✓ | 1 | กำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน | มหาวิทยาลัยมีการกำหนดนโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยเพื่อการพัฒนาต่อยอดและสร้างคุณค่า ตามจุดเน้นของสถาบัน ดังนี้
1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตามพันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน ปีการศึกษา 2562 (4.1-1(1)) โดยมีอธิการบดี และคณะผู้บริหาร เป็นคณะกรรมการอำนวยการ และมีอาจารย์และบุคลากรที่มาจากทุกคณะ สำนัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่ กำกับ ติดตาม พันธกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และจัดเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องและเป็นไปตามตัวบ่งชี้และเกณฑ์มาตรฐานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ปีการศึกษา 2562 และจัดทำรายงานการประเมินตนเองในระดับสถาบัน สำหรับองค์ประกอบที่ 4 ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 และตัวบ่งชี้ที่ 4.2
2. มีการจัดทำประกาศ เรื่อง นโยบายและทิศทางการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (4.1-1(2)) เพื่อมุ่งให้อาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเห็นคุณค่าและมีทัศนคติที่ดีในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย นำศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยมาสร้างสรรค์และเพิ่มมูลค่าให้เกิดนวัตกรรมที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์
| |
✓ | 2 | จัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน | มหาวิทยาลัยมีการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน ดังนี้
1. มีการจัดทำแผนด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ระยะ 1 ปี (4.1-2(1)) และกำหนดตัวบ่งชี้วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผน (4.1-2(2))
2. มีการกำหนดกิจกรรม โครงการ ระยะเวลา สถานที่ ผู้รับผิดชอบอย่างชัดเจน และมีการจัดสรรงบประมาณตามแผนฯ ที่พอเพียงและเหมาะสมเพื่อให้สามารถดำเนินงานตามแผนฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในปีงบประมาณ 2563 มหาวิทยาลัยได้จัดสรรงบประมาณตามแผนฯ จำนวนทั้งสิ้น 727,000 บาท (4.1-2(3))
| |
✓ | 3 | มีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม | มหาวิทยาลัยมีการบูรณาการงานด้านศิลปวัฒนธรรม กับการเรียนการสอน หรือการวิจัย หรือการบริการวิชาการ ซึ่งนำไปสู่การสืบสานการสร้างความรู้ ความเข้าใจในศิลปวัฒนธรรม การปรับและประยุกต์ใช้ศิลปวัฒนธรรม จำนวน 2 เรื่อง ดังนี้
เรื่อง
|
การบูรณาการ
|
หน่วยงาน
|
“ค่ายศิลป์รักษ์ป่า (Nature Hug Art Camp)” (4.1-3(1))
|
บูรณาการกับการเรียนการสอน
|
งานศิลปะและวัฒนธรรม
|
การปั้นเครื่องปั้นดินเผา (4.1-3(2))
|
บูรณาการกับการเรียนการสอน
|
คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์
|
| |
✓ | 4 | กำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน | มหาวิทยาลัยมีการกำกับติดตามให้มีการดำเนินงาน และประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ของแผน ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และรายงานต่อผู้บริหารสถาบัน ดังนี้
1. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 24 กุมพาพันธ์ 2563 (4.1-4(1)) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผนดังนี้
1.1 รายงานผลการดำเนินงานโครงการงานศิลปะและวัฒนธรรมและคณะ
1.2 พิจารณาวัตถุประสงค์ของแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยยึดแนวทางการดำเนินงานจากแผนกลยุทธ์ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
2. มีการจัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามพันธกิจด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 (4.1-4(2)) เพื่อกำกับติดตามการดำเนินงานตามแผน ดังนี้
2.1 รายงานการดำเนินโครงการ ประจำปีงบประมาณ 2563 (มีนาคม-ปัจจุบัน) และรายงานผลการดำเนินโครงการของแต่ละคณะ
2.2 พิจารณาประเมินความสำเร็จตามตัวบ่งชี้ ที่วัดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของแผนด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ดังนี้
โครงการ |
ตัวชี้วัด |
ค่าเป้าหมาย |
ผลการดำเนินงาน |
หน่วยนับ |
การบรรลุเป้าหมาย |
1. บริหารจัดการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
|
ร้อยละการเบิกจ่าย
|
4
|
|
ครั้ง
|
บรรลุ
|
2. อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีและวันสำคัญของชาติ ศาสน์ กษัตริย์
|
ความพึงพอใจ
|
3.51 |
|
คะแนน
|
บรรลุ
|
3. การบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนในมิติศิลปะและวัฒนธรรม
|
ความพึงพอใจ
|
3.51 |
|
คะแนน
|
บรรลุ
|
4. ส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาและสร้างสำนึกรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น
|
เครือข่าย
|
2 |
|
เครือข่าย
|
บรรลุ
|
5. สร้างความสัมพันธ์ในมิติวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน
|
ความพึงพอใจ/เครือข่าย
|
3.51 / 1 |
|
คะแนน/เครือข่าย
|
บรรลุ |
| |
✓ | 5 | นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนหรือกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย | มหาวิทยาลัยได้นำผลการประเมินตามตัวบ่งชี้ของแผนและข้อเสนอแนะจากการจัดกิจกรรมเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ระดับสถาบัน 2562 ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 (4.1-5(1)) เพื่อพิจารณาและกำหนดแนวทางการปรับปรุง ในปีงบประมาณ 2564 ดังนี้
โครงการ
|
แนวทางการปรับปรุง
|
ระยะเวลา
|
ผู้รับผิดชอบ
|
1. บริหารจัดการงานด้านทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
|
ให้จัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับการดำเนินงานตลอดทั้งปี
|
ปีงบประมาณ 2564
|
งานศิลปะและวัฒนธรรม
|
2. อนุรักษ์สืบสานวัฒนธรรมประเพณีและวันสำคัญของชาติ ศาสน์ กษัตริย์
|
ให้มีการกำหนดกิจกรรมให้ชัดเจน
|
ปีงบประมาณ 2564
|
งานศิลปะและวัฒนธรรมและคณะ
|
3. การบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนในมิติศิลปะและวัฒนธรรม
|
มีการบูรณาการการเรียนการสอนให้หลากหลายกับรายวิชามากยิ่งขึ้น
|
ปีงบประมาณ 2564
|
งานศิลปะและวัฒนธรรมร่วมกับรายวิชาเรียน
|
4. ส่งเสริมการจัดการแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาและสร้างสำนึกรักและภาคภูมิใจในท้องถิ่น
|
ให้มีการสร้าวเครือข่ายเพื่อเพิ่มแหล่งเรียนรู้ให้มีหลากหลายมากยิ่งขึ้น
|
ปีงบประมาณ 2564
|
งานศิลปะและวัฒนธรรม
|
5. สร้างความสัมพันธ์ในมิติวัฒนธรรมกับประเทศเพื่อนบ้าน
|
ควรมีการสร้างความร่วมมือให้หลากหลายทั้งภายในจังหวัดและภายนอกจังหวัด
|
ปีงบประมาณ 2564
|
งานศิลปะและวัฒนธรรม
|
| |
✓ | 6 | เผยแพร่กิจกรรมหรือการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชน | มหาวิทยาลัยมีการเผยแพร่กิจกรรม และการบริการด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยต่อสาธารณชนหลากหลายช่องทาง ดังนี้
1. มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ อาทิ Fanpage กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม , Facebook กลุ่มงานศิลปะและวัฒนธรรม , และเว็บไซต์มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (4.1-6(1) , 4.1-6(2) , 4.1-6(3))
2. มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยในวารสารสัมพันธ์ขาวทองของมหาวิทยาลัย (4.1-6(4)) และมีการแจกจ่ายไปยังหน่วยงานต่างๆ จำนวน 278 หน่วยงาน
3. มีการเผยแพร่กิจกรรม ข่าวสารด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ในรายงานประจำปี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (4.1-6(5)) ตามยุทธศาสตร์ที่ 5 การอนุรักษ์ ส่งเสริม และฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
| |
✓ | 7 | มีผลงานการสร้างแหล่งเรียนรู้หรือชุมชนต้นแบบ หรือองค์ความรู้หรือนวัตกรรม ด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยให้สอดรับกับสังคมสมัยใหม่ | มหาวิทยาลัย มีการดำเนินพัฒนาแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมชาติพันธุ์ 4 เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) เป็นการพัฒนาชุมชนให้มีศักยภาพในการสืบทอดมรดกภูมิปัญญา โดยการมีส่วนร่วมและมีความพร้อมในการยกระดับการทำงานให้เป็นแหล่งการเรียนรู้ชุมชนต้นแบบ ในการเป็นแบบอย่างการปฏิบัติที่ดีแก่ชุมชนอื่น และสร้างจิตสำนึกในการดำเนินชีวิตตามศาสตร์พระราชา ซึ่งแบ่งชุมชน ออกเป็น 4 ชุมชุน ได้แก่
1.1 หมู่บ้านชาติพันธุ์เยอ บ้านปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
1.2 หมู่บ้านชาติพันธุ์ลาว บ้านละทาย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ
1.3 หมู่บ้านชาติพันธุ์เขมร บ้านสำโรงเกียรติ อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
1.4 หมู่บ้านชาติพันธุ์ส่วย บ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
| |
✓ | 8 | กำหนดหรือสร้างมาตรฐานด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทยซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ | มหาวิทยาลัยได้จัดงานเทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ประจำปี 2563 โดยนำเสนอเรื่องราววัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต ผ่านการแสดง ซึ่งมหาวิทยาลัยฯ มีส่วนร่วมในการศึกษา ค้นคว้า วิจัย รวบรวม ร้อยเรียงประวัติความเป็นมาของจังหวัดศรีสะเกษ และถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของการแสดงศิลปวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปะ ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมของจังหวัดศรีสะเกษ ชนสี่เผ่า (ลาว เขมร ส่วย เยอ) และส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งถือเป็นการแสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความเป็นมาของชาวศรีสะเกษ ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในระดับชาติ
| |