ตัวบ่งชี้ที่ 5.5 ระบบบริหารความเสี่ยง

ปีที่ประเมิน 2562
ผู้ดูแลตัวบ่งชี้ : กมลมาศ เอี้ยวถาวร , ภิญญาภัทฎ์ ใสกระจ่าง
ชนิดตัวบ่งชี้ : กระบวนการ
คำอธิบายตัวบ่งชี้

    เพื่อให้หน่วยงานมีระบบบริหารความเสี่ยง โดยการบริหารและควบคุมปัจจัย กิจกรรม และกระบวนการดำเนินงานที่อาจเป็นมูลเหตุของความเสียหาย (ทั้งในรูปของตัวเงิน หรือไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ชื่อเสียง และการฟ้องร้องจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หรือความคุ้มค่า) เพื่อให้ระดับความเสี่ยง และขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่ยอมรับและควบคุมได้ โดยคำนึงถึงการเรียนรู้วิธีการป้องกันจากการคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้าและโอกาสในการเกิด เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสำรองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่างๆ มีความพร้อมใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน ตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสำคัญ

 

หมายเหตุ

    คะแนนการประเมินจะเท่ากับ ๐ หากพบว่าเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นในสถาบันในรอบปีการประเมิน ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร หรือต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์ หรือต่อควานมั่นคงทางการเงินของสถาบัน อันเนื่องมาจากความบกพร่องของสถาบันในการควบคุม หรือจัดการความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอโดยมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
ตัวอย่างความเสี่ยงร้ายแรงที่มีผลประเมินเป็นศูนย์ (๐) คะแนน เช่น
    ๑. มีการเสียชีวิตและถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจอย่างรุนแรงของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรภายในสถาบัน ทั้งๆ ที่อยู่ในวิสัยที่สถาบันสามารถป้องกันหรือลดผลกระทบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ แต่ไม่พบแผนการจัดการความเสี่ยงหรือไม่พบความพยายามของสถาบันในการระงับเหตุการณ์ดังกล่าว
    ๒. สถาบันหรือหน่วยงานเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดี อันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น คณาจารย์ นักวิจัยหรือบุคลากรขาดจริยธรรม จรรยาบรรณการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือกฎกระทรวง และเกิดเป็นข่าวปรากฏให้เห็นตามสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ข่าว Online เป็นต้น
    ๓. สถาบันหรือหน่วยงานขาดสภาพคล่องในด้านการเงินจนทำให้ต้องปิดหลักสูตรหรือไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ส่งผลกระทบต่อนักศึกษาปัจจุบันที่เรียนอยู่อย่างรุนแรง

**หากมีคณะใดคณะหนึ่งได้คะแนนการประเมินเป็นศูนย์ (๐) แล้ว สถาบันก็จะได้คะแนนการประเมินเป็นศูนย์ (๐)ด้วยเช่นกัน หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กล่าวไว้ข้างต้นการไม่เข้าข่ายที่ทำให้ผลการประเมินได้คะแนนเป็นศูนย์ (๐) ได้แก่
    ๑. สถาบันมีการวิเคราะห์และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงเชิงป้องกัน หรือมีแผนรองรับเพื่อลดผลกระทบสำหรับความเสี่ยงที่ทำให้เกิดเรื่องร้ายแรงดังกล่าวไว้ล่วงหน้า และดำเนินการตามแผน
    ๒. เป็นเหตุสุดวิสัย อยู่นอกเหนือการบริหารจัดการ (การควบคุมหรือการป้องกัน) ของสถาบัน

เกณฑ์การประเมิน
คะแนน 1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5
มีการดำเนินการ 1 ข้อ มีการดำเนินการ 2 ข้อ มีการดำเนินการ 3 ข้อ มีการดำเนินการ 4 ข้อ มีการดำเนินการ 5 ข้อ
เกณฑ์มาตรฐาน
ระดับ เกณฑ์มาตรฐาน ดำเนินการ
1 มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูง และตัวแทนที่รับผิดชอบภารกิจหลักของหน่วยงานร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน
2 มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย ๓ ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน จากตัวอย่างต่อไปนี้ - ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่) - ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ของหน่วยงาน - ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ - ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของกระบวนการบริหารงาน การให้บริการ การบริหารงานวิจัย ระบบงาน ระบบประกันคุณภาพ - ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณของบุคลากร - ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก
3 มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ ๒
4 มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผน
5 มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงาน เพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
6 มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน ไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป
ผลการดำเนินงาน
ตนข้อเกณฑ์ผลการดำเนินงานหลักฐาน
1มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูง และตัวแทนที่รับผิดชอบภารกิจหลักของหน่วยงานร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน

สำนักงานอธิการบดีได้กำหนดคณะทำงานเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ กำกับ ติดตามและจัดเก็บข้อมูล การดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ระดับสำนักงานอธิการบดี ประจำปี 2562 (5.1-1(1)) จากคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2563 วาระที่ 3.1 การพิจารณาให้ความเห็นชอบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาสำนักงานอธิการบดี ปีการศึกษา 2562 2 (5.1-1(2))

2มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย ๓ ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน จากตัวอย่างต่อไปนี้ - ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่) - ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ของหน่วยงาน - ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ - ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของกระบวนการบริหารงาน การให้บริการ การบริหารงานวิจัย ระบบงาน ระบบประกันคุณภาพ - ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณของบุคลากร - ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก

จากการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ด้านระบบบริหารความเสี่ยง สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ได้มีการระบุความเสี่ยงและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง (5.1-2(1)) และวิเคราะห์ความเสี่ยง (5.1-2(2)) ตามหลักเกณฑ์การให้คะแนนความรุนแรงของผลกระทบ (C) และโอกาสที่จะเกิดความเสียหาย (L) 5.1-2(3)) จากการประชุมคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 6/2562 เมื่อวันพุธที่ 27 พฤศจิกายน 2562 วาระที่ 5.5 การระบุความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (5.1-2(4))

3มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ ๒

สำนักงานอธิการบดีได้มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยง จัดลำดับความเสี่ยงและดำเนินการจัดการความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง ถึง สูงมาก ซึ่งปีงบประมาณ พ.ศ.2563 มีความเสี่ยงอยู่ 3 ด้าน คือ 1. ด้านการดำเนินงาน 2.ด้านการเงิน 3. ด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย/ระเบียบ (5.1-3(1))

4มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผน

จากการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงแล้ว สำนักงานอธิการบดีได้จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 (5.1-4(1)) เสนอผ่านกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2563 วาระที่ 3.1 การพิจารณาให้ความเห็นชอบการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาสำนักงานอธิการบดี ปีการศึกษา 2562 (5.1-4(2)) และได้มีการดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยง (5.1-4(3))  

5มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงาน เพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง

สำนักงานอธิการบดี ได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารความเสี่ยง (5.1-5(1)) โดยผ่านคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่2/2563 เมื่อวันอังคารที่ 2 มิถุนายน 2563 วาระที่ 5.7 ขอความเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารความเสี่ยง (5.1-5(2)

6มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน ไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป

นำเสนอผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารความเสี่ยง สำนักงานอธิการบดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563   (5.1-6(1)) เสนอต่อคณะกรรมการบริหารสำนักงานอธิการบดี ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม 2563 วาระที่ 5.5 รายงานผลการติดตามประเมินผลแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 (5.1-6(2)) เพื่อนำไปใช้ในการปรับแผนบริหารความเสี่ยงในรอบปีถัดไป