ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 ระบบและกลไกงานวิจัย งานสร้างสรรค์ และนวัตกรรม

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : นงนุช แสงพฤกษ์ , พัณณิตา นันทะกาล , อนันศักดิ์ พวงอก , ธัญทิพ บุญเยี่ยม , ทิวาพร ใจก้อน , พรเทพ เจิมขุนทด
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

มหาวิทยาลัยต้องมีการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ โดยมีแนวทาง การดำเนินงานที่เป็นระบบและมีกลไกส่งเสริมสนับสนุนครบถ้วน เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดไว้ทั้งการสนับสนุนด้านการจัดหาแหล่งทุนวิจัยและการจัดสรรทุนวิจัยจากงบประมาณของสถาบันให้กับบุคลากรส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะแก่อาจารย์และนักวิจัย การสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นซึ่งรวมถึงทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรการเงิน เครื่องมืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรม นำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน ตลอดจนจัดระบบสร้างขวัญและกำลังใจแก่นักวิจัยอย่างเหมาะสมตลอดจนมีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 - 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 - 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor)
3 จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงาน วิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ
4 มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
5 มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ
6 มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด
7 มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1 มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริการงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ในการบริการงานวิจัย(2.1-1(1)),(2.1-1(2))

โดยมีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการวิจัย ซึ่งมีความสามารถในการบริหารจัดการงานวิจัยภายในคณะฯดังต่อไปนี้

1. บันทึกข้อมูลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่างๆ ลงในฐานข้อมูล

2. บันทึกข้อมูลเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เผยแพร่ผ่านการประชุมวิชาการ

3. บันทึกข้อมูลการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการที่เผยแพร่ผ่านวารสารวิชาการ

4. สืบค้นข้อมูลการวิจัยจากฐานข้อมูลงานวิจัยย้อนหลัง

5. สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการทำวิจัยของบุคลากรเข้ากับฐานข้อมูลประวัติส่วนตัวของบุคลากรเพื่อประโยชน์ในการะบวนการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของบุคลากรรายบุคคล

6. ประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลการวิจัยเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการวิจัย ได้แก่

    6.1 จำนวนเงินสนับสนุนการวิจัยที่ได้รับในระดับสถาบัน จำแนกตามปีงบประมาณ

    6.2 จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยที่ได้รับระดับคณะ จำแนกตามปีงบประมาณ

    6.3 จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยที่ได้รับ จำแนกตามแหล่งทุน

    6.4 สถิติการเผยแพร่ผลงานวิจัยผ่านการประชุมทางวิชาการ หรือวารสารวิชาการ

นอกจากนี้ยังมีการนำระบบสารสนเทศการบริหารงานวิจัยจากภายนอก คือ ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ(National Reseach Management System:NRMS)เข้ามาใช้สำหรับการจัดการวิจัยในด้านต่างๆอาทิ

การยื่นข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่างๆ

การสรุปสถิติการยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย ในหมวดงบประมาณแผ่นดินปกติ ประจำปีงบประมาณ

การจัดการลำดับความสำคัญของโครงการวิจัยเพื่อยื่นข้อเสนอต่อแหล่งทุนเพื่อพิจารณา

การรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานวิจัยผ่านระบบออนไลน์เพื่อให้แหล่งทุนได้รับทราบ

การติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัยของนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนรายบุคคล

ตรวจสอบประวัติของนักวิจัยย้อนหลัง

2 สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ หรือศูนย์เครื่องมือ หรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor)

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัย        ในประเด็นต่างๆดังต่อไปนี้

   - คลินิกวิจัย

    คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้มีการจัดสรรพื้นที่และอุปกรณ์เพื่อเป็นห้องปฏิบัติการ หรือห้องปฏิบัติงานสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของอาจารย์ และนักศึกษา

 

   - กลุ่มงานวิจัย

   คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีกลุ่มงานวิจัยที่ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย จัดสรรทุนวิจัย จัดหาแหล่งทุนวิจัยจากภายนอกที่มีความเหมาะสม ส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่ผลการวิจัยสู่ภายนอก ตลอดจนการกำกับติดตามการดำเนินการวิจัย

 

   - กลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ

   คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีกลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีศักยภาพและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพัฒนางานวิจัยแก่บุคคลากรตลอดจนมีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานแหล่งสืบค้นข้อมูลแก่บุคลากรอย่างเหมาะสมและทั่วถึง

มีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการจัดเตรียมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการพัฒนางานวิจัยได้แก่

     1. ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์

     2. ระบบการสืบค้นข้อมูลห้องสมุดออนไลน์

ตลอดจนมีการจัดการเรื่องการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย เพื่อให้นักวิจัยเกิดความสะดวกในการทำงานและเกิดความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติเพื่อการวิจัย

โดยได้มีการวางแนวปฏิบัติไว้อย่างชัดเจนและจัดทำเป็นคู่มือเพื่อเผยแพร่ให้แก่บุคลากรภายในได้รับทราบอย่างทั่วถึง ได้แก่

    1. คู่มือการใช้ห้องคลีนิควิจัย

    2. ระเบียบและแนวทางปฏิบัติการขอใช้บริการห้องปฏิบัติการทางสารสนเทศ

 

มีการจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ ได้แก่

      การประชุมวิชาการระดับชาติ   การบริหารการพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร ประจำปี 2562

หัวข้อ “Disruption: ทำลายล้างหรือสร้างโอกาสในการพัฒนาสังคมวันที่ 3 กรกฎาคม 2562

 

3 จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงาน วิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มีการจัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นทุนสนับสนุนการวิจัย

ในปีงบประมาณ 2563 มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยในระดับคณะฯจำนวนทั้งสิ้น 14 ทุน รวมเป็นเงินสนับสนุน จำนวน 255,000 บาท(2.1-3(1))

จำแนกเป็นเงินรายได้จำนวนทั้งสิ้น 14 ทุน รวมเป็นเงินสนับสนุน จำนวน 255,000 บาท

4 มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น

ในปีการศึกษา 2562 คณะมนุษย ศาสตร์และสังคมศาสตร์มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย ในการประชุมทางวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ โดยมีแนวทางในการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนในคณะฯ ดังนี้

     คณะวิชามีการจัดสรรเงินงบประมาณของตนเองเพื่อใช้เป็นทุนสำหรับการเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ในคณะ โดยมีการออกประกาศเรื่องการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อนำเสนอผลงานวิชาการซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสาขาวิชา และศาสตร์วิชาของแต่ละคณะ(2.1-4(1))

 

 

จำนวนรวมของผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร

45.5

บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบรูณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ

เรื่อง

บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่พิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการ ประชุมวิชาการระดับนานาชาติ หรือในวารสารทางวิชาการระดับชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูล ตาประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วย หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ.2556  แต่สถาบันนำเสนอสภาสถาบันอนุมัติและจัดทำเป็นประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และแจ้งให้ กพอ./กกอ.ทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ออกประกาศ

0

บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่พิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐาน ข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2

เรื่อง

บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่พิมพ์ในวารสารวิชาการระดับ นานาชาติที่ไม่อยู่ในฐานข้อมูลตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทาง วิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

พ.ศ.2556 แต่สถาบันนำเสนอสภาสถาบันอนุมัติและจัดทำเป็นประกาศให้ทราบเป็นการทั่วไป และแจ้งให้ กพอ./กกอ. ทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่ออกประกาศ (ซึ่งไม่อยู่ใน Beall’s list) หรือพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐาน ข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1

เรื่อง

บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่พิมพ์ในวารสารวิชาการระดับ นานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วย หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชากา รพ.ศ.2556

0

ผลงานวิชาการรับใช้สังคมที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว

0

ตำราหรือหนังสือที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว

2

งานสร้างสรรค์ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ online

เรื่อง

งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติ

2 เรื่อง

งานสร้างสรรค์ที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับความร่วมมือระหว่างประเทศ

0

 

 

5 มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ

ในปีการศึกษา  2562 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ได้มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ให้มีศักยภาพในด้านการวิจัยให้สูงขึ้น โดยการจัดโครงการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยได้แก่ การประชุมวิชาการระดับชาติ   การบริหารการพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร ประจำปี2562 หัวข้อ “Disruption ทำลายล้างหรือสร้างโอกาสในการพัฒนาสังคมวันที่ 3 กรกฎาคม  2562 โดยมีเครือข่ายความร่วมมือทั้งหมด 13 มหาวิทยาลัย

6 มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน โดยมีการดำเนินการตามระบบกลไกของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

     1 มีการดำเนินการสนับสนุนการดำเนินการวิจัยเพื่อตีพิมพ์และเผยแพร่ โดยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกองทุนวิจัย และมีการประชุมเพื่อจัดทำประกาศการขอรับค่าตอบแทนการนำเสนอผลงานวิจัยและตีพิมพ์วารสาร และ ประกาศการส่งผลงานเข้าประกวดนักวิจัยดีเด่น ด้านการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก นักวิจัยดีเด่นด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติ นักวิจัยดีเด่นด้านการอ้างอิงผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์และนักวิจัยดีเด่นด้านการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิ
   2 และมีการประชุมเพื่อพิจารณาค่าตอบแทนการนำผลงานและการตีพิมพ์วารสาร และ ค่าตอบแทนสำหรับรางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการอ้างอิงผลงานวิจัย
   3 จัดกิจกรรมในรูปแบบการเผยแพร่โดยวารสารวิจัยและพัฒนา และส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมในเวทีการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ
   4 การนำผลการวิจัยและแบบตอบรับการใช้มาสังเคราะห์องค์ความรู้ก่อนการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่และเชิงนโยบาย

คณะมนุษยศาสตร์ได้ดำเนินการตามระบบกลไก และมีการนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ ได้แก่

    1.งานวิจัยเรื่องแนวทางการพัฒนา หมู่บ้านเข้มแข็งคู่ขนานโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนตามชายแดนไทย-กัมพูชา

    2.กลยุทธ์การพัฒนาห้องสมุดประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษสู่ประเทศไทย 4.0

    3.แนวทางการพัฒนาห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
 

7 มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ โดยมีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษว่าด้วย การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ.2553(2.1-6(1)) เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา

ตลอดจนงานวิจัยต่างๆที่ถูกพัฒนาขึ้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ

     มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ(2.1-6(2)) เพื่อทำหน้าที่พิจารณาให้ความเห็น กำกับติดตาม และดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ โดยอาจารย์หรือนักวิจัยที่ต้องการร้องขอการคุ้มครองสิทธิ์ในงานวิจัยสามารถดำเนินการตามขั้นตอนตามแผนภาพขั้นตอนการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดในกรณีที่ต้องการร้องขอความคุ้มครอง(2.1-6(3))โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ ดังต่อไปนี้

     1. เจ้าของผลงานวิจัยชิ้นที่ถูกละเมิดสิทธิ์ดำเนินการยื่นคำร้องมาที่งานวิจัยคณะฯ พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าตนเองเป็นเจ้าของผลงานที่ถูกละเมิดสิทธิ์ตลอดจนหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการละเมิดสิทธิ์ในงานวิจัยของตนเอง หรือเอกสารอื่นๆ ประกอบเพื่อความชัดเจน

     2. กลุ่มงานวิจัย คณะฯ เป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของผลงาน ทำการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และตรวจสอบความสมบรูณ์ของเรื่องร้องเรียน

     3. ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธิ์ของงานวิจัยที่ได้มีการร้องเรียน

4. นำเสนอแนวทางในการจัดการปัญหาด้านการละเมิดสิทธิ์และมติของที่ประชุมคณะกรรมการต่ออธิการบดีเพื่อสั่งการตามอำนาจของอธิการบดี

5. ในกรณีที่ต้องการฟ้องร้องหรือดำเนินการเอาผิดทางคดีความให้นิติกรของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเป็นผู้ดำเนินการ

และในปีกการศึกษา  2562 ได้มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษว่าด้วยกองทุนวิจัย ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการคุ้มครองสิทธิ์ของวิจัยที่เกิดจากการให้ทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย อาทิ ผลงาน ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตร รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ ซึ่งเกิดจากงานวิจัยตามระเบียบ ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย เว้นแต่มีข้อตกลงไว้เป็นอย่างอื่น แต่ผู้วิจัยมีสิทธิ์ตีพิมพ์และเผยแพร่งานวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการได้ การตีพิมพ์และการเผยแพร่ผลงานวิจัยอันเป็นผลงานที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินกองทุนวิจัย ต้องได้รับการเห็นชอบจากกรรมการ 2.1-6(5))

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 5