ 3) ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

โดยได้ขอคำแนะนำจากคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการระดับสถาบัน ในการประชุม ครั้งที่ 4 /2565 เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 เรื่อง ขอคำแนะนำการเลือกพื้นที่เป้าหมายและการดำเนินงานโครงการ ของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (2.1-1(8)) และสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้ออกประกาศ พื้นที่เป้าหมายการบริการวิชาการ ระดับสำนัก สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2565 (2.1-1(9)) จำนวน 3 พื้นที่ คือ   

ลำดับ

ชุมชน

บริบท

เป้าหมายการดำเนินงานร่วมกัน

1

ตำบลหนองแก้ว

อำเภอกันทรารมย์

จังหวัดศรีสะเกษ

มีพื้นที่ครอบคลุ่ม 7 หมู่บ้าน 1,141 ครัวเรือน เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวกวย หรือกูย เดิมอยู่ในการปกครองของอำเภอขุขันธ์ มีพิพิธภัณฑ์ชาวกูย ตั้งอยู่ศูนย์ศิลปะวัฒนธรรมกูย

2565

2

ตำบลกู่

อำเภอปรางค์กู่

จังหวัดศรีสะเกษ

มีพื้นที่ครอบคลุ่ม 17 หมู่บ้าน 2,494 ครัวเรือน มีป่าอุดมสมบูรณ์มีไม้เบญจพรรณ ได้แก่ ไผ่ป่า ไม้รวก สีเสียด ตะเคียนหมู ราชพฤกษ์ รกฟ้า เสลา ประดู่ ชินชัง มะค่าโมง พะยูงแกลบ ก้านเหลือง ยางเสี้ยน ตะแบกใหญ่

2566

3

ตำบลไพรพัฒนา

อำเภอภูสิงห์

จังหวัดศรีสะเกษ

มีพื้นที่ครอบคลุ่ม 10 หมู่บ้าน 2,456 ครัวเรือน มีทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่มาก และยังอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ เช่น น้ำตกเขาพลาญเพชร ,น้ำตกฮ่องปะอาว ถ้ำเจีย พื้นที่กลางเต้นในแหล่งธรรมชาติ แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม คือ วัดไพรพัฒนา (หลวงปู่สรวง) ,วัดป่าธรรมผึ้ง มีนักท่องเที่ยวมาประจำ ใกล้เขตการค้าชายแดน มีนั

2567

 

2มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย

สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัย มีการดำเนินงานตามวงจรคุณภาพ PDCA โดยร่วมมือกับหน่วยงานภายในหรือภายนอกมหาวิทยาลัย ดังนี้

1. ขั้นตอนการวางแผน (P : PLAN)

          1.1) มีการจัดทำแผนกลยุทธ์การบริการวิชาการ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ระยะ 5  ปี (พ.ศ.2566 - 2570) (2.1 - 2(1))  เพื่อเป็นเป้าหมายในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และถ่ายทอดแผนดังกล่าว สู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปเป็นเป้าหมายในการกำหนดกิจกรรมโครงการพัฒนาชุมชนให้มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (นัดพิเศษ-โดยการแจ้งเวียนเอกสาร) พิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่  29 กันยายน 2565 และคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการ (นัดพิเศษ-โดยการแจ้งเวียนเอกสาร) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2566

         1.2) มีการจัดทำแผนบริการวิชาการ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2565 (งบประมาณ 2566) (2.1 - 2(2)) โดยมีตัวชี้วัดความสำเร็จของแผน กำหนดกิจกรรมโครงการ งบประมาณ ระยะเวลา ผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน สอดคล้องกับเป้าหมายของแผนกลยุทธ์ด้านบริการวิชาการ  โดยมีกิจกรรมโครงการตามแผน จำนวน 3 โครงการ และได้รับการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินงาน จำนวน 600,000 บาท โดยคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (นัดพิเศษ) พิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่  29 กันยายน 2565 (2.1-2(4))  

          1.3) มีการจัดทำปฏิทินในการดำเนินงานด้านบริการวิชาการ (2.1 - 2(5)) ร่วมพิจารณาแนวทางการดำเนินงานโดยกำหนดปฏิทินการดำเนินงานประเมินการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2565 (งบประมาณ2566) เพื่อเป็นกรอบในการขับเคลื่อนพันธกิจด้านบริการวิชาการที่ชัดเจน เพื่อการดำเนินงาน กำกับติดตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ขั้นตอนการดำเนินงาน (D : DO)

          2.1) สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการมีการดำเนินงานโครงการตามแผนบริการวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ประจำปีการศึกษา 2565 (งบประมาณ 2566) จำนวน 3 โครงการ ดำเนินการแล้วเสร็จ 3 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 100 ส่งผลให้ชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รายละเอียดสรุปผลการดำเนินงานดังตาราง

ลำดับ

โครงการ /กิจกรรม

เป้าหมาย

ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย

1

โครงการเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

1.กิจกรรมการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก

2. กิจกรรมการส่งเสริมการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

1.ครู และนักเรียนโรงเรียนพอกพิทยาคม รัชมังคลาภิเษก ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 60 คน

(ผลเข้าร่วม 63คน) 

1.ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านกอกหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 60 คน

(ผลเข้าร่วม 67คน) 

 ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact)

11.1 ผลผลิต

1) เกิดการเรียนรู้วิธีการนำศาสตร์พระราชาของนักเรียน

2) มีการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน

11.2 ผลลัพธ์

1) นักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

2) เกิดกลุ่มนักเรียน เยาวชนมีความสนใจหารายได้เสริมจากการเพาะปลูกสินค้าทางการเกษตร

11.3 ผลกระทบ

1) เกิดโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

2) เกิดความรัก เอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามัคคีและร่วมมือกันมากขึ้น

3) โรงเรียนเป้าหมายมีความเป็นอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้

4) นักเรียนเข้าถึงโอกาสการพัฒนาและมีความสุขเพิ่มขึ้น

           

 

2

 โครงการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน พื้นที่ตำบลหนองแก้ว ตำบลหนองแวง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

1.กิจกรรมการถอดบทเรียนการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชน ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ 

2.กิจกรรมการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนการอบรมให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติการแปรรูปปลากรอบสมุนไพรของชุมชนบ้านหัวนา ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

3.กิจกรรมการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนการอบรมการให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการแปรรูปตะกร้าจากเส้นพลาสติกของชุมชนบ้านกอก ตำบลหนองแก้ว อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

4.กิจกรรมการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนการอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการแปรรูปน้ำพริกปลาร้าสมุนไพรของชุมชนบ้านแสงใหญ่ ตำบลหนองแวง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

5.กิจกรรมการส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนการอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการแปรรูปและการถนอมอาหารหน่อไม้ดองของชุมชนบ้านแสงใหญ่ ตำบลหนองแวง อำเภอกันทรารมย์ จังหวัด       ศรีสะเกษ

 

 ประชาชนและเยาวชนในพื้นที่ จำนวน 120 คน

 

(ผลเข้าร่วม 122คน) 

 ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact)

11.1 ผลผลิต

1) เกิดการเรียนรู้วิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการสร้างสัมมาชีพชมชุนตำบลหนองแก้วและใกล้เคียง

2) มีการจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพชุมชนตำบลหนองแก้วและใกล้เคียง

11.2 ผลลัพธ์

1) ประชาชนที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้น

2) เกิดกลุ่มสหกิจชุมชนตำบลหนองแก้ว และใกล้เคียง

3) เกิดช่องทางการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดสำหรับจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการแปรรูป

11.3 ผลกระทบ

1) เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

2) เกิดความรัก เอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามัคคีและร่วมมือกันมากขึ้น

3) ครัวเรือนเป้าหมายมีความเป็นอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้

4) ชุมชนเข้าถึงโอกาสการพัฒนาและมีความสุขเพิ่มขึ้น

 

3

โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชนโดยใช้เยาวชนเป็นฐาน

1.ลงพื้นที่กลุ่มเป้าหมายเพื่อวิเคราะห์สภาพการบริการวิชาการชุมชนในพื้นที่ ศึกษาข้อมูลการรับบริการวิชาการจากหน่วยงานต่างๆในพื้นที่ เพื่อวิเคราะห์ประเด็นในการพัฒนา ลดความซ้ำซ้อนของกิจกรรม และวิเคราะห์ประเด็นความต้องการชุมชน และประเมินความเป็นไปได้ในการพัฒนา

2.อบรมเชิงปฏิบัติการ ทักษะการวิเคราะห์ชุมชน การบริหารจัดการกลุ่ม และการสร้างอัตลักษ์กลุ่ม

3.อบรมเชิงปฏิบัติการฝึกทักษะอาชีพใหม่

1) แจ่วปลาร้าบอง 2) เยลลี่น้ำผึ้ง 3) นมสดน้ำผึ้ง 4) ลูกอมน้ำผึ้ง

อบรมเชิงปฏิบัติการ ฝึกทักษะวิทยากรชุมชน และลงพื้นที่ภาคสนาม ฝึกทักษะ การสร้างสื่อการตลาดออนไลน์ เทคนิคการเผยแพร่องค์ความรู้ชุมชน

4.อบรมเชิงปฏิบัติการ ฝึกทักษะประเมินผลการดำเนินงาน สร้างเครือข่ายความร่วมมือและคืนความรู้สู่ชุมชน

ประชาชนและเยาวชนในพื้นที่ จำนวน 120 คน

 

(ผลเข้าร่วม 122คน) 

ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact)

12.1 ผลผลิต

1) เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน

2) ได้แผนพัฒนาการท่องเที่ยวและส่งเสริมอาชีพในชุมชน

12.2 ผลลัพธ์

1) ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น

12.3 ผลกระทบ

1) เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

2) เกิดความรัก เอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามัคคีและร่วมมือกันมากขึ้น

3) ครัวเรือนเป้าหมายมีความเป็นอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้

4) ชุมชนเข้าถึงโอกาสการพัฒนาและมีความสุขเพิ่มขึ้น

5) มีผู้ช่วยมัคคุเทศก์ในพื้นที่เพื่อบริการนักท่องเที่ยว

 

 

3. ขั้นตอนการตรวจสอบ/ประเมิน (C : CHECK)

    3.1 สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการจัดทำรายงานผลการประเมินความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 4 ตัวชี้วัด และรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดรายโครงการ รายละเอียดดังนี้

ลำดับ

ชุมชน

ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด

1

ตำบลหนองแก้ว

อำเภอกันทรารมย์

จังหวัดศรีสะเกษ

 ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact)

11.1 ผลผลิต

1) เกิดการเรียนรู้วิธีการนำศาสตร์พระราชาของนักเรียน

2) มีการพึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียน

11.2 ผลลัพธ์

1) นักเรียนที่ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

2) เกิดกลุ่มนักเรียน เยาวชนมีความสนใจหารายได้เสริมจากการเพาะปลูกสินค้าทางการเกษตร

11.3 ผลกระทบ

1) เกิดโรงเรียนแห่งการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

2) เกิดความรัก เอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามัคคีและร่วมมือกันมากขึ้น

3) โรงเรียนเป้าหมายมีความเป็นอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้

4) นักเรียนเข้าถึงโอกาสการพัฒนาและมีความสุขเพิ่มขึ้น

           

2

ตำบลกู่

อำเภอปรางค์กู่

จังหวัดศรีสะเกษ

 

3

ตำบลไพรพัฒนา

อำเภอภูสิงห์

จังหวัดศรีสะเกษ

 ผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact)

11.1 ผลผลิต

1) เกิดการเรียนรู้วิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการสร้างสัมมาชีพชมชุนตำบลหนองแก้วและใกล้เคียง

2) มีการจัดตั้งกลุ่มสัมมาชีพชุมชนตำบลหนองแก้วและใกล้เคียง

11.2 ผลลัพธ์

1) ประชาชนที่ได้รับการส่งเสริมอาชีพมีรายได้เพิ่มขึ้น

2) เกิดกลุ่มสหกิจชุมชนตำบลหนองแก้ว และใกล้เคียง

3) เกิดช่องทางการประชาสัมพันธ์ทางการตลาดสำหรับจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการแปรรูป

11.3 ผลกระทบ

1) เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

2) เกิดความรัก เอื้ออาทร ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สามัคคีและร่วมมือกันมากขึ้น

3) ครัวเรือนเป้าหมายมีความเป็นอยู่แบบพึ่งพาตนเองได้

4) ชุมชนเข้าถึงโอกาสการพัฒนาและมีความสุขเพิ่มขึ้น

 

 

 

 

          3.2 มีการกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนบริการวิชาการฯ ผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ โดยคณะกรรมการคณะกรรมบริหารสำนักส่งเสริมส่งเสริมและบริการวิชาการ รับทราบและพิจารณา มีข้อเสนอแนะในการพัฒนา จำนวน 3 ประเด็น ดังนี้

          - พื้นที่ใดที่มีการดำเนินงานเกิน 5 ปี ควรมีการประเมินความยั่งยื่นและพิจารณาเลือกพื้นที่อื่นเพื่อขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมบริการวิชาการ

          - ควรส่งเสริมการดำเนินงานด้านบริการวชาการที่ก่อให้เกิดรายได้

          - ควรบูรณาการรูปแบบการบริการวิชาการร่วมกับงานแนะแนว

   4. ขั้นตอนการปรับปรุง (A : ACT)

          มีการนำข้อเสนอแนะจากการดำเนินโครงการ มีการนำข้อเสนอแนะคณะกรรมการคณะกรรมบริหารสำนักส่งเสริมส่งเสริมและบริการวิชาการ มาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพด้านการบริการวิชาการ มีการกำหนดแนวทางการพัฒนา ระเวลา และผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน เพื่อปรับปรุง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น นำไปสู่การพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ต่อไป ดังนี้

ลำดับ

ข้อเสนอแนะ

แนวทางการพัฒนา

ระยะเวลา

ผู้รับผิดชอบ

1

พื้นที่ใดที่มีการดำเนินงานเกิน 5 ปี ควรมีการประเมินความยั่งยืนและพิจารณาเลือกพื้นที่อื่นเพื่อขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมบริการวิชาการ

- จัดทำการประเมินศักยภาพชุมชนเดิม

- ศึกษาบริบทพื้นที่ใหม่โดยเลือกจากพื้นที่ที่เหมาะสมกับการบูรณาการร่วมกับงานแนะแนวอย่างน้อย 1 พื้นที่

ปีการศึกษา 2566

คณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการระดับสำนัก ของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

 

ควรส่งเสริมการดำเนินงานด้านบริการวชาการที่ก่อให้เกิดรายได้

- ออกนโยบายระดับสำนักเพื่อส่งเสริมดำเนินงานด้านบริการวชาการที่ก่อให้เกิดรายได้ โดยสอดคล้องกับนโยบายระดับสถาบัน

คณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการระดับสำนัก ของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

 

ควรบูรณาการรูปแบบการบริการวิชาการร่วมกับงานแนะแนว

จัดประชุมร่วมคณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการระดับสำนัก ของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะกรรมการดำเนินงานด้านแนะแนวการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน

คณะกรรมการดำเนินงานด้านบริการวิชาการระดับสำนัก ของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ

 

5. มีหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน

    5.1 ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภายใน ร่วมเป็นที่ปรึกษา วิเคราะห์การจัดกิจกรรม และมอบหมายบุคลากรเป็นวิทยากร ในโครงการ ดังนี้

1.อาจารย์ ดร.ชูวิทย์  นาเพีย สังกัดคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์

2.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เตชิต  ศิรวงศ์เดชา สังกัดวิทยาลัยกฎหมายการปกครอง

3.นายธงชัย  เดชแสง   สังกัดสำนักงานอธิการบดี

และมีบุคลากรจากหน่วยงานภายนอกและผู้เชี่ยวชาญภายนอก ร่วมเป็นวิทยากร ดังนี้

1. นางนารีรัตน์  อิสริยศไกร     วิทยากรผู้ช่วยชาญด้านการส่งเสริมอาชีพชุมชน                                                  

2. นายสรวิษฐ์  ออไสย์  ผู้ใหญ่บ้านโอวบังโกว ตำบลไพรพัฒนา

3. นายประดิษฐ์  บุญออน  ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงผึ้งโพรงประจำพื้นที่ตำบลไพรพัฒนาอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ    

5.2 มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานภายนอก ได้แก่ กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งโพรงบ้านวนาสวรรค์ ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ,กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งสมุนไพรบ้านโอวบังโกว์

3ชุมชนหรือองค์กรมีผู้นำหรือสมาชิกที่มีการเรียนรู้และดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ชุมชนมีกลไกการทำงานและผู้นำกลุ่มที่เข้มแข็ง

ลำดับ

ชุมชน

กลไกการพัฒนาตนเอง ของชุมชน

1

ตำบลหนองแก้ว

อำเภอกันทรารมย์

จังหวัดศรีสะเกษ

 - มีกลุ่มวิสากิจวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบ้านหัวนา ได้รับการสนับสนุนจากวัดจำปาหัวนาใช้สถานที่ในการรวบกลุ่ม ซึ่งมีการนำผลิตภัณฑ์ไปขายในงานเทศกาลต่างๆ และขายเป็นประจำ

- มีวัดจำปาเป็นผู้นำในการรวมกลุ่มอาชีพ สมาชิกส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุไม่ได้ประกอบอาชีพประจำสามาถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง มีผลิตภัณฑ์เข้าร่วมกิจกรรมของจังหวัดอยู่เสมอ

2

ตำบลกู่

อำเภอปรางค์กู่

จังหวัดศรีสะเกษ

 มีโรงเรียนพอกพิทยาคม เป็นผู้ขับเคลื่อนในรูปแบบของการตั้งกลุ่มสมาชิกของนักเรียน บริหารจัดการกลุ่มโดยแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่ม มีประธานคณะกรรมการเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนกลุ่ม

3

ตำบลไพรพัฒนา

อำเภอภูสิงห์

จังหวัดศรีสะเกษ

สำนักส่งเสริมบริการวิชาการ จัดกิจกรรมการในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้น ปัจจุชุมชน ชุมชนมีกลุ่มที่เข้มแข็ง 2 กลุ่ม มีสภาชิกกลุ่มที่ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและในปี 2566 นี้ยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ดังนี้

ลำดับ

กลุ่ม

ผู้นำที่เข้มแข็ง

หน่วยงานภายนอกอื่นที่สนับสนุน (2566)

1.

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งสมุนไพรโอวบังโกว์

นายสรวิษฐ์  ออไสย์  ผู้ใหญ่บ้านโอวบังโกว ตำบลไพรพัฒนา

 

-ภาคีเครือข่ายสนับสนุนการเลี้ยงผึ้งตำบลไพรพัฒนา

- พัฒนาชุมชนอำเภอภูสิงห์

- ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

2.

กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งโพรงบ้านวนาสวรรค์

3. นายประดิษฐ์  บุญออน  ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงผึ้งโพรงประจำพื้นที่ตำบลไพรพัฒนาอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

 

4ชุมชนหรือองค์กรสร้างกลไกที่มีการพัฒนาตนเอง โดยคงอัตลักษณ์ของคนในชุมชนและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องหรือยั่งยืน

ชุมชนมีการกลไกที่มีการพัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ดังนี้

 

ลำดับ

ชุมชน

ผู้นำชุมชน/กลไก

1

ตำบลหนองแก้ว

อำเภอกันทรารมย์

จังหวัดศรีสะเกษ

 ชุมชนบ้านหัวนามีการสร้างกลไกในการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

    - มีกลุ่มวิสากิจวิสาหกิจชุมชนปลาร้าบ้านหัวนา ได้รับการสนับสนุนจากวัดจำปาหัวนาใช้สถานที่ในการรวบกลุ่ม ซึ่งมีการนำผลิตภัณฑ์ไปขายในงานเทศกาลต่างๆ และขายเป็นประจำ

    - สร้างเพจฟาร์มปูนาศรีสะเกษขึ้นมา เพื่อจำหน่ายและประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์จากปูนาโดยเฉพาะ ซึ่งมีแฟนเพจที่ซื้อสินค้าและติดตามกิจกรรมต่างๆ ของฟาร์ม และจำนวนแฟนเพจยังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวัน โดยชุมชนแปรรูปเสร็จจะจำหน่ายเองในชุมชน ตลาดชุมชน เฟชบุ๊คส่วนตัว ไลน์ และบางส่วนได้นำมาฝากผู้จัดทำโครงการจำหน่ายผ่านเพจฟาร์มปูนา และนำเข้าจำหน่ายในตลาด Shopee

 
 
 

    -วัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณของชุมชนบ้านหัวนา ซึ่งประกอบด้วยขบวนแห่องค์กฐิน ขบวนแห่เรือที่มีการเห่อย่างไพเราะและสื่อความหมาย ที่ห่างหายไปนาน ได้กลับทำอีกครั้ง และมีการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องทุกปี มีการนำมาเรือจากชาวบ้านในชุมชนเข้าร่วมพิธีเคลื่อนองค์กฐินไปยังวัดจำปา และมีการทำบุญตักบาตรร่วมกันทุกปี

2

ตำบลกู่

อำเภอปรางค์กู่

จังหวัดศรีสะเกษ

    ชุมชนบ้านกู่เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาติพันธ์กูยประจำจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีจุดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์ เช่น ชุดประจำถิ่น ขนมประจำถิ่น แหล่งเรียนรู้ชาติพันธ์กูย ภาษาท้องถิ่น ฯลฯ มีจุดแลนด์มาร์คทางวัฒนธรรม คือ ประสาทปรางค์กู่ และเป็นชุมชนต้นแบบทางศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง ระดับจังหวัด จากสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และระดับประเทศ จากกระทรวงวัฒนธรรม มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมากใช้พื้นที่ชุมชนบ้านกู่เป็นแหล่งเรียนรู้ และมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาในชุมชนจำนวนมาก ชุมชนเกิดรายได้ สามารถสืบค้นข้อมูลชุมชนในเว็บไซต์ได้อย่างกว้างขวาง และเป็นตัวแทนชาติพันธ์กูย  เข้าร่วมจัดแสดงผลงานนิทรรศการสี่เผ่าไทย ในงานแสงสีเสียงประจำจังหวัด นอกเหนือจากนั้นชุมชนยังมีการจัดงานแสงสีเสียงประจำตำบลอีกด้วย

3

ตำบลไพรพัฒนา

อำเภอภูสิงห์

จังหวัดศรีสะเกษ

สำนักส่งเสริมบริการวิชาการ จัดกิจกรรมการในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้น ปัจจุชุมชน ชุมชนมีกลุ่มที่เข้มแข็ง 2 กลุ่ม มีสภาชิกกลุ่มที่ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องและในปี 2566 นี้ยังได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ดังนี้

ลำดับ

กลุ่ม

ผู้นำที่เข้มแข็ง

หน่วยงานภายนอกอื่นที่สนับสนุน (2566)

1.

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเลี้ยงผึ้งสมุนไพรโอวบังโกว์

นายสรวิษฐ์  ออไสย์  ผู้ใหญ่บ้านโอวบังโกว ตำบลไพรพัฒนา

 

-ภาคีเครือข่ายสนับสนุนการเลี้ยงผึ้งตำบลไพรพัฒนา

- พัฒนาชุมชนอำเภอภูสิงห์

- ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์อันเนื่องมาจากพระราชดำริ

2.

กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งโพรงบ้านวนาสวรรค์

3. นายประดิษฐ์  บุญออน  ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงผึ้งโพรงประจำพื้นที่ตำบลไพรพัฒนาอำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

 

 

5มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง

มีผลกระทบที่เกิดประโยชน์และสร้างคุณค่าต่อสังคม หรือชุมชน/องค์กรอย่างเข้มแข็ง  ดังนี้

1. ชุมชนบ้านหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ

    เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 และมีการดำเนินส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะ บูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน จากการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน พบว่าการดำเนินงานส่งผลให้ชุมชนมีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าอย่างเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ (In Cash) สังคม (In Kind) และเครือข่าย (Development Network) ในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ดังนี้

    1.1 มีจุดเด่นด้านเศรษฐกิจ (In Cash) จากการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนมีรายได้ ดังนี้

           1) มีรายได้จากการจัดงานประเพณีประจำปีของหมู่บ้าน คือ งานข้าวใหม่ปลามัน โดยมีหน่วยงานการ เอกชน และนักท่องเที่ยว จำนวนมาก มีการแสดงวัฒนธรรมฟ้อนกองตุ้ม มีการจำหน่ายอาหารประจำถิ่นขันโตก มีการจัดจำหน่ายสินค้าประจำหมู่บ้าน เช่น ปลาส้ม อ่องปูนา ผ้าไหม และอื่นๆ

           2) มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ชุมชนในงานเทศกาลประจำปีของจังหวัด เช่น เทศกาลงานแสงสีเสียงงานดอกลำดวนบาน งานกาชาด การจัดแสดงนิทรรศการของหน่วยงานของรัฐๆ ภายในจังหวัด และอื่นๆ

           3) มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนที่เป็นสินค้าโอทอป เช่น จำหน่ายปลา ปูนา อ่องปูนา พรหมเช็ดเช้า ผ้าไหม ฯลฯ โดยเฉลี่ยมีรายได้จากการแปรรูปและจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์อาทิตย์ละ 5,000-12,000 บาท สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 152,325 บาท และมีแนวโน้มความต้องการทางการตลาดมากขึ้นเรื่อยๆ คาดว่าหากบริหารจัดการปูได้ดีตลอดทั้งปี จะสามารถสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี

    1.2 สังคม (In Kind) จากการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้ :ชนบ้านหัวนาเป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแหล่งใหม่ของจังหวัดศรีสะเกษ มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากแวะเวียนมาไม่ขาดสาย มีแหล่งเรียนรู้ชาติพันธ์สี่เผ่าไทยที่เกิดการยอมรับจากหน่วยงาน เช่น วัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และหน่วยงานอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ที่สำคัญบ้านหัวนา ยังเป็นชุมชนที่มหาวิทยาลัยคัดเลือกให้เป็นชุมชนต้นแบบ และเป็นตัวแทนชาติพันธ์ลาวเข้าร่วมจัดแสดงผลงานนิทรรศการสี่เผ่าไทย ในงานแสงสีเสียงประจำจังหวัดทุกปี นอกเหนือจากนั้นมหาวิทยาลัยและชุมชนได้มีโอกาสครั้งสำคัญในการต้อนรับ พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ในการลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานพื้นที่เป้าหมายตามยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ  

    1.3 เครือข่าย (Development Network) มีเครือข่ายร่วมพัฒนา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ศูนย์พัฒนานโยบายสาธารณะจังหวัดศรีสะเกษ องค์การบริหารส่วนตำบลหัวนา สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดศรีสะเกษ วัดจำปาหัวนา และโรงเรียนบ้านกอกหัวนา

 

 

1. ชุมชนบ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ

    เป็นพื้นที่เป้าหมายในการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมหาวิทยาลัยร่วมกับภาคีเครือข่ายในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น พัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ ประมงจังหวัด สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด เกษตรจังหวัด ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด และอื่นๆ ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ เช่น การอบรมมัคกุเทศน์สำหรับชาวบ้านและเยาวชน การอบรมการปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชนและการทำโฮมสเตย์เพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีชุมชน การส่งเสริมและพัฒนาผ้าลายลูกแก้วและออกแบบบรรจุภัณฑ์ การส่งเสริมการเลี้ยงกบเพื่อเป็นอาหารและเป็นฐานการเรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนการอบรมสร้างของที่ระลึกให้เป็นสินค้าประจำหมู่บ้านในการขายให้กับนักท่องเที่ยว การยกระดับภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยวและพัฒนาแหล่งเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ชุมชน และอื่นๆ พบว่าการดำเนินงานส่งผลให้ชุมชนมีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าอย่างเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ (In Cash) สังคม (In Kind) และเครือข่าย (Development Network) ในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ดังนี้

    1.1 มีจุดเด่นด้านเศรษฐกิจ (In Cash) จากการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนมีรายได้ ดังนี้

1) มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชน เช่น ของที่ระลึกปราสาทปรางค์กู่ อาหารประจำถิ่น ผ้าลายลูกแก้ว ขนม และอื่นๆ

2) มีรายได้จากการจัดงานแสงสีเสียงบุญเบิกฟ้างานประเพณีประจำตำบล ซึ่งภายในงานมีการจัดแสดงเชิงวัฒนธรรม มีการออกร้านจำหน่ายสินค้าโอทอป มีการจัดนิทรรศการแสดงผลงาน และอื่นๆ

3) มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าในงานเทศกาลประจำปีของจังหวัด

ศรีสะเกษ เช่น การแสดงแสงสีเสียงในเทศกาลดอกลำดวนบาน งานกาชาด การจัดแสดงนิทรรศการของหน่วยงานของรัฐๆ ภายในจังหวัด และอื่นๆ

4) รายได้จากคณะที่เข้ามาศึกษาดูงานในชุมชนจากหน่วยงานต่างๆ   

1.2 สังคม (In Kind) ชุมชนบ้านกู่เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมชาติพันธ์กูยประจำจังหวัดศรีสะเกษ โดยมีจุดเด่นที่เป็นอัตลักษณ์ เช่น ชุดประจำถิ่น ขนมประจำถิ่น แหล่งเรียนรู้ชาติพันธ์กูย ภาษาท้องถิ่น ฯลฯ มีจุดแลนด์มาร์คทางวัฒนธรรม คือ ประสาทปรางค์กู่ และเป็นชุมชนต้นแบบทางศิลปวัฒนธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง ระดับจังหวัด จากสภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ และระดับประเทศ จากกระทรวงวัฒนธรรม มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมากใช้พื้นที่ชุมชนบ้านกู่เป็นแหล่งเรียนรู้ และมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาในชุมชนจำนวนมาก สามารถสืบค้นข้อมูลชุมชนในเว็บไซต์ได้อย่างกว้างขวาง และเป็นตัวแทนชาติพันธ์กูยเข้าร่วมจัดแสดงผลงานนิทรรศการสี่เผ่าไทย ในงานแสงสีเสียงประจำจังหวัดทุกปี นอกเหนือจากนั้นชุมชนยังมีการจัดงานแสงสีเสียงประจำตำบลอีกด้วย

    1.3 เครือข่าย (Development Network) มีเครือข่ายร่วมพัฒนา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ,จังหวัดศรีสะเกษ ,สภาวัฒนาธรรมจังหวัด ,พัฒนาชุมชน

 

1. ชุมชนตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

    ปี พ.ศ. 2564 สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ลงพื้นที่ตำบลไพรพัฒนา อำเภอ ภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ศึกษาสภาพพื้นที่และสำรวจความต้องการ ชุมชน ได้ค้นพบ ปราญชุมชนที่มีทักษะ การเลี้ยงหาน้ำผึ้งป่า คือ นายประดิษฐ์ บุญออน ขณะนั้น อายุ 31 ปี ซึ่งมีการรวมกลุ่มกับเพื่ออีก 3 คน เก็บน้ำผึ้งในป่า และมีการสร้างกล่องล่อผึ้ง เพื่อให้ผึ้งเข้าอยู่ทำให้เก็บน้ำผึ้งได้ง่ายขึ้น จากการประชุมได้มีมติร่วมขอให้มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จัดโครงการอบรมการทำกล่องล่อผึ้งและต่อยอดผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายพื้นที่การเลี้ยงผึ้ง และสร้างทักษะการสร้างกล่องล่อผึ้งและการหาน้ำผึ้งให้กับคนในชุมชนด้วยเสริมสร้างองค์ความรู้ให้กับกลุ่มในการทำผลิตภัณฑ์เทียนหอม สีผึ้งทาปาก และ ย่าหม่องจากไขผึ้ง ในชื่อแบรนด์พญากรูปรี เสริมสร้างทักษะการขายและการตลาดออนไลน์ให้แก่สมาชิก ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น และมีผู้สนใจเข้ามาศึกษาการเลี้ยงผึ้งโพรงป่า ขยายและต่อยอดองค์ความรู้เพิ่มขึ้นจากกลุ่มเล็กๆๆ มีผึ้งไม่ถึงห้าสิบกล่อง ปัจจุบันมีสมาชิกเพิ่มขึ้นและมีการต่อยอดไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง โดยมี 2564- 2566 มุ่งจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ และทักษะ การขายและการตลาดอย่างมืออาชีพ โดยการอบรมให้ความรู้ทักษะ การพูด การขาย การทำสื่อเพื่อการขายสินค้าออนไลน์ ส่งเสริมให้นำสินค้าขายในแพทฟอร์มออนไลน์  มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย  ต่อยอดสินค้าเพื่อเป็นของฝาก ในราคาที่ไม่แพงมาก ทั้งนี้พบว่าการดำเนินงานส่งผลให้ชุมชนมีผลกระทบที่เกิดประโยชน์สร้างคุณค่าอย่างเข้มแข็งทางด้านเศรษฐกิจ (In Cash) สังคม (In Kind) และเครือข่าย (Development Network) ในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชนอย่างเข้มแข็ง ดังนี้

    1.1 มีจุดเด่นด้านเศรษฐกิจ (In Cash) จากการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้ชุมชนมีรายได้ ดังนี้

1) มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าสำหรับนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในชุมชน เช่น น้ำผึ้ง ยาหม่องจากไขผึ้ง สีผึ้งทาปาก แจ่วบองปลาร้า เยลลี่น้ำผึ้ง ลูกอมน้ำผึ้ง และนมสดน้ำผึ้งเยลลี่น้ำผึ้งและอื่นๆ

2) มีรายได้จากการเป็นวิทยากรเผยแพร่องค์ความรู้ และอื่นๆ

3) มีรายได้จากการจำหน่ายสินค้าในงานเทศกาลประจำปีของอำเภอและจังหวัด

4) รายได้จากคณะที่เข้ามาศึกษาดูงานในชุมชนจากหน่วยงานต่างๆ   

1.2 สังคม (In Kind) ตำบลไพรพัฒนา เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และวัฒนธรรมมีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนจำนวนมากใช้พื้นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ และมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาในชุมชนจำนวนมาก บริบทพื้นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ และมีจุดเด่นที่เอื้อต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการค้าชายแดน ทั้งนี้การเลี้ยงผึ้งในพื้นที่จากที่ทำเฉพาะกลุ่มเล็กๆภายในสามปี มีความโดดเด่นชัดเจน สมาชิกผู้เลี้ยงผึ้งสร้างได้จากเพิ่มขึ้นจากการขายผลิตภัณฑ์ยังได้รับการยอมรับในวงกว้าง สร้างเพทที่เป็นอัตลักษ์ สื่อสารถึงการเลี้ยงผึ้งธรรมชาติ เป็นเพทให้ความรู้ที่มีผู้ติดตามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนได้รับรายได้จากการสร้างเพท และได้รับการยอมรับจากหน่วยงานราชการต่างๆๆ เข้ามาส่งเสริมเพิ่มขึ้นในปี 2566 นี้ อำเภอภูสิงห์มีการสร้างภาคีเครือข่ายส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งโพรง ด้วย

    1.3 เครือข่าย (Development Network) มีเครือข่ายร่วมพัฒนา ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ,พัฒนาชุมชนอำเภอภูสิงห์, ศูนย์ส่งเสริมวิชาการเกษตรภูสิงห์มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

 

6เกิดชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ที่มีคณะและมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบร่วมในการพัฒนาอย่างน้อย 1 ชุมชน

เกิดชุมชนต้นแบบด้านการพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืน ที่มีคณะและมหาวิทยาลัย เป็นผู้รับผิดชอบร่วมในการพัฒนาจำนวน 2 ชุมชน ตาม ดังนี้

1. ชุมชนบ้านหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
    มหาวิทยาลัย ได้กำหนดให้ชุมชนบ้านหัวนา อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 และมีการดำเนินส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาชุมชนมาอย่างต่อเนื่อง โดยนำองค์ความรู้ศาสตร์วิชาต่างๆ ตามความเชี่ยวชาญของทุกคณะ บูรณาการกิจกรรมเพื่อพัฒนา ส่งผลให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน มีจุดเด่นด้านต่างๆ ที่น่าสนใจที่สามารถดึงดูดนักเที่ยวเข้ามาจำนวนมาก เช่น ประเพณีการแห่กระฐินทางนำ มีผลิตภัณฑ์สินค้าโอท็อปชุมชนทั้งปลาส้ม อ่องปูนา มีการจัดกิจกรรมประจำปีที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เป็นต้น เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการจำหน่ายสินค้า เพิ่มขึ้น จึงทำให้บ้านหัวนาได้รับรางวัลการันตีมากมายจากหน่วยงานต่างๆ เช่น

ลำดับ

หน่วยงาน

รางวัล/ผลงาน

ได้รับรางวัลจาก

1

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับโล่เกียรติคุณเป็นหมู่บ้านรักษาศีล 5 ต้นแบบ ประจำปี 2561

วัดไร่ขิง (พระอารามหลวง)

2

วัดจำปา ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับโล่เกียรติคุณเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2561

สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

3

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับโล่รางวัลวัฒนคุณาธร ชุมชนคุณธรรมต้นแบบ ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม ระดับประเทศ ประจำปี 2561

จากกระทรวงวัฒนธรรม

4

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับโล่เกียรติคุณเป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีดีเด่นระดับจังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2561

จังหวัดศรีสะเกษ

5

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรในการสนับสนุนการจัดนิทรรศการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2561

จังหวัดศรีสะเกษ

6

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 3 หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง “อยู่เย็น เป็นสุข” ดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2562

จังหวัดศรีสะเกษ

7

วัดจำปา ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับโล่เกียรติคุณเป็นลานธรรม ลานวิถีไทย ต้นแบบ ประจำปี 2562

กรมการศาสนา

8

วัดจำปา ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรเป็นอุทยานการเรียนรู้ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี 2562

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

9

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรผ่านการรับรองด้วยระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.) ประจำปี 2562

จังหวัดศรีสะเกษ

10

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรผ่านการรับรองด้วยระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน (มชช.) ประจำปี 2562

จังหวัดศรีสะเกษ

11

ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรรางวัลดีเด่นระดับอำเภอการประกวดหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ “อยู่เย็นเป็นสุข” ประจำปี 2562

อำเภอกันทรารมย์

12

กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านหัวนา

ได้รับเกียรติคุณบัตรรางวัลดีเด่นระดับอำเภอการประกวดกิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่น ประเภท กลุ่ม/องค์กรชุมชนแกนนำหลักสำคัญในการพัฒนาหมู่บ้านประจำปี 2562

อำเภอกันทรารมย์

13

วัดจำปา ชุมชนบ้านหัวนา

ได้รับโล่เกียรติคุณประเภทหมู่บ้านขับเคลื่อนศีล 5 ดีเด่นแห่งปี ประจำปี 2563

พระเทพศาสนาภิบาล ประธานขับเคลื่อนโครงการหมู่บ้านรักษาศีล 5 ส่วนกลาง

    เป็นต้น นอกเหนือจากนั้น บ้านหัวนายังได้รับความสนใจจากชุมชนอื่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เข้ามาศึกษาดูงานมากมาย เช่น  องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ  สภาวัฒนธรรมจังหวัดศรีสะเกษ ชุมชนบ้านหว้าน และอื่นๆ เป็นต้น ด้วยความโดดเด่นที่ชัดเจนของบ้านหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ จึงกำหนดให้เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม

2. กลุ่มผู้เลี้ยงผึ้งโพรงบ้านวนาสวรรค์ และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนโอวบังโกว ตำบลไพรพัฒนา อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ทั้งสองกลุ่มเป็นกลุ่มมีสมาชิกชัดเจน มีระบบการบริหารจัดการกลุ่ม จัดทำบัญชี และมีการผลิตภัณฑ์ชุมชนอย่างต่อเนื่อง มีการจัดสรรรายได้ให้กับสมาชิก มีการถ่ายทอดองค์ความรู้และมอบกล่องเลี้ยงผึ้งให้กับชุมชน และรับซื้อน้ำผึ้งกับชาวบ้านรายย่อยมาจำหน่ายในนามกลุ่ม ปัจจุบันได้รับการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายส่งเสริมการเลี้ยงผึ้งโพรง ซึงเป็นการร่วมกัน ของหน่วยงานในพื้นที่ และสมาชิกยังได้รายได้จากการเป็นวิทยากร และจากเพท facebook อย่างต่อเนื่อง

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 5