✓ | 1 | มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ | มหาวิทยาลัยฯ มีการนำระบบสารสนเทศมาใช้ประโยชน์เพื่อการบริหารงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ ดังนี้
1. มีระบบข้อมูลสารสนเทศวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (National Research and Innovation Information System: NRIIS) (6.1 - 1(1))
เพื่อบริหารจัดการงานวิจัยจากแล่งทุนภายนอก โดยใช้ระบบ NRIIS ปรับปรุงจากโครงสร้างการทำงานของระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research Management System : NRMS) และพัฒนาฟังก์ชันการบริหารจัดการแผนงานตามฟังก์ชันของระบบบริหารงานวิจัยอัจฉริยะ (Thailand Intelligent Research Administration system : TIRAs) ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้ ดังนี้
1.1 นักวิจัย สามารถเสนอขอรับทุนวิจัยจากแหล่งต่าง ๆ โดยใช้แบบฟอร์มเดียว ยื่นข้อเสนอที่เดียวและสามารถนำออกข้อมูลจากฐานข้อมูลนักวิจัยมาใส่ในแบบฟอร์มได้ รวมทั้งติดตามสถานะของโครงการวิจัยได้
1.2 ผู้บริหารงานวิจัย สามารถติดตามและรวบรวมข้อมูลนักวิจัย โครงการวิจัยที่เสนอขอรับทุน หรือโครงการวิจัยที่ผ่านการพิจารณาให้การสนับสนุนได้อย่างรวดเร็ว
1.3 หน่วยงานกลางด้านการวิจัยของประเทศจะมีข้อมูลภาพรวมงบประมาณและงานวิจัยของประเทศ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการและพัฒนาการวิจัยของประเทศต่อไป
2. มีระบบสารสนเทศบริหารจัดการงานวิจัยของหน่วยงาน (DRMS) (6.1 - 1(2))
เพื่อบริหารจัดการงานวิจัยจากแล่งทุนภายใน ระบบ DRMS เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับการบริหารจัดการงานวิจัยและงบประมาณวิจัยทุนเงินรายได้ของหน่วยงาน โดยพัฒนาระบบตามกระบวนการทำงานของระบบบริหารจัดการงานวิจัยแห่งชาติ (National Research and Innovation Information System : NRIIS) ทั้งนี้ระบบ DRMS สามารถบริหารจัดการข้อมูลได้ ดังนี้
2.1 ระบบประเมินข้อเสนอการวิจัย (Proposal assessment)
2.1.1 รายการข้อเสนอการวิจัย
1) ค้นหาข้อเสนอการวิจัย
2) สร้างข้อเสนอการวิจัย
2.1.2 ตรวจสอบข้อเสนอการวิจัย
2.1.3 ประเมินข้อเสนอการวิจัย
2.1.4 ประกาศผลการพิจารณา
2.2 ระบบดำเนินการและติดตามงานวิจัย (Ongoing & monitoring)
2.2.1 แก้ไขข้อเสนอโครงการวิจัย
2.2.2 การกำหนดงวดงานโรงการวิจัย
2.2.3 การรายงานความก้าวหน้างานวิจัย
2.3 ระบบประเมินผลงานวิจัย (Research evaluation)
โดยใช้ระบบฐานข้อมูลนักวิจัยร่วมกับระบบ NRIIS ดังนั้น นักวิจัยที่จะใช้ระบบ DRMS จะต้องสมัครเป็นนักวิจัยในระบบ NRIIS สำหรับนักวิจัย และผู้ประสานหน่วยงานที่มีบัญชีในระบบ NRIIS สามารถใช้บัญชีเดียวกันในการเข้าระบบ DRMS
3. ระบบสารสนเทศงานวิจัย ที่สถาบันวิจัยและพัฒนาได้พัฒนาขึ้น (6.1 - 1(3))
เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลงานวิจัยทั้งแหล่งทุนภายนอก และภายในมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ของข้อมูลงานวิจัย โดยผู้รับผิดชอบจะมี USER และ PASSWORD ในการบริหารจัดการข้อมูลได้ ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถบริหารจัดการข้อมูลได้ ดังนี้
3.1 บันทึกและแก้ไขข้อมูลโครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยลงในฐานข้อมูล
3.2 สืบค้นข้อมูลงานวิจัยจากฐานข้อมูลงานวิจัยย้อนหลัง
3.3 ประมวลผลข้อมูลในฐานข้อมูลงานวิจัยเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการบริหารเพื่อสนับสนุน ส่งเสริมการวิจัย ได้แก่
1) แนวโน้มของงบประมาณที่ได้รับจัดสรรระดับสถาบัน หรือระดับคณะ สำนัก
2) ติดตามสถานะงานวิจัยของนักวิจัย
3) ผู้บริหารสามารถเข้าไปดูข้อมูลงานวิจัยย้อนหลังของนักวิจัยรายบุคคล เพื่อประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการด้านต่างๆได้
| |
✓ | 2 | สนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์อย่างน้อยในประเด็นต่อไปนี้ - ห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือหน่วยวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือศูนย์เครื่องมือหรือศูนย์ให้คำปรึกษาและสนับสนุนการวิจัย - ห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ - สิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย - กิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ การจัดแสดงงานสร้างสรรค์ การจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ (Visiting Professor) | มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการสนับสนุนพันธกิจด้านการวิจัย ในประเด็นต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. มีห้องปฏิบัติการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ มีการจัดสรรพื้นที่และอุปกรณ์เพื่อให้เป็นห้องปฏิบัติการ หรือห้องปฏิบัติงานสร้างสรรค์ เพื่อสนับสนุนงานวิจัยของอาจารย์ และนักศึกษา โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1.1 ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา เคมี และฟิสิกส์ (6.1-2(1)) ห้องปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์ (6.1-2(2)) และห้องปฏิบัติการงานด้านอุตสาหกรรม (6.1-2(3))
1.2 ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ ได้แก่ ห้องปฏิบัติการสาธารณสุขชุมชน (6.1-2(4)) และห้องอาคารห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์การกีฬา (6.1-2(5))
2. มีห้องสมุดหรือแหล่งค้นคว้าข้อมูลสนับสนุนการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
มีห้องสมุดที่มีศักยภาพและสามารถตอบสนองต่อความต้องการในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการพัฒนางานวิจัยแก่บุคคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (6.1-2(6)) ซึ่งมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์สำหรับนักวิจัยที่เข้ามาลงระบบข้อมูล หรือศึกษาค้นคว้าข้อมูล (6.1-2(7)) และมีศูนย์วิจัยเด็กและเยาวชน เพื่อปรึกษาหารือด้านงานวิจัย และสำหรับค้นคว้าเอกสารต่างๆ (6.1-2(8))
3. มีการจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกหรือการรักษาความปลอดภัยในการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศระบบรักษาความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะกษมีการจัดเตรียมระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาวิจัย ได้แก่
3.1 ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยอิเล็กทรอนิกส์ (6.1-2(9))
3.2 ตลอดจนมีการจัดการเรื่องการรักษาความปลอดภัยในการวิจัย เพื่อให้นักวิจัยเกิดความสะดวกในการทำงาน และเกิดความปลอดภัยในการใช้ห้องปฏิบัติการเพื่อการวิจัยโดยได้มีการวางแนวปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน และจัดทำเป็นคู่มือเพื่อเผยแพร่ให้แก่บุคคลกรภายในได้รับทราบอย่างทั่วถึง ได้แก่
- คู่มือความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (6.1-2(10))
- แนวทางการใช้ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (6.1-2(11))
- แนวทางการใช้ห้องปฏิบัติการและอาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีบัณฑิต (6.1-2(12))
- คู่มือการใช้ห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีสารสนเทศ (6.1-2(13))
- ระเบียบและแนวปฏิบัติการขอใช้บริการห้องปฏิบัติการทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (6.1-2(14))
- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา (6.1-2(15))
4. มีการจัดกิจกรรมวิชาการที่ส่งเสริมงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ เช่น การจัดประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีการจัดโครงการต่างๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมงานวิจัย และมีการสนับสนุนการจัดประชุมวิชาการ โดยการจัดให้มีศาสตราจารย์รับเชิญ
4.1 มีการจัดโครงการอบรมการเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก (6.1-2(16)) โดยศาสตราจารย์ ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง วันที่ 7 ตุลาคม 2563 ห้องประชุมถนอม อินทรกำเนิด โรงแรมศรีพฤทธาลัยราชภัฏสัมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
4.2 มีการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “Back To Basic : ถอยหลังเพื่อก้าวหน้ากับการวางรากฐานการวิจัยพื้นฐาน (6.1-2(17)) โดยศาสตราจารย์ ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง ” ในวันที่ 14-15 ธันวาคม 2563 ณ ห้องประชุมถนอม อินทรกำเนิด โรงแรมศรีพฤทธาลัยราชภัฏสัมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
4.3 มีการจัดโครงการอบรมเทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติระดับนานาชาติ (6.1-2(18)) ในวันที่ 10-11 มีนาคม 2564 โดย รศ.ดร.สัญญา เคณาภูมิ
4.4 มีการจัดโครงการอบรมจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์สำหรับคณะกรรมการและนักวิจัย (6.1-2(19))
| |
✓ | 3 | จัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย หรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ หรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ |
มหาวิทยาลัย มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นทุนวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ และสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการ และการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติ ดังนี้
1. มีการจัดสรรงบประมาณของสถาบันเพื่อเป็นทุนสนับสนุนการวิจัย
ในปีงบประมาณ 2564 มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการวิจัยในระดับคณะ และ สถาบัน รวมเป็นเงินสนับสนุนจำนวน 2,000,000 บาท ตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (6.1 - 3(1))
2. มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัย
ในการประชุมทางวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ โดยมีแนวทางในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนใน 2 ระดับดังต่อไปนี้
2.1 การส่งเสริมในระดับสถาบัน
มีการก่อตั้งกองทุนวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย กองทุนวิจัย พ.ศ. 2561 โดยรูปแบบของคณะกรรมการฯ (6.1-3(2)) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยให้แพร่หลายทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ รวมทั้งส่งเสริมสนับสนุนให้ความช่วยเหลือในการขอรับสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ ที่เกิดจากงานวิจัยของบุคลากร (6.1 - 3(3)) มีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุน เพื่อจัดทำการประชาสัมพันธ์ขอรับค่าตอบแทนการนำเสนอผลงาน และการตีพิมพ์วารสาร ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 10 มกราคม 2564 (6.1 - 3(4)) มีการประชาสัมพันธ์เพื่อขอรับค่าตอบแทน และส่งผลงานวิจัยเข้าประกวด โดยจัดทำบันทึกประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย ลงเว๊ปไซต์กลุ่มงานวิจัยและพัฒนา (6.1 - 3(5)) มหาวิทยาลัยได้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัย ครั้งที่ 2/2564 เพื่อพิจารณารายชื่อนักวจัยเพื่อจ่ายค่าตอบแทนในการตีพิมพ์ และพิจารณาเรื่องนักวิจัยดีเด่นของมหาวิทยาลัย (6.1 - 3(6)) หลังจากคณะกรรมการได้มีการประชุมพิจารณาเพื่อจ่ายค่าตอบแทนให้กับนักวิจัยในการนำเสนอผลงาน และการตีพิมพ์ผลงาน และพิจารณารายชื่อนักวิจัยดีเด่น ซึ่งทางกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาได้ประกาศรายชื่อลงสื่อประชาสัมพันธ์ของกลุ่มงานวิจัยและพัฒนา (6.1 - 3(7)) และ ประกาศรายชื่อนักวิจัยดีเด่น ลงสื่อประชาสัมพันธ์ของสถาบันวิจัยและพัฒฯ
2.2 การส่งเสริมในระดับคณะ
คณะแต่ละคณะ มีจัดทำแผนปฏิบัติการจากเงินรายได้วิจัย ประจำปีงบประมาณ 2564 (6.1-3(9)) โดยมาจัดสรรงบประมาณเพื่อการสนับสนุนบุคคลากรในการเผยแพร่ผลงานวิจัย การประชุมทางวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือนานาชาติ โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้สำหรับการดำเนินการสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในการประชุมวิชาการหรือการตีพิมพ์ในวารสาร
|
| |
✓ | 4 | มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น |
มหาวิทยาลัย มีการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย มีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น ดังนี้
1. มหาวิทยาลัยมีการจัดกิจกรรมโครงการเพื่อพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย จำนวน 4 โครงการ ดังนี้
1.1 มีการจัดโครงการอบรม การเขียนโครงการวิจัยเพื่อขอทุนภายนอก (6.1-4(1)) โดยศาสตราจารย์ ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2563 ห้องประชุมถนอม อินทรกำเนิด โรงแรมศรีพฤทธาลัยราชภัฏสัมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
1.2 มีการจัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ Back To Basic : ถอยหลังเพื่อก้าวหน้ากับการวางรากฐานการวิจัยพื้นฐาน (6.1-4(2)) โดยศาสตราจารย์ ดร.เทิดชาย ช่วยบำรุง เมื่อวันที่ 14 - 15 ธันวาคม 2563 ณ ห้องประชุมถนอม อินทรกำเนิด โรงแรมศรีพฤทธาลัยราชภัฏสัมนาคาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
1.3 มีการจัดโครงการอบรมเทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับชาติระดับนานาชาติ (6.1-4(3)) เมื่อวันที่ 10-11 มีนาคม 2564 โดย รศ.ดร.สัญญา เคณาภูมิ
1.4 มีการจัดโครงการเสวนา“โครงการพัฒนาโครงการวิจัยเพื่อขอรับทุนจากหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) (6.1-4(4)) เมื่อวันที่ 5พฤษภาคม 2564 โดย ประธานหอการค้าจังหวัดศรีสะเกษ และ กรรมการผู้จัดการบริษัทประชารัฐรักสามัคคีศรีสะเกษ
1.5 มีการจัดตั้งกองทุนวิจัย และจัดทำระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย กองทุนวิจัย พ.ศ. 2560 เพื่อสนับสนุนและพัฒนาสมรรถนะอาจารย์และนักวิจัย ดังนี้
2.1 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการวิจัยของบุคลากรในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมากขึ้นอย่างมีระบบและมีคุณภาพ
2.2 เพื่อพัฒนาการวิจัยของบุคลากรให้ได้มาตรฐานและเกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่นและประเทศชาติ
2.3 เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยให้แพร่หลายทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ
2.4 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนและให้ความช่วยเหลือในการขอรับสิทธิบัตรและทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากงานวิจัยของบุคลากร
2.5 สนับสนุนการดำเนินงานด้านการวิจัยของมหาวิทยาลัยให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามมาตรา 7 และภาระหน้าที่ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
2. มหาวิทยาลัยมีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องอาจารย์และนักวิจัยที่มีผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ดีเด่น
มีการจัดทำประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์การยกย่องเชิดชูเกียรติ นักวิจัยดีเด่น เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้นักวิจัยที่มีผลงานดีเด่น โดยมีรับรางวัล เป็นจำนวนเงิน 5,000 บาท พร้อมประกาศเกียรติคุณ (ใบเกียรติบัตร) และมีพิธีมอบเกียรติบัตรในการประชุมสามัญประจำภาคเรียน นอกเหนือจากนั้นยังมีการประชาสัมพันธ์การส่งผลงานเข้าประกวด ไปยังหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย โดยมีรางวัลประเภทต่างๆ ทั้งหมด 4 ประเภท ประเภทละ 1 รางวัล รางวัลละ 5,000 บาท ประกอบด้วย รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก 1 รางวัล , รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติ หรือนานาชาติ 1 รางวัล , รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการอ้างอิงผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ 1 รางวัล , รางวัลนักวิจัยดีเด่นด้านการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร 1 รางวัล
ส่งผลให้ในปีการศึกษา 2563 มีนักวิจัยที่มีผลงานดีเด่น จำนวน 4 คน (6.1-4(5)) ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนวิจัย ครั้งที่ 2/2564 ลงวันที่ 24 มิถุนายน 2564 พิจารณาให้ความเห็นชอบ และมหาวิทยาลัยมีการสร้างขวัญและกำลังใจตลอดจนยกย่องเชิดชูดเกียรติตามระบบกลไกที่กำหนด มีรายชื่อ ดังนี้
1. นักวิจัยดีเด่นด้านการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายนอก : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยฉัตร ทองแพง (6.1-4(6))
2. นักวิจัยดีเด่นด้านการตีพิมพ์เผยแพร่ระดับชาติหรือนานาชาติ : อาจารย์ ดร.อนุวัฒน์ ศรีสุวรรณ์
3. นักวิจัยดีเด่นด้านการอ้างอิงผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ : ไม่มีผู้ผ่านการพิจารณา
4. นักวิจัยดีเด่นด้านการจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร : ไม่มีผู้ส่งผลงาน
|
| |
✓ | 5 | มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ |
มหาวิทยาลัย มีการดำเนินงานกับเครือข่ายความร่วมมือด้านวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมระหว่างสถาบันอุดมศึกษา องค์กรภาครัฐหรือเอกชน ทั้งในประเทศหรือต่างประเทศ ดังนี้
1. เครือข่ายงานวิจัยท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
มีการดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายด้านงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 โดยแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ดังนี้ (6.1-5(1))
1.1 ระดับสถาบัน (6.1-5 (2)) มหาวิทยาลัย ได้จัดทำแนวทางการพัฒนาระบบบริหารศูนย์จัดการนวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนของเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีขั้นตอนการดำเนินงาน 5 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ประชุมร่วมกับจังหวัด รับฟังนโยบาย พื้นที่เป้าหมายจังหวัด
1) คณะกรรมการดำเนินงานประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคท้องถิ่น ภาคประชาสังคม และองค์กรชุมชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังนโยบายและแลกเปลี่ยนความความคิดเห็นต่อการสถานการณ์การท่องเที่ยว ประเด็นปัญหา/ประเด็นขับเคลื่อนด้านการท่องเที่ยว และพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานของจังหวัดศรีสะเกษ
2) เชื่อมโยงข้อมูลนโยบาย ความคิดเห็นของทุกกลุ่ม สู่กรอบประเด็นการวิจัยและการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยว
3) สรุปกรอบประเด็นปัญหา/ประเด็นขับเคลื่อนการวิจัยด้านการท่องเที่ยว
ขั้นตอนที่ 2 ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย
1) แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
2) ประชุมปฏิบัติการกำหนดแผน โครงการ และตัวชี้วัด
3) กระบวนการเสริมหนุน
4) กระบวนการติดตามประเมินผล
4.1) ประสานทีมวิจัย ทีมสนับสนุนโครงการเข้าร่วมประชุมวางแผนการติดตามสนับสนุน
4.2) จัดทำแผนการดำเนินงานติดตามตรวจเยี่ยมและเตรียมเครื่องมือเพื่อรวบรวมข้อมูลในระหว่างการติดตาม
4.3) ประชุมนำเสนอความก้าวหน้างานวิจัยรอบ 2 เดือน และรอบ 6 เดือน
4.4) เก็บรวบรวมแบบประเมินพิจารณาคุณภาพงานวิจัย และแจ้งให้นักวิจัยมารับเพื่อนำไปแก้ไขปรับปรุงงานวิจัย
4.5) ลงพื้นที่ติดตามโครงการ
4.6) รายงานผลการวิจัยฉบับสมบูรณ์
ขั้นตอนที่ 3 จังหวัดศรีสะเกษ มอบนโยบาย ยุทธศาสตร์ แนวทางการดำเนินงาน
1) หน่วยงานภาครัฐ
2) หน่วยงานเอกชน แกนนำเครือข่าย ภาคประชาสังคม/องค์กร ภาคีที่เกี่ยวข้อง
3) แกนนำเครือข่าย ภาคประชาสังคม/องค์กร ภาคีที่เกี่ยวข้อง
ขั้นตอนที่ 4 การลงพื้นที่ดำเนินการ (คณะกรรมการ อาจารย์ นักศึกษา) โดยมีวิธีการดังนี้
วางแผนการลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยว แนวทางการยกระดับศักยภาพการท่องเที่ยวโดยชุมชนร่วมกับกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์ มีกิจกรรมหลักดังนี้
1) กำหนดกิจกรรมและรายละเอียดการลงพื้นที่
2) ประสานงานพื้นที่เป้าหมาย กลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานระดับพื้นที่ เพื่อลงพื้นที่เก็บข้อมูล
3) จัดทำเครื่องมือที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์แบบสังเกต เกี่ยวกับบริบทชุมชนในมิติต่างๆ สถานการณ์การท่องเที่ยวในระดับพื้นที่ ความต้องการของชุมชนและศักยภาพชุมชน
4) ประสานคณะกรรมการ อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาที่เกี่ยวข้อง เพื่อนัดหมายวันลงพื้นที่
5) ลงพื้นที่ดำเนินการเก็บข้อมูล
ขั้นตอนที่ 5 รายงานผลการดำเนินงาน
1) ประชุมสรุปผลข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ดำเนินการ
2) รายงานผลการดำเนินการ
1.2 ระดับนักวิจัย
ได้ดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายงานวิจัยท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ภายใต้โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอัตลักษณ์อีสานใต้ “นครชัยบุรินทร์ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.เอมอร แสนภูวา เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยย่อยเรื่องนวัตกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตาม อัตลักษณ์วัฒนธรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าปักแซว บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีกระบวนการดำเนินงานร่วมกัน ดังนี้
1.2.1 การพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยร่วมกัน โดยมีการวิเคราะห์ศักยภาพและบริบทชุมชนท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด ซึ่งจากการวิเคราะห์ร่วมกัน พบว่า ระดับภูมิภาคของภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีจุดเด่นด้านวัฒน ธรรรมการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยการท่องเที่ยวจึงมุ่งเน้นไปที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอัตลักษณ์อีสานใต้
1.2.2 การดำเนินงานวิจัย นักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ได้ดำเนินงานวิจัยเรื่องเรื่องนวัตกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตาม อัตลักษณ์วัฒนธรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าปักแซว บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ภายใต้โครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอัตลักษณ์อีสานใต้ “นครชัยบุรินทร์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏทั้ง 6 แห่ง ประกอบด้วย 1) มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 2) มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 3) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 4) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 5) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ 6) มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
ทั้งนี้ ผลจากการดำเนินงานกับเครือข่ายงานวิจัยการท่องเที่ยวโดยชุมชนของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 พบว่า ผลผลิตจากงานวิจัย คือ องค์ความรู้ทางวิชาการ นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ที่มีการผนวกจากองค์ความรู้ทางภูมิปัญญา อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เป็นงานวิจัยและพัฒนาที่จะยกระดับมูลค่าเพิ่มทางสินค้า ผลิตภัณฑ์ เพื่อสร้างรายได้และเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนตามนโยบายการพัฒนาประเทศ การพัฒนาโปรแกรมและกิจกรรมการท่องเที่ยวจากศักยภาพชุมชน การพัฒนาระบบการตลาดและโลจิสติกส์ การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ขณะที่งานวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเรื่อง นวัตกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนเชิงสร้างสรรค์ตามอัตลักษณ์วัฒนธรรมผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าปักแซว บ้านรงระ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ พบว่า ผลผลิตจากงานวิจัย คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการทอผ้า ได้แก่ เสื้อผ้า กระเป๋า ของที่ระลึก และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าอื่นๆ ภายใต้โครงการวิจัยการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอัตลักษณ์อีสานใต้ “นครชัยบุรินทร์ศรีอุบล”
|
| |
✓ | 6 | มีระบบและกลไกการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชนและดำเนินการตามระบบที่กำหนด |
มหาวิทยาลัย มีกระบวนการทำงานตามระบบการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ดังนี้
1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการวิจัย ระดับสถาบัน ประจำปีการศึกษา 2563 (6.1-6(1)) เพื่อเป็นกลไกในการทำหน้าที่ขับเคลื่อนภารกิจด้านการวิจัยให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ตั้งแต่กระบวนการ กำกับติดตาม การส่งเสริมและพัฒนา การประเมินผล ให้ข้อเสนอแนะ และรวมถึงการส่งเสริมให้นักวิจัยนำผลงานและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน และมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง
2. มีการจัดทำคู่มือการบริหารงานวิจัย เพื่อเป็นระบบ แนวปฏิบัติต่างๆให้นักวิจัยสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ กระบวนการยื่นข้อเสนอโครงการวิจัย การทำงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ และการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ (6.1-6(2))
3. มีการจัดทำแผน เพื่อการกำกับติดตามการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์หรือนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผู้เรียนหรือชุมชน (6.1-6(3)) ที่ชัดเจน
4. มีการประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน ตามพันธกิจด้านการวิจัย ครั้งที่ 1/2564 เพื่อกำกับติดตามกระบวนการนำเนินงานเกี่ยวกับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชน (6.1-6(4))
5. สรุปข้อมูลจากการติดตามผลงานวิจัย และ ข้อมูลการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่ชุมชน (6.1 – 6(5))
6. นำข้อมูลที่ได้จาการสรุปจากการติดตามผลงานวิจัย และ ข้อมูลการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ นำเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ ผู้รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามพันธกิจด้านการวิจัย ครั้งที่ 2/2564 เพื่อติดตามและสรุปผลข้อมูลจำนวนผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ (6.1 – 6(6))
7. มีการจัดทำรูปเล่มสังเคราะห์ข้อมูลการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยการถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่ชุมชน (6.1 – 6(7)) , (6.1 – 6(8))
|
| |
✓ | 7 | มีระบบและกลไกการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์และดำเนินการตามระบบที่กำหนด |
มหาวิทยาลัย มีระบบและกลไกเพื่อช่วยในการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ ดังนี้
1. มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย การจัดการทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2553 (2.1-7(1)) เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนงานวิจัยต่าง ๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
2. มีการออกประกาศมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เรื่อง แนวปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย (2.1-7(2)) เพื่อผลักดันให้มีการนำผลงานที่ได้จากการวิจัยในเชิงวิชาการออกใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากขึ้นสร้างสรรค์ผลงานการประดิษฐ์หรือออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อันอาจนำไปเป็นประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
3. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1-7(3)) เพื่อทำหน้าที่ พิจารณา ให้ความเห็น กำกับติดตาม และดำเนินงานให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ โดยอาจารย์หรือนักวิจัยที่ต้องการร้องขอการคุ้มครองสิทธิ์ในงานวิจัยสามารถดำเนินการตามขั้นตอนตามแผนภาพขั้นตอนการดำเนินงานตามระบบที่กำหนดในกรณีที่ต้องการร้องขอความคุ้มครอง (2.1-7(4)) โดยมีขึ้นตอนในการดำเนินงานเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ ดังต่อไปนี้
3.1 เจ้าของผลงานวิจัยชิ้นที่ถูกละเมิดสิทธ์ดำเนินการยื่นคำร้องมาที่งานวิจัยและพัฒนา พร้อมแนบเอกสารหลักฐานที่แสดงว่าตนเองเป็นเจ้าของผลงานที่ถูกละเมิดสิทธิ์ ตลอดจนหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการละเมิดสิทธ์ในงานวิจัยของตนเอง หรือเอกสารอื่น ๆ ประกอบเพื่อความชัดเจน
3.2 งานวิจัยและพัฒนาเป็นผู้รับเรื่องร้องเรียนจากเจ้าของผลงาน ทำการพิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และตรวจสอบความสมบูรณ์ของเรื่องร้องเรียน (6.1-7(5))
3.3 ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องการละเมิดสิทธ์ของงานวิจัยที่ได้มีการร้องเรียน
3.4 นำเสนอแนวทางในการจัดการปัญหาด้านการละเมิดสิทธ์ และมติของที่ประชุมคณะกรรมการฯ ต่ออธิการบดีเพื่อสังการตามอำนาจของอธิการบดี
3.5 ในกรณีที่ต้องการฟ้องร้องหรือดำเนินการเอาผิดทางคดีความให้นิติกรของมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเป็นผู้ดำเนินการ
4. มีการออกระเบียบมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ว่าด้วย กองทุนวิจัย ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องการคุ้มครองสิทธิ์ของงานวิจัยที่เกิดจากการให้ทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัย อาทิ ผลงาน ลิขสิทธิ์หรือสิทธิบัตร รวมทั้งทรัพย์สินทางปัญญาอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากงานวิจัย ตามระเบียบนี้ ให้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัย เว้นแต่มีข้อตกลงไว้เป็นอย่างอื่นแต่ผู้วิจัยมีสิทธิตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางวิชาการได้ การตีพิมพ์และเผยแพร่ผลงานวิจัยอันเป็นผลงานที่ได้รับการสนับสนุนจากเงินกองทุนวิจัย และต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (6.1-6(6)) ยังไม่พบว่ามีการร้องเรียนเรื่องการละเมิดสิทธิ์ต่องานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ และยังไม่มีการร้องขอการคุ้มครองสิทธิ์แต่อย่างใด
5. มีการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนให้นักวิจัยมาจดสิทธิบัตรในหลากหลายรูปแบบ เช่น แจ้งเป็นหนังสือบันทึกข้อความ ประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และอื่นๆ (6.1-7(7))
|
| |