ตัวบ่งชี้ที่ 1.8 ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : อนันศักดิ์ พวงอก , พรเทพ เจิมขุนทด , เสถียร สีชื่น , พัณณิตา นันทะกาล , สิทธิชัย บวชไธสง , ศศิธร สมอินทร์ , กฤษณ์ คำนนท์ , โพธิ์พงศ์ ฉัตรนันทภรณ์ , กวินวัฒน์ หิรัญบูรณะ , ชุติมา ช้างขำ , ตรัยเทพ ศรีสุข , ทินกร กมล , รุ่งทิวา เนื้อนา , จรูญ แช่มชื่น , สุทธิดา พันธุ์โคตร
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาชาติที่กำหนดให้นักศึกษาเป็นผู้ร่วมสร้างนวัตกรรม หลักสูตรจึงควรผลักดันให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรมโครงงานหรืองานวิจัยหรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น

เกณฑ์การประเมิน

โดยการแปลงค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม ที่กำหนดให้คะแนนเต็ม 5 = ร้อยละ 100

สูตรการคํานวณ

1. คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

จำนวนหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
จำนวนหลักสูตรทั้งหมดในคณะ

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ = ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
ร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5
หมายเหตุ

1. นวัตกรรมที่ชุมชนยอมรับโดยมีหลักฐานการใช้ประโยชน์จากชุมชน
2. ความหมายของการมีส่วนร่วม หมายถึง นักศึกษามีการวางแผน การดำเนินงาน และการประเมินผล
3. นวัตกรรมดังกล่าวอาจเกิดขึ้นในชุมชน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

ผลการดำเนินงาน

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  เปิดการเรียนการสอน 9 หลักสูตร  โดยทุกหลักสูตรมีจุดประสงค์ในการมุ่งให้ผู้เรียนเกิดมีส่วนร่วมในการสร้างผลงานนวัตกรรม  โครงงาน  หรืองานวิจัย  หรือบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เป็นงานพัฒนาที่สามารถแก้ไขปัญหาให้ชุมชนหรือท้องถิ่น  ในปีการศึกษา 2562  มีหลักสูตรที่นักศีึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม  โครงงาน  หรืองานวิจัย  ดังนี้

1.  สาขาวิชานิเทศศาสตร์  ได้จัดโครงการนิเทศฯ ลั่นทุ่ง :  มุ่งสร้างสื่อดีให้ศรีสะเกษ ตอนสอนน้องทำหนังครั้งที่ 5  ณ อาคารอเนกประสงค์ โรงเรียนบ้านน้ำเกลี้ยง  ตำบลน้ำเกลี้ยง  อำเภอน้ำเกลี้ยง  จังหวัดศรีสะเกษ  ในวันที่ 25-28 กุมภาพันธ์  2563  ซึ่งโครงการดังกล่าว  นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการ  เพื่อแก้ปัญหาของชุมชนในการมีสิ่งดีๆ ของชุมชนจำนวนมาก แต่นักเรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการทำหนังสั้นเพื่อนำเสนอสภาพบริบทและความน่าสนใจของชุมชน  สาขาวิชานิเทศศาสตร์ซึ่งมีนักศึกษาที่มีความรู้ความสามารถในการด้านนี้จึงได้สอนน้องสร้างภาพยนตร์สั้น  (1.8 (1) )

2. สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ  ได้จัดโครงการข้าวใหม่ปลามันสืบสานวัฒนธรรมชาติพันธุ์ลาวบ้านหัวนา  ในวันที่ 5-6  ธันวาคม 2562  ณ วัดจำปา หมู่ที่ 2 ตำบลหนองแก้ว  อำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีสะเกษ  เนื่องจากชุมชนดังกล่าวมีวัดจำปา ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้  แต่ชุมชน ชาวบ้าน ยังขาดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการในการส่งเสริมการท่องเที่ยว  นักศึกษาสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ จึงได้จัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น เพื่อสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น  และประชาสัมพันธ์ชุมชนให้เป็นชุมชนแห่งการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  โดยมีวัดจำปาเป็นแหล่งดึงดูดความสนใจ  (1.8 (2) )

3. สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน    ได้จัดโครงการสัมมนาปัญหาชุมชนเรื่องเอกสารสิทธิ์ที่ทำกินในพื้นที่ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ  จังหวัดศรีสะเกษ  ในวันที่ 2 กันยายน  2562  เนื่องจากชาวบ้านกันทรอมพบปัญหาเกี่ยวกับเอกสารสิทธิ์ที่ทำกิน  สาขาวิชาการพัฒนาชุมชนโดยนักศึกษาจึงได้จัดสัมมนาปัญหาชุมชนดังกล่าวขึ้นเพื่อนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหา  และเป็นการบูรณาการกับการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน  ( 1.8 (3) )

4.  สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์  ได้จัดโครงการพัฒนาห้องสมุดตามแนวพระราชดำริ ณ โรงเรียนกันทรลักษ์ธรรมวิทย์  อำเภอกันทรลักษ์  จังหวัดศรีสะเกษ ในวันที่ 26-28 กุมภาพันธ์ 2562 โดยเน้นการให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการห้องสมุดให้แก่โรงเรียนและชุมชน  ซึ่งทางโรงเรียนมีสถานที่แต่ไม่มีองค์ความรู้ในการบริหารจัดการ  ซึ่งผลจากโครงการดังกล่าว  ทางสาขาวิชาได้สร้างห้องสมุดและสอนวิธีการบริหารจัดการห้องสมุดอย่างเป็นระบบให้แก่นักเรียนโรงเรียนกันทรลักษ์ธรรมวิทย์  (1.8 (4) )

5. สาขาวิชาประวัติศาสตร์  ได้จัดโครงการลงพื้นที่ศึกษาโบราณสถานภายในจังหวัดศรีสะเกษ  ในระหว่างวันที่ 19-20  มีนาคม  2563  โดยนักศึกษาได้ดำเนินการจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์โบราณสถานของจังหวัดศรีสะเกษ  และได้ลงมือจัดพิพิธภัณฑ์  และจัดอบรมมัคุเทศก์โบราณสถาน  เพื่อแก้ปัญหาให้แก่ชุมชนที่ไม่มีองค์ความรู้ในการดำเนินงานในการจัดการพิพิธภัณฑ์  เพื่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดศรีสะเกษ (1.8 (5)  )

1. คำนวณค่าร้อยละของหลักสูตรที่นักศึกษามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม

                                                             5
---------------------------------------------------------------------------------------------------------      x  100
                                                             9

2. แปลงค่าร้อยละที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทียบกับคะแนนเต็ม 5

คะแนนที่ได้ =                                                                   55.56
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------       x     5
                                                                100.00
คะแนนที่ได้ = 2.78

 

 

 

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
2.78 2.78