ตัวบ่งชี้ที่ 8.8 ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาระดับสำนัก

ปีที่ประเมิน 2563
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : กมลมาศ เอี้ยวถาวร , กนกกาญจน์ บุญทรง
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

    การประกันคุณภาพการศึกษาภายในเป็นภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๔๕ ซึ่งหน่วยงานต้องสร้างระบบและกลไกในการควบคุม ตรวจสอบ ประเมินและพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงานให้เป็นไปตามนโยบาย เป้าประสงค์ และระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด โดยมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต้นสังกัด ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการวัดผลสำเร็จของการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน รวมทั้งการรายงานผลการประกันคุณภาพต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเปิดเผยต่อสาธารณชน มีการประเมินและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมีนวัตกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดี
    การประกันคุณภาพการศึกษาภายในถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสร้างจิตสานึกให้เห็นว่าเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทุกคนในการพัฒนาคุณภาพของงานตามภารกิจ ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันแก่สาธารณชนให้มั่นใจได้ว่าหน่วยงานสามารถสร้างผลผลิตตามภารกิจที่มีคุณภาพ

 

นิยามศัพท์

    ระบบ หมายถึง ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่มีการกำหนดอย่างชัดเจนว่าต้องทำอะไรบ้างเพื่อให้ได้ผลออกมาตามที่ต้องการ ขั้นตอนการปฏิบัติงานจะต้องปรากฏให้ทราบโดยทั่วกันไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือโดยวิธีการ อื่นๆ องค์ประกอบของระบบ ประกอบด้วย ปัจจัยนาเข้า กระบวนการ ผลผลิตและข้อมูลป้อนกลับ ซึ่งมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน
    กลไก หมายถึง สิ่งที่ทำให้ระบบมีการขับเคลื่อนหรือดำเนินอยู่ได้ โดยมีการจัดสรรทรัพยากร มีการจัดองค์กร หน่วยงาน หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดำเนินงาน
    รายงานการประเมินคุณภาพ หมายถึง รายงานการประเมินตนเอง (SAR) ที่รวมผลการประเมินคุณภาพภายในระดับหน่วยงาน จากกรรมการประเมินฯ เรียบร้อยแล้วไว้ด้วย
    แนวปฏิบัติที่ดี หมายถึง วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้องค์การประสบความสาเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 หรือ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 หรือ 6 ข้อ มีการดำเนินการ 7 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจและพัฒนาการของหน่วยงาน ตั้งแต่ระดับหน่วยงานย่อย และดำเนินการตามระบบที่กำหนด
2 มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน
3 มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย ๑) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ ๒) การจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน ก่อนจัดส่งมหาวิทยาลัยตามกำหนดเวลา และ ๓) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน
4 มีการนำผลการประกันคุณภาพภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้
5 มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพภายในครบทั้ง ๖ องค์ประกอบคุณภาพ
6 มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพ โดยเฉพาะผู้ใช้ บริการตามภารกิจของหน่วยงาน
7 มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพระหว่างหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย และมีกิจกรรมร่วมกัน
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจและพัฒนาการของหน่วยงาน ตั้งแต่ระดับหน่วยงานย่อย และดำเนินการตามระบบที่กำหนด

       สำนักงานอธิการบดีมีระบบและกลไกด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน และมีการดำเนินงานตามระบบดังนี้ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน (๘.๑-๑(๑)) และได้กำหนดปฏิทินการปฏิบัติงานและดำเนินงานตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด (๘.๑-๑(๒)) จัดทำคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายในสำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา (๘.๑-๑(๓)) โดยผ่านที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๔/๒๕๖๓ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๕.๒ แนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับสำนักงานอธิการบดีประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๘.๑-๑(๔))

          โดยได้จัดทำรายงานการประเมินตนเองเพื่อแสดงถึงผลการดำเนินงานในรอบปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๘.๑-๑(๕)) เพื่อรับการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๕/๒๕๖๔ วันศุกร์ที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๕๖๔ วาระที่ ๕.๑ พิจารณาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ (๘.๑-๑(๖)) และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน สำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๘.๑-๑(๗)) โดยผ่านที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงาอธิการบดี ครั้งที่ ๕/๒๕๖๓ วันพุธที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๔.๒ คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน กำกับ ติดตามและจัดเก็บข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษา ระดับสำนัก สำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๘.๑-๑(๘))

2มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน

สำนักงานอธิการบดีมีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน โดยคณะกรรมการระดับนโยบายและผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน ซึ่งผู้บริหารสูงสุดของสำนักงานอธิการบดีได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ได้แต่งตั้งให้ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี รองผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี  ผู้อำนวยการกองทุกกองควบคุมดูแลการดำเนินงานให้เป็นไปตามข้อกำหนดของแต่ละตัวบ่งชี้ในการประกันคุณภาพ และแต่งตั้งให้ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี รองผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี  ผู้อำนวยการกองทุกกองเป็นผู้กำกับข้อมูลในแต่ละตัวบ่งชี้และมีการมอบหมายหน้าที่อย่างชัดเจน และได้ร่วมกันพิจารณานโยบาย โดยได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านประกันคุณภาพ (๘.๑-๒(๑))

3มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย ๑) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ ๒) การจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน ก่อนจัดส่งมหาวิทยาลัยตามกำหนดเวลา และ ๓) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน

สำนักงานอธิการบดีมีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพภายในที่ครบถ้วน ประกอบด้วย ๑) การควบคุม ติดตามการดำเนินงาน และประเมินคุณภาพ ๒) การจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพ โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๔/๒๕๖๓ วันพฤหัสบดีที่๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๕.๒ แนวทางการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ปี ๒๕๖๓ (๘.๑-๓(๑)) และ ๓) การนำผลการประเมินคุณภาพไปทำแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของหน่วยงาน โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมประจำสำนักโดยได้ดำเนินการตามวงจร PDCA ซึ่งเริ่มจากวางแผนการดำเนินงาน โดยจัดทำเป็นคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๘.๑-๓(๒)) จากนั้นได้ดำเนินการมอบหมายให้บุคลากรในสำนักดำเนินการจัดเก็บหลักฐาน (๘.๑-๓(๓)) และจัดทำเป็นรายงานผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ (๘.๑-๓(๔)) นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๓/๒๕๖๔ วันจันทร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ วาระที่ ๓.๑ การกำกับ ติดตาม การดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา สำนักงานอธิการบดี ปีการศึกษา ๒๕๖๓  (๘.๑-๓(๕))

4มีการนำผลการประกันคุณภาพภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้

สำนักงานอธิการบดีได้มีการนำผลการประกันคุณภาพภายในมาปรับปรุงการทำงาน และส่งผลให้มีการพัฒนาผลการดำเนินงานตามตัวบ่งชี้ของแผนกลยุทธ์ทุกตัวบ่งชี้  โดยได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๔/๒๕๖๓ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๓ วาระที่ ๕.๑ พิจารณาผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสำนัก ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒ (๘.๑-๔(๑)) และได้นำผลประกันคุณภาพการศึกษาภายในมาพัฒนากระบวนการทำงานในแผนปฏิบัติการประจำปีเพื่อปรับปรุงกลยุทธ์การดำเนินงานและตัวบ่งชี้ภายในแผน (๘.๑-๔(๒))

5มีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพภายในครบทั้ง ๖ องค์ประกอบคุณภาพ

สำนักงานอธิการบดีมีระบบสารสนเทศที่ให้ข้อมูลสนับสนุนการประกันคุณภาพโดยได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศต่างๆ ขึ้นมาเพื่อรองรับและอำนวยการความสะดวกด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประกอบด้วย    - ระบบฐานข้อมูลบุคลากรจัดเก็บ รวบรวม นำเสนอข้อมูลพื้นฐานด้านบุคลากร (๘.๑-๕(๑))   - ระบบรายงานการประเมินตนเองออนไลน์  (Esar Online) จัดเก็บรวบรวมหลักฐาน การดำเนินงาน และนำเสนอข้อมูลการประเมินตนเองในระดับสำนัก (๘.๑-๕(๒))

6มีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการประกันคุณภาพ โดยเฉพาะผู้ใช้ บริการตามภารกิจของหน่วยงาน

สำนักงานอธิการบดี ได้จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการประกันคุณภาพ โดยเฉพาะผู้ใช้ บริการตามภารกิจของหน่วยงานสำนักงานอธิการบดี
เป็นหน่วยงานสนับสนุนบริการวิชาการมีพันธกิจหลัก คือ  ให้บริการแก่บุคลากรทั้งภายในและภายนอก และนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมที่พัฒนาศักยภาพของบุคลากรและนักศึกษา  พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ มีทักษะในการปฏิบัติงาน มีจิตสำนึกด้านการบริการ ปรับปรุงอาคารและภูมิทัศน์ให้สวยงาน รวมถึงสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาสังคมร่วมกับชุมชน 
   สำนักงานอธิการดี จึงได้มีการจัดทำแบบประเมินความพึงพอใจในการให้บริการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาใช้บริการสำนักงานอธิการบดี ได้แก่ บุคลากร นักศึกษา บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย ที่ได้มาติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภายในสำนักงานอธิการบดี ประกอบด้วย ฝ่ายธุรการและสารบรรณ ว่ามีผลความพึงพอใจอย่างไร รวมถึงข้อเสนอแนะในการให้บริการ (๘.๑-๖(๑)) จากนั้นจึงได้นำผลประเมินความพึงพอใจและข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานมานำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ๔/๒๕๖๔ วันจันทร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ วาระที่ ๕.๙ รายงานการประเมินความพึงพอใจในการใช้บริการ สำนักงานอธิการบดี ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๓ เพื่อให้ข้อเสนอแนะต่อไป (๘.๑-๖(๒))

7มีเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพระหว่างหน่วยงาน/มหาวิทยาลัย และมีกิจกรรมร่วมกัน

สำนักงานอธิการบดีได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเครือข่าย จึงได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการประกันคุณภาพระหว่างหน่วยงาน (๘.๑-๗(๑)) และทุกคณะสำนัก จัดกิจกรรมร่วมกันระหว่าง คณะสำนัก เรื่อง การควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง (๘.๑-๗(๒)) เพื่อให้ทุกหน่วยงานได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขับเคลื่อนงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพันธกิจด้านการบริหารความเสี่ยง เพื่อให้ทุกหน่วยงานสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และความเสี่ยงลดลงอย่างน้อย ๑ เรื่อง

ผลคะแนนการประเมินตนเอง
ทำได้ (ข้อ) ได้คะแนน
7 5
7 5