ตัวบ่งชี้ที่ 8.2 ผลลัพธ์ด้านศิลปะและวัฒนธรรมไทย (KPI 4.2 ระดับสถาบัน)

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : สรวีย์ คำนวล , วันวิสา นัยเนตร , พรรทิภา พรมมา
ชนิดตัวบ่งชี้ : ผลลัพธ์
คำอธิบายตัวบ่งชี้

ผลลัพธ์ของการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน สังคม และประเทศชาติ

 

เกณฑ์มาตรฐาน

จำนวนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม หรือนำไปใช้ประโยชน์ให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีการจัดทำฐานข้อมูลทางด้านศิลปวัฒนธรรมที่กำหนดให้เป็นคะแนนเต็ม 5 เท่ากับ 6 เรื่อง

เกณฑ์การประเมิน

มีการจัดการด้านศิลปวัฒนธรรมทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทยหรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
จำนวนองค์ความรู้ 2 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 3 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 4 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 5 เรื่อง จำนวนองค์ความรู้ 6 เรื่อง
หมายเหตุ

ต้องมีเอกสารทางวิชาการที่แสดงถึงการได้มา การค้นคว้าประวัติของภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นอย่างเป็นระบบ
- เอกสารด้านศิลปะและวัฒนธรรม
- งานสร้างสรรค์ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

ผลการดำเนินงาน

มหาวิทยาลัยมีจำนวนองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมที่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หรือสร้างโอกาสและมูลค่าเพิ่ม หรือนำไปใช้ประโยชน์ให้กับผู้เรียน ครอบครัว ท้องถิ่น ชุมชน สังคม และประเทศชาติ จำนวน 6 เรื่อง ดังนี้

1. องค์ความรู้ เรื่อง “โครงการตามพระราชดำริ” ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรกับการพยายามแก้ปัญหาสังคมชนบทของจังหวัดศรีสะเกษ (4.2-(1)) 
    โดย ธันยพงศ์ สารรัตน์
    มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

        การศึกษาการดำเนินโครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหาสังคมชนบทจังหวัดศรีสะเกษ ระหว่าง พ.ศ. 2541 – 2554 โดยศึกษาตามวิธีการทางประวัติศาสตร์ผ่านเอกสารชั้นต้นจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติและเอกสารภาษาไทยประเภทอื่นๆ ผลการศึกษาพบว่า โครงการตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ระหว่าง พ.ศ. 2541 – 2554 เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดในเรื่องของความยากจนของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาสังคมชนบทเรื่องปากท้องและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่
        แนวคิดดังกล่าวนามาซึ่งการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการดึงศักยภาพของทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้อย่างคุ้มค่าและสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับประชาชนในพื้นที่ ซึ่งได้แก่ โครงการจัดการน้า ไฟฟ้า และที่ดินที่เกี่ยวข้องกับการสร้างระบบชลประทาน การระบายน้ำออกจากพื้นที่น้าท่วมขัง การสร้างนิคมสหกรณ์ การขยายเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ ตลอดจนการสร้างอาชีพเสริมและปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตของประชาชนแบบดั้งเดิมให้เป็นการผลิตตามหลักวิชาการสมัยใหม่ โดยโครงการเกือบทั้งหมดจะมีพื้นที่ทางทิศตะวันออกและทิศใต้ของจังหวัดศรีสะเกษเป็นพื้นที่เป้าหมายสำคัญของโครงการ

2. องค์ความรู้ เรื่อง แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาการแสดงรำตร๊ดแบบดั้งเดิม ของจังหวัดศรีสะเกษ (4.2-(2)) 
    โดย ธันยพงศ์ สารรัตน์, ดร.ชนมน สุขวงศ์, อภิชาติ มุกดาม่วง,  ชลธิชา โรจนแสง 
    มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

        การศึกษาภูมิปัญญาการแสดงราตร๊ดแบบดั้งเดิมของจังหวัดศรีสะเกษ ผู้ศึกษามีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการแสดงรำตร๊ดแบบดั้งเดิและวิเคราะห์สภาพปัญหาที่เกิดขึ้นและเสนอแนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญา การแสดงรำตร๊ดแบบดั้งเดิมของจังหวัดศรีสะเกษ โดยผู้ศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) ทำการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยผู้ศึกษาทำการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ (Interview) จากการสังเกตการณ์ พบว่ามีปัจจัยหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านข้อจำกัดของภาษาในการชมรำตร๊ดแบบดั้งเดิม ด้านมุมมองที่เปลี่ยนไปในการรับชมการแสดงรำตร๊ดแบบดั้งเดิม ด้านการสืบทอดและผู้รับการสืบทอดรำตร๊ดแบบดั้งเดิมนั้นมีน้อยลง ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์และความเจริญทางเทคโนโลยี และขาดการส่งเสริมสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ รำตร๊ดแบบดั้งเดิมนั้นนับได้ว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของชาวจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งสะท้อนให้เห็นขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น เป็นสิ่งจรรโลงใจให้แก่ผู้ชมผู้ฟัง เรียกได้ว่าเป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่รังสรรค์มาเพื่อความบันเทิงสนุกสนาน แล้วยังสอดแทรกแง่คิด คติธรรม สะท้อนให้เห็นมุมมองการดำรง ชีวิตของคนในท้องถิ่นของจังหวัดศรีสะเกษ ดังนั้นจึงควรที่จะตระหนักถึงคุณค่า แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูการแสดงรำตร๊ดแบบดั้งเดิม ควรจะได้รับความร่วมมือจากผู้ที่ เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นคณะนักแสดง ประชาชนในพื้นที่ องค์การเอกชน รวมถึงหน่วยงานจากภาครัฐ ควรมีการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ และสร้างทัศนคติความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อให้ประชาชนคนในท้องถิ่นตระหนักถึงความสำคัญของมรดกทางวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นอันมีค่าและอนุรักษ์ฟื้นฟูให้อยู่สืบไป

3. องค์ความรู้ เรื่อง “วัฒนธรรมการแห่พระอุปคุต : ความหมาย บทบาท และความเป็นมาในชุมชนบ้านปะโด๊ะ ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ” (4.2-(3)) 
    โดย ธันยพงศ์ สารรัตน์ 
    มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

        บทความนี้ศึกษาการให้ความหมายทางวัฒนธรรมและระบบความเชื่อของคนไทยเชื้อสายกูย (ส่วย) และลาว ในชุมชนบ้านปะโด๊ะ ตำบลปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ ที่มีกระบวนการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมจากรุ่นสู่รุ่นผ่านวัฒนธรรม การแห่พระอุปคุตในโอกาสการหล่อพระประธานวัดบ้านปะโด๊ะ และงานบุญผะเหวดอันเป็นวัฒนธรรมสำคัญในงานบุญของท้องถิ่น
        ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมการแห่พระอุปคุตมีความหมายทางวัฒนธรรมที่เกิดจากระบบความเชื่อดั้งเดิมในท้องถิ่น เช่น ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาและการนับถือผี เป็นการให้ความหมายของประเพณีจากตำนานผสมผสานกับความเชื่อ ส่วนความเชื่อที่เกิดขึ้นนั้นเป็นส่วนหนึ่งที่มาจากกระบวนการขัดเกลาทางสังคม ในครอบครัวและชุมชน รวมถึงกลุ่มคนภายนอก โดยมีบ้านและวัดเป็นศูนย์กลางที่จะเชื่อมโยงวัฒนธรรมและเพื่อรวมกลุ่มคนเข้าร่วมกิจกรรมในนาม “วัฒนธรรมท้องถิ่น” วัฒนธรรมนี้จึงเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบ่งบอกอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมให้ผู้อื่นรับรู้ว่าเป็นประเพณีหนึ่งของกลุ่มชาติพันธุ์กูย (ส่วย) ในท้องถิ่นศรีสะเกษ

4. องค์ความรู้ เรื่อง “เสื้อแส่ว” อัตตลักษณ์แห่งผืนผ้า ภูมิปัญญาแห่งเผ่าพันธุ์ (4.2-(4)) 
    โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล 
    มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

        ผ้าแซว เป็นการนำเส้นไหมที่ย้อมสีแล้วมาพันเกลียว (ฟั่น) เข้าด้วยกันแล้วนำมาร้อยเข้ากับเข็ม ตัดเป็นลวดลายตามใจชอบเพื่อตกแต่งบริเวณปกเสื้อ สาบเสื้อ และบริเวณอื่นๆให้มีความสวยงาม และใช้สำหรับยื่นส่วนต่างๆของเสื้อเข้าด้วยกัน สมัยก่อนนิยมใช้สีแดงกับสีขาวหลังๆเพิ่มสีเหลืองขึ้นมาอีก 1 สีปัจจุบันมีสีอื่นๆตามลวดลายที่ประยุกต์ขึ้นมา
        จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศทางตอนใต้เป็นที่สูงและค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางเหนือลงสู่ลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด ปัจจุบันมีเนื้อที่ 8,840 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอ 22 อำเภอ ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งพูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กัน อาทิ ภาษาถิ่นอีสาน, ภาษากูย, ภาษาเยอ และภาษาเขมร ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนและนับถือผีมาแต่เดิมผ้าพื้นเมืองของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นเมืองในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ถือว่าเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่แสดงออกถึงภูมิปัญญา เทคโนโลยี และองค์ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

5. องค์ความรู้ เรื่อง ปังอ๊อกเปรี๊ยะแค “ป้อนข้าวพระจันทร์วันเพ็ญเดือนสิบสอง” (4.2-(5)) 
    โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล
    มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

        ประเพณีป้อนข้าวพระจันทร์หรือเรียกเป็นภาษาท้องถิ่นเขมรว่าประเพณี“ปังอ๊อกเปรี๊ยะแค” เป็นประเพณีการบูชาพระจันทร์ของชาวบ้านเขมรถิ่นไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์พื้นถิ่นคือ เขมร ส่วยหรือกูย ลาวและเยอ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มีความเป็นพหุลักษณ์ทางสังคมสูง ประเพณี “ปังอ๊อกเปรี๊ยแค” ถือเป็นประเพณีของท้องถิ่นที่ให้ความสำคัญต่อวิถีแห่งธรรมชาติที่สอดคล้องกับหลักทฤษฎีนิเวศวิทยาวัฒนธรรม นิยมกำหนดทำกันในวันเพ็ญเดือน 12 ของทุกปี (ขึ้น 15 ค่ำเดือน 12) ซึ่งปกติเรามักคุ้นเคยกับประเพณีไหว้พระจันทร์แบบชาวจีนเพราะมีคนไทยเชื้อสายจีนอาศัยอยู่มากพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษมากมาย แต่น้อยคนนักจะรู้จักประเพณีพื้นบ้านของชาวเขมรที่เรียกว่าประเพณีไหว้พระจันทร์หรือ “ประเพณี ปังอ๊อกเปรี๊ยะแค” ซึ่งแปลได้ตรงตัวคือ ปังอ๊อกแปลว่า การป้อน หรือ การกรอก , เปรี๊ยะแค แปลว่า พระจันทร์
        ปังอ๊อกเปรี๊ยะแค จึงแปลว่าการป้อนพระจันทร์หรือการกรอกพระจันทร์ซึ่งนิยมนำข้าวเม่าซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาด้านอาหารพื้นบ้านของชาวไทยที่เป็นข้าวแรกรวงหรือข้าวออกรวงใหม่ หรือที่เรียกว่า “ข้าวออกรวง” หรือ “ข้าวกำลังเม่า” มาเป็นส่วนประกอบสำคัญในการทำพิธีป้อนข้าวพระจันทร์ ข้าวเม่ายังถือเป็นอาหารทิพย์เพราะเป็นข้าวแรกรวงที่มีน้ำนมข้าวสูง (มีคุณค่าทางอาหารสูง)และยังมีความเชื่อกันว่า ข้าวเม่าที่นำมาประกอบพิธีนี้ถ้าใครได้กินจะมีความเป็นศิริมงคล แคล้วคลาดจากสิ่งเลวร้าย กล่าวกันว่าในอดีตหนุ่มๆชาวเขมร จะรอโอกาสกำข้าวเม่าป้อนใส่ปากให้สาวๆที่ตนเองหมายปอง ถือเป็นการบอกความนัยว่าเขาพร้อมที่จะเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองชีวิตของสาวคนนั้น

6. องค์ความรู้ เรื่อง ประเพณีแซนโฎนตา หรือ วันสารทเขมร (4.2-(6)) 
    โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชิดศักดิ์ ฉายถวิล
    มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

        ประเพณีแซนโฎนตา เป็นประเพณีหนึ่งที่มีความสำคัญ และปฏิบัติสืบทอดติดต่อกันมายาวนาน นับเป็นพัน ๆ ปีของชาวเขมร ที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ สะท้อนให้เห็นความรัก ความผูกพัน ความกตัญญูรู้คุณ ของสมาชิกในครอบครัวเครือญาติ และชุมชน โดยจะประกอบพิธีกรรมตรงกับวันแรม 14 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี ซึ่งเมื่อถึงวันนั้นลูก หลาน ญาติ พี่น้องที่ไปประกอบอาชีพ หรือตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อื่น ไม่ว่าจะใกล้ หรือไกลจะต้องเดินทางกลับมารวมญาติ เพื่อทำพิธีแซนโฎนตา เป็นประจำทุกปี

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
6 เรื่อง 5