✓ | 1 | มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ประโยชน์เพื่อการบริหารงานวิจัย ดังนี้
1. ระบบ DRMS ในการติดตามงานวิจัย (6.1 - 1(1)) เมื่อนักวิจัยรายงานผลรายงานความก้าวหน้ารอบ 6 เดือน ลงระบบแล้ว แก้ไขตามผู้ทรงให้ข้อเสนอแนะ กลุ่มงานวิจัยจะดำเนินจะดำเนินการตรวจสอบในระบบ DRMS พร้อมเสนอผู้บริหารอนุมัติเบิกจ่ายแต่ในกรณีที่นักวิจัยยังไม่ได้ดำเนินการ ผู้บริหารจะมีการทำบันทึกติดตามงานวิจัยต่อไป เช่น บันทึก แนวปฏิบัติ การเบิกจ่าย และ การขยายเวลาทุนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (6.1 - 1(2))
2. ระบบสารสนเทศที่มหาวิทยาลัยพัฒนาขึ้น เป็นระบบบริหารจัดการงานวิจัยที่ใช้ร่วมกันระหว่าง ระดับคณะ กับ มหาวิทยาลัย ซึ่งผู้รับผิดชอบทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ นักวิจัย เจ้าหน้าที่ จะมี USER และ PASSWORD ในการบริหารจัดการข้อมูลของหน่วยงานของตนเองได้ (6.1 - 1(3)) ทุน วช และทุนสกสวใช้ระบบNRIIS ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้ ดังนี้
2.1 บันทึกและแก้ไขข้อมูลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัย
ลงในฐานข้อมูล
2.2 สืบค้นข้อมูลการวิจัยจากฐานข้อมูลงานวิจัยย้อนหลัง
2.3 ประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลการวิจัยเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการวิจัย ได้แก่
- จำนวนเงินทุนสนับสนุนการวิจัยที่ได้รับในระดับสถาบัน จำแนกตามปีงบประมาณ
- ติดตามความก้าวหน้างานวิจัยของนักวิจัย
- ผู้บริหารสามารถเข้าไปดูข้อมูลการดำเนินงานของนักวิจัย ความก้าวหน้างานวิจัยของนักวิจัย เพื่อดำเนินการติดตามได้ต่อไป
3. ระบบสารสนเทศการบริหารงานวิจัยจากภายนอก คือ ระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System : NRMS) (6.1 - 1(4)) เข้ามาใช้สำหรับการจัดการการวิจัยในด้านต่าง ๆ อาทิ
3.1 การยื่นข้อเสนอการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ
3.2 การสรุปสถิติการยื่นข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนสนับสนุนการวิจัย ในหมวดงบประมาณแผ่นดินปกติ ประจำปีงบประมาณ
3.3 การจัดการลำดับความสำคัญของโครงการวิจัยเพื่อยื่นเสนอต่อแหล่งทุนเพื่อพิจารณา
3.4 การรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานวิจัยผ่านระบบออนไลน์เพื่อให้แหล่งทุนได้รับทราบ
3.5 การติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการวิจัยของนักวิจัยได้ที่รับทุนสนับสนุนรายบุคคล
3.6 ตรวจสอบประวัติของนักวิจัยย้อนหลัง
| |
✓ | 2 | สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือศูนย์เครื่องมือหรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor) | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัย ในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. มีห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้มีการจัดสรรพื้นที่และอุปกรณ์เพื่อให้เป็นห้องปฏิบัติการ หรือห้องปฏิบัติงานสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของอาจารย์ และนักศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1.1 ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ (6.1-2(1)) ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ (6.1-2(2)) และห้องปฏิบัติการงานด้านอุตสาหกรรม (6.1-2(3))
1.2 ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ ห้องอาคารห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การกีฬา (6.1-2(5))
2. มีห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีห้องสมุดที่มีศักยภาพและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพัฒนางานวิจัยแก่บุคคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (6.1-2(6)) ซึ่งมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สำหรับนักวิจัยที่เข้ามาลงระบบข้อมูล หรือศึกษาค้นคว้าข้อมูล (6.1-2(7)) และวิทยาลัยกฎหมายและการปกครองมีศูนย์วิจัยเด็กและเยาวชน เพื่อปรึกษาหารือด้านงานวิจัย และสำหรับค้นคว้าเอกสารต่างๆ (6.1-2(8))
3. มีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะกษมีการจัดเตรียมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาวิจัย ได้แก่
3.1 ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ (6.1-2(9))
3.2 ตลอดจนมีการจัดการเรื่องการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย เพื่อให้นักวิจัยเกิดความสะดวกในการทำงาน และเกิดความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการเพื่อการวิจัยโดยได้มีการวางแนวปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน และจัดทำเป็นคู่มือเพื่อเผยแพร่ให้แก่บุคคลกรภายในได้รับทราบอย่างทั่วถึง ได้แก่
- คู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (6.1-2(10))
- แนวทางการใช้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (6.1-2(11))
- แนวทางการใช้ห้องปฏิบัติการและอาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีบัณฑิต (6.1-2(12))
- คู่มือการใช้ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ (6.1-2(13))
- ระเบียบและแนวปฏิบัติการขอใช้บริการห้องปฏิบัติการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (6.1-2(14))
- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา (6.1-2(15))
4. มีการจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ
มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการจัดโครงการต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมงานวิจัย และมีการสนับสนุนการจัดประชุมวิชาการ โดยการจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ
4.1 มีการจัดโครงการอบรม “อบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” ในวันที่ 11 มีนาคม 2563 (6.1-2(16))
4.2 มีการจัดประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ "ราชภัฏศรีสะเกษวิชาการ ครั้งที่ 7" ในวันที่ 12 กรฎาคม 2563 โดยเชิญ ศาสตราจารย์ ดร.ฐาปนา บุญหล้า มาบรรยายพิเศษ (6.1-2(17))
4.3 มีการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการเทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุน" ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2563 (6.1-2(18))
4.4 มีการจัดโครงการอบรม“การบูรณาการโจทย์วิจัยเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นในจังหวัดศรีสะเกษ” ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 2562 (6.1-2(19))
| |
✓ | 3 | จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ | 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดสรรงบประมาณของสถาบันเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการวิจัย ในปีงบประมาณ 2563 มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยในระดับคณะ และ สถาบัน รวมเป็นเงินสนับสนุนจำนวน 2,085,000 บาท โดยมหาวิทยาลัยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (6.1 - 3(1))
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย ในการประชุมทางวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ โดยมีแนวทางในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนใน 2 ระดับดังต่อไปนี้
2.1 การส่งเสริมในระดับสถาบัน
1) มหาวิทยาลัยมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย โดยมีการสนับสนุนจัดงานโครงการประชุมวิชาการ และนำเสนอผลงานระดับชาติ และนานาชาติ "ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ 6" โดยมีหนังสือสนับสนุนจัดงานโครงการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานระดับชาติและนานาชาติ "ราชภัฏวิจัยครั้งที่ 6" (6.1-3(2)) โดยมีเงินสนับสนุน 200,000 บาท ตามหนังสือใบเสร็จรับเงินสนับสนุนจัดงานโครงการ (6.1-3(3)) ซึ่งมีนักวิจัยไปเข้าร่วมนำเสนอผลงาน จำนวน 8 คน ตามรายชื่อหนังสือส่งออก (6.1-3(4))
2) มีการก่อตั้งกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และมีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษว่าด้วยกองทุนวิจัย พ.ศ. 2561 โดยรูปแบบของคณะกรรมการฯ (6.1-3(5)) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยให้แพร่หลายทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ความช่วยเหลือในการขอรับสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ
ที่เกิดจากงานวิจัยของบุคลากร (6.1-3(6)) โดยมีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน เพื่อสนับสนุนการตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัย ครั้งที่ 2/2563 วันที่ 10 มิถุนายน 2563 (6.1-3(7)) มหาวิทยาลัยฯ มีการพิจารณาการประกวดนักวิจัยดีเด่น โดยจัดทำเป็นประกาศของมหาวิทยาลัย (6.1-3(8))
3) มหาวิทยาลัยมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อเผยแพร่งานวิจัยสำหรับงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุน โดยมีการจัดสรรเงินไว้ในหมวดการเผยแพร่ผลงานวิจัยตามงบประมาณที่จัดสรรเพื่อสนับสนุนการวิจัย ซึ่งนักวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดินประจำปีสามารถใช้งานที่ถูกจัดสรรนี้สำหรับการเผยแพร่ผลการวิจัย โดยมีการระบุอัตราการจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนการเผยแพร่ผลการวิจัยไว้ใน ประกาศมหาวิทยาลัยเรื่องหลักเกณฑ์การจ่ายค่าตอบแทนเพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัย (6.1-3(9)) และมีการจ่ายค่าตอบแทนให้กับนักวิจัยในการไปตีพิมพ์ผลงานวิจัย (6.1-3(10))
2.2 การส่งเสริมในระดับคณะ
คณะแต่ละคณะ มีจัดทำแผนปฏิบัติการจากเงินรายได้วิจัย ประจำปีงบประมาณ 2563 (6.1-3(11)) โดยมาจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนบุคคลากรในการเผยแพร่ผลงานวิจัย การประชุมทางวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สำหรับการดำเนินการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสาร
| |
✓ | 4 | มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น | มหาวิทยาลัย มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยมีการจัดกิจกรรมโครงการเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1.1 มีการจัดโครงการอบรม “อบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์” ในวันที่ 11 มีนาคม 2563 (6.1-4(1))
1.2 มีการจัดประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ "ราชภัฏศรีสะเกษวิชาการ ครั้งที่ 7" ในวันที่ 12 กรฎาคม 2563 โดยเชิญ ศาสตราจารย์ ดร.ฐาปนา บุญหล้า มาบรรยายพิเศษ (6.1-4(2))
1.3 มีการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “โครงการเทคนิคการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่อให้ได้รับทุนสนับสนุน" ในวันที่ 14 กรกฎาคม (6.1-4(3))
1.4 มีการจัดโครงการอบรม“การบูรณาการโจทย์วิจัยเชิงพื้นที่และเชิงประเด็นในจังหวัดศรีสะเกษ” ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2563 (6.1-4(4))
2. มหาวิทยาลัยมีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น ในปีการศึกษา 2562 มีอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 4 คน และมหาวิทยาลัยมีการสร้างขวัญและกำลังใจ ดังนี้
2.1 มีการประกาศผลนักวิจัยดีเด่น ประจำปี 2563 จำนวน 2 ท่าน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรวรรณ สิทธิศาสตร์ นักวิจัยดีเด่นด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริพร ยศแสน นักวิจัยดีเด่นด้านอ้างอิงผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ โดยนักวิจัยได้รับเกียรติบัตร และเงินทุนจำนวน 5,000 บาท (6.1-4(5))
2.2 มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกตามเกณฑ์การพิจารณานักวิจัยดีเด่นและนักวิจัยจากชุมชนดีเด่นเพื่อรับมอบโล่รางวัลในงานจัดการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ “ราชภัฏวิจัย ครั้งที่ ๖ ราชภัฏ ราชภักดิ์ : สืบสานศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั้งยืน จำนวน 2 ท่าน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา เมฆวัน ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่น และ นายไพฑูรย์ แสวงมี ได้รับนักวิจัยดีเด่นจากชุมชน (6.1-4(6))
| |
✓ | 5 | มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ | มหาวิทยาลัย มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ในด้านการวิจัย ตั้งแต่การประชุมการพัฒนาระบบบริหารจัดการงานวิจัย เพื่อร่วมกันวิเคราะห์ ออกแบบกลไก การสนับสนุนต่อการบริหารจัดการวิจัย ที่แต่ละมหาวิทยาลัยสามารถนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงานวิจัยของแต่ละแห่ง หลังจากนั้นเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่งได้มีการสังเคราะห์ความรู้ และนำไปสู่การพัฒนาระบบศูนย์จัดการนวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์ โดยให้เชื่อมโยงกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยในด้านการประสานความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาท้องถิ่น และได้จัดเวทีประชุมความร่วมมือมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 38 แห่ง ซึ่งได้มีความเห็นร่วมกันให้นำประเด็นการวิจัยเรื่องการท่องเที่ยวเป็นประเด็นนำร่อง เป้าหมายเพื่อส่งเสริมการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ ซึ่งได้มีการจำแนกออกเป็นรายภูมิภาค โดยเน้นตามอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษได้ร่วมกับเครือข่ายวิจัยภูมิภาค จัดทำชุดโครงการวิจัยการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอัตลักษณ์อีสานใต้ “นครชัยบุรินทร์ศรีอุบล” (6.1-5(1))
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ประชุมเครือข่ายวิจัยภูมิภาค เพื่อรายงานผลความก้าวหน้างานวิจัย ในชุดโครงการวิจัยการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอัตลักษณ์อีสานใต้ “นครชัยบุรินทร์ศรีอุบล” และเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะสำคัญในการพัฒนางานวิจัยของมหาวิทยาลัยในแต่ละจังหวัด ซึ่งผลผลิตของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษจากโครงการวิจัยเรื่องนวัตกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์วัฒนธรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าปักแซว บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทอผ้า ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า ของที่ระลึก (6.1-5(2))
3. มหาวิทยาลัยมีกระบวนการวางแผนพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรภาคีอื่นๆ เพื่อกำหนดความต้องการและพัฒนาแผนงานที่ตอบสนองต่อปัญหาของชุมชนได้ตรงจุดและเป็นข้อมูลในการกำหนดกรอบประเด็นการวิจัย โดยกระบวนการวางแผนพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อนำไปสู่การพัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่ มีดังนี้
3.1 ศึกษาวิเคราะห์บริบทชุมชน
3.2 ระบุและวิเคราะห์ปัญหา (เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และปัญหาอื่นๆตามบริบทพื้นที่นั้นๆ
3.3 การพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วม โดยกลไกภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กร ภาคีที่เกี่ยวข้อง ในการพัฒนาฐานข้อมูล ระบบการบริหารจัดการโดยชุมชน
3.4 พัฒนากลไกและระบบบริหารจัดการชุมชน (ฐานข้อมูล รูปแบบการจัดการและระบบบริหารจัดการโดยชุมชน
3.5 พัฒนานวัตกรรมเพื่อการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น
3.6 การขับเคลื่อนโดยหน่วยงานในพื้นที่ตำบล/ภายนอกตำบล โดยหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และองค์กรภาคีเครือข่ายระดับตำบล
3.7 การพัฒนารายได้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของชุมชน (เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และอื่นๆ จากความร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และองค์กรภาคีเครือข่ายในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนางานวิจัยเชิงพื้นที่ โดยมีสรุปเป็นแผนผังเชื่อมโยง (6.1-5(3))
| |
✓ | 6 | มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด | 1. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีระบบกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาชุมชน โดยมีการดำเนินการตามระบบกลไกของมหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2562 มหาวิทยาลัยได้มีการตั้งเป้าหมายเพื่อนำผลงานวิจัยมาใช้ประโยชน์ต่อชุมชน ตามระบบกลไกที่กำหนดโดยมีผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์ หรือนวัตกรรมที่มีคุณภาพและมีประโยชน์สู่การนำไปใช้ของชุมชนสามารถนำไปแก้ไขปัญหาต่างๆ ของชุมชนและได้รับการรับรองการใช้ประโยชน์จากชุมชน (6.1-6(1)), (6.1-6(2)), (6.1-6(3)) , 2.1-6(4) ,(6.1-6(5))
มหาวิทยาลัยมีการนำผลการวิจัยและแบบตอบรับการใช้มาสังเคราะห์องค์ความรู้ก่อนการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่และเชิงนโยบาย (6.1-6(6)), (6.1-6(7)) 2. มหาวิทยาลัยได้จัดทำเป็นคู่มือวิจัยการบริหารงานวิจัย (6.1-6(8)) และมีแบบฟอร์มแบบตอบรับการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อสำหรับให้นักวิจัยดำเนินการส่งเอกสารตอบรับการนำไปใช้ประโยชน์พร้อมกับส่งเล่มวิจัยฉบับสมบูรณ์ (6.1-6(9)) 3. มหาวิทยาลัยมีการนำงานวิจัยมาใช้ประโยชน์โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง (6.1-6(10))
| |
✓ | 7 | มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้
1. ออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2553 (6.1-7(1)) เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนงานวิจัยต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
2. ออกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง แนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย (6.1-7(2)) เพื่อผลักดันให้มีการนำผลงานที่ได้จากการวิจัยในเชิงวิชาการออกใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นสร้างสรรค์ผลงานการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อันอาจนำไปเป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
3. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (6.1-7(3)) เพื่อทำหน้าที่ พิจารณา ให้ความเห็น กำกับติดตาม และดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ โดยอาจารย์หรือนักวิจัยที่ต้องการร้องขอการคุ้มครองสิทธิ์ในงานวิจัยสามารถดำเนินการตามขั้นตอนตามแผนภาพขั้นตอนการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดในกรณีที่ต้องการร้องขอความคุ้มครอง (6.1-7(4)) โดยมีขึ้นตอนในการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ ดังต่อไปนี้
3.1 เจ้าของผลงานวิจัยชิ้นที่ถูกละเมิดสิทธ์ดำเนินการยื่นคำร้องมาที่งานวิจัยและพัฒนา พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าตนเองเป็นเจ้าของผลงานที่ถูกละเมิดสิทธิ์ ตลอดจนหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการละเมิดสิทธ์ในงานวิจัยของตนเอง หรือเอกสารอื่น ๆ ประกอบเพื่อความชัดเจน
3.2 งานวิจัยและพัฒนาเป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของผลงาน ทำการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และตรวจสอบความสมบูรณ์ของเรื่องร้องเรียน (6.1-7(5))
3.3 ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธ์ของงานวิจัยที่ได้มีการร้องเรียน
3.4 นำเสนอแนวทางในการจัดการปัญหาด้านการละเมิดสิทธ์ และมติของที่ประชุมคณะกรรมการฯ ต่ออธิการบดีเพื่อสังการตามอำนาจของอธิการบดี
3.5 ในกรณีที่ต้องการฟ้องร้องหรือดำเนินการเอาผิดทางคดีความให้นิติกรของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเป็นผู้ดำเนินการ
4. มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย กองทุนวิจัย ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่เกิดจากการให้ทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย อาทิ ผลงาน ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากงานวิจัย ตามระเบียบนี้ ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย เว้นแต่มีข้อตกลงไว้เป็นอย่างอื่นแต่ผู้วิจัยมีสิทธิตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการได้ การตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยอันเป็นผลงานที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินกองทุนวิจัย และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (6.1-7(6)) โดยในปีการศึกษา 2563 ยังไม่พบว่ามีการร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิ์ต่องานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ และยังไม่มีการร้องขอการคุ้มครองสิทธิ์แต่อย่างใด
5. มีการแสวงหาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อช่วยสำหรับการคุ้มครองสิทธิ์ให้แก่ผลงานวิจัยที่ผลิตหรือสร้างสรรค์โดยอาจารย์หรือนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ คือ เมื่อวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2560 ได้ทำความร่วมมือทางวิชาการกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการตรวจสอบการลอกเลียนงานวรรณกรรม ระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย ศาตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ตำแหน่งอธิการบดี กับ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สหัสา พลนิล ตำแหน่งรักษาราชการแทนอธิการบดี ระยะเวลาของความร่วมมือมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ทำบันทึกข้อตกลงฉบับนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2565 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการลอกเลียนงานวรรณกรรมของบุคคลอื่น และอนุญาตให้มีสิทธิ์ใช้และเข้าถึงฐานข้อมูลต่าง ๆ เช่น วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ รายงานวิจัย ฯลฯ เป็นต้น (6.1-7(7))
| |